12
บบบบบ 6 บบบบบบบบบบบบบบบบบบ Urinary system ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขข ขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขข ขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขข 1. บบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ ขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขข ขขขขขขขขขขข ขขขข ข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขข ขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขข ขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขข (Urinary System) ขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขข excretion) ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข (remove waste product) ขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข ขขขขขขข ข ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข (urine) ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข (kidney) ขขขขขข (ureter) ขขขขขขขขขขขขขข (urinary bladder) ขขขขขขขขขขขขข (urethra)

seekun.netseekun.net/physio6-urinary.doc · Web view3.1 โครงสร างของไต ไต (Kidney) เป นอว ยวะสำค ญท ส ดในระบบข

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

บทที่ 6

ระบบขับถ่ายปัสสาวะ

Urinary system

ของเสียที่เป็นผลจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายจะถูกขับออกจากร่างกายได้หลายทาง เช่น ทางลำไส้จะขับออกมาในรูปอุจจาระ ทางปอดขับออกมาในรูปไอนํ้า และก๊าซ คาร์บอนไดออกไซต์ ก๊าซมีเทนในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ทางผิวหนังในสภาพของเหงื่อ หรือในรูปนํ้ามันจากต่อมนํ้ามัน และขับถ่ายน้ำ ของเสียและเกลือแร่ต่างๆ ทางระบบขับถ่ายปัสสาวะ ซึ่งเป็นการขับเอาของเสียหรือของที่เป็นพิษต่อร่างกายมากที่สุด

1. ความหมาย และหน้าที่ระบบขับถ่ายปัสสาวะ

ระบบขับถ่ายปัสสาวะ มีไตเป็นอวัยวะสำคัญเพื่อทำหน้าที่ขับถ่ายนํ้า ของเสีย และเกลือแร่ต่าง ๆ ไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ รอการขับออกจากร่างกาย ไตจะต้องขับนํ้าและเกลือแร่ออกจากร่างกายเพื่อรักษาสมดุล ทั้งแรงดันออสโมซีส ปริมาณนํ้า และความเป็นกรดเป็นด่าง นอก จากนี้พวกสารไนโตรเจนที่เกิดจากเมตาบอลิซึมของโปรตีนจะถูกขับถ่ายออกเช่นกัน

ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary System) หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่ เกี่ยวกับการขับถ่าย excretion) และเคลื่อนย้ายของเสีย (remove waste product) ออกจากกระแสโลหิต เป็นตัวที่จะสร้างนํ้าขับต่าง ๆ ของร่างกายออกไปเป็นนํ้าปัสสาวะ (urine) อวัยวะในระบบนี้ประกอบด้วยไต (kidney) หลอดไต (ureter) กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) และท่อปัสสาวะ (urethra)

2. หน้าที่ของระบบขับถ่ายปัสสาวะ

หน้าที่ของระบบขับถ่ายปัสสาวะ แบ่งออกเป็นข้อได้ดังต่อไปนี้ (1) ไต (Kindneys) ทำหน้าที่กรองเอานํ้า และของเสียออกจากโลหิต ขับออกเป็นนํ้าปัสสาวะ (2) หลอดไต (Ureters) ทำหน้าที่นำนํ้าปัสสาวะออกจากไต สู่กระเพาะปัสสาวะ (3) กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) ทำหน้าที่เก็บนํ้าปัสสาวะไว้ชั่วคราวแล้วจึงหดตัวบีบขับนํ้าปัสสาวะไปสู่ท่อปัสสาวะ (4) ท่อปัสสาวะ (Urethra) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของนํ้าปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไปสู่ภายนอกร่างกาย

3. อวัยวะ และหน้าที่ของอวัยวะในระบบขับถ่ายปัสสาวะ

3.1 โครงสร้างของไต ไต (Kidney) เป็นอวัยวะสำคัญที่สุดในระบบขับถ่ายปัสสาวะ มี 2 อัน ข้างขวา และซ้าย ไตจัดเป็นต่อมอย่างหนึ่ง (compound tubular gland) ไตมีรูปเหมือนถั่ว (bean shaped) มีสีนํ้าตาล แกมแดง (brownish red) ผิวนอกของไตเรียบ ริมนอกโค้งออกสมํ่าเสมอจากปลายบนมาปลายร่าง ริมในโค้งออกที่ส่วนบน และส่วนล่าง แต่ตรงกลางเว้าเป็นโพรงเข้าไปประมาณครึ่งหนึ่งของไต เรียกว่าโพรงในไต (sinus of kidney) ทางเข้าสู่โพรงนี้เรียกว่า ไฮลัม (hilum) ซึ่งเป็นทางให้หลอดไต เส้นเลือด (blood vessels) เส้นนํ้าเหลือง (lymp vessels) และเส้นประสาท (nerves) ทอดจากร่างกายเข้าสู่ไต ไตจะติดอยู่กับกระดูกสันหลังในระดับใกล้เคียงกัน ตรงแขนงของกระดูกเอว (transverse process of lumbar) ทั้ง 2 ข้าง หรือตรงประมาณกระดูกซี่โครง 2-3 คู่สุดท้าย ไตข้างซ้ายมีขนาดเล็กกว่าข้างขวา และอยู่ตํ่ากว่าไตข้างขวาเล็กน้อย ไตแต่ละข้างจะฝังอยู่ในก้อนเนื้อมัน (perirenal fat or adipose capsule) และ ก้อนเนื้อมันนี้จะถูกหุ้มด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า renal fascia ดังนั้นไตยึดอยู่กับที่ได้โดย renal fascia นี้เอง ขั้วไต (renal hilus) ตรงขั้วไตจะมีกรวยไต(renal pelvis) เป็นที่รองรับนํ้าปัสสาวะที่จะออกมาจากไต ส่งไปตามหลอดปัสสาวะ (ureter) เพื่อนำไปเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) เมื่อนํ้าปัสสาวะเต็มก็พร้อมที่จะขับออกทางหลอดปัสสาวะ (ureter) โดยไปเปิดที่ตัวลึงค์ (penis) ในเพศผู้ และที่ช่องคลอด (vagina) ในเพศเมีย ถ้าผ่าไปตามยาวจะพบว่า ชั้นนอกสุดมีเยื่อไขมันบางๆ กั้นอยู่เรียกว่า renal capsule ถัดเข้าไปเป็นเนื้อไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ renal cortex และ renal medulla

ชั้นของ renal cortex ประกอบด้วยหน่วยขับปัสสาวะเรียกว่า nephron เนื้อไตที่แทรกอยู่ระหว่างหน่วยขับปัสสาวะซึ่งเรียกว่า stroma Renal cortex นี้จะมีสีจางกว่าส่วนที่เป็น medulla ชั้นของ medulla ประกอบด้วยท่อรวบรวมนํ้าปัสสาวะ (collecting ducts) มากมายเรียงตัวกันอยู่อย่างเป็นระเบียบมีเนื้อเป็นกลุ่ม ๆ มีลักษณะเป็นปิรามิด (pyramidal shape) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนนอก (outer medullary zone) และส่วนใน (inner medullary zone) ไตส่วนนี้ทำหน้าที่รวบรวมนํ้าปัสสาวะส่งลงกรวยไต (renal pelvis) ขับออกไปเป็นนํ้าปัสสาวะต่อไป ไตของโค กระบือ และสัตว์ปีกมีลักษณะเป็นก้อนๆ (Lobule) คล้ายพวงองุ่น มีกรวยไต (renal pelvis) ไม่ชัดเจน ส่วนไตของม้า สุกร สุนัข แมว และคนไม่เป็นก้อน เป็นหน่วยเดี่ยวๆ ผิวเรียบและเห็นกรวยไต (renal pelvis) ชัดเจน ในส่วนของ renal cortex ของไตข้างหนึ่งๆ มีหน่วยขับปัสสาวะ (nephron) มากมาย เช่น คน 100 ล้านอัน ม้า โค กระบือ 300 ล้านอัน สุกร 1-3 ล้านอัน สุนัข 0.93 - 0.7 ล้านอัน ไตของสัตว์ต่างๆ และส่วนประกอบของระบบขับถ่ายปัสสาวะ แสดงไว้ในภาพที่ 6.1 และ 6.2

ส่วนประกอบของไตยังมีตอมหมวกไต (adrenal glands) อยู 1 คูมีตําแหนงอยูที่ด้านหน้าของไตแตละขาง รูปราง ขนาด และ ตําแหนงของต่อมหมวกไตแตกตางกันไปตามชนิดของสัตว ผิวนอกของต่อมจะมีเปลือกหุม (capsule) ตอมหมวกไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกเรียกวา cortex ชั้นในเรียกวา medulla ชั้นนอกจะแบงออกเปน 3 ชั้น คือ ชั้นนอกสุดใตเปลือกหุมเรียกวา zona glomerulosa ทําหนาที่ ผลิตและหลั่งฮอรโมน mineralocorticoid ชั้นกลางเรียกวา zona fasiculata ผลิตและหลั่ง ฮอรโมนกลูโคคอรติคอยด (glucocorticoid) ชั้นในสุดเรียกวา zona reticularis ทําหนาที่ผลิต และหลั่งฮอรโมนเพศ (sex hormone) ชั้นในของตอมหมวกไตจะผลิตและหลั่งฮอรโมนที่สําคัญ ไดแก epinephrin และnorepinephrin

ภาพที่ 6.1 ไตของโค กระบือ และสัตว์ต่าง ๆ

ที่มา : เชิดชัย และคณะ (2530)

ภาพที่ 6.2 ส่วนประกอบของระบบขับถ่ายปัสสาวะ

ที่มา : เชิดชัย และคณะ (2530)

3.2 หน่วยขับปัสสาวะ หน่วยขับปัสสาวะ (Nephron) ประกอบด้วย

3.2.1 หน่วยกลั่นกรองปัสสาวะ (Malpighian body or Corpuscles) เป็นส่วนที่อยู่ในเนื้อไตชั้นนอก (cortex) ประกอบด้วย (1) กลุ่มเส้นเลือดฝอย เรียกว่า gromerulus มีอยู่ประมาณ 5 กลุ่มหรือมากกว่า (2) กรวยรองรับปัสสาวะเรียกว่า bowman’s capsule เป็นส่วนปลายของท่อปัสสาวะในไตที่ขยายเป็นรูปกรวยรองรับรอบๆ กลุ่มของเส้นเลือดฝอย

3.2.2 หลอดปัสสาวะในไต (Renal tubule) ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ (1) ท่อปัสสาวะส่วนต้น (Proximal Convoluted tubule) เป็นท่อที่ต่อลงมาจาก bowman’s capsule ท่อนี้อยู่ในส่วนของ cortex (2) ท่อปัสสาวะส่วนกลาง (Henle’s loop) เป็นที่ต่อจากท่อปัสสาวะส่วนต้น มีขนาดเส้นโค้ง ท่อนี้อยู่ในส่วนของ cortex (3) ท่อปัสสาวะส่วนปลาย (Distal convoluted tubule) ต่อจากท่อปัสสาวะส่วนกลางแล้วกลับไปเข้าในส่วนของ cortex ) (4) ท่อรวมปัสสาวะ (Collecting tubule or papilla pyramid) เป็นท่อรวบรวมนํ้าปัสสาวะจากหน่วยขับปัสสาวะหลายๆ หน่วยแล้วส่งออกไปยังกรวยไตผ่านหลอดปัสสาวะ (ureter) ไปสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วขับออกต่อไป ท่อรวบรวมปัสสาวะหน่วยเล็กๆ เรียกว่า minor calyx ประมาณ 6 - 12 ช่องจะเปิดเข้าสู่ช่องรวบรวมใหญ่ที่เรียกว่า major calyx 2 อัน จากนั้นจะเปิดเข้าสู่กรวยไต กรวยไตนั้นความจริงเป็นส่วนของหลอดปัสสาวะที่ขยายใหญ่ออก

ภาพที่ 6.3 รูปวาดการตัดตามขวางแสดงให้เห็นโครงสร้างไตมนุษย์อย่างหยาบ และ nephron

ที่มา : DialSpace (2011)

3.3 หน้าที่ของไต ไตทำหน้าที่เกี่ยวกับการขับถ่าย excretion) และเคลื่อนย้ายของเสีย (remove waste product) ออกจากกระแสโลหิต และเป็นตัวที่จะสร้างนํ้าขับต่างๆ ของร่างกายออกไปเป็นนํ้าปัสสาวะ (urine)

3.4 หลอดปัสสาวะ (ureter) หลอดหลอดปัสสาวะ (ureter) เป็นท่อหรือหลอดที่มีอยู่ 2 หลอด ขวาและซ้าย แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนท้อง abdominal part) และส่วนเชิงกราน (pelvic part) ตั้งต้นจากส่วนบนที่พองออกเรียกว่า pelvis ของไต หรือ renal pelvis ทอดลงไปข้างล่างไปเปิดเข้าด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะ calyx คือ แขนงเล็กๆ ที่รับนํ้าปัสสาวะจากยอดของ renal pyramid มาเทลงใน renal pelvis ส่วนหลอดปัสสาวะ เป็นหลอดซึ่งติดอยู่ระหว่าง renal pelvis กับกระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) หลอดปัสสาวะนี้ทอดอยู่ภายนอกของ parietal peritonium ผนังของหลอดปัสสาวะ แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ

3.4.1 Fibrous coat เป็นชั้นนอกมีเส้นโลหิตและเส้นประสาท

3.4.2 Muscular coat เป็นชั้นกลางมี 2 ชั้น ชั้นในเป็น longitudinal layer ชั้นนอกเป็น circular layer

3.4.3 Mucous coat เป็นชั้นในซึ่งบุด้วย transitional epithelium ซึ่งอาจจะมีรอยย่น เป็นรูปยาว ทำหน้าที่ขับเยื่อเมือก (mucous) หล่อเลี้ยงในส่วนต้นที่ยาวประมาณ 4 นิ้ว หน้าที่ของท่อปัสสาวะก็คือ นำปัสสาวะจากไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะ

4. กระเพาะปัสสาวะ และหน้าที่ของกระเพาะปัสสาวะ

4.1 โครงสร้างกระเพาะปัสสาวะ โครงสร้างกระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเป็นโพรงตั้งอยู่หน้า vential wall of pelvic แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัวเรียกว่า vertex ส่วนกลางเรียกว่า body ส่วนหาง เรียกว่า neck ขนาดของกระเพาะปัสสาวะนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ หรือกระเพาะปัสสาวะในขณะว่าง หรือเต็ม ผนังของกระเพาะปัสสาวะแบ่งเป็น 4 ส่วน

4.1.1 Serous coat ประกอบด้วย peritoneum หุ้มอยู่เฉพาะด้านบน หรือส่วนบนของด้านข้างๆ เท่านั้น .

4.1.2 Muscular coat แบ่งเป็น 3 ชั้น (1) ชั้นในเป็น longitudinal layer (2) ชั้นกลางเป็น circular layer เป็นบริเวณส่วนล่างของกระเพาะปัสสาวะ เรียงเป็นวงกลม ซึ่งคอยปิดไม่ให้นํ้าปัสสาวะไหลออก นอกจากเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือเป็นหูรูด (sphincter) (3) ชั้นนอกเป็น longitudinal layer

4.1.3 Submucous coat ประกอบด้วย areolar tissue แต่แยกไม่ได้เป็นชั้นชัดเจน

4.1.4 Mucous coat ประกอบด้วยเยื่อชุ่ม (mucous membrane) ซึ่งบุด้วย transitional epithelium และติดต่อกับ เยื่อชุ่มที่บุอยู่ภายในหลอดปัสสาวะ (ureter) และท่อปัสสาวะ urethra) ในชั้นนี้จะเป็นหลืบ หรือรอยพับ (folds) ในเวลากระเพาะปัสสาวะว่าง เมื่อกระเพาะปัสสาวะหดตัวจะประกอบด้วยเซลล์หลายชั้น เมื่อกระเพาะปัสสาวะขยายตัวจะมองเห็นเซลล์น้อยชั้นลง ฉะนั้นความแตกต่างระหว่าง เยื่อบุผิวที่บุภายในจึงขึ้นอยู่กับปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะในขณะนั้น กระเพาะปัสสาวะมีรูมาเปิด 3 รู คือ รูเปิดของหลอดปัสสาวะ (ureter) 2 รู และรูเปิดของท่อปัสสาวะ (urethra) 1 รู แรงดันของนํ้าปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะจะปิดรูเปิดของหลอดปัสสาวะไว้เสีย ลิ้นที่ปิดช่องนี้เกิดขึ้นโดยหลืบของเยื่อชั้นใน โครงสร้างกระเพาะปัสสาวะ แสดงไว้ในภาพที่ 6.4

ภาพที่ 6.4 โครงสร้างกระเพาะปัสสาวะ

ที่มา McKinley (2011)

4.2 หน้าที่ของกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะมีหน้าที่รับนํ้าปัสสาวะ และเก็บไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีนํ้าปัสสาวะมากพอควรก็จะขับออกมา

5. ส่วนประกอบของนํ้าปัสสาวะ

นํ้าปัสสาวะ (urein) ปกติจะมีสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ

5.1 นํ้าประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์

5.2 ของแข็ง (solid) ได้แก่ สารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ (organic และ inorganic matter) สาร

อินทรีย์ organic matter) มีประมาณ 3.7 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญประกอบด้วย (1) ยูเรีย เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนในโลหิต และเนื้อเยื่อ 2) คลีเอตินิน (creatinine) เกิดจากการเผาผลาญของคลีเอติน (creatine) ซึ่งมีอยู่ในกล้ามเนื้อและโลหิต (3) เพียวริน (urine bodies) ได้แก่ กรดยูริก (uric acid) ที่สำคัญคือ แอนทีน (anthine) และไฮโปแซนทีน (hypoxanthine) สารอนินทรีย์ norganic matters) ได้แก่ Sodium chloride (NaCl) Sulphates, phosphate ของ Sodium, Calcium Magnesium และ Ammonia (NH3)