16
นการทำพิธีทางศาสนาพุทธ โดยทั่วไปเราจะเห็น พระภิกษุสงฆ์ถือวัสดุมีลักษณะเป็นพัดรูปวงรีบ้าง เป็นพัดยอดแหลมบ้าง หรือเป็นพัดรูปแฉกบ้าง โดยมี หลากลาย หลายสี นำไปประกอบพิธี ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็น ทั่วไป โดยแทบทุกคนจะทราบว่าวัสดุนี้เรียกว่า ตาลปัตร แต่อย่างไรก็ตามบางท่านคงไม่ทราบว่า ตาลปัตร มีความเป็นมาและความสำคัญทางศาสนาพุทธอย่างไร บทความฉบับนี้ขอนำเสนอให้ทราบครับ คำว่า “ตาลปัตร” มาจากภาษาบาลีว่า ตาล หมายถึง พืชน้ำมันชนิดหนึ่ง ก็คือต้นตาล ปัตร มาจาก คำว่า ปตฺต แปลว่า ใบตาล ดังนั้นคำว่า ตาลปัตร จึงหมายถึง พัดที่ทำด้วยใบตาล ซึ่งหมายถึง เครื่องโบก หรือกระพือลม ภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี” ไทยเราแปลงเป็น “พัชนี” และต่อมาเรียกให้สั้นลง เหลือเพียง “พัช” โดยออกเสียงว่า “พัด” ต่อมาได้มี วิวัฒนาการใช้วัสดุเป็นอย่างอื่น เช่น ผ้าแพรหรือขนนก ในการใช้พัดขนนกนั้นพระสงฆ์ไทยได้ใช้อยู่เพียงระยะ สั้น ๆ ส่วนที่ทำด้วยผ้าแพรได้มีการพัฒนาโดยการทำ พัดด้วยโครงเหล็กแล้วหุ้มด้วยผ้าชนิดต่าง ๆ เช่น ผ้าโหมด ผ้าลายดอก ตลอดถึงการทำด้วยงา การปัก ดิ้นทองและของมีค่าอื่น ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ถึง อย่างไรก็ยังนิยมเรียกกันเป็นสาธารณะว่า “ตาลปัตร” หรือ “พัด” อยู่นั่นเอง คำว่า “พัดยศ” หมายถึง ตาลปัตรหรือพัด ทีพระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระสงฆ์พร้อมกับ การพระราชทานสมณศักดิ์ เพื่อเป็นสิ่งบอกสมณศักดิที่ได้รับพระราชทาน เป็นสัญลักษณ์แห่งการประกาศ เกียรติคุณ เป็นขวัญและกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้ประพฤติดปฏิบัติชอบ คำว่า “พัดรอง” หมายถึง พัดที่ทำขึ้นเป็นที่ระลึก ในงานพิธีต่าง ๆ รวมถึงงานพระราชพิธี งานรัฐพิธี หรืองานทำบุญทั่ว ๆ ไปของราษฎร ก็รวมเรียกว่า พัดรองเช่นกัน ประวัติความเป็นมาของตาลปัตร ตาลปัตร น้น มีข้อสันนิษฐานว่า แต่เดิมคงมิใช่ของ ที่ทำขึ้นมาสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่เป็นสิ่งของ เครื่องใช้ของประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบ เมืองร้อนมาก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว ซึ่งประชาชนแถบ นั้นมีพัดไว้ใช้พัดลม บังแดด บังฝน นับเป็นสิ่งของเครื่องใชที่จำเป็นอย่างหนึ่ง พัดที่ใช้กันนั้นน่าจะมีอยู่ด้วยกัน หลายแบบ และทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามฐานะของผู้ใช้ ตาลปัตร พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ 25 นาวิกศาสตร์ ปีท่ ๙๘ เล่มทีกรกฎาคม ๒๕๕๘

ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

นการทำพิธีทางศาสนาพุทธโดยทั่วไปเราจะเห็นพระภิกษุสงฆ์ถือวัสดุมีลักษณะเป็นพัดรูปวงรีบ้าง เป็นพัดยอดแหลมบ้าง หรือเป็นพัดรูปแฉกบ้าง โดยมีหลากลาย หลายสี นำไปประกอบพิธี ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นทั่วไปโดยแทบทุกคนจะทราบว่าวัสดุนี้เรียกว่าตาลปัตร แต่อย่างไรก็ตามบางท่านคงไม่ทราบว่า ตาลปัตร มีความเป็นมาและความสำคัญทางศาสนาพุทธอย่างไรบทความฉบับนี้ขอนำเสนอให้ทราบครับ คำว่า “ตาลปัตร” มาจากภาษาบาลีว่า ตาล หมายถึงพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง ก็คือต้นตาลปัตรมาจากคำว่า ปตฺต แปลว่า ใบตาล ดังนั้นคำว่า ตาลปัตร จึงหมายถึงพัดที่ทำด้วยใบตาลซึ่งหมายถึงเครื่องโบกหรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า“วิชนี หรือ วีชนี” ไทยเราแปลงเป็น “พัชนี” และต่อมาเรียกให้สั้นลงเหลือเพียง“พัช” โดยออกเสียงว่า“พัด” ต่อมาได้มีวิวัฒนาการใช้วัสดุเป็นอย่างอื่น เช่น ผ้าแพรหรือขนนกในการใช้พัดขนนกนั้นพระสงฆ์ไทยได้ใช้อยู่เพียงระยะสั้น ๆ ส่วนที่ทำด้วยผ้าแพรได้มีการพัฒนาโดยการทำพัดด้วยโครงเหล็กแล้วหุ้มด้วยผ้าชนิดต่าง ๆ เช่น ผ้าโหมด ผ้าลายดอก ตลอดถึงการทำด้วยงา การปัก ดิ้นทองและของมีค่าอื่นๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันแต่ถึง

อย่างไรก็ยังนิยมเรียกกันเป็นสาธารณะว่า“ตาลปัตร” หรือ“พัด”อยู่นั่นเอง คำว่า “พัดยศ” หมายถึง ตาลปัตรหรือพัด ที่ พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระสงฆ์พร้อมกับ การพระราชทานสมณศักดิ์ เพื่อเป็นสิ่งบอกสมณศักดิ์ ที่ได้รับพระราชทาน เป็นสัญลักษณ์แห่งการประกาศเกียรติคุณเป็นขวัญและกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ คำว่า“พัดรอง”หมายถึงพัดที่ทำขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพิธีต่าง ๆ รวมถึงงานพระราชพิธี งานรัฐพิธี หรืองานทำบุญทั่ว ๆ ไปของราษฎร ก็รวมเรียกว่า พัดรองเช่นกัน ประวัติความเป็นมาของตาลปัตร ตาลปัตรนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าแต่เดิมคงมิใช่ของที่ทำขึ้นมาสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ของประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเมืองร้อนมาก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว ซึ่งประชาชนแถบนั้นมีพัดไว้ใช้พัดลมบังแดดบังฝนนับเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง พัดที่ใช้กันนั้นน่าจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ และทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ตามฐานะของผู้ใช้

ตาลปัตร

พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์

25นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 2: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

คำที่พบในคัมภีร์ทางศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องพัดมีอยู่หลายคำ เช่น คำว่า ตาลปัตร วาลวิชนี และจิตรวิชนี

สำหรับสาเหตุที่ปัจจุบันมักจะพบเห็นตาลปัตรมีลักษณะเป็นพัดรูปหน้านาง(หมายถึงหน้านางฟ้า)เกิดขึ้นจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้พระภิกษุสงฆ์ใช้ตาลปัตรรูปหน้านางแทนตาลปัตรที่เรียกว่า “พัชนี”กล่าวคือ ในช่วงระยะเวลานั้นพระสงฆ์นิยมนำพัชนีที่มีรูปทรงเป็นพัดงองุ้มด้ามยาว ตัวพัดทำขึ้นจากโครงโลหะหรือไม้ แล้วหุ้มด้วยผ้าที่มีลวดลายมาใช้แทนตาลปัตรใบตาลด้วยถือกันอย่างผิดๆว่าเป็นเครื่องยศสำหรับพระสงฆ์ผู้มีบรรดาศักดิ์ที่เอาไว้ใช้แทนตาลปัตรหรือให้ลูกศิษย์พัดถวายปรนนิบัติ และยิ่งกว่านั้นยังได้ปรากฏการทำตาลปัตรพัชนี เลียนแบบพัชนีที่ เป็นเครื่องยศของเจ้านายและขุนนางออกจำหน่ายแก่ผู้ซื้อ

ตาลปัตร หรือพัดใบลานของพระสงฆ์ไทยในอดีต

พัดวิชนี หรือ พัดพัชนี พัชนี หรือ ตาลปัตรพัดรอง พัดรองรูปหน้านาง

พัดวาลวิชนี

พัดจิตรวิชนี

ตาลปัตร เป็นพัดที่เก่าแก่ที่สุด ทำด้วยใบตาล ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่าย โดยวิธีเอาใบตาลมาตีแผ่ออกแล้วเจียนให้มน หรือมีรูปแบบตามใจชอบแล้วขึงริมให้ตึงเหลือก้านตาลไว้เป็นด้ามตรงกลาง วาลวิชน ี คือ พัดที่มีด้ามด้านข้าง มีทั้งที่ทำด้วยใบตาล ขนนก หรือวัสดุมีค่าอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องสูงสำหรับใช้โบกพัดวีผู้สูงศักดิ์ หรือเป็นเครื่องราชูปโภค จิตรวิชน ี คือ พัดอันวิจิตรงดงามนั้น เป็นพัดที่ประดิษฐ์ตกแต่งด้วยสิ่งพิเศษเช่นผ้าโหมดผ้าลายดอกตลอดถึงการทำด้วยงาการปักดิ้นทองและของมีค่าอื่นๆ ของสำหรับผู้มีทุนทรัพย์ ใช้โบกพัดวีในเวลาอากาศร้อน

26 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 3: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

เพื่อนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ในงานพิธีกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ดังนั้น จึงทรงมีพระราชดำริให้พระสงฆ์ใช้ตาลปัตรที่มีลักษณะเป็นพัดรูปหน้านางแทน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระสงฆ์จึงใช้ตาลปัตรที่มีลักษณะเป็นพัดรูปหน้านางมาโดยตลอดจวบจนปัจจุบัน สำหรับการที่พระสงฆ์นำใบตาลหรือตาลปัตรมาใช้นั้น ครั้งแรกดั้งเดิมจริง ๆ มิได้นำมาเพื่อใช้บังหน้า ในระหว่างสวดแต่ประการใด แต่ใช้กันกลิ่นเหม็นของศพที่เน่าเปื่อยเมื่อพระภิกษุบังสุกุลผ้าห่อศพไปทำจีวรจึงเกิดเป็นธรรมเนียมการใช้พัดบังสุกุลในพิธีปลงศพส่วนการใช้พัดในระหว่างแสดงพระธรรมเทศนาหรือสวดพระปริตรเหล่านี้ ตามตำนานกล่าวว่า เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงถือตาลปัตรเมื่อเสด็จไปโปรดพระพุทธบิดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะ พระสงฆ์จึงได้ถือปฏิบัติตาม แต่ก็ไม่ได้มีหลักฐานปรากฏถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ซึ่งมีมาแต่เดิม ต่อมาในสังคมไทยก็กลายเป็นตาลปัตรและพระสงฆ์เริ่มใช้พัดในเวลาให้ศีล ให้พร และ ราชประเพณีไทยได้ใช้พัดเป็นเครื่องแสดงสมณศักดิ์ ของพระสงฆ์และในอดีตเมื่อพระสงฆ์ไทยไปในงานพิธีต่างๆคงจะนิยมถือพัดไปด้วยแทบทุกครั้งจนกลายเป็น ประเพณีการใช้พัดในงานพิธีสืบมาและถือเป็นธรรมเนียม ทางศาสนพิธี ที่ทำให้การประกอบพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนาดูเป็นพิธีรีตองและเป็นกิจจะลักษณะยิ่งขึ้น รูปแบบของตาลปัตร พัดยศของพระสงฆ์ไทยที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน รูปแบบของตาลปัตร พัดยศของพระสงฆ์ไทยได้มีวิวัฒนาการโดยตลอด ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึง ยุคสมัยปัจจุบัน รูปแบบลักษณะพัดยศของพระสงฆ์ไทย ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น มีรูปลักษณะหลัก ๆ อยู่ ๔ รูปแบบด้วยกันคือ ๑. พัดหน้านาง เชื่อกันว่าได้แบบอย่างมาจากลังกา เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุด ใบพัดเป็นรูปไข่ หรือคล้ายเค้าหน้าของสตรี มีด้ามตรงกลาง ยาวประมาณ

๗๐ เซนติเมตร พัดหน้านางส่วนมากมักจะเป็นพัดรองพัดเปรียญธรรมทุกชั้นและพัดฐานานุกรม(ฐานานุกรมคือชื่อเรียกลำดับตำแหน่งสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทยซึ่งภิกษุผู้มีตำแหน่งทางการปกครองหรือมีสมณศักดิ์สูงบางตำแหน่งมีสิทธิตั้งพระรูปอื่นให้เป็นฐานานุกรม ได้ตามศักดิ์ที่ได้รับพระบรมราชานุญาต) บางตำแหน่งพัดประทวนสมณศักดิ์ แต่ถ้ามีคาดทับตรงกลางจะเป็นพัดพิธีธรรม ๒. พัดพุดตานใบพัดมีลักษณะวงกลมแต่ริมขอบหยักเป็นแฉกรวม ๑๖ แฉก คล้ายกลีบดอกบัวบานหรือดอกพุดตานบาน เป็นพัดที่ทำด้วยโครงเหล็ก หุ้มแพร หรือผ้าสักหลาดกำมะหยี่ สี เดียวกันบ้าง สลับสีบ้าง ตามชั้นของสมณศักดิ์ ส่วนมากเป็นพัดของพระครูสัญญาบัตร หรือพัดของพระครูฐานานุกรม บางตำแหน่ง ๓. พัดเปลวเพลิง มีลักษณะเป็นพัดยอดแหลม ใบเป็นแฉกคล้ายเปลวเพลิงด้ามงายอดงา(แต่ปัจจุบันพัดยศทุกชั้นด้ามและยอด ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ทำด้วยวัสดุเทียมงา คือเป็นพลาสติกผสมเรซิ่นทั้งหมด)สำหรับพัดเปลวเพลิงปัจจุบันใช้ เฉพาะตำแหน่ง พระครูสัญญาบัตร ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอกเท่านั้น ๔. พัดเเฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ คำว่า ข้าวบิณฑ์แปลตามตัวว่าก้อนข้าวคือข้าวสุกที่ปั้นเป็นก้อนใส่ลงในกรวย สอดไว้กับพุ่มดอกไม้หรือกระทงชั้นบายศรี ใช้เซ่นไหว้บูชาในพิธีกรรมบางอย่างอีกอย่างหนึ่งคำว่าข้าวบิณฑ์ เป็นชื่อของลายไทยชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นพุ่มช่วงล่าง เรียวแหลมขึ้นไปช่วงบน ส่วนพัดแฉก ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์นั้น ใบพัดมีลักษณะส่วนล่างเป็นพุ่มและเรียวแหลมขึ้นไปถึงส่วนยอด เหมือนลายข้าวบิณฑ์ของไทย หรือคล้ายดอกบัวตูม ขอบนอกคล้ายกลีบบัว ที่ประกบแนบอยู่กับดอกมีกลีบอย่างน้อย๕-๙กลีบมีการปักลายไทยชนิดต่าง ๆ ด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทอง ทองแล่ง และอุปกรณ์การปักอื่นๆ อย่างประณีต

27นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 4: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

สวยงามตามความสูง-ต่ำของชั้นยศที่ได้รับพระราชทาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นของสำหรับพระราชาคณะ ตั้งแต่ชั้นสามัญขึ้นไป จนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะและสมเด็จพระสังฆราช

๖.พัดยศพระราชาคณะชั้นราช(ภาพที่๖) ๗.พัดยศพระราชาคณะชั้นสามัญ(ภาพที่๗) ๘. พัดยศ พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก(ภาพที่๘) ๙. พัดยศ พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท(ภาพที่๙) ๑๐.พัดยศพระครูฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระสังฆราช(ภาพที่๑๐) ๑๑. พัดยศ พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท(ภาพที่๑๑) ๑๒.พัดยศพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นโทเทียบเจ้าคณะอำเภอชั้นโทและที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอชั้นโท(ภาพที่๑๒)

พัดหน้านาง พัดพุดตาน

พัดเปลวเพลิง พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

ภาพที่ ๑ ภาพที่ ๒ ภาพที่ ๓ ภาพที่ ๔

ภาพที่ ๕ ภาพที่ ๖ ภาพที่ ๗ ภาพที่ ๘

ภาพที่ ๙ ภาพที่ ๑๐ ภาพที่ ๑๑ ภาพที่ ๑๒

สำหรับรายละเอียดและรูปแบบของพัดยศประจำตำแหน่งต่าง ๆ มีดังนี้ ๑. พัดยศ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(ภาพที่๑) ๒. พัดยศ สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ(ภาพที่๒) ๓. พัดยศ พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ(ภาพที่๓) ๔.พัดยศพระราชาคณะชั้นธรรม(ภาพที่๔) ๕.พัดยศพระราชาคณะชั้นเทพ(ภาพที่๕)

28 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 5: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

นอกจากพัดยศตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีพัดยศประจำตำแหน่งอีกประเภทหนึ่ง คือ พัดแฉกพิเศษ เป็นพัดยศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นใหม่อีก เพื่อพระราชทานเป็นพิเศษ แก่พระสงฆ์ผู้มีสมณศักดิ์สูง ที่สำคัญดังนี้ ๑. พัดแฉกพิเศษที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างถวายสมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พ.ศ.๒๓๙๔ ในพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก(ภาพที่๑) ๒. พัดแฉกพิเศษที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างถวายสมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์พ.ศ.๒๔๒๒ (ภาพที่๒) ๓. พัดแฉกพิเศษที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างถวายสมเด็จพระสังฆราช สาปุสฺสเทวแต่ไม่ทราบลักษณะรายละเอียด ๔. พัดแฉกพิเศษที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างถวาย - พัดแฉกพิเศษ ถวายสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษกพ.ศ.๒๔๕๓(ภาพที่๓) - พัดแฉกพิเศษ ถวายพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรวัดราชบพิธฯ(ภาพที่๔) - พัดแฉกพิเศษ ถวายพระวรวงศ์เธอ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์(ภาพที่๕)

พัดรองหรือตาลปัตร พัดรอง พัดรอง แบ่งได้ เป็น ๒ ลักษณะ คือ พัดที่ พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นถวายแด่พระสงฆ์เป็นที่ระลึกในการพระราชพิธีสำคัญทั้ งพระราชพิ ธี ที่ เ ป็ นสวั สดิ ม งคลและอวมงคล (พัดสังเค็ด) และพัดรองที่ทางราชการและประชาชนสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์หรือเป็นที่ระลึกถวายแด่พระสงฆ์เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ในพิธีทำบุญทั่ว ๆ ไป พัดรอง โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นพัดหน้านาง (นางฟ้า) หรือรูปไข่ปักลวดลายและอักษรตามต้องการโดย“พัดรอง” นั้น ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ มีพระราชดำริให้สร้างขึ้น โดยเป็นรูปหน้านางทำด้วยโครงไม้ไผ่หุ้มด้วยผ้าแพรแล้วปิดด้วยผ้าโหมดเรียบๆ นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๔พัดรองได้มีการปรับปรุงหลายครั้ง ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว โดยเริ่มแรกได้ สร้างขึ้นให้มีความวิจิตรงดงาม ทำด้วยผ้าอย่างดี ส่วนลวดลายจะปักด้วยดิ้น เลื่อม และปักไหม มีการตกแต่งลวดลายสวยงาม ต่อมาการทำพัดรองด้วยการปักดิ้นเสียเวลาและสิ้นเปลืองมาก จึงย้อนกลับไป ปักเล็กน้อยบ้างหุ้มผ้าสวยๆบ้างเพียงเท่านั้น ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ การสร้างพัดรองนับเป็น พระราชประเพณี เพื่อเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีหลวงรวมทั้งเจ้านายในพระราชวงศ์ด้วย และใช้สืบต่อ ถึงปัจจุบัน นอกจากพัดรองจะสร้างในงานมงคล เช่น งานสมโภชสิริราชสมบัติงานฉลองพระชนมายุแล้วยังสร้าง

ภาพที่ ๑ ภาพที่ ๒ ภาพที่ ๓ ภาพที่ ๔

ภาพที่ ๕

29นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 6: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

ในงานพระศพอีกส่วนหนึ่ง เรียกว่า พัดสังเค็ด พัดสังเค็ด เล่มแรก สันนิษฐานว่าเป็นพัดงานพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ทำให้เกิดเป็นประเพณีมีพัดสังเค็ดในงานพระศพต่อมาจนถึงศพชาวบ้านทั่วไป

พัดรัตนาภรณ์ เป็นพัดรองที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น เพื่อถวายพระสงฆ์ที่ทรงเคารพนับถืออนุ โลมตามเหรียญรัตนาภรณ์ที่ ทรงให้สร้ างขึ้ น เพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในได้ตามเสด็จประพาสชวาและช่วยกันถวายการรักษาพยาบาลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา ที่เกาะสีชัง และในรัชกาลต่อมาก็ได้สร้างและพระราชทานเหรียญในกรณีต่าง ๆ แก่บุคคลอื่น ๆ ด้วย จึงสรุปได้ว่า เหรียญรัตนาภรณ์พระราชทานให้แก่บุคคลส่วนพัดรัตนาภรณ์พระราชทาน แก่พระภิกษุสงฆ์ ที่ทรงเคารพนับถือและทรงคุ้นเคย ถือเป็นพัดรองประเภทหนึ่งใช้ได้เฉพาะพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานเท่านั้น และใช้เฉพาะเมื่อถวายอนุโมทนาในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลเพียงอย่างเดียว พัดรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔ เริ่มสร้างครั้งแรก เมื่อพ.ศ.๒๔๔๗ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เพื่อถวายพระสงฆ์ในงานฉลองพระชนมายุ๑๐๐ ปี วันพระราชสมภพ อุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบพัดรัตนาภรณ์ ทั้ง ๕ ชั้น สอดคล้องกับเหรียญรัตนาภรณ์ที่มี ๕ ชั้น

พัดสังเค็ดงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

พ.ศ.๒๔๕๓

พัดสังเค็ดงานพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์โสภาวคทัศนียลักษณ์ อรรควรราชกุมารี พ.ศ.๒๔๒๓

พัดรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔ พัดรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖

นอกจากพัดรองที่สร้างขึ้นแล้วตามที่กล่าวข้างต้นยังมีพัดรองที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ต่อ ๆ มาทรงให้สร้างขึ้น คือ พัดรัตนาภรณ์และพัดพระราชลัญจกร

30 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 7: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

ลักษณะเป็นพัดหน้านาง มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อม.ป.ร. (มหามงกุฎ ปรมราชาธิราช) อยู่ในวงขอบ โดยขอบปักดิ้นทองเหมือนกันทุกชั้นแต่การปักส่วนอื่นๆจะมีสีและวัสดุแตกต่างกันไป พัดรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๕ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงสร้างพัดรัตนาภรณ์ประจำรัชกาลของพระองค์ถวายแด่พระสงฆ์รูปใดเลย พัดรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพัดรัตนาภรณ์ ของพระองค์เป็นพัดหน้านาง มีอักษรพระปรมาภิไธยว.ป.ร.(มหาวชิราวุธปรมราชาธิราช)อยู่ในวงพวงมาลามี๕ชั้นเช่นเดียวกับเหรียญรัตนาภรณ์ พัดรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ พัดรัตนาภรณ์ประจำรัชกาล มี ๕ ชั้น เช่นเดียวกับเหรียญรัตนาภรณ์ โดยมีลักษณะเป็นพัดหน้านาง มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อป.ป.ร. (มหาประชาธิปก ปรมราชาธิราช) อยู่ในวง พวงมาลา เพียงแต่ละชั้นสีและลวดลายปักแตกต่างกัน

พัดรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลพระอัฐมรามาธิบดินทร ไม่ได้สร้างพัดรัตนาภรณ์ประจำรัชกาลเนื่ อ งจากยั งมิ ได้ทรงประกอบพระราชพิ ธี บรมราชาภิเษก พัดรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพัดรัตนาภรณ์ประจำรัชกาล สำหรับถวายพระสงฆ์ที่ทรงเคารพนับถือเพื่อใช้เวลาถวายอนุโมทนาในพระราชพิธีฉัตรมงคลโดยโปรดเกล้าฯให้สร้างในชั้นที่๑ ลักษณะเป็นพัดหน้านางเช่นเดียวกับรัชกาลก่อนๆ เมื่อแรกสร้างพื้นพัดทำด้วยผ้าต่วนสีน้ำเงินต่อมาภายหลัง ทำด้วยไหมสีน้ำเงิน กลางพัดมีอักษรพระปรมาภิไธยภ.ป.ร. (มหาภูมิพลอดุลยเดช ปรมราชาธิราช) อยู่ในวงกลมรัศมีแบบเหรียญรัตนาภรณ์อักษรพระปรมาภิไธย และรัศมีประดับด้วยพลอยสีขาว (แทนเพชร) เดิมมิได้ประดับพลอย รอบพัดเป็นแถบแพรสีเหลือง มีริ้วขาว ๒ ข้าง ด้านบนพัดปักดิ้นเป็นหน้ากาล กลางหน้ามี รูปจักรีด้านข้างพัดซ้ายขาวปักดิ้นเป็นลายประจำยามนมพัดปักดิ้นเป็นลายกระหนก ตรงกลางลายกระหนกเป็นรูปกลีบบัว ภายในกลีบบัวมีพระมหาพิชัยมงกุฎ

ชั้นที่ ๑ และ ๒ ชั้นที่ ๓

ชั้นที่ ๔ ชั้นที่ ๕

31นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 8: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

ด้ามมี ๒ แบบ คือ ด้ามทำด้วยไม้ คอพัดและซ่นพัด ทำด้วยงา (ของสมเด็จพระสังฆราช : วาสน์ วาสโน วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมารามและสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช : เจริญ สุวฑฺฒโน วัดบวรนิเวศวิหาร) และด้ามทำด้วยไม้ คอพัดและซ่นพัด ทำด้วยโลหะ (ของสมเด็จพระสังฆราช : อยู่ ญาโณทโย วัดสระเกศ และสมเด็จพระสังฆราช : จวน อุฏฺฐายีวัดมกุฏกษัตริยาราม)

๑.สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ ์สกลมหาสังฆปรินายก (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์) สมเด็จ พระสังฆราชพระองค์ที่๑๓วัดบวรนิเวศวิหาร ๒. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จ พระสังฆราชเจ้าสกลมหาสังฆปรินายก(อยู่ญาโณทโย) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่๑๕วัดสระเกศ ๓. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จ พระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปรินายก (จวน อุฏฺฐายี)สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่๑๖วัดมกุฏกษัตริยาราม ๔. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จ พระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปรินายก (วาส์น วาสโน)สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๘ วัดราชบพิธ สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ๕. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเจ้าสกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จ พระสังฆราชพระองค์ที่๑๙วัดบวรนิเวศวิหาร

พัดรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๙ ถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศ และวัดมกุฏกษัตริยาราม

พัดรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๙ ถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๓

วัดบวรนิเวศวิหาร

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๕ วัดสระเกศ

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๖

วัดมกุฏกษัตริยาราม

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๘

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

อธิบายความได้ว่าพัดรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ได้ถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก๕พระองค์คือ

32 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 9: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

พัดรัตนาภรณ์ถวายพระพุทธรูปสำคัญ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้ถวายพัดรัตนาภรณ์ แด่พระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกด้วย ปัจจุบันพัดเล่มนี้จัดแสดงอยู่ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราชจังหวัดพิษณุโลกพัดพระราชลัญจกร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้ าอยู่หั ว มีพระราชดำริให้สร้างขึ้นในโอกาสที่ทรงครองราชสมบัติมาครบหมื่นวัน ในวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๘ ซึ่งนานกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์อื่น ในรัชกาลก่อนพระบรมราชวงศ์จักรี และสมควร ที่จะบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นพิเศษ มีการสมโภช พระราชลัญจกรที่ใช้เป็นสำคัญในราชการ ตลอดจน ดวงตราตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ รวม ๒๙ ดวง มาร่วมฉลองด้วย

นอกจากพัดพิเศษตามที่กล่าวแล้วในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพัดรองขึ้นอีกหลายลักษณะคือพัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธ ี เป็นพัดรองที่ระลึกที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระสงฆ์ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ที่ทรงปฏิบัติเป็นประจำปีและพระราชพิธีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำขึ้น เป็นพิเศษ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นถวายพระสงฆ์ในวาระต่างๆหลายวาระเช่นพระราชพิธ ีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙

วัดบวรนิเวศวิหาร

พัดรองสร้างในโอกาสที่ทรงครองราชย์สมบัติครบหมื่นวัน พ.ศ.๒๔๓๘“ตราจันทรมณฑล กระทรวงยุติธรรม”

พัดรอง งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

พื้นผ้าไหมสีขาว ตรงกลางปักตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ขอบพัดขลิบตาดทองติดกระจังลูกไม้

นมพัด งาแกะรูปช้าง ๓ เศียร ด้ามไม้ คอและซ่นพัด งากลึง

พัดรอง งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

พื้นผ้าไหมสีน้ำเงิน ตรงกลางปักตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ “พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔”

โดยรอบริมขอบพัดปักช่อดอกไม้สีเหลือง ใบสีเขียวขอบพัดขลิบตาดทอง นมพัดโลหะรูปครุฑ ด้ามไม้ คอและซ่นพัด

โลหะกลึง

33นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 10: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ สมเด็จพระศรีนคริน ทราบรมราชชนนี

พัดรอง งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

พื้นผ้าไหมสีฟ้าขาบ ตรงกลางปักพระปรมาภิไธย ส.ก. ด้วยดิ้นทองภายใต้พระมหามงกุฎ รองรับด้วยดอกบัว ริบขอบพัดโดยรอบทำเป็นแถบแพรสีเหลืองทองประดับด้วยสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองมหาจักรี นมพัด รูปดวงตรามหาจักรี ด้ามไม้ คอและซ่นพัด งากลึงด้านหลังพัด พื้นผ้าไหมเรียบสีฟ้าขาบ นมพัด

โลหะ มีข้อความ “งานมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕”

พัดรอง งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบพื้นผ้าไหมสีชมพูอ่อน ตรงกลางปักพระนามาภิไธย ร.พ. สีเขียว

ภายใต้พระมงกุฎ ปักดิ้นทอง ขอบพัดขลิบตาดทอง ด้ามไม้ นมพัด โลหะ มีข้อความ

“เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๐๗” คอและซ่นพัด โลหะกลึง

พัดรอง งานฉลองพระชนมายุ ๙๐ พรรษา พื้นผ้าไหมสีแดง ตรงกลางปักดิ้นรูปพานแว่นฟ้า ๒ ชั้น

ประดิษฐานบนพระแท่นรองรับพระนามาภิไธย ส.ว. ลงยาสีภายใต้พระมหามงกุฎ ขนาบด้วยฉัตร ๕ ชั้น ด้านขวา ซ้าย ด้านล่าง ปักข้อความ “ฉลองพระชนมายุ ๙๐ พรรษา ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๓”

ขอบพัดขลิบด้วยลูกไม้ทอง นมพัด อักษรพระนามาภิไธยลงยาสีด้ามไม้ คอและซ่นพัด งากลึง

พัดรอง งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ พื้นผ้าไหมสีฟ้าขาบ ตรงกลางปักพระปรมาภิไธย ส.ก. สีฟ้า - ขาวภายใตพ้ระมหามงกฎุ พรอ้มสปัตปฎลเศวตฉตัร ภายใตฉ้ตัรเปน็สายสรอ้ย เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรี บรมราชวงศ์ ทำด้วยโลหะลงยาสี ล้อมรอบอักษรพระปรมาภิไธย ด้านซ้ายและด้านขวาปักลายกอบัว ด้านบนปักข้อความ “ทีฆายุกา โหตุ สิริกิตฺติ ปรมราชินี” ขอบพัดขลิบตาดทอง นมพัด โลหะรูปบัวบาน มีแถบอักษร “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ

๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗” ด้ามไม้ คอและซ่นพัด งาแกะ

พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗

34 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 11: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

พัดรอง งานเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ รอบ พื้นผ้าไหมสีฟ้า ตรงกลางปักอักษรพระนามาภิไธย ม.ว.ก.

ภายใต้พระจุลมงกุฎปักดิ้นทอง มีรัศมีสายฟ้า ด้านล่างปักดิ้นทอง ข้อความ “เฉลิมพระชนมพรรษา ๓ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๑” ขอบพัดขลิบด้วยลูกไม้ทอง ด้านล่างข้อความ ทำเป็นรูปพญานาค

๒ ตนชิงดวงมณี อันเป็นเครื่องหมายปีนักกษัตรพระราชสมภพปีมะโรง ด้ามไม้ คอและซ่นพัด งากลึง

พัดรอง งานฉลองพระชนมายุ ๓ รอบ พื้นผ้าไหมสีส้ม ตรงกลางปักอักษรพระนาม จ.ภ.

ภายใต้พระจุลมงกุฎ ดิ้นทอง ด้านล่างปักดิ้นทองข้อความ“ฉลองพระชนมายุ ๓ รอบ” ขอบพัดขลิบด้วยลูกไม้ทอง

นมพัด โลหะเคลือบ มีรูปไก่ ปีนักกษัตรระกาพร้อมอักษรบอกงานวันประสูติ

“๔ กรกฎาคม ๒๕๓๖” ด้ามไม้ คอและซ่นพัด งากลึง

พัดรอง งานฉลองพระชนมายุ ๖ รอบพื้นผ้าไหมสีแดง ตรงกลางปักดิ้นทองอักษรพระนาม ก.ว.

หัวอักษร ว. ประดับเพชร อักษรพระนาม อยู่ภายใต้พระจุลมงกุฎล้อมรอบด้วยสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมี

เกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ รอบนอกปักอักษรบอกงาน “พระราชพิธีสถาปนาและฉลองพระชนมายุ ๖ รอบ

๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘” ขอบพัดขลิบตาดทอง นมพัด โลหะลงยาตรามหาจักรี ด้านหลังพัด พื้นผ้าไหมเรียบแดง นมพัด โลหะสลักข้อความ “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ ๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘” ด้ามไม้ คอและซ่นพัด งากลึง

พัดรอง งานฉลองพระชนมายุ ๓ รอบ พื้นผ้าไหมสีม่วง ตรงกลางปักอักษรพระนามาภิไธย ส.ธ. สีฟ้า เหลือง ภายใต้พระมงกุฎสยามบรมราชกุมารี ด้านล่างปักดิ้นทองข้อความ“ฉลองพระชนมายุ ๓ รอบ” ขอบพัดขลิบด้วยลูกไม้ทอง นมพัดโลหะเคลือบ รูปดอกบัวบาน ตรงกลางมีรูปแพะ ปีนักกษัตรมะแม

อักษรบอกงานวันพระราชสมภพ “๒ เมษายน ๒๕๓๔” ด้ามไม้ คอและซ่นพัด งากลึง

พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี

พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

35นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 12: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

พัดรอง งานฉลองพระชนมายุ ๗ รอบ พื้นผ้าไหมสีชมพู ตรงกลางปักรูปพระโคหมอบ

อันหมายถึงปีนักกษัตรที่ประสูติ มีอักษรพระนาม พ.ร.ภายใต้พระมหามงกุฎ ประดิษฐานเหนือหลังโคและมีเลข ๖

อยู่ภายใต้ มีแถบแพรปักอักษรบอกงาน “ฉลองพระชนมายุ ๗ รอบ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒” ล้อมรอบด้วยลายดอกไม้ปัก

ขอบพัดขลิบตาดทอง นมพัด โลหะ ประดับเพชร ด้ามไม้คอและซ่นพัด โลหะกลึง

พระราชพิธีเนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุเท่าบรมราชบุพการีเช่น ๑) พระราชพิธีบำเพ็ญกุศลเฉลิมพระชนมพรรษาเสมอสมเด็จพระราชบิดา ๒) พระราชพิธีบำเพ็ญกุศลเฉลิมพระชนมพรรษาเสมอสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๓) พระราชพิธีสมมงคลพระชนมพรรษา ๖๔พรรษา ๔) พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จ พระปฐมบรมกษัตริยาราชแห่งราชวงศ์จักรี

งานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ

งานพระราชพิธีเฉลิมพระนามาภิไธยและสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์

งานพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์

36 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 13: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

การพระราชกุศลทักษิณานุปทาน วันที่ระลึกมหาจักรีถวายบังคมพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยา ธิราชเจ้า

พระราชพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ ฉลองวัด พระศรีรัตนศาสดาราม

พัดรองที่ระลึกในโอกาสฉลองวาระที่พระราชวงศ์ทรงได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญของโลก จากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)เช่น๑. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์การยูเนสโกได้ประกาศพระเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์การแพทย์ การพยาบาลและสาธารณสุขเนื่องในโอกาสวันพระราชสมภพ ครบรอบ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่๑มกราคมพุทธศักราช๒๕๓๕

37นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 14: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

ลักษณะพัดรอง พัดหน้านาง พื้นผ้าไหมสีฟ้าครามตรงกลางปักดิ้นอักษรพระนามาภิไธย ม.อ. มีมงกุฎครอบ รายรอบปักดอกบัวตูมสีขาว ก้านสีเขียว มีข้อความ “เฉลิมพระเกียรติ ๑๐๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรม ราชชนก” นมพัด เป็นโลหะ รูปพาน ด้ามไม้ คอและ ซ่นพัด เป็นโลหะกลึง ด้านหลังเป็นผ้าไหมพื้นเรียบ สีเดียวกับด้านหน้าพัด ๒. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี องค์การยูเนสโกได้ประกาศพระเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ : การพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อมเนื่องในโอกาสพระราชสมภพครบรอบ๑๐๐ปีเมื่อวันที่ ๒๑ตุลาคมพุทธศักราช๒๕๔๓

๓. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์การยูเนสโกได้ประกาศพระเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา วัฒนธรรมสังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา การพัฒนาสังคมและ การสื่อสาร เนื่องในโอกาสวันพระบรมราชสมภพ ครบ๑๕๐ปีเมื่อวันที่๒๐กันยายนพุทธศักราช๒๕๔๖

ลักษณะพัดรอง พัดหน้านาง พื้นไหมสีเงิน ตรงกลางเป็นอักษรพระนามาภิไธย ส.ว. ล้อมรอบด้วยรูปหยดน้ำประดับอัญมณีมีข้อความ “เฉลิมพระเกียรติ๑๐๐ปี วันพระราชสมภพ๒๑ตุลาคม๒๔๔๓ -๒๑ตุลาคม ๒๕๔๓” นมพัด เป็นโลหะรูปดอกลำดวน คอพัดและซ่นพัดเป็นงาด้ามประดับมุข

ลักษณะพัดรอง พัดหน้านาง พื้นผ้าไหมสีชมพูตรงกลางปักอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ภายใต้ พระมหาพิชัยมงกุฎปักดิ้นทอง มีรัศมีโดยรอบมีข้อความ “งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระราชสมภพครบ๑๕๐ปี”ปักด้วยดิ้นสีทอง นมพัดเป็นโลหะลงยาสีชมพู ขอบสีน้ำเงินอักษร จ.จ.จ. ตรงกลาง รอบนอกในขอบสีน้ำเงินมีข้อความ “เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ”พัดด้านหลังพื้นผ้าไหมสีชมพูมีข้อความ“๒๐กันยายน ๒๓๙๖๒๐กันยายน๒๕๔๖”ซึ่งเป็นปีพระราชสมภพ และปีสวรรคต นมพัดมีลักษณะเช่นเดียวกับด้านหน้าด้ามไม้คอพัดและซ่นพัดงาแกะ

38 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 15: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

๔. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์การยูเนสโกได้ประกาศพระเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสวันพระบรมราชสมภพ ครบ๒๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗

ลักษณะพัดรอง พัดหน้านาง พื้นผ้าไหมสีเขียว ปักพระนามาภิไธย ส.ว. ปักเดินเส้นเป็นรัศมีโดยรอบด้วยสีทอง มีข้อความเป็นคาถาพระราชทานนาม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นมพัด เป็นทองเหลืองรูปมงกุฎครอบอุณาโลม เหนือนมพัด ปัก พ.ศ.๒๔๐๕ และ ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นปี พระราชสมภพและปีครบรอบ๑๕๐ปีวันพระราชสมภพ ด้ามไม้ คอและซ่นพัด โลหะกลึง พัดด้านหลัง ผ้าไหมพื้นเรียบสีเดียวกับด้านหน้า ๖. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในโอกาสงานฉลองวาระที่ทรงได้รับการประกาศพระเกียรติคุณเป็นมงคลสำคัญของโลกในวาระฉลอง วันประสูติครบ ๒๐๐ ปี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓ รัฐบาลเป็นเจ้าภาพจัดงาน เฉลิมฉลองได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จ

ลักษณะพัดรอง พัดหน้านาง พื้นผ้าไหมสีส้ม ตรงกลางเป็นตรามงกุฎขนาบด้วยฉัตร ๕ ชั้นประดิษฐานเหนือก้อนเมฆ ปักข้อความด้วยสีทอง โดยรอบว่า “งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระราชสมภพครบ๒๐๐ปี”นมพัดเป็นโลหะตราจักรีด้ามไม้คอพัดและซ่นพัด งาแกะ พัดด้านหลัง ผ้าไหมพื้นเรียบสีส้มปักข้อความด้วยสีทอง “๑๘ ตุลาคม ๒๓๔๗ ๑๘ตุลาคม๒๕๔๗”ซึ่งเป็นปีพระราชสมภพและปีสวรรคตนมพัดเป็นโลหะตราจักรีเช่นเดียวกับด้านหน้า ๕. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า องค์การยูเนสโกได้ประกาศพระเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ประยุกต์(สาธารณสุข)วัฒนธรรมสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เนื่องในโอกาสวันพระบรมราชสมภพ ครบ ๑๕๐ ปี เมื่อวันที่๑๐กันยายนพุทธศักราช๒๕๕๕

39นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘

Page 16: ตาลปัตร - rtni.org¹€ดือน... · หรือกระพือลมภาษาบาลี เรียกว่า “วิชนี หรือ วีชนี”

ลักษณะพัดรอง พัดหน้านาง พื้นผ้าไหมสีม่วงกลางพัดปักไหมรูปตราจักรีครอบด้วยฉัตร๕ชั้นและมีฉัตร๕ชั้นขนาบทั้งซ้าย-ขวาด้านล่างมีภาษาขอมว่า “วาสุกรี” ปักข้อความภาษาไทยว่า “๒๐๐ ปีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสพ.ศ.๒๕๓๓” และข้อความภาษาอังกฤษว่า “THEBICENTENNIAL OF THE SUPREME PATRIARCHH.R.H. PRINCE PARAMANUJITAJINORASA 1990”ขอบพัดขลิบด้วยผ้าตาดทอง นมพัด เป็นโลหะรูปพญานาค มีข้อความบอกวันงาน “๑๑ ธันวาคม๒๕๓๓” ด้ามประดับมุก คอพัดและซ่นพัด โลหะกลึงสำหรับพัดรองที่ทางราชการและประชาชนสร้างถวายพระภิกษุสงฆ์นั้น จะเป็นพัดหน้านางเช่นเดียวกัน มีการออกแบบสี และการปัก เป็นไปตามที่ผู้ถวายต้องการแต่จะไม่วิจิตรบรรจงมากนัก

พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน รวมทั้งทรงมอบผู้แทนพระองค์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทน งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาหรืองานพิธีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้น งานพิธีที่ ได้รับ พระบรมราชานุญาตให้จัดขึ้น ส่วนงานพิธีที่ต้องใช้ทั้งพัดยศและพัดรอง ได้แก่งานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลที่มีการถวาย พระธรรมเทศนาหรืองานพระราชกุศลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพัดรองไว้ เป็นที่ระลึก เมื่อ พระราชาคณะที่ได้รับนิมนต์ให้เข้าไปเทศน์ถวาย หรือประกอบพระราชพิธีสงฆ์ในพระราชวังนั้นพระรูปที่ได้รับ นิมนต์จะต้องนำพัดเข้าไป ๒ เล่ม คือ พัดยศและ พัดรอง เวลาถวายศีลหรือเทศน์บนธรรมาสน์ให้ใช้ พัดรอง เนื่องจากพัดรองมีน้ำหนักเบาถือได้นาน ส่วนพัดยศนั้นมีขนาดใหญ่ ยาว แหลม และหนักมากจะใช้เมื่อกลับลงมาจากธรรมาสน์ มานั่งที่อาสนะเพื่อถวายอนุโมทนาและถวายอดิเรก ตาลปัตร ในพุทธศาสนาถือเป็นสิ่งหนึ่งที่คู่กับ พระสงฆ์ เป็น “ศาสนศิลป์และหัตถศิลป์” ที่มีความงดงามวิจิตรบรรจงซึ่งบรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้คู่ชาติไทย มาช้านาน และเป็นประเพณีนิยมของไทยที่จะถวายให้พระสงฆ์ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เป็นเครื่องระลึก แห่งงานนั้น ๆ นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องแสดงถึง สมณศักดิ์ ให้พระสงฆ์ได้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เพื่อเป็นตัวอย่างและที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไป

การใช้พัดยศและพัดรอง การใช้พัดยศจะใช้ในงานพระราชพิธีและรัฐพิธี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ

อ้างอิง ๑. พัดรองงานพระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, กรุงเทพฯ : ๒๕๕๖๒. คู่มือสมณศักดิ์ พัดยศ ฉบับสมบูรณ์, พระมหานิรุตต์ ฐิตสํวโร, กรุงเทพฯ : พฤศจิกายน ๒๕๕๐๓. th.wikipedia.org/wiki/พระปรมาภิไธย๔. คู่มือสมณศักดิ์ สำหรับผู้บริหาร, นายสุนทร สุภูตะโยธิน, กรุงเทพฯ : พ.ศ.๒๕๔๓๕. สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ “สมเด็จครู” นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม, สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ , กรุงเทพฯ : พฤษภาคม ๒๕๔๙

40 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘