Transcript
Page 1: ภูเก็ตเตรียมความพร้อม ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-17122558... · 2015-12-17 · ว ั น ท ่ี 1 5 ส ิ ง

วั น ท่ี 1 5 สิ ง ห า ค ม 2 5 5 8

จั ง ห วั ด ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น รู้

เด่นในฉบับ..

• ต้นกล้า PLC ท่ีอำนาจเจริญ

• “พลังส่ือสารมวลชนคนโคราช” ร่วมผลักดันจังหวัด

ปฏิรปูการเรียนรูจั้งหวัดนครราชสีมา

ฉบับที่ 12

สานปัญญาฉบับน้ี ศ.ดร.สมุาล ีตัง้ประดบักลุ ผูท้รงคุณวุฒิ

สสค.จะพาเราไปดูงานเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่โลกของงาน

ที ่จังหวัดภูเก็ต โดยเมื ่อวันที ่ 13 พฤศจิกายน 2558 สภา

การศึกษาภูเก็ต นำโดยนายบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการ

ศึกษาภูเก็ต และทีมวิชาการด้านหลักสูตรและประเมินผลโดย

ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่ง

การเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้จัดประชุมเตรียม

ความพร้อมนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายสู่โลก

ของการทำงาน ณ สำนักงานเทศบาลนครภูเก ็ต โดยมี

ผู้ประกอบการ ครู และผู้อำนวยการสถานศึกษามัธยมศึกษา

และอาชีวศึกษาในพื้นที่ 11 แห่งเข้าร่วมการประชุม

ศ.ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุล ได้นำเสนอข้อมูลวิชาการใน

2 ส่วน ได้แก่ สถานการณ์เด็กและเยาวชนจังหวัดภูเก็ต และ

ภาพรวมเศรษฐกิจและแนวโน้มการพัฒนาของภูเก็ต หากพูดถึง

สถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนภูเก็ตสามารถประมวลได้

2 ประเด็นสำคัญ ดังนี ้ 1) ปัญหาเยาวชนหลุดออกนอก

ระบบและการศึกษาปัจจุบันยังไม่ได้เตรียมความพร้อมแก่

เยาวชนสำหรับใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพ จากการ

วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบระดับชาติ O-NET และ

V-NET ปี 2551-2557 พบว่า เด็กและเยาวชนมัธยมศึกษา

ตอนต้นในภูเก็ตหลุดออกจากระบบ ร้อยละ 14 และเยาวชน

มัธยมศึกษาตอนปลายหลุดออกจากระบบร้อยละ 49 คำถามที่

ตามมาคือ การศึกษาปัจจุบันได้เตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชน

เหล่านี้สำหรับใช้ชีวิตและประกอบอาชีพเพียงใด 2) แรงงาน

ยังขาดทักษะที่จำเป็น ผู้ประกอบการระบุอุตสาหกรรมสำคัญ

ของภูเก็ตคือการท่องเที่ยวและการบริการ และทักษะที่แรงงาน

ขาดมากที่สุดคือ ภาษา (อังกฤษ รัสเซีย เป็นต้น) และด้าน

จริยธรรมการให้บริการ

ภูเก็ตเตรียมความพร้อม นักเรียนมัธยมศึกษาสู่โลกของการทำงาน

อ่านต่อหน้า 4

นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์

การสร้างความพร้อมให้แก่เยาวชนเพื่อให้สามารถใช้ชีวิต

อิสระและประกอบอาชีพได้ จึงต้องตอบโจทย์แผนการพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ จากรายงานวิเคราะห์สถานการณ์

การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ จังหวัดภูเก็ตโดยสำนักงานสถิติจังหวัด

ภูเก็ต พบว่า ปี 2556 จังหวัดภูเก็ตมีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด

ต่อหัว (GPP per capita) 250,952 บาท ต่อคนต่อปี สูงเป็นอันดับ

1 ของภาคใต้และเป็นอันดับ 10 ของประเทศ มาจากการผลิต

ในภาคเกษตร 4,833 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 3.63 และ

นอกภาคเกษตร 128,450 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 96.37

16 ธันวาคม 2558

Page 2: ภูเก็ตเตรียมความพร้อม ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-17122558... · 2015-12-17 · ว ั น ท ่ี 1 5 ส ิ ง

2

โรงเรียนหัวดงหนองคลองเป็นหนึ่งในโรงเรียนนำร่องของ

จังหวัดอำนาจเจริญ ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบกลไก และ

แนวทางการหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนา

ผู้เรียน เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน มีครู 9 คน นักเรียน 91 คน ผู้บริหาร คือ

นายสมาน แสงวงค์

จุดเน้นการทำงานของโรงเรียนเพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้

ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community-PLC) ของ

โรงเรียนคือ การร่วมมือ รวมพลัง ร่วมวางแผน แลกเปลี่ยน

เรียนรู้ เปิดใจยอมรับซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่าน

ไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียน โดยมีผู้บริหารเป็นผู้หนุนเสริมทั้ง

ด้านงบประมาณ อาคารสถานที่ อาหาร รวมทั้งการติดตาม

ช่วยเหลือ การทำกำหนดการ/ตารางสังเกตการสอน และเป็น

พี่เลี้ยงในการพัฒนาผู้เรียนให้แก่คณะครู

ในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนนี ้

เริ ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจร่วมกัน ในการพัฒนาชุมชน

การเรียนรู้ทางวิชาชีพ หลังจากนั้นได้ร่วมกันกำหนดประเด็น

ปัญหาและเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน คือ การอ่านออก

เขียนได้ โดยได้จัดกลุ่มครูที ่ร่วมเรียนรู้ด้วยกันเป็น 3 กลุ่ม

ได้แก่ กลุ่มครูปฐมวัย กลุ่มครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และ

กลุ่มครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ครูในแต่ละกลุ่มจะนำแนวทาง

การศึกษาผ่านบทเรียน (Lesson Study) 3 ขั้นตอนมาใช้พัฒนา

ตนเองและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน โดย

เริ่มจาก 1) การร่วมกันวางแผน แบ่งงานร่วมพูดคุยปัญหา

เขียนแผนการเรียนรู้ 2) ดำเนินการสอน โดยมีเพื่อนครูเข้า

ร่วมสังเกตการสอนพร้อมร่วมกัน 3) สะท้อนผลการปฏิบัติการ

สอนของครู (Reflection) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มครู

และมีการปรับปรุงแก้ไขแผนการเรียนรู้ให้ดีขึ้นตามคำเสนอแนะ

ของครูในกลุ่ม ขั ้นตอนทั้ง 3 ขั ้นตอนส่งผลให้กลุ่มครูมีการ

พัฒนาปรับปรุงแก้ไขแผนการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และสื่อ

อย่างต่อเนื่อง

ต้นกล้า PLC ที่อำนาจเจริญ

พัฒนาคน... พัฒนางาน

ดร.กุณฑลี บริรักษ์สันติกุล

การดำเนินการดังกล่าวได้รับการเติมเต็มความรู้ ความคิด

และแนวทางการทำงานโดยทีมงานระดับจังหวัดอย่างต่อเนื่อง

มีการปรับเปลี่ยนแนวทางในการจัดกระบวนการพัฒนาครูให้

ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่งผลให้ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น พูดคุย

เกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาสื่อการเรียนร่วมกัน

มากขึ้น ครูมีการเตรียมการสอนและวางแผนร่วมกันโดยครู

ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เกิดความสามัคคี

ร่วมมือร่วมใจกัน บรรยากาศของโรงเรียนน่าทำงาน มีความ

เป็นพี่น้อง ครูมีความสุขและกระตือรือร้นในการทำงานมากขึ้น

Page 3: ภูเก็ตเตรียมความพร้อม ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-17122558... · 2015-12-17 · ว ั น ท ่ี 1 5 ส ิ ง

ปาฐกถาตอนหนึ่ง ของ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ

เรื่อง การขับเคลื่อนการศึกษาไทย ชี้ให้เห็นความสำคัญของ

ปัญหาการศึกษาที่เด็กส่วนใหญ่ในสังคมขาดโอกาสเข้าถึง มี

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เด็กหายไปจากระบบการศึกษา

สวนทางกับความเจริญของสังคม จึงเป็นประเด็นไปสู่โจทย์

“ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสให้เด็กยากจน พร้อม

การเตรียมคนสู่โลกของงาน”

นำสู่การแก้ปัญหาด้วยการสร้างเครือข่ายการจัดการศึกษา

เชิงพื้นที่ (Area-based Education หรือ ABE) โดยใช้กลไกระดับ

จังหวัด ท้องถิ่น และชุมชน เป็นฐานในการสะท้อนปัญหา และ

มีบทบาทวางแผนการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาของเยาวชนใน

พื้นที่ของตนมากขึ้น ผ่านแนวทาง “คิดใหญ่ เริ่มเล็ก ทำลึก”

โดยเริ่มจากการจัดเสวนาบทบาทของสื่อต่อการปฏิรูปการเรียนรู้

ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนใน

พ้ืนท่ี อาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหมูบ้่านและชุมชน ร่วมมือ

กันระดมความคิดเห็น พร้อมทั้งผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับบทบาท

ของสื่อต่อการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางการปฏิรูปและยกระดับ

คุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่แก่ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา

อีกทั้ง การอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพนักรณรงค์

สื่อสารยุคใหม่ครั้งที่ 2 ณ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS ทำให้เกิด

แรงบันดาลใจ ที่ไม่เพียงสร้างความเข้าใจและเสริมศักยภาพใน

ฐานะเจ้าของประเด็นเท่านั้น แต่ยังจุดประกายสู่ความหวังที่จะ

เห็นความเปลี ่ยนแปลงการศึกษาในพื ้นที ่ของตน จังหวัด

ปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัดนครราชสีมาจึงเดินหน้าต่อยอดผ่าน

กระบวนการผลิตสื่อ สร้างความร่วมมือกับสื่อมวลชนในพื้นที่

เพื ่อจัดตั ้งคณะทำงานรณรงค์สื ่อสารพร้อมผลักดันกิจกรรม

รณรงค์ให้เป็นกลไกสำคัญ ให้ทุกคนตระหนักและมีส่วนร่วมใน

การปฏิรปูการเรียนรูข้องเด็กและเยาวชน ในจังหวัดนครราชสีมา

อาทิ

• 22 ตุลาคม 2558 ทีมรณรงสื่อสารจังหวัดปฏิรูปการ

เรียนรู้จังหวัดนครราชสีมา ลงพื้นที่ถ่ายทำสกู๊ปข่าว ที่โรงเรียน

กีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ ่งทำการเรียนการสอนด้าน

วิชาการควบคู่ไปกับกีฬา และได้มีการทำหนังสือบันทึกข้อตกลง

ด้านหลักสูตรกับวิทยาลัยพลศึกษา จ.มหาสารคาม

“พลังสื่อสารมวลชนคนโคราช” ร่วมผลักดันจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัดนครราชสีมา

ดร.โศรฎา แข็งการ ที่ปรึกษาโครงการรณรงค์สื่อสารจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้นครราชสีมา

3

รณรงค์สื่อสาร จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้

• 10 พฤศจิกายน 2558 ผศ.ดร.ปภากร พิทยชวาล

รองผู้อำนวยการเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ร่วมจัดรายการ “สื่อสร้างสังคม” ณ สถานีวิทยุกระจายเสียง

แห่งประเทศไทย จ.นครราชสีมา ได้พูดถึงโครงการการจัดการ

ศึกษาเชิงพื ้นที ่ จ.นครราชสีมา ซึ ่งได้รับความร่วมมือจาก

ทุกภาคส่วนในการจัดตั้งสมัชชาการศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

คือ เขตพื้นที่ เครือข่ายครู มหาวิทยาลัย/วิทยาลัย ประชาสังคม

อบจ./รัฐ และศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ทำให้สื่อต่างๆ ใน

จังหวัดฯ เห็นความสำคัญของการรณรงค์สื่อสาร โดยมีพื้นที่

นำร่องเพื ่อจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

จาก 3 เขตเทศบาล ได้แก่ 1.เทศบาลนครราชสีมา 2.เทศบาล

สุรนารี 3. เทศบาลตลาดแค

ทั ้งนี ้ ความสำเร็จของการจัดการศึกษาเชิงพื ้นที ่อยู ่ที ่

ประสิทธิภาพของการจัดการความร่วมมือระหว่างภาคีต่างๆ ทั้ง

ภาคการศึกษา ภาคเอกชน ภาคท้องถิ ่น ให้เห็นโจทย์หรือ

เป้าหมายการศึกษาร่วมกันและช่วยกันขับเคลื่อนงานการศึกษา

ของพื้นที่ไปสู่ความสำเร็จ ภายใต้แนวคิด ABC (Area-Based

Collaborative) เพื่อที่จะร่วมกันจัดการศึกษา ออกแบบหลักสูตร

ทำแผนการศึกษาไปพร้อมๆ กัน เพื่ออนาคตที่ดีของลูกหลาน

คนโคราช

Page 4: ภูเก็ตเตรียมความพร้อม ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-17122558... · 2015-12-17 · ว ั น ท ่ี 1 5 ส ิ ง

เชียงใหม่ : 27 พฤศจิกายน 2558 สสค.ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จัดประชุมนำเสนอผล

วิจัยสำรวจความต้องการตลาดแรงงานนำร่องจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้ในการออกแบบแผนการเรียน

ในการสร้างความพร้อมในการประกอบอาชีพให้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนา

จังหวัด หลังจากนี้จะขยายผลสู่ภูเก็ต ตราด สุราษฎร์ธานี และอำนาจเจริญ...

อำนาจเจริญ : 30 พฤศจิกายน 2558 เป็นวันประชุมคัดเลือกคณะกรรมการสภาการศึกษาจังหวัด

อำนาจเจริญและกำหนดแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญระยะ 5 ปี พ.ศ.2559-

2564 ที่ประชุมคัดเลือกนายนรงฤทธิ์ จันทรเนตร เป็นประธานสภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ

ABE Corner ขอแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจให้ขับเคลื่อนการศึกษาอำนาจเจริญต่อไป...

ภูเก็ต : ช่วงนี้พี่ๆ จากหลากหลายอาชีพในนามกลุ่ม Learn for Life ตระเวนเยี่ยมเยียนแนะแนว

อาชีพน้องๆ ถึงในโรงเรียนไม่เว้นแต่ละวันเพื่อเป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนจะถึงวันงาน Learn for Life

ซึ่งสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ตจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ณ ศูนย์กีฬาสะพานหิน ระหว่างวันที่ 16-19

มกราคม 2559 นี้ ...

แม่ฮ่องสอน : 1 ธันวาคม 2558 สมาคมพัฒนาการศึกษาแม่ฮ่องสอนโดยการสนับสนุนจากนายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่า

ราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดให้มีการประชุม “แม่ฮ่องสอน จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้” ณ อาคารดงรัก วิทยาลัยชุมชน

จังหวัดแม่ฮ่องสอน งานนี้ได้ข้อสรุปแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของจังหวัดระยะต่อไปที่ผู ้ว่าราชการจังหวัดจะให้การ

สนับสนุนซึ่งสานปัญญาจะนำเสนอต่อไป

ABE Network’s Corner

สมัครสมาชิก สสค. ดาวน์โหลดไฟล์จดหมายข่าว “สานปัญญา” ได้ที่ www.QLF.or.th

ติดตามข่าวสาร สสค. ที่ Quality Learning Foundation QLFThailand

แจ้งเปลี่ยนที่อยู่สมาชิก/สอบถาม โทร. 02-6191811

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัด 3

อันดับแรก ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร คิดเป็นร้อยละ

37.77 สาขาการขนส่ง คิดเป็นร้อยละ 23.66 สาขาการขาย

ส่ง ขายปลีก คิดเป็นร้อยละ 5.77 การพัฒนาแผนการเรียนรู้

ด้านอาชีพให้แก่เยาวชนจึงต้องสอดคล้องกับความต้องการ

ตลาดแรงงาน จากข้อมูลสถานการณ์ข้างต้นที่ประชุมได้เห็นร่วม

กันในการพัฒนาและนำร่องแผนการเรียนรู้การท่องเที่ยวและ

บริการให้แก่เยาวชนในจังหวัดภูเก็ต

นอกจากนี ้ที ่ประชุมยังได้แลกเปลี ่ยนในประเด็นสำคัญ

ได้แก่ การเตรียมความพร้อมตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อให้

เด็กรู้จักตนเองและความถนัด โดยมีตัวอย่างการทำงานเรื่องนี้

ในพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียนวัดเทพนิมิตรภูเก็ต โรงเรียนมัธยมขยาย

โอกาสที่แก้ปัญหาเด็กหลุดออกนอกระบบ โดยการเปิดรายวิชา

เพิ่มเติมทำมาหากินให้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นร่วมมือ

กับผู้ประกอบการ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาในพื้นที่ เช่น

รายวิชาคหกรรม โดยเชิญวิทยากรจากสมาคมเชฟภูเก็ตมาสอน

การทำอาหาร รายวิชาซ่อมรถจักรยานยนต์ จัดการเรียนการ

สอนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต เป็นต้น โดยคณะ

กรรมการสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและ

ให้การสนับสนุนโรงเรียน ในการพัฒนารายวิชา วิทยากร เคร่ืองมือ

และวัสดุอุปกรณ์ โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียวเปิด

ABE คอร์เนอร์ฉบับปรับเปลี่ยนผู้ว่า

แผนการสอนธุรกิจอาหารท้องถิ่น และการท่องเที่ยวเชิงประวัติ-

ศาสตร์ รองรับศูนย์การเรียนรู ้ด้านการท่องเที ่ยวบูรณาการ

เอกลักษณ์ท้องถิ่น โดยเป็นความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยว

แห่งประเทศไทยสนับสนุน เทศบาลนครภูเก็ตและโรงเรียน

นอกจากนี้จังหวัดภูเก็ต นำโดย เทศบาลนครภูเก็ตและสภาการ

ศึกษาภูเก็ต เตรียมจัดงานมหกรรมแนะแนวอาชีพให้แก่นักเรียน

มัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 16-19

มกราคม 2559 ณ ศูนย์กีฬาสะพานหิน ตั้งเป้าแนะแนวให้

ความรู้นักเรียนผู้ปกครอง และครูจำนวน 3,000 คน เพื่อสร้าง

แรงบันดาลใจในการก้าวสู่โลกของการทำงานและปรับเปลี่ยน

ทัศนคติในการเลือกเรียนสายอาชีพหรือสายสามัญ โดยมี

สถานประกอบการภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในโอกาสหน้า

สสค. จะนำมาเล่าให้สมาชิกได้รับทราบกันต่อไป

ต่อจาก หน้า 1


Recommended