23
Community Organizing & Social Movement การจดระบบชมชน และขบวนการทางสงคม

Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

Community Organizing & Social Movement

การจัดระบบชุมชน

และขบวนการทางสังคม

Page 2: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

Community Organizing & Social Movement

การจัดระบบชุมชน

และขบวนการทางสังคม

จัดทำ โดย

โครงการพัฒนาภาวะการนำ�ด้วยพุทธกระบวนทัศน์

มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

๒๕๖๒

สนับสนุนโดย�

สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ�(สสส.)

Page 3: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

สารบัญ

ความไม่เท่าเทียมทางสังคม� 1

การจัดระบบชุมชนในประเทศไทย� 2

บทเรียนจากชีวิตของชิโก้�เมนเดส�(Chico�Mendes)� 3

บทเรียนจากขบวนการต่อสู้ของคนจนเมืองอินโดนีเซีย�� 4

หลักการทำ�งานจัดระบบชุมชน 7

10�ขั้นตอนการจัดระบบชุมชน� 9

บทเรียนจากเครือข่ายสลัมสี่ภาค� 11

ตัวอย่างการจัดระบบในชุมชนต่างๆ� 12

ถอดบทเรียนการจัดระบบชุมชนกรณีถูกไล่รื้อ� 19

งานจัดระบบชุมชนสำ�คัญอย่างไร� 20

Page 4: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

1

จากรายงานปี๒๕๖๐ของอ็อกแฟม(Oxfam)พบว่าคนที่มั่งคั่งที่สุดในโลก๘คนครอบครองทรัพย์สิน

เท่ากับทรัพย์สินของคนจนครึ่งโลกรวมกันบิลเกตส์ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ครอบครองทรัพย์สินเท่ากับ

ทรัพย์สินของของคนสามพันหกร้อยล้านคนรวมกันคนรวยมีกินมีใช้ไปอีกหลายชาติในขณะที่คนครึ่งโลกมี

รายได้๒.๕๐ดอลลาร์ต่อวันคนจนหนึ่งพันสามร้อยล้านอยู่ได้ด้วยเงินเพียงวันละ๑.๒๕ดอลลาร์และคน๑

ใน๙ทั่วโลกอยู่โดยไม่มีอาหารเย็นช่องว่างระหว่างคนจนคนรวยกว้างขึ้นเรื่อยๆภาพสังคมที่อยุติธรรมนี้คือ

สิ่งแรกที่ผู้ทำางานจัดระบบชุมชนจำาเป็นต้องมองให้เห็น

ช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยกว้างขึ้นทุกปีคนจนจำานวนมากขึ้นเรื่อยๆทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่อง

บังเอิญแต่มีเหตุปัจจัยที่รักษาสภาพนี้ไว้ระบบอยุติธรรมนี้ถูกออกแบบไว้แล้วเริ่มตั้งแต่อุดมการณ์ด้าน

เศรษฐศาสตร์อย่างเสรีนิยมใหม่ที่ให้คุณค่ากับการแข่งขันและการค้าเสรีแนวคิดนี้ทำาให้ทุนเอกชนเข้ามามี

บทบาทเหนือรัฐและจำากัดบทบาทรัฐไม่ให้อุดหนุนผู้เสียเปรียบแม้รูปแบบนี้จะทำาให้ปัจเจกบุคคลมีโอกาส

มากขึ้นและก่อให้เกิดชนชั้นกลางขึ้นมาแต่คนจนก็ยังมีมากมายและไม่มีโอกาสจะหลุดพ้นจากความยากจน

ได้เลยเพราะสังคมมีโครงสร้างทางชนชั้นคนไม่สามารถเข้าถึงความรู้และทรัพยากรได้เท่ากันคนที่มีโอกาส

จึงได้ประโยชน์มากกว่าเมื่อสะสมทุนกำาไรมากขึ้นก็ยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้นทิ้งห่างคนที่ไม่มีโอกาสมากขึ้น

เรื่อยๆการแข่งขันสมบูรณ์จึงไม่มีจริง

การศึกษาก็ไม่ช่วยอะไรระบบโรงเรียนทำาให้คนคิดไม่เป็นและมองไม่เห็นโครงสร้างที่กดขี่และเหลื่อม

ล้ำาในทางตรงกันข้ามกลับผลิตซ้ำาความเชื่อและค่านิยมแบบเก่าโดยเฉพาะการศึกษาของไทยที่ไม่ต้องการ

ให้คนตั้งคำาถามและถกเถียงแต่สอนให้สยบยอมต่ออำานาจสื่อและสื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นตัวมอมเมาผู้คน

ด้วยความบันเทิงต่างๆเพื่อไม่ให้รับรู้ความทุกข์ที่เกิดขึ้นในโลกเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำาให้ความเหลื่อมล้ำายัง

ดำารงอยู่

ความไม่เท่าเทียมทางสังคม

Page 5: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

2

งานจัดระบบชุมชน(CommunityOrganising)คือกระบวนการทำางานกับคนรากหญ้าเพื่อช่วยให้คน

เหล่านี้เชื่อมั่นในตนเองและมีพลังอำานาจที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เลวร้ายเพื่อนำาไปสู่การสร้างสังคม

ที่เป็นธรรมนักจัดระบบชุมชนจะออกไปเรียนรู้และผ่านประสบการณ์ความทุกข์ยากร่วมกับคนจนเมื่อ

ลงพื้นที่แต่ละแห่งจะต้องเก็บข้อมูลและศึกษาเพื่อให้เข้าใจแบบแผนลักษณะของชุมชนหาทางสร้างความ

สัมพันธ์และความไว้วางใจรวมถึงมีส่วนร่วมกับชุมชนนอกจากนี้ยังต้องศึกษานโยบายรัฐเพื่อรู้เท่าทันการ

เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคมและสามารถรับมือได้ทุกสถานการณ์

ในประเทศไทยการจัดระบบชุมชนเริ่มเมื่อพ.ศ.๒๕๑๓โดยบาทหลวงคาทอลิกที่ทำางานเพื่อคนยาก

คนจนและต่อสู้กับความอยุติธรรมต่อมาได้รับกำาลังสนับสนุนจากหลายองค์กรทั้งด้านสังคมและศาสนา

จนถึงพ.ศ.๒๕๑๕จึงร่วมมือกับตัวแทนจากโปรเตสแตนท์ก่อตั้งชมรมอาสาสมัครการจัดระบบชุมชนใน

ประเทศไทยหรือVOMPOT(VoluntaryMovementforPeople’sOrganizationinThailand)วอมพอท

เรียนรู้กระบวนการจัดตั้งชุมชนร่วมกับกลุ่มคนยากจนในแถบเอเชียเช่นมาเลเซียฟิลิปปินส์อินโดนีเซียฯลฯ

และจัดตั้งขบวนการในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมหรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมา

จากฐานราก(Bottom-up)โดยเริ่มงานครั้งแรกที่สลัมดินแดงในกรุงเทพฯแล้วขยับไปยังชุมชนอื่นๆนักจัด

ระบบชุมชนหลายคนถูกส่งไปฝังตัวและเรียนรู้ชีวิตของคนจนในพื้นที่เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์อย่างแท้จริง

และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนจน

เหตุการณ์๑๔ตุลา๒๕๑๙ส่งผลให้นักกิจกรรมบางส่วนหลบหนีเข้าป่าบางส่วนทำางานด้วยความ

ระมัดระวังจนกระทั่งพ.ศ.๒๕๒๕หลังกลับจากป่าจึงร่วมมือกันเริ่มงานจัดระบบชุมชนในสลัมกรุงเทพ

อีกครั้งพร้อมทั้งปฏิรูปองค์กรเปลี่ยนชื่อจากวอมพอทเป็นป๊อป(People’sOrganisationforParticipa-

tionหรือPOP)โดยจัดฝึกอบรมหลักสูตรนักจัดระบบชุมชนเพื่อสร้างคนทำางานด้านนี้มากขึ้นต่อมานักจัด

ระบบเหล่านี้แตกแขนงไปจัดตั้งกลุ่มองค์กรต่างๆที่ต่อสู้เพื่อคนจนทั้งในเมืองและชนบทเช่นเครือข่ายปฏิรูป

ที่ดินมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยกลุ่มปฏิบัติการคนจนเมือง(CommunityOrganisationforPeople’sAction

หรือCOPA)เครือข่ายสลัมสี่ภาคเครือข่ายพัฒนาชุมชนเมืองขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

(P-move)เครือข่ายคนไร้บ้านฯลฯกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำางานร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือทั้งคนสลัม

คนเร่ร่อนและชาวไร่ชาวนานอกจากนี้ยังเกิดความร่วมมือกับองค์กรหลากหลายทั้งในระดับภูมิภาคระดับ

สากลเช่นเครือข่ายสลัมสี่ภาคร่วมเคลื่อนไหวกับองค์กรFTAWatchเพื่อต่อสู้กับโลกาภิวัตน์รวมถึงร่วมมือ

กับองค์กรรัฐเช่นสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)เพื่อแก้ปัญหาให้คนจนทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อการ

สร้างสังคมที่เป็นธรรม

การจัดระบบชุมชนในประเทศไทย

Page 6: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

นักจัดระบบชุมชนชาวบราซิลชิโก้เมนเดสผู้ต่อสู้เพื่อรักษาผืนป่าอเมซอนเมนเดสเกิดในครอบครัว

ยากจนหาเลี้ยงชีพด้วยการกรีดยางในป่าเหมือนคนอื่นๆในแถบนั้นไม่มีโอกาสเรียนหนังสือกว่าจะอ่านออก

เขียนได้ก็อายุ๑๘แล้วเมื่อธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์เข้ามาในพื้นที่นายทุนต้องการถางป่าขยายฟาร์มทำาให้ต้น

ยางในป่าถูกโค่นไปด้วยคนกรีดยางและคนหากินในป่าจึงได้รับผลกระทบเมนเดสก่อตั้งสหภาพแรงงานขึ้น

มาและปลุกระดมให้ชาวบ้านร่วมมือป้องกันผืนป่าจากพวกตัดไม้จึงขัดผลประโยชน์ของนายทุนและรัฐเขาถูก

ยิงเสียชีวิตเมื่อพ.ศ.๒๕๓๑ด้วยวัยเพียง๔๔ปีแต่การตายของเขาส่งผลสะเทือนต่อขบวนการสิ่งแดล้อมใน

ภูมิภาคอเมซอนทำาให้หลายประเทศต้องออกกฎหมายอนุรักษ์ป่าบริเวณนี้

• เมนเดสต่อสู้ด้วยสันติวิธีเขาปลุกระดมให้ชาวบ้านทั้งชายหญิงเด็กและคนแก่เข้ามาร่วมมือ

ปกป้องป่าโดยยืนเรียงกันเป็นกำาแพงมนุษย์เพื่อกันไม่ให้คนงานเข้าไปตัดไม้ได้แม้ชาวบ้านถูกทำาร้ายแต่

เมนเดสขอไม่ให้ทุกคนสู้กลับเพราะเขารู้ว่าฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงก่อนจะเป็นฝ่ายแพ้ในสายตาชาวโลก

• แม้ขณะนั้นบราซิลตกอยู่ใต้อิทธิพลมืดและสื่อในประเทศไม่สนใจการเคลื่อนไหวของขบวนการ

ประชาชนแต่เมนเดสเป็นจุดสนใจของสื่อต่างชาติมีหลายรายเข้ามาทำาสารคดีเกี่ยวกับการต่อสู้ของเขา

แล้วในที่สุดก็ทำาให้สื่อในประเทศต้องหันมาสนใจงานของเขาตามไปด้วยจุดนี้เองที่ทำาให้การตายของเขา

ส่งผลกระทบในวงกว้าง

• การที่เมนเดสเริ่มอ่านออกเขียนได้เขาได้เรียนรู้ว่าคนตัดไม้เพราะเงินและส่งผลไม่เพียงต่อการทำา

มาหากินของคนแถบนั้นแต่ยังส่งผลต่อระบบนิเวศของทั้งโลกเมนเดสจึงเห็นความสำาคัญของการศึกษา

ที่ทำาให้คนคิดเป็นเขาทำางานเพื่อก่อตั้งโรงเรียนที่ส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเองและเสริมพลังอำานาจให้

คนลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนและสิ่งแวดล้อม

• เขาให้ความสำาคัญกับการมีส่วนร่วมและเคารพเสียงของประชาชนพยายามผลักดันให้ชาวบ้านลุก

ขึ้นสู้เพื่อตัวเอง

• เมสเดสเข้าใจกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง

• ชุมชนของเมสเดสใช้วัฒนธรรมประเพณีเช่นระหว่างเดินขบวนผู้คนร้องรำาทำาเพลงไปด้วย

บทเรียนจากชีวิตของชิโก้�เมนเดส�(Chico�Mendes)

Page 7: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

3

บทเรียนจากขบวนการต่อสู้ของคนจนเมืองอินโดนีเซีย�

เมื่อประธานาธิบดีซูฮาร์โต้พ้นจากตำาแหน่งหลังจากครอบงำาประเทศมา๓๒ปีอินโดนีเซียจึงเริ่มทิศทาง

ใหม่ในการปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแม้หลายอย่างจะเปลี่ยนไปแต่การกดขี่คนจนยังเหมือนเดิม

คนจนเมืองต้องผจญกับการไล่ที่เมื่อชนชั้นนำาต้องการเปลี่ยนจาการ์ต้าให้เป็นเมืองที่สวยทันสมัยและดึงดูด

ใจนักลงทุนคนจนต้องถูกกำาจัดผ่านโครงการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคโครงการพัฒนาเมืองหรือ

แม้แต่กล่าวหาว่าคนจนเป็นตัวการที่ทำาให้เกิดน้ำาท่วมช่วงพ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๖ชาวสลัมมากกว่า๑๐,๐๐๐

ครอบครัวหรือประมาณ๕๐,๐๐๐คนได้รับผลกระทบจากการถูกไล่ที่

รัฐใช้ทั้งความรุนแรงเกินกว่าเหตุและไม่ช่วยเหลือในเรื่องจัดหาที่อยู่ใหม่ไม่เพียงแต่คนสลัมคนหากินบน

ถนนก็ได้รับผลกระทบเช่นกลุ่มสามล้อถีบหาบเร่แผงลอยขอทานคนไร้บ้านเพราะรัฐเห็นว่าคนเหล่านี้ทำาให้

เมืองไม่สะอาดและประกอบอาชีพที่ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

การตอบโต้ของคนรากหญ้า

Page 8: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

เมื่อหลังชนฝาคนไม่มีทางเลือกนอกจากลุกขึ้นสู้ประชาชนเดินขบวนเรียกร้องให้ผู้ว่าจาการ์ต้าใน

ตอนนั้นยกเลิกนโยบายไล่รื้อและเคารพสิทธิมนุษยชนของประชาชนการต่อสู้ครั้งนี้มีสมาพันธ์คนจนเมือง(Ur-

banPoorConsortiumหรือUPC)เป็นพี่เลี้ยงช่วยจัดกระบวนการและแนะนำาแนวทางการต่อสู้แบบสันติวิธี

UPCก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๕๔๐จากการรวมตัวของนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่สนใจปัญหาความยากจนใน

เมืองและการไล่รื้อนอกจากช่วยเรื่องยุทธวิธีการต่อสู้ในระหว่างการชุมชนประท้วงของคนจนเมืองแล้วUPC

ยังช่วยด้านอื่นๆด้วยเช่นจัดเตรียมและแบ่งปันอาหารแก่ผู้ถูกไล่ที่รณรงค์ในระดับสากลเพื่อปกป้องสิทธิทาง

สังคมการเมืองเศรษฐกิจและสิทธิในการทำามาหากินของคนจนทั้งชี้ให้เห็นว่างานของคนจนคือส่วนสำาคัญที่

ช่วยหนุนระบบเศรษฐกิจของประเทศเพื่อแย้งกับสิ่งที่รัฐกล่าวหา

UPCมีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมจึงไม่เพียงทำางานแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้นแต่ยัง

ทำางานรณรงค์ปลุกระดมมวลชนปลุกจิตสำานึกของภาคประชาสังคมและเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลง

นโยบายและแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างเช่นแก้ปัญหาการเข้าถึงที่ดินการจ้างงานการศึกษาและสุขภาพของ

คนจน

คนสลัมถูกไล่ที่เพราะรัฐกล่าวหาว่าสลัมตั้งขวางทางน้ำาไหลทำาให้น้ำาระบายไม่ทันจนเกิดน้ำาท่วมแต่

UPCได้ศึกษาวิจัยและชี้ให้เห็นว่าที่จริงน้ำาท่วมเกิดจากรัฐล้มเหลวในการบริหารจัดการทั้งในแง่วางแผน

ป้องกันและการร่วมมือกับจังหวัดอื่นๆเพื่อระบายน้ำาUPCจึงเรียกร้องให้รัฐจ่ายเงินชดเชยให้แก่ประชาชนที่

ได้รับผลกระทบจากน้ำาท่วมและที่ต้องย้ายที่อยู่เพราะถูกไล่ที่รวมทั้งกดดันให้ผู้ว่าลาออก

UPCไม่ได้ทำางานลำาพังแต่ร่วมมือกับภาคประชาสังคมรวมทั้งทนายนักวิชาการปัญญาชนศิลปินเพื่อ

ระดมมวลชนจึงทำาให้การต่อสู้เป็นไปอย่างมีสีสันมีการใช้ศิลปะการแสดงดนตรีวัฒนธรรมพื้นเมืองฯลฯมา

เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้

ชุมชนริมแม่น้ำ�เมืองสุราบายา�

ราบายาเป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอินโดนีเซียความเจริญจึงไม่ต่างจากจาการ์ต้ารวมถึง

การไล่ที่คนจนด้วยชุมชนริมแม่น้ำาที่ได้รับผลกระทบจึงรวมตัวกันเพื่อต่อสู้วิธีการของกลุ่มนี้คือปรับปรุง(up-

grade)สภาพที่อยู่อาศัยให้สะอาดและเป็นระเบียบปลูกต้นไม้ทำาความสะอาดแม่น้ำาดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อ

ไม่ให้รัฐกล่าวหาได้ว่าคนสลัมทำาให้เมืองสกปรกUPCและภาคประชาสังคมอื่นๆเช่นมหาวิทยาลัยสถาปนิก

ทนายความในสุราบายาเข้ามาช่วยเหลือและกดดันให้รัฐยอมรับการมีอยู่ของชุมชนเหล่านี้ผลจากการปรับ

ตัวของชาวบ้านทำาให้รัฐยอมให้เวลา๕ปีเพื่อปรับพื้นที่ให้น่าอยู่แล้วจึงจะตัดสินใจว่ามีสิทธิ์อยู่ทีนี่ถาวรหรือ

ไม่อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นยังมีหลายชุมชนถูกรัฐไล่ที่ทำาให้ชุมชนริมน้ำาตระหนักได้ว่าการทำางานลำาพังยัง

ไม่พอคนจนจะต้องรวมพลังให้เข้มแข็งมากว่านี้และช่วยเหลือชุมชนอื่นๆด้วยนำาไปสู่การสร้างเครือข่ายของ

คนจนในหลายพื้นที่

3

Page 9: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

4

ยุทธศาสตร์การช่วยเหลือของ�UPC

• การปรับพื้นที่ชุมชนแออัด(upgrade)หลายกรณีชาวบ้านไม่ต้องการย้ายแม้รัฐจะจัดหาที่ดินแปลง

ใหม่ให้เพราะการย้ายหมายถึงต้องสูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพเดิมสูญเสียเครือข่ายทาง

สังคมสูญเสียการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆฯลฯจึงต้องใช้วิธีปรับที่อยู่เดิมให้ดีขึ้นปรับสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น

เพื่อให้รัฐและสังคมยอมรับการมีอยู่ของคนจนและให้สิทธิ์ในการอาศัยอยู่ต่อ

• ผนึกกำาลังกับองค์กรภาคประชาสังคมอื่นๆเพราะยิ่งรวมคนได้มากยิ่งมีพลังอำานาจมาก

• ประชาชนต้องร่วมมือและช่วยเหลือกันเพื่อสร้างพลังอำานาจในการต่อรองและร่วมมือเป็นเครือ

ข่าย

• รณรงค์ในระดับนานาชาติเพื่อกดดันรัฐบาล

• ให้การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่ประชาชนเช่นจัดหาอาหารในกรณีถูกไล่ที่

กะทันหันรวมทั้งทำางานเชิงนโยบายเพื่อเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง

• ให้การศึกษาและปลุกระดมมวลชน“สำาหรับคนที่สู้อาจจะชนะบ้างแพ้บ้างแต่ถ้าไม่สู้เลยคุณจะ

แพ้ตลอดไป”

• ทำางานด้านการศึกษาวิจัยเพื่อนำาข้อมูลที่ถูกต้องไปเสนอแก่สังคมเช่นกรณีอาชีพของคนจนและ

เหตุการณ์น้ำาท่วม

Page 10: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

หลักการทำ�งานจัดระบบชุมชน

จากบทเรียนต่างๆที่มาจากการต่อสู้ของนักจัดระบบชุมชนและคนจนทั่วโลกสามารถสรุปหลักการต่อสู้

ได้๓ประการได้แก่การจัดตั้งองค์กรคนรากหญ้าการศึกษาเพื่อประชาชนและการระดมพลังมวลชน

• การจัดตั้งองค์กรคนรากหญ้าโดยรวมพลังสมาชิกให้ได้จำานวนมากและทำางานโดยใช้หลัก

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมนำาโดยกลุ่มแกนนำาไม่ใช้ผู้นำาเดี่ยวใช้หลักสันติวิธีและทำางานเป็นเครือ

ข่าย

• การศึกษาเพื่อประชาชนช่วยให้คนรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณเข้าใจโครงสร้างทางสังคมส่งเสริม

โลกทัศน์ที่มองเห็นคุณค่าของประชาชนสร้างจิตสำานึกในการทำางานเพื่อส่วนรวมทั้งหมดนี้ประชาชน

จะต้องเรียนรู้ผ่านการลงมือทำาผ่านประสบการณ์และการถอดบทเรียนไม่ใช่จากการฟังคำาบรรยาย

• การระดมพลังมวลชนโดยรณรงค์ทางการเมืองหาพันธมิตรใช้ยุทธวิธีการต่อสู้ที่ชาญฉลาดเช่น

ร่วมมือกับองค์กรนานาชาติกดดันรัฐ

ภายใต้หลักการทั้ง๓นี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างพลังอำานาจแก่ขบวนการประชาชนนักจัดระบบชุมชนจะ

ต้องทำางานตามสถานการณ์จริงโดยเริ่มต้นที่ปัญหาเฉพาะหน้าในขณะนั้นเช่นชุมชนขาดแคลนน้ำาสะอาด

หรือถูกไล่ที่กะทันหันเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการดึงพลังมวลชนพร้อมกันนั้นก็ต้องหาทางผลักดันไปสู่ระดับ

นโยบายและทำางานเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกล่าวคือขยับจากเรื่องง่ายๆเล็กๆที่สามารถทำาได้จริงก่อนนำา

ไปสู่ปัญหาที่ซับซ้อนขึ้นไปจนถึงปัญหาเชิงระบบและโครงสร้าง

คุณค่าของการจัดระบบชุมชน

การจัดระบบชุมชนเชื่อในคุณค่าหลัก๓ประการดังนี้

• สิทธิมนุษยชน�-เชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิที่จะมีชีวิตและอยู่รอดสิทธิที่จะกำาหนดชีวิตตนเองสิทธิที่จะพัฒนาในฐานะบุคคลและประชาชน

• ความยุติธรรมทางสังคมเชื่อว่าประชาชนควรมีโอกาสเข้าถึงความจำาเป็นขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมมี

การแบ่งสรรทรัพยากรและอำานาจผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

• การรับผิดชอบของสังคมเชื่อว่าสังคมมีหน้าที่สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้สมาชิกในสังคมได้

พัฒนาศักยภาพสูงสุดและช่วยให้ประชาชนได้รับสิ่งที่จำาเป็นและการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

7

Page 11: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

กรอบแนวคิดการจัดระบบชุมชน

การจัดระบบชุมชนมีกรอบการทำางานดังนี้

• การมีส่วนร่วมของประชาชนคนยากจนคนไร้บ้านก็มีสิทธิ์เข้าร่วมในการตัดสินใจด้านนโยบายของ

ประเทศเช่นกัน

• สิทธิในการกำาหนดชีวิตตนเองประชาชนสามารถต่อสู้เพื่อแก้ไขปัญหาของตัวเองและมีความสามารถที่

จะเผชิญหน้าที่จะเข้าใจและจัดการกับรากของปัญหารวมถึงสร้างสังคมที่ตนเองปรารถนาได้

• การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ประชาชนจะเกิดองค์ความรู้และตระหนักในพลังอำานาจของตนจากการได้

ลงมือทำาและทบทวนตนเอง

• การพึ่งตนเองโดยใช้พลังความสร้างสรรค์ของประชาชนและใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น

8

SaulD.Alinskyเจ้าของแนวคิดการจัดระบบชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม

Page 12: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

10�ขั้นตอนการจัดระบบชุมชน

๑๐�ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดระบบชุมชน�

๑. ผสมกลมกลืนขั้นแรกจะต้องฝังตัวอยู่ในชุมชนอยู่ร่วมกับชาวบ้านและรับรู้ประสบการณ์เดียวกัน

เพื่อจะได้เข้าใจความรู้สึกปัญหาและความคิดเห็นของชุมชนจะต้องรู้จักชาวบ้านให้มากที่สุดเยี่ยมเยียนทีละ

หลังคาเรือนแลกเปลี่ยนกับคนในชุมชน

๒. ศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนขั้นนี้คือการรวบรวมข้อมูลนอกจากข้อมูลเชิงกายภาพเช่นที่ตั้งจำานวน

ประชากรอาชีพฯลฯแล้วต้องมองหาปัญหาประเด็นร่วมและทัศนคติของประชาชนต่อประเด็นนั้นๆรู้ว่า

อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนค้นหาผู้นำาตามธรรมชาติทั้งหมดนี้เพื่อจะนำาไปสู่การจัดตั้งองค์กรประชาชน

ข้อมูลทั้งหมดนี้จะได้มาจากการพูดคุยสัมภาษณ์สังเกตตั้งวงคุยวิจัยแบบมีส่วนร่วมและอ่านวรรณกรรมที่

เกี่ยวข้อง

๓. ค้นหาปัญหาร่วมนี่คือขั้นเตรียมพร้อมก่อนนำาไปสู่ขั้นปฏิบัติการณ์นักจัดระบบชุมชนจะต้องมอง

ปัญหาอย่างละเอียดลึกซึ้งรู้จักวิเคราะห์และจัดลำาดับความสำาคัญของปัญหาดูที่จำานวนประชาชนที่ได้รับ

ผลกระทบเพื่อดูว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาร่วมของชุมชนหรือไม่สำาหรับการเลือกปัญหาที่จะลงมือปฏิบัติครั้ง

แรกควรเป็นปัญหาที่ไม่ใหญ่เกินไปและมีโอกาสสำาเร็จสูงเพื่อที่จะเป็นกำาลังใจให้ชาวบ้านต่อสู้ในขั้นต่อไป

๔. ค้นหากลุ่มผู้นำาท้องถิ่นนักจัดระบบชุมชนต้องสังเกตได้ว่าใครมีภาวะผู้นำาตั้งแต่ขั้นหลอมรวมแล้ว

ผู้นำาเหล่านี้ไม่จำาเป็นต้องมีตำาแหน่งทางการแต่คือคนที่พร้อมจะทำางานเปลี่ยนแปลงควรเป็นกลุ่มไม่ใช่ผู้นำา

เดี่ยวและทำางานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพราะเมื่อผู้นำาหายไปหนึ่งคนก็ยังมีอีกหลายคนทำาหน้าที่ได้การ

ยึดติดในบุคคลคนเดียวทำาให้องค์กรมีโอกาสล่มสลายได้ทุกเมื่อถ้าสูญเสียผู้นำา

๕. รวมคนโดยพบปะกับชาวบ้านแต่ละครัวเรือนกระตุ้นให้คนเข้ามามีส่วนร่วมจัดวงอภิปรายที่นำาไป

สู่การลงมือทำาสร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านหันมาสนใจใคร่ครวญปัญหาและวิเคราะห์สถานการณ์

๖. ประชุมการประชุมครั้งนี้จะมาจากความต้องการรวมตัวของชาวบ้านที่มองเห็นปัญหาแล้วและ

ต้องการแก้ไขร่วมกันไม่ใช่จากการเรียกประชุมของผู้นำาเช่นที่ผ่านมาชาวบ้านจะรู้สึกถึงพลังอำานาจของตน

และเชื่อมั่นในการร่วมมือกันในการประชุมควรพูดคุยกันถึงรายละเอียดของงานที่จะทำาเช่นจะต้องไปพบใคร

มีอำานาจอย่างไรใครจะเป็นตัวแทนต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้างฯลฯ

๗. แสดงบทบาทสมมติเพื่อเตรียมพร้อมก่อนปฏิบัติการณ์จริงเช่นเล่นบทบาทสมมติในสถานการณ์

ที่ต้องเจรจาต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐนักจัดระบบมีหน้าที่ช่วยนึกภาพเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเผชิญ

หน้าของชุมชนกับ“กลุ่มเป้าหมาย”และเตรียมตัวตอบรับกับทุกสถานการณ์

9

Page 13: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

๘. ระดมพลังมวลชนหรือปฏิบัติการณ์ซึ่งเป็นจุดสำาคัญที่สุดของกระบวนการจัดระบบชุมชนเพราะ

คือขั้นที่จะดึงพลังอำานาจของชาวบ้านออกมาหลังจากถูกกดทับมานานและต้องเผชิญหน้ากับผู้มีอำานาจเพื่อ

กดดันให้แก้ไขปัญหาบางคนอาจกลัวมากแต่เมื่อผ่านเหตุการณ์ไปแล้วจะเกิดความมั่นใจในตัวเอง

๙. สรุปบทเรียนและทบทวนตนเองกิจกรรมนี้จะจัดขึ้นหลังประชาชนรวมพลังเจรจาหรือลงมือปฏิบัติ

การณ์แล้วเพื่อถอดบทเรียนสำาหรับปรับปรุงงานในอนาคตรวมทั้งประเมินจุดอ่อนจุดแข็ง

๑๐. จัดตั้งองค์กรประชาชนหลังจากประชาชนปฏิบัติการณ์ในประเด็นเดิมมาได้ระยะหนึ่งแล้วจะนำาไป

สู่การตั้งโครงสร้างองค์กรที่มีผู้รับผิดชอบและสมาชิกอย่างเป็นทางการเพื่อให้กลุ่มมีพลังอำานาจในการต่อรอง

ทั้งหมดนี้เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นแก่องค์กรประชาชนผ่านการทำางานแก้ไขปัญหาเพื่อเปลี่ยนผ่าน

คนยากไร้ที่ไม่มีสิทธิ์มีเสียงไปสู่ชุมชนเข้มแข็งที่มีศักยภาพในการเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านกระบวนการ

มีส่วนร่วมนี่คือกระบวนการสร้างองค์กรประชาชนที่ยั่งยืนและเป็นระบบเพราะใช้ศักยภาพและทรัพยากรที่

ประชาชนมีมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนนักจัดระบบชุมชนที่แท้จะต้องเชื่อว่ามนุษย์เปลี่ยนแปลงได้และ

คนจนมีศักยภาพ

10

Page 14: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

บทเรียนจากเครือข่ายสลัมสี่ภาค

จากการบอกเล่าของนุชนารถแท่นทองและจำานงค์จิตรนิรัตน์เครือข่ายสลัม๔ภาคคือองค์กรชาว

บ้านที่ต่อสู้เรื่องที่อยู่อาศัยและความเป็นธรรมทางสังคมเนื่องจากรัฐแก้ปัญหาไม่ถูกจุดชาวบ้านจึงต้องรวม

กลุ่มเพื่อเรียกร้องการแก้ปัญหาให้ตรงกับความจำาเป็นขณะเดียวกันนโยบายการพัฒนาประเทศก็ทำาให้ชาว

บ้านถูกไล่ที่มากขึ้นเรื่อยๆคนในสลัมมักถูกมองว่าเป็นปัญหาของสังคมเป็นแหล่งเสื่อมโทรมเป็นแหล่งค้ายา

เสพติดทั้งที่คนในสลัมคือส่วนสำาคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองและถึงแม้ว่าสลัมจะเสื่อมโทรมอย่างไร

หน้าที่รัฐคือต้องปรับปรุงให้ดีขึ้นไม่ใช่ขับไล่ประชาชนของตัวเองสิ่งที่รัฐควรทำาคือ“กำาจัดความจน”ไม่ใช่

กำาจัดคนจน

เครือข่ายสลัม๔ภาคมี๙เครือข่าย๘๒ชุมชนจากในกรุงเทพฯปริมณฑลและจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศ

เพื่อรักษาความสัมพันธ์และการช่วยเหลือกันให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องเครือข่ายมีประชุมทุกวันที่๒๐ของทุก

เดือนตัวแทนของแต่ละชุมชนจะเข้าร่วมเพื่อตัดสินใจเรื่องต่างๆร่วมกันสมาชิกจะช่วยกันในเรื่องการประท้วง

เมื่อเพื่อนชุมชนอื่นถูกไล่ที่หรือรัฐบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

สลัม๔ภาคไม่เพียงช่วยเรียกร้องสิทธิด้านที่อยู่อาศัยแต่ยังช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและความจำาเป็น

เร่งด่วนอื่นๆด้วยเช่นพาไปทำาทะเบียนบ้านบัตรประชาชนจัดหาน้ำาไฟฯลฯหลังจากชาวบ้านต่อสู้จนสำาเร็จ

แล้วสลัม๔ภาคก็ยังติดตามเพื่อให้รวมตัวช่วยเหลือกันเป็นเครือข่ายต่อไปและในชุมชนที่เข้มแข็งแล้วก็จะส่ง

เสริมด้านอาชีพสหกรณ์ออมทรัพย์และการพัฒนาหมู่บ้านด้านอื่นๆ

11

Page 15: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

ตัวอย่างการจัดระบบในชุมชนต่างๆ

12

ชุมชนอ่อนนุช�๑๔�ไร่��

เดิมเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่ใต้สะพานในกรุงเทพฯส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วยการเก็บขยะขายจนกระทั่งช่วง

พ.ศ.๒๕๓๖-๓๗กทม.มีนโยบายไล่รื้อชุมชนใต้สะพานเพราะมีประชุมระดับชาติและอยากปรับภูมิทัศน์

กรุงเทพฯให้สวยงามคนใต้สะพานกว่า๓พันครอบครัวถูกไล่ที่ต้องย้ายไปอยู่สะพานใหม่เรื่อยๆสุวิทย์วัดหนู

แห่งมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยจึงเข้ามาพูดคุยกับชาวบ้านทีละกลุ่มจากกลุ่มเล็กๆขยับไปทั้งสะพานและขยับไป

สะพานอื่นๆจนรวมกลุ่มได้ชาวบ้านจึงรวมตัวโดยมีชุมชนต่างๆที่มาจากสลัมสี่ภาคเข้าร่วมเพื่อเรียกร้องที่อยู่

อาศัยใหม่จนกระทั่งรัฐยอมจัดสรรงบประมาณให้๑๖๐ล้านบาทเพื่อซื้อที่ดินให้ใหม่ย่านชานเมืองให้สามพัน

กว่าครอบครัวไปอยู่รวมกันอย่างไรก็ตามเป็นการจัดการปัญหาโดยไม่ถามความต้องการของชุมชนที่ดินใหม่

ที่รัฐจัดซื้อห่างไกลแหล่งทำากินชาวบ้านจึงต่อรองขอจัดหาที่ดินใหม่ที่ไม่ไกลจากพื้นที่ทำามาหากินจนได้ที่ดิน

มา๔ผืนสำาหรับให้แต่ละครอบครัวย้ายไปอยู่ตามความเหมาะสม

กิจกรรมในชุมชน� ๑. ร้าน๐บาท/ศูนย์รับซื้อขยะรีไซเคิล

คนจำานวน๑,๐๐๐กว่าคนจาก๑๖๐กว่าหลังคาเรือนย้ายมาอยู่ที่ชุมชนเดียวกันปัญหาจึงเกิดตามมา

เพราะหลายคนไม่รู้จักกันมาก่อนและไม่เคยอยู่ร่วมเป็นชุมชนในช่วง๓ปีแรกจึงมีทั้งปัญหายาเสพติดการ

ทะเลาะเบาะแว้งอาชญากรรมฯลฯจนกระทั่งพีรธรเสนียวงศ์หนึ่งในสมาชิกชุมชนที่มีอาชีพเก็บขยะและ

หาของเก่าสังเกตเห็นว่าคนขี่ซาเล้งหาขยะขายโดนกดราคาจากเคยได้๑๐บาทเหลือ๕บาทเมื่อได้เงินมาก็

ต้องไปซื้อของกินของใช้เขาจึงชักชวนเพื่อนๆในกลุ่มซาเล้งลงทุนร่วมกันซื้อของกินของใช้ในครัวเรือนแล้วนำา

สินค้าไปตั้งโต๊ะให้คนนำาขยะมาแลกจากนั้นจึงเอาขยะที่ได้ไปขายต่อที่โรงงานเพื่อให้ได้ราคาที่สูงกว่าขายให้

พ่อค้ากิจการเป็นไปด้วยดีตั้งแต่ครั้งแรก

Page 16: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

ต่อมาจึงขยับขยายขึ้นเป็นสหกรณ์ชุมชนตั้งชื่อว่าร้าน๐บาทเพราะไม่ต้องใช้เงินซื้อแต่ใช้ขยะมาแลก

สินค้าเงินทุนของร้านมาจากการระดมหุ้นของชาวบ้านหุ้นละ๑๐๐บาทโดยใช้ขยะแทนเงินผลกำาไรของร้าน

แบ่งเป็น๔ส่วนคือ

๑) ร้อยละ๕๐หักเข้าร้าน

๒) ร้อยละ๒๐ตอบแทนเจ้าหน้าที่ศูนย์

๓) ร้อยละ๑๕จ่ายปันผลสำาหรับผู้ถือหุ้น

๔) ร้อยละ๑๕จ่ายปันผลสำาหรับสมาชิกสหกรณ์ที่ซื้อสินค้า

ร้านศูนย์บาทไม่เพียงมีคุณค่าทางเศรษฐกิจแต่ยังเชื่อมสัมพันธ์คนในชุมชนเด็กๆไม่ต้องใช้เงินซื้อขนม

แต่หาขยะมาแลกคนไม่มีเงินก็หาขยะมาแลกข้าวสารและของกินได้จนทุกวันนี้กิจการเติบโตขึ้นจนชุมชน

สามารถตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนได้

13

ร้านศูนย์บาท

ที่มาภาพ:Facebookชุมชนอ่อนนุช14ไร่

Page 17: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

๒. กองทุนสวัสดิการชุมชน

เงินกองทุนมาจากการออมของสมาชิกโดยส่งขยะรีไซเคิลมูลค่า๑บาทให้ทางกองทุนทุกวันและต้อง

ออมอย่างต่อเนื่อง๖เดือนขึ้นไปจึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆตั้งแต่เกิดจนตายดังนี้ด้านสุขภาพถ้าเจ็บ

ป่วยต้องพักในโรงพยาบาลทางกองทุนให้คืนละ๒๐๐บาทไม่เกินครั้งละ๗คืนคลอดบุตรให้๕๐๐บาทต่อ

ปีช่วยค่ายานอกบัญชีครึ่งหนึ่งปีละ๑ครั้งและช่วยค่าเดินทางไปโรงพยาบาลปีละ๒๐๐บาทด้านฌาปนกิจ

สงเคราะห์ช่วย๒,๐๐๐บาทเพื่อเป็นเจ้าภาพงานศพ๑คืนและช่วยจ่ายค่าโลงศพก่อนเสียชีวิตช่วยค่าใช้

จ่าย๒๐๐บาทและด้านอื่นๆเช่นให้ทุนการศึกษา๕๐๐บาทต่อปีต่อเด็ก๑คนโดยต้องมีเกรดเฉลี่ย๒.๕๐

ขึ้นไป

๓. แปลงเกษตรปลอดสารของชุมชน

ดำาเนินการโดยสมาชิกของชุมชนมีทั้งพืชผักสวนครัวและบ่อเลี้ยงปลาสมาชิกสามารถใช้ขยะมาแลกซื้อ

ผักเหล่านี้ได้และต้องช่วยกันดูแลแปลงเกษตรทุกคนเพราะเป็นของส่วนรวม

กระบวนการเหล่านี้ทำาให้ชาวบ้านได้พัฒนาตนเองรู้จักวิเคราะห์และคิดอย่างเป็นระบบเหนือสิ่งอื่นใด

มั่นใจในพลังอำานาจของตนว่าต่อรองกับรัฐได้และเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้จากที่เคยมองว่าตนเองเป็น

คนจนและไร้ค่าชาวบ้านเห็นคุณค่าของตนเองการเก็บขยะไม่ใช่เพื่อเลี้ยงปากท้องแต่ยังดีต่อสิ่งแวดล้อมโดย

เฉพาะแนวคิดร้าน๐บาทปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและมหาวิทยาลัยนำาแนวคิดนี้ไปใช้และเผยแพร่แล้ว

ปัจจุบันกลุ่มชุมชนใต้สะพานยังรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งนักจัดระบบชุมชนจากมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย

ยังคงผลักดันให้เกิดความร่วมมือเป็นเครือข่ายกับชุมชนอื่นๆในชื่อ“องค์กรคนใต้สะพาน”เมื่อพี่น้องชุมชน

อื่นๆมีปัญหาชุมชนอ่อนนุชก็จะไปร่วมต่อสู้ด้วยเพราะตระหนักดีว่าคนจนต้องมีน้ำาใจต่อกันดังที่คนที่นี่ก็เคย

ได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนอื่นๆนี่คือสิ่งที่นักจัดระบบชุมชนให้ความสำาคัญมากเพราะตระหนักดีว่าการ

รวมกลุ่มคือวิธีที่จะทำาให้คนจนมีพลังอำานาจต่อรองกับผู้มีอำานาจได้

14

Page 18: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

� ศูนย์คนไร้บ้าน�สุวิทย์�วัดหนู คนไร้บ้านคือกลุ่มคนที่ลำาบากที่สุดในสังคมยิ่งกว่าคนในสลัมยิ่งกว่าแรงงานรับจ้างเพราะคนเหล่านี้

ไม่มีแม้แต่ที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งต้องอาศัยสวนสาธารณะข้างถนนสถานีรถไฟใต้สะพานลอยอาคารร้าง

สนามหลวงฯลฯส่วนใหญ่ประกอบอาชีพขอทานเก็บขยะและของเก่าและเร่ขายสินค้าสาเหตุที่คนเหล่านี้

ต้องอยู่อย่างเร่ร่อนมีหลายประการเช่นกำาพร้าพ่อแม่และญาติไม่ยอมรับพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงทารุณถูกโกงบ้าน

และที่นาเพิ่งออกจากเรือนจำาเป็นโรคร้ายวิกลจริตพิการต้องการใช้ชีวิตอิสระฯลฯถ้ามองให้ลึกจะเห็นว่า

ปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมที่ไม่เป็นธรรมซึ่งก่อนหน้านี้รัฐไม่มีนโยบายและ

สวัสดิการเพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มนี้เลย

มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย(มพศ.)ทำางานกับคนจนในกรุงเทพฯมาตั้งแต่พ.ศ.๒๕๓๑ทั้งคนสลัมและคน

ใต้สะพานจนกระทั่งพ.ศ.๒๕๔๔กทม.ประกาศว่าจะปิดสนามหลวงตอนกลางคืนเพื่อปรับปรุงพื้นที่สนาม

หลวงเนื่องจากไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำาเอเชียสร้างความหวาดหวั่นแก่คนไร้บ้านอย่างมาก

เพราะเกรงจะไม่มีที่หลับนอนมพศ.จึงเริ่มทำางานช่วยเหลือคนกลุ่มนี้

จ๋อม!

ตัวอย่างจากด้านบนบรรทัดแรกtheoldpondหรือบึงเก่ามีนัยยะถึงฤดูใบไม้ผลิเพราะฤดูนี้หมาย

ถึงความอบอุ่นและชีวิตส่วนความหมายของบทกวีนั้นแล้วแต่ผู้อ่านจะตีความเพราะผู้เขียนไฮกุมักจะใช้

สัญลักษณ์แทนความหมายมากกว่าจะเขียนถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยตรง

กระบวนการทำ�งานกับคนไร้บ้าน

เข้าหาคนไร้บ้านคนเหล่านี้ผ่านประสบการณ์ที่เลวร้ายมาก่อนจึงระแวงและไม่ไว้ใจใครเมื่อมีคนเข้าหา

ก็มักจะวิ่งหนีก่อนหรือแม้ไม่หนีก็ไม่ให้ข้อมูลตามความเป็นจริงการเข้าหาจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้อง

ระมัดระวังมากนักจัดระบบชุมชนใช้วิธีหลากหลายเพื่อสร้างความไว้วางใจเช่นไปนอนในที่สาธารณะกับ

คนไร้บ้านไปรอรับอาหารแจกที่สถานสงเคราะห์ไปเก็บขยะด้วยรวมทั้งใช้การ“เดินกาแฟ”กล่าวคือลงไป

พื้นที่พร้อมนำาเครื่องดื่มอาหารไปฝากคนไร้บ้านเช่นกาแฟน้ำาเต้าหู้อาหารสำาเร็จรูปแล้วใช้โอกาสนั้นพูดคุย

ทำาความเข้าใจปัญหาและสถานการณ์

รวมกลุ่มแก้ปัญหากว่าจะเข้าถึงและทำาให้คนไร้บ้านวางใจได้ต้องใช้เวลานับปีจากนั้นจึงค่อยๆให้ความ

รู้ความเข้าใจเรื่องการรวมกลุ่มแก้ปัญหาจนคนจำานวนหนึ่งยอมรับความช่วยเหลือและก่อตัวเป็นเครือข่ายคน

ไร้บ้านแต่ระยะแรกยังมีสมาชิกไม่มากจึงเข้าร่วมกับเครือข่ายสลัมสี่ภาคการประชุมครั้งแรกของคนไร้บ้าน

เกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่๑สิงหาคม๒๕๔๔เมื่อกทม.ปิดสนามหลวงมีเป้าหมายเพื่อเจรจากับกทม.ให้จัดตั้ง

เต็นท์ชั่วคราวเพื่อรองรับคนไร้บ้าน

15

Page 19: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

ผลักดันจนเกิดศูนย์คนไร้บ้าน กลุ่มคนไร้บ้านและเครือข่ายสลัมสี่ภาคเรียกร้องสิทธิด้านที่อยู่อาศัย

จากรัฐโดยอ้างถึงสิทธิที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในขณะนั้นว่า“บุคคลย่อมมีสิทธิในที่อยู่อาศัยที่มั่นคง

เพียงพอมีความปลอดภัยมีความสงบสุขและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับการปกป้อง

และคุ้มครองจากการถูกบังคับขับไล่หรือรื้อย้ายให้ออกจากที่อยู่อาศัยโดยพลการรัฐต้องจัดหาที่ดินเพื่อให้

เป็นที่อยู่อาศัยแก่บุคคลผู้ไร้ที่อยู่อาศัยที่ยากไร้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมโดยคำานึงถึงคุณภาพชีวิตของบุคคล

เหล่านั้นเป็นสำาคัญ”จนได้รับงบประมาณมาสร้างศูนย์พักคนไร้บ้านจนแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ.๒๕๕๑ตั้งชื่อว่า

“ศูนย์พักคนไร้บ้านสุวิทย์วัดหนู”

ยกระดับศักยภาพหลังจากได้ศูนย์แล้วนักจัดระบบชุมชนช่วยจัดกระบวนการให้คนไร้บ้านบริหาร

จัดการศูนย์ด้วยตนเองกำาหนดกติกาการการอยู่ร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกันเช่นค่าน้ำาค่าไฟแบ่ง

หน้าที่รับผิดชอบฝึกอบรมอาชีพค้นหาแกนนำาขึ้นมาดูแลพาออกไปสู่สังคมเช่นเข้าร่วมกิจกรรมของเครือ

ข่ายคนจนเมืองอื่นๆช่วยชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำาท่วมเป็นต้นเหล่านี้ทำาให้คนไร้บ้านเห็นคุณค่าและศักยภาพ

ของตนเองเพราะแค่หาบ้านให้ยังไม่พอคนเหล่านี้ผ่านชีวิตที่ลำาบากมานับสิบๆปีแม้จะมีที่อยู่แต่ข้างในยัง

หวาดกลัวและรู้สึกไร้ค่าคนทำางานจึงต้องดูแลภาวะด้านในของคนไร้บ้านด้วย

เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคนไร้บ้านและคนจนเมืองสู่สังคมมากขึ้นเช่นจัดเวทีจัดสัมมนาเชิญสื่อมวลชน

เข้าร่วมเพื่อให้สังคมเข้าใจว่าคนเหล่านี้ไม่ได้เลวร้ายรวมถึงสร้างจิตสำานึกด้านสิทธิมนุษยชนช่วยให้คนเห็น

ถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตระหนักถึงการปฏิบัติต่อกันด้วยความเท่าเทียมและลดอคติที่มีต่อคน

ไร้บ้านเพื่อให้คนเหล่านี้มีที่ยืนในสังคม

สนับสนุนให้มีบ้านและชุมชนของตนเองมพศ.สนับสนุนให้คนไร้บ้านจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมาจะได้

ขอรับสิทธิจากรัฐในการเช่าที่ดินและสร้างบ้านใหม่โดยได้ตัวอย่างจากกลุ่มคนจนเมืองอื่นๆสมาชิกกลุ่มออม

ทรัพย์จะต้องออมอย่างน้อย๑๐๐บาทต่อเดือนจนสามารถเช่าที่ดินริมทางรถไฟได้เมื่อพ.ศ.๒๕๕๗พร้อม

ทั้งได้รับเงินสนับสนุนการสร้างบ้านจากองค์กรพัฒนาเอกชนจนสร้างบ้านสำาหรับคนไร้บ้านกลุ่มแรกได้๑๒

หลังสำาหรับ๒๐ครอบครัว

สำาหรับกลุ่มคนไร้บ้านแม้ปัญหาจะซับซ้อนกว่ากรณีอื่นๆและต้องทำางานหลายด้านแต่การผลักดันจน

สามารถตั้งเครือข่ายและศูนย์พักคนไร้บ้านขึ้นมาได้ก็ถือเป็นความสำาเร็จที่ยิ่งใหญ่และเป็นแรงใจสำาคัญให้คน

เล็กคนน้อยกล้ารวมพลังกันเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบ

16

Page 20: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

ชุมชนบางปิ้ง�จ.�สมุทรปราการ

ชุมชนบางปิ้งเป็นชุมชนเก่าแก่อายุกว่า๑๕๐ตั้งอยู่บนที่ดิน๓๕ไร่แต่เดิมเป็นดินว่างเปล่าของพระยา

ระพีที่อนุญาตให้ชาวบ้านเช่าในราคาถูกหลังจากพระยาระพีเสียชีวิตที่ดินก็ถูกส่งต่อให้ลูกหลานเจ้าของ

คนล่าสุดต้องการไล่รื้อเพื่อขายที่ดินต่อให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากมีสถานีรถไฟฟ้ากำาลังก่อสร้างใน

บริเวณใกล้ๆแต่ชาวบ้านไม่รู้ล่วงหน้าเนื่องคนเก็บค่าเช่าไม่ได้บอกว่าจะต้องย้ายยังคงเก็บค่าเช่าตามปกติ

จนถึงเดือนกรกฎาคม๒๕๕๗จากนั้นก็งดเก็บค่าเช่าแล้ววันที่๑๐ธันวาคมก็มีป้ายแจ้งให้ชาวบ้านรื้อถอน

และย้ายออกไปภายใน๓๐วัน

เจ้าของที่ดินจ่ายค่ารื้อถอนให้จำานวนหนึ่งและขู่ว่าถ้าไม่ย้ายออกจะดำาเนินคดีจึงมีผู้ยอมรับเงินและย้าย

ออกไปกว่า๘๐หลังคาเรือนเพราะกลัวว่าจะสู้คดีไม่ได้แม้ไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหนแต่อีก๒๐๐กว่าหลังคาเรือน

ไม่ยอมย้ายออกไปเพราะปัญหาหลายอย่างทั้งไม่มีที่อยู่ใหม่ที่ทำามาหากินก็อยู่บริเวณนั้นโรงเรียนลูกหลาน

อยู่บริเวณนั้นฯลฯทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าชาวบ้านจะยึดที่ดินผู้อื่นเพียงแต่ขอประวิงเวลาระหว่างหาที่อยู่

ใหม่เพราะไม่มีเงินมากพอจะย้ายได้ทันที

สลัมสี่ภาคจึงเข้ามาพูดคุยกับคนในชุมชนและแบ่งปันบทเรียนจากชุมชนอื่นๆที่เรียกร้องสิทธิ์ด้านที่

อยู่อาศัยจนประสบความสำาเร็จไปแล้วหลายกรณีชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกันและเข้าร่วมกับเครือข่ายต่อสู้กับ

เจ้าของที่ดินและตำารวจแม้ตำารวจจะใช้ความรุนแรงในการขับไล่และจับชาวบ้านไปหลายคนต้องเสียค่า

ประกันตัวหลายพันบาทแต่ยังสู้ต่อไปเพราะเห็นชุมชนอื่นๆประสบความสำาเร็จจึงคิดว่าคนบางปิ้งน่าจะทำาได้

เช่นกัน

ชาวบ้านพยายามเจรจาขออยู่บนที่ดินนี้ไปก่อนจนกว่าจะมีที่อยู่ใหม่ตั้งกลุ่มออมทรัพย์สมาชิกจะต้อง

ออมเงินทุกเดือนเพื่อสมทบทุนซื้อที่ดินและสร้างบ้านใหม่อยู่ด้วยกันเป็นชุมชนและเงินในกลุ่มออมทรัพย์นี้

สามารถนำาไปยื่นขอสิทธิ์จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)เพื่อกู้ยืมเงินจากโครงการบ้านมั่นคงได้

ปัจจุบันบ้านในชุมชนใหม่กำาลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

17

Page 21: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

เครือข่ายชุมชนรถไฟสายใต้-ตะวันตก

เครือข่ายชุมทางรถไฟสายใต้-ตะวันตกเกิดจากการรวมกลุ่มของชุมชนที่อาศัยอยู่ริมนทางรถไฟแรกเริ่ม

เดิมทีชาวบ้านย้ายมาอยู่บริเวณนี้เพื่อค้าขายที่ดินบริเวณนี้เป็นของการรถไฟชาวบ้านจึงอยู่โดยไม่มีทะเบียน

บ้านทำาให้ไม่สามารถขอติดตั้งน้ำาประปาและไฟฟ้าได้ต้องซื้อพ่วงในราคาแพงจนกระทั่งพ.ศ.๒๕๔๐นักจัด

ระบบชุมชนเข้ามาช่วยให้ชาวบ้านรวมตัวกันชาวบ้านนับร้อยคนเดินเท้าที่ไปสำานักงานเขตตลิ่งชันเพื่อเรียก

ร้องให้ทางเขตออกทะเบียนบ้านชั่วคราวให้บางระมาดเป็นชุมชนนำาร่องที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ์ของตนเองใน

ย่านนี้จากนั้นชุมชนอื่นๆก็ลุกขึ้นมาเรียกร้องบ้าง

เมื่อประสบความสำาเร็จในเรื่องทะเบียนบ้านชาวบ้านจึงเริ่มมั่นใจในพลังอำานาจของตนไม่เพียงขอติด

ตั้งสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างน้ำาและไฟแต่เริ่มทำางานพัฒนาชุมชนอย่างจริงจังและรวมกลุ่มกับชุมชนอื่นๆ

เพื่อช่วยเหลือกัน

จากประสบการณ์การทำางานของมพศ.และสลัมสี่ภาคนักจัดตั้งระบบชุมชนตระหนักดีว่าไม่นานชาว

บ้านจะต้องถูกไล่รื้อเพราะตั้งอยู่บนที่ดินที่มีเจ้าของจึงเตรียมพร้อมชาวบ้านให้รับมือล่วงหน้าแล้วในพ.ศ.

๒๕๕๒เหตุการณ์ดังกล่าวก็เกิดขึ้นจริงเขตตลิ่งชันต้องการดึงดูดคนมาเที่ยวตลาดน้ำาจึงต้องการไล่รื้อชุมชน

ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างสวนหย่อมและลานจอดรถสำาหรับนักท่องเที่ยวชาวบ้านไม่พอใจที่รัฐเห็นรถสำาคัญกว่าบ้าน

ของคนจึงรวมตัวกันไปเรียกร้องที่สำานักงานเขตให้ยุติโครงการดังกล่าวนอกจากนี้ยังร่วมมือกับชุมชนอื่นๆ

และสลัมสี่ภาคเรียกร้องสิทธิ์ให้ชุมชนที่จะถูกไล่รื้อสามารถอยู่ต่อไปได้โดยปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นในที่สุด

เขตตลิ่งชันก็ยอมย้ายพื้นที่จัดสวนหย่อมไปที่อื่น

จากนั้นการรถไฟก็มีแผนจะไล่รื้อชุมชนริมทางรถไฟทั่วกรุงเทพฯชุมชนริมทางรถไฟ๖๑ชุมชนทั่ว

ประเทศจึงรวมตัวกันติดตามข่าวสารและพูดคุยหารือกันก่อนชุมนุมกดดันให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟ

ยอมให้ชุมชนเช่าที่ดินและหันมาปรับปรุงที่อยู่อาศัยแทนจนคณะกรรมการรถไฟมีมติให้เช่าได้ในราคาถูกเมื่อ

พ.ศ.๒๕๔๓ซึ่งมาจากโมเดลแบ่งปันที่ดิน(LandSharing)นั่นคือรัฐหรือเอกชนให้ชาวบ้านอยู่ร่วมในพื้นที่

เดียวกันได้โดยเจ้าของพื้นที่จะได้ใช้พื้นที่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าส่วนชาวบ้านจะปลูกสร้างบ้านบน

พื้นที่จำากัดอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อให้“ชุมชนอยู่ได้และโครงการก็อยู่ได้”

อย่างไรก็ตามการรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำาเนินโครงการรถไฟสายสีแดงตลิ่งชัน-ศิริราชทำาให้ชุมชน

บริเวณนี้ได้รับผลกระทบทั้งที่ได้ทำาสัญญาเช่าและเข้าโครงการบ้านมั่นคงไปแล้วแต่ชาวบ้านสามารถเจรจา

ให้การรถไฟจัดพื้นที่ใหม่รองรับในบริเวณใกล้เคียงได้แล้วภายหลังมีสัญญาเช่าชาวบ้านได้รวมกันก่อตั้งกลุ่ม

ออมทรัพย์เพื่อขอกู้จากโครงการบ้านมั่นคงของพอช.เพื่อนำาเงินสร้างบ้านใหม่และก่อนลงมือสร้างชาวบ้าน

ได้ร่วมกันออกแบบชุมชนใหม่เพื่อไม่ให้มีสภาพเหมือนชุมชนแออัดอีกต่อไปผลจากการต่อสู้ปัจจุบันชาวบาง

ระมาดมีที่อยู่อาศัยที่มีสีสันสวยงามและไม่สามารถเรียกชุมชนของพวกเขาว่า“สลัม”ได้อีกต่อไปแล้วเป็นแรง

บันดาลใจให้ชุมชนอื่นๆเดินตาม

Page 22: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

แม้ชุมชนหลายแห่งจะได้เข้าไปอยู่ในบ้านใหม่ภายใต้โครงการมั่นคงแล้วแต่ยังต้องมีส่วนร่วมในเครือ

ข่ายต่อไปเพื่อผลักดันขับเคลื่อนเชิงนโยบายและช่วยเหลือชุมชนอื่นๆอย่างที่ตนได้รับความช่วยเหลือเพราะ

เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่การได้บ้านหรือที่ดินแต่อยู่ที่การสร้างพลังอำานาจแก่ประชาชนอย่างไรก็ตามปัญหาที่มัก

ตามมาหลังชาวบ้านแก้ปัญหาของตนเองเรียบร้อยคือพลังจะถดถอยลงและร่วมมือกับกิจกรรมของสลัมสี่ภาค

น้อยลงจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายของนักจัดระบบชุมชนว่าจะรักษาจิตสำานึกส่วนนี้ไว้ได้อย่างไร

ชุมชนเพชรคลองจั่น

เพชรคลองจั่นเป็นชุมชนริมคลองที่ตั้งอยู่บนที่สาธารณะของกรุงเทพฯมหานครชาวบ้านอยู่ที่นี่มา

ประมาณสามสิบปีเมื่อประชากรมากขึ้นเรื่อยๆจึงกลายเป็นชุมชนแออัดบ้านหลายหลังปลูกสร้างรุกล้ำาเข้าไป

ในคลองจนคลองเน่าเสียสภาพแดล้อมเสื่อมโทรมจนกระทั่งชาวบ้านถูกไล่รื้อจากเขตและกทม.ชาวบ้าน

จึงต้องรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาอันดับแรกคือปรับปรุงพื้นที่โดยขยับบ้านที่อยู่ในคลองขึ้นมาบนบกทำาความ

สะอาดคลองและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อต่อรองให้สามารถอยู่บนพื้นที่นี้ต่อไปได้

แม้ไม่ต้องกังวลเรื่องจะถูกไล่รื้อแล้วชุมชนเพชรคลองจั่นยังคงต้องทำางานและเคลื่อนไหวกันอย่างต่อ

เนื่องจนกลายเป็นชุมชนตัวอย่างด้านการดูแลสิ่งแดล้อมแต่จนถึงทุกวันนี้ชาวบ้านก็ยังไม่มีสิทธิ์ในที่ดินที่ตน

อาศัยอยู่จากที่รัฐสัญญาว่าจะออกโฉนดชุมชนให้ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะเกิดขึ้นจริงชาวบ้านจึงติดตามข่าวสาร

และเตรียมพร้อมเสมอว่าอาจมีนโยบายใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อที่อยู่ของตนได้ตลอดเวลา

ถอดบทเรียนการจัดระบบชุมชนกรณีถูกไล่รื้อ จากชุมชนต่างๆข้างต้นที่ผู้เรียนได้ลงไปศึกษาพบว่ามีลักษณะร่วมหลายประการในชุมชนเหล่านี้ส่วน

ใหญ่คนในชุมชนอพยพมาจากต่างจังหวัดไม่มีเงินพอจะเช่าหรือซื้อบ้านในกรุงเทพฯจึงอาศัยพักใต้สะพาน

หรือสร้างบ้านง่ายๆไว้ใกล้แหล่งทำามาหากินหลายชุมชนอาศัยอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลานานหลายสิบปีแต่เมื่อ

ความเจริญเข้ามาเช่นสถานีรถไฟฟ้าถนนสายใหม่ฯลฯที่ดินบริเวณนั้นจึงมีราคาแพงขึ้นถ้าเจ้าของเป็น

เอกชนก็มักจะไล่ที่ชาวบ้านเพื่อปรับปรุงที่ดินไว้ขายหรือถ้าชาวบ้านที่อาศัยที่รัฐอยู่ก็มักถูกไล่รื้อด้วยเหตุผล

ว่าต้องการภูมิทัศน์ที่สวยงาม

Page 23: Community Organizing & Social Movement การจัดระบบชุมชน ...https://กระบวนทัศน์ใหม่.net... · 2019. 6. 17. · สารบัญ

เมื่อชาวบ้านถูกไล่รื้อสลัม๔ภาคจะเข้าไปพูดคุยให้ความรู้ในเรื่องการรวมกลุ่มเพื่อเจราจาต่อรองกับ

เจ้าของที่ดินระหว่างที่เจรจาชาวบ้านก็จะต้องปรับสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้สะอาดและเป็นระเบียบมากขึ้น

(SlumUpgrading)เพราะความเสื่อมโทรมของสลัมคือจุดสำาคัญที่รัฐและเอกชนใช้เป็นเหตุผลในการไล่รื้อ

จากประสบการณ์อันยาวนานนักจัดระบบชุมชนไทยได้ค้นพบวิธีแก้ไขปัญหาการถูกไล่รื้อหลายวิธีอย่าง

แรกคือการแบ่งปันที่ดิน(Land-sharing)ในกรณีนี้คือชาวบ้านไม่ต้องการย้ายออกจากบริเวณนั้นด้วยเหตุผล

ทางเศรษฐกิจสังคมในขณะที่เจ้าของที่ดินก็ยืนยันจะนำาไปใช้จึงต้องพบกันครึ่งทางโดยแบ่งที่ดินผืนเล็กให้

ชาวบ้านเช่าและอาจต้องออกแบบบ้านและผังชุมชนให้มีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อให้รองรับคนจำานวนมากได้

ส่วนที่ดินผืนใหญ่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าก็อยู่ในความดูแลของเจ้าของที่ดินอีกกรณีคือเจ้าของที่ดิน

ยอมให้เงินแก่ชุมชนไปจัดหาที่ดินแปลงใหม่เพราะเห็นว่าคุ้มค่าที่จะแลกกับที่ดินผืนนั้นแต่กรณีเช่นนี้ชาวบ้าน

มักไม่ค่อยพอใจเพราะถ้าย้ายที่หมายถึงต้องไกลที่ทำางานมากขึ้นหรือลูกหลานอาจต้องย้ายโรงเรียน

ในกรณีที่ต้องซื้อหรือเช่าที่ดินเพื่ออยู่ร่วมกันเป็นชุมชนชาวบ้านจะตั้งกลุ่มออมทรัพย์สมาชิกกลุ่มจะออม

เงินทุกเดือนจนกว่าจะมีเงินอย่างน้อย๑๐%ของราคาที่ดินแล้วใช้เงินนั้นไปขอกู้เงินจากโครงการบ้านมั่นคง

ของพอช.ทั้งนี้เพื่อให้ชาวบ้านพยายามพึ่งตนเองให้มากที่สุดเพราะงานจัดระบบชุมชนคืองานสร้างเสริม

พลังอำานาจไม่ใช่งานสังคมสงเคราะห์ที่ให้ชาวบ้านรับความช่วยเหลืออย่างเดียว

เครื่องมือสำาคัญอีกประการคือศิลปวัฒนธรรมเช่นดนตรีเพลงการร่ายรำาจิตรกรรมฯลฯเหล่านี้เป็น

สิ่งที่ช่วยลดความตึงเครียดชาวบ้านที่อยู่ในการต่อสู้สร้างความรื่นรมย์และเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์ของผู้คน

นอกจากนี้นักจัดระบบชุมชนจะต้องทำางานกับสื่อมวลชนด้วยเพื่อเผยแพร่สถานการณ์ให้สังคมได้รับรู้มาก

ที่สุด

งานจัดระบบชุมชนสำ�คัญอย่างไร งานจัดระบบชุมชนสำาคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างสังคมที่เป็นธรรมเพราะโลกทุกวันนี้ช่องว่างระหว่าง

คนรวยคนจนกว้างมากขึ้นเรื่อยๆโครงสร้างและระบบก็กดทับคนจนการจัดระบบชุมชนไม่เพียงช่วยเสริม

ศักยภาพให้คนเหล่านี้ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองได้เท่านั้นแต่ยังสร้างจิตสำานึกในเรื่องความเท่าเทียม

แก่กลุ่มคนอื่นๆในสังคมด้วยแม้จะเป็นงานที่ต้องการความทุ่มเทและความมุ่งมั่นมหาศาลแต่ความสำาเร็จนั้น

มีคุณค่ามากดังเห็นได้จากผลงานของขบวนการประชาชนในหลายๆประเทศที่กล่าวมาในประเทศไทยเอง

คนจนก็มีอำานาจต่อรองกับรัฐและนายทุนมากขึ้นแม้แต่คนเร่ร่อนก็ได้รับสิทธิ์ที่จะมีบ้านเป็นครั้งแรกจากการ

สนับสนุนของรัฐนี่จึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดจะช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนและปรับสมดุลของ

คนและการครอบครองทรัพยากรในโลกนี้ได้จริง