3
นาวิกศาสตร์ ปีท่ ๙๔ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ บทความ การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๔ กล่าวนำ การฝึกกองทัพเรือ เป็นการฝึกใหญ่และสำคัญที่สุดของ กองทัพเรือ ซึ่งได้เริ่มทำการฝึกครั้งแรกเมื่อปีงบประมาณ ๒๕๔๗ใช้ชื่อการฝึกว่า“การฝึกกองทัพเรือบูรณาการ(ทรบ.)” โดยมีแนวคิดในการบูรณาการการฝึกด้วยการนำการ ปฏิบัติการสาขาต่าง ๆ ของส่วนกำลังรบ การปฏิบัติและ การสนับสนุนของกรมในส่วนบัญชาการ ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษา ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาทำการฝึก ภายใต้สถานการณ์การฝึกเดียวกันและใช้ทรัพยากรร่วมกัน การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๔ การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๔ หรือท่เรียก โดยย่อว่า “การฝึก ทร.๕๔” ยังคงแนวคิดในการบูรณาการ การฝึกของหน่วยต่างๆมาทำการฝึกร่วมกันแต่ได้ปรับปรุง การฝึกมาโดยลำดับเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์และภัยคุกคาม ในปัจจุบัน มีรายละเอียด ดังนวัตถุประสงค์ของการฝึก มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการ คือ - เพื่อทดสอบกระบวนการวางแผน และการปฏิบัติ ตามแผนยุทธการของกองทัพเรือ - เพื่อทดสอบการควบคุมการบังคับบัญชา และการ อำนวยการยุทธ์ในระดับกองทัพเรือ และขีดความสามารถ ของกำลังระดับยุทธบริเวณ ซึ่งได้แก่ทัพเรือภาคทั้ง ๓ ทัพเรือภาค - เพื่อทดสอบแนวความคิดในการกำหนดระดับความ พร้อมรบ ให้สอดคล้องกับระดับความรุนแรงของ สถานการณ์ ตามแผนป้องกันประเทศ - เพื่อทดสอบกองทัพเรือ ในการปฏิบัติตามแผน เผชิญเหตุ อาทิ แผนต่อต้านการก่อการร้ายบนแท่นผลิต ก๊าซธรรมชาติในทะเล เป็นต้น ขั้นตอนการจัดการฝึก เนื่องจากการฝึกกองทัพเรือเป็นการฝึกใหญจึงได้เริ่มการเตรียมการฝึกตั้งแต่ปีงบประมาณท่ผ่านมา นาวาเอกไพโรจน์ เฟื่องจันทร์ ๐11

เรือ - rtni.org fileวัตถุประสงค์ของการฝึก มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการ คือ - เพื่อทดสอบกระบวนการวางแผนและการปฏิบัติ

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: เรือ - rtni.org fileวัตถุประสงค์ของการฝึก มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการ คือ - เพื่อทดสอบกระบวนการวางแผนและการปฏิบัติ

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔

บทความ

การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๔

กล่าวนำ การฝึกกองทัพเรือ  เป็นการฝึกใหญ่และสำคัญที่สุดของ กองทัพเรือ  ซึ่งได้เริ่มทำการฝึกครั้งแรกเมื่อปีงบประมาณ  ๒๕๔๗ ใช้ชื่อการฝึกว่า “การฝึกกองทัพเรือบูรณาการ (ทรบ.)” โดยมีแนวคิดในการบูรณาการการฝึกด้วยการนำการ ปฏิบัติการสาขาต่าง  ๆ  ของส่วนกำลังรบ  การปฏิบัติและ การสนับสนุนของกรมในส่วนบัญชาการ  ส่วนยุทธบริการ และส่วนการศึกษา  ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาทำการฝึก ภายใต้สถานการณ์การฝึกเดียวกันและใช้ทรัพยากรร่วมกัน การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๔  การฝึกกองทัพเรือ  ประจำปี  ๒๕๕๔  หรือที่เรียก โดยย่อว่า “การฝึก ทร.๕๔” ยังคงแนวคิดในการบูรณาการ การฝึกของหน่วยต่าง ๆ  มาทำการฝึกร่วมกัน แต่ได้ปรับปรุง การฝึกมาโดยลำดับเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์และภัยคุกคามในปัจจุบัน มีรายละเอียด ดังนี้วัตถุประสงค์ของการฝึก มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการ คือ

-  เพื่อทดสอบกระบวนการวางแผน  และการปฏิบัติ ตามแผนยุทธการของกองทัพเรือ  -  เพื่อทดสอบการควบคุมการบังคับบัญชา  และการ อำนวยการยุทธ์ในระดับกองทัพเรือ  และขีดความสามารถ ของกำลังระดับยุทธบริเวณ  ซึ่งได้แก่ทัพเรือภาคทั้ง  ๓ ทัพเรือภาค  -  เพื่อทดสอบแนวความคิดในการกำหนดระดับความ พร้อมรบ  ให้สอดคล้องกับระดับความรุนแรงของ สถานการณ์ ตามแผนป้องกันประเทศ  -  เพื่อทดสอบกองทัพเรือ  ในการปฏิบัติตามแผน เผชิญเหตุ  อาทิ  แผนต่อต้านการก่อการร้ายบนแท่นผลิต ก๊าซธรรมชาติในทะเล เป็นต้นขั้นตอนการจัดการฝึก   เนื่ องจากการฝึกกองทัพเรื อ เป็นการฝึก ใหญ่  จึงได้เริ่มการเตรียมการฝึกตั้งแต่ปีงบประมาณที่ผ่านมา 

นาวาเอกไพโรจน์ เฟื่องจันทร์

๐11

Page 2: เรือ - rtni.org fileวัตถุประสงค์ของการฝึก มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการ คือ - เพื่อทดสอบกระบวนการวางแผนและการปฏิบัติ

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔

ด้วยการจัดการประชุมวางแผนการฝึก  การจัดทำคำสั่ง ยุทธการและคำสั่งการฝึก  รวมทั้งจัดเตรียมกำลังพล  และ ตรวจสอบความพร้อมของยุทโธปกรณ์ก่อนการฝึก  และ เพื่อให้การฝึกบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  จึงได้แบ่ง ขั้นตอนการฝึกไว้เป็นลำดับ ดังนี้ - การอบรมในห้องเรียน  เป็นการนำบทเรียน  หัวข้อ ที่ เ ป็ นข้ อขั ดข้ อ งจากการฝึ ก ในปี ที่ ผ่ านมา   และ แนวทางการฝึกในปีปัจจุบัน  มาประกอบในการกำหนด หัวข้อการอบรม  เพื่อเป็นการเพิ่มความรู้  ความเข้าใจ 

ตามแผน  การปฏิบัติด้านยุทธการตามสาขาปฏิบัติการ  และขีดความสามารถของกำลังรบในทุกสาขาของ ฝ่ ายอำนวยการ  ได้แก่   การปฏิบัติด้ านกำลั งพล ด้านข่าวกรองทางทหาร  ด้านส่งกำลังบำรุง  ด้านการ สื่อสาร  สงครามอิเล็กทรอนิกส์  และด้านกฎหมายสงคราม - การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล นับเป็นขั้นตอนสุดท้าย ของการฝึก  โดยจะเป็นการฝึกภาคปฏิบัติของหน่วยกำลังรบ  และหน่วยสนับสนุนที่ เกี่ยวข้อง  โดยการนำเอาภาพ สถานการณ์สำคัญจากการฝึกปัญหาที่บังคับการ ที่ต้องการ

และสามารถนำไป ใช้ เป็ น แนวทางการปฏิบัติในการฝึก ขั้นอื่น ๆ  ได้  อย่างไรก็ตาม การอบรมนี้ มุ่งเน้นทำการอบรม กำลังพลของหน่วย ตามหัวข้อ การอบรมที่สอดคล้องกับหัวข้อ และแนวทางการฝึกในระดับ กองทัพเรือ  ในการฝึกองค์บุคคล แล ะยุ ท ธ วิ ธี ข อ งหน่ ว ย ในช่ ว งต้นปี งบประมาณแล้ ว   -  การฝึกแก้ปัญหาที่บังคับการ  เป็นการทดสอบ แนวความคิด การตัดสินใจ  และการปฏิบัติตามแผนยุทธการ ที่ ได้จัดทำขึ้นสอดคล้องกับแผนระดับกองบัญชาการ กองทัพไทย การฝึกในห้วงแรกได้ทำการฝึก  ณ  ที่ตั้งปกติ ของหน่วยต่าง ๆ   โดยปล่อยสถานการณ์  และพัฒนา สถานการณ์จากภาวะปกติจนเกิดภาวะขัดแย้งเน้นการฝึก เกี่ยวกับกระบวนการวางแผนทางทหาร  การเตรียมการ ก่อนเกิดสงคราม  และการต่อต้านการก่อการร้าย  จากนั้ น   เมื่ อ สถานการณ์ กา รฝึ กมี ความรุ นแร ง  การปฏิบัติของหน่วยรับการฝึก  จะเข้าสู่สถานการณ์ ฝึกในขั้นตอบโต้  และขั้นป้องกันประเทศ  ซึ่งทำการฝึก เ กี่ ย ว กั บ ก ฎ ก า ร ใ ช้ ก ำ ลั ง   ก า ร อ ำ น ว ย ก า ร ยุ ท ธ์   การควบคุมบั งคั บบัญชาและสั่ ง การ   การ ใช้ กำลั ง

ทดสอบขีดความสามารถ อันแท้จริงในการดำเนินกลยุทธ์ มาทำกา รฝึ กภาคปฏิ บั ติ ร่วมกัน  นอกจากนี้  ยังเป็นการ ทดสอบขีดความสามารถที่ กำหนดไว้ตามระดับการเตรียม ความพร้อมตามแผนยุทธการ ของกองทัพเรือ  และการ ทดสอบความเป็นไปได้ ใน เรื่องที่มีแนวความคิดริเริ่มด้าน

ยุทธการต่าง ๆ  รวมทั้งด้านการส่งกำลังบำรุงมาทำการฝึก  เช่น  การต่อต้านการก่อการร้ายบริเวณแท่นผลิตก๊าซ ธรรมชาติ  ซึ่งในปีนี้  กองทัพเรือได้ร่วมกับบริษัท  ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม  จำกัด  มหาชน  ทำการฝึก  ณ  แท่นผลิตก๊าซธรรมชาติโครงการอาทิตย์  โดยได้ทำการฝึกไป เมื่อ ๒๑ - ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ซึ่งเร็วกว่าการฝึกอื่น ๆ    เนื่องจาก บริษัท ปตท.สำรวจและการผลิตปิโตรเลียมจำกัด  จะทำการปิดแท่นผลิตดังกล่าวเพื่อทำการซ่อมบำรุง  สำหรับ ห้วงเวลาหลักของการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล  ได้ดำเนินการฝึก ระหว่าง ๑๘ - ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔ ในการนี้ได้เรียนเชิญ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด  มาตรวจเยี่ยมการฝึก  เพื่อ เป็นขวัญและกำลังใจแก่กำลังพลที่เข้าร่วมการฝึก  รวมทั้ง  เพื่อ ให้ผู้บั งคับบัญชาระดับสูงของกองทัพ  ได้ เห็น

๐12

Page 3: เรือ - rtni.org fileวัตถุประสงค์ของการฝึก มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการ คือ - เพื่อทดสอบกระบวนการวางแผนและการปฏิบัติ

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔

การฝึกในพื้นที่จริงและการปฏิบัติงานของหน่วยต่าง  ๆ  ของกองทัพเรือ  โดยมีการฝึกและการปฏิบัติที่สำคัญ ประกอบด้วย -  การประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Teleconferencing จากเรือหลวงจักรีนฤเบศร  ไปยังศูนย์อำนวยการการยุทธ ์ของกองบัญชาการกองทัพไทย  เหล่าทัพ และทัพเรือภาคต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่า  กองทัพเรือสามารถที่จะสั่งการหน่วย ต่าง ๆ   ได้  หากจำเป็นต้องเปลี่ยนที่ตั้งไปบัญชาการรบ  ณ  เรือลำใดลำหนึ่ง  ซึ่งขีดความสามารถดังกล่าว  ได้ถูก นำมาใช้ในสถานการณ์จริง  ในกรณีปัญหาความขัดแย้ง ตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชาโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้สั่งการไปยังศูนย์บัญชาการทางทหารกองบัญชาการ กองทัพไทย ผ่านระบบดังกล่าว  -  การฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธีทางฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณเขาหน้ายักษ์ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดยทำการฝึก ยิงปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้งขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร ของหน่วย บัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง จำนวน ๓ กระบอก ที่ระยะยิง  ๒๐  กิโลเมตร  เพื่อฝึกการป้องกันฝั่งบริเวณ ฐานทัพเรือพังงาร่วมกับกำลังทางเรือของทัพเรือภาคที่ ๓   -  การฝึกขัดขวางทางทะเลในหัวข้อการปราบปราม โจรสลัด  โดยทำการฝึกใน  ๓  ขั้นตอน  ประกอบด้วย  การให้คำแนะนำเรือสินค้าขณะถูกโจมตี การขัดขวาง และ การแย่งยึดคืน  เพื่อให้กำลังพลที่เข้ารับการฝึกได้เข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง 

  -  การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี  EXOCET  และการ ยิงเป้าลวง  โดยมีการสมมุติสถานการณ์ว่ามีภัยคุกคาม จากเรือผิวน้ำข้าศึกเข้าโจมตีกองเรือ  จึงสั่งการให้เรือเร็ว โจมตีอาวุธปล่อยนำวิถีจำนวน  ๒  ลำ  ประกอบด้วย  เรือหลวงวิทยาคม  และ  เรือหลวงอุดมเดช  เป็นหน่วย เ รื อปฏิบัติการผิ วน้ ำ เข้ าทำการต่อตี เ รื อผิ วน้ ำข้ าศึก โดยทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถี  จำนวน  ๑  ลูก  ต่อเป้าหมาย ข้าศึกที่ระยะ  ๑๔  ไมล์  หลังจากที่ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแล้ว ได้สมมติสถานการณ์ว่าถูกข้าศึกตอบโต้ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถ ี จึงทำการยิงเป้าลวง โดยเรือหลวงสงขลาเป็นเรือยิง 

บทสรุป  การฝึกที่กล่าวมาข้างต้นในทุกขั้นตอนการฝึก  ผลการฝึกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  กำลังพลได้รับ ความรู้และมีทักษะเพิ่มขึ้น  นอกจากนี้  ยังทำให้กำลังพล ในทุกระดับของกองทัพเรือ  และผู้บังคับบัญชาระดับสูง ของกองทัพ  เกิดความภาคภูมิ ใจและเชื่อมั่นในขีดความสามารถของกองทัพเรือ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ ง  ผู้บัญชาการทหารสูงสุด  ได้กล่าวแสดงความชื่นชม ในความตั้งใจ  ทุ่มเท  และมุ่งมั่นของกำลังพลกองทัพเรือ  ซึ่งส่งผลให้การฝึกบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทุกประการ  และเป็นสิ่งแสดงให้ทุกฝ่ายได้ประจักษ์ว่า  กองทัพเรือพร้อมเสมอที่จะปฏิบัติภารกิจในการปกป้อง ชาติและดูแลประชาชน

-  การฝึกปฏิบัติการร่วม กองทัพเรือ -  กองทัพอากาศ เป็นการฝึกปฏิบัติการร่วมกับเครื่องบินของกองทัพอากาศ ที่จัดเครื่องบินขับไล่แบบ F - 16 จำนวน  ๔  เครื่อง  มาทำการป้องกันภัยทางอากาศให้กับกองเรือ  และทำการควบคุม การบินสกัดกั้น 

๐13