21
รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษา จัดทาโดย 1.นางสาวรัตติยากร แจ่มกลาง รหัสนักศึกษา 5570107124 ภาษาไทย 2.นางสาววรรณภา วงษ์จาปา รหัสนักศึกษา 5570107128 ภาษาไทย 3.นางสาววิภาดา จันทร์กลาง รหัสนักศึกษา 5570107131 ภาษาไทย 4.นางสาวเสาวภา ปลั่งกลาง รหัสนักศึกษา 5570107243 ภาษาไทย 5.นางสาวรัชนีกรณ์ ดอนโคตร รหัสนักศึกษา 5570107223 ภาษาไทย 6.น.ส.ชัญญา วราเกษมจิต รหัสนักศึกษา 5670108209 ภาษาอังกฤษ 7.น.ส.สิริพร โขลนกระโทก รหัสนักศึกษา 5670108228 ภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี ภาค กศ.ปช. รุ่น 16 ภาษาไทย และ กศ.ปช. รุ่น 17 ภาษาอังกฤษ เสนอ ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา การบริหารจัดการทางการศึกษารหัส 106402 ภาคเรียนที1 ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

  • Upload
    others

  • View
    8

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษา

จัดท าโดย 1.นางสาวรัตติยากร แจ่มกลาง รหัสนักศึกษา 5570107124 ภาษาไทย 2.นางสาววรรณภา วงษ์จ าปา รหัสนักศึกษา 5570107128 ภาษาไทย 3.นางสาววิภาดา จันทร์กลาง รหัสนักศึกษา 5570107131 ภาษาไทย 4.นางสาวเสาวภา ปลั่งกลาง รหัสนักศึกษา 5570107243 ภาษาไทย 5.นางสาวรัชนีกรณ์ ดอนโคตร รหัสนักศึกษา 5570107223 ภาษาไทย 6.น.ส.ชัญญา วราเกษมจิต รหัสนักศึกษา 5670108209 ภาษาอังกฤษ 7.น.ส.สิริพร โขลนกระโทก รหัสนักศึกษา 5670108228 ภาษาอังกฤษ

ระดับปริญญาตรี ภาค กศ.ปช. รุ่น 16 ภาษาไทย และ กศ.ปช. รุ่น 17 ภาษาอังกฤษ

เสนอ ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรยีนวิชา การบริหารจัดการทางการศึกษารหสั 106402

ภาคเรยีนที ่1 ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลยัราชภัฏนครราชสีมา

Page 2: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

ค าน า

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การบริหารจัดการทางการศึกษา รหัส106402 ภาคเรียนที ่ 1 ปีการศึกษา 2557จัดท าขึ้นเพ่ือรวบรวมความรู้ เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษา ว่ามีความหมายอย่างไร มีองค์ประกอบการบริหารจัดการ สู่การพัฒนาองค์กรคุณภาพ และเพ่ือเผยแพร่แก่ผู้สนใจศึกษาเรื่อง เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งข้ึน คณะผู้จัดท าหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้คงเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจไม่มากก็น้อย และหากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดท าต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดท า

Page 3: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

สารบัญ เรื่องหน้า ค าน า ก สารบัญ ข ความหมายของการบริหาร 1 ความหมายการเปลี่ยนแปลง 1 ความหมายขององค์การคุณภาพ 2 คุณลักษณะของ องค์การคุณภาพ 2 องค์ประกอบขององค์การคุณภาพ 3 ทุนทางปัญญาของโรงเรียนคุณภาพ 3 การเป็นโรงเรียนแห่งวิสัยทัศน์ 3 การเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ องค์กรคุณภาพ 4 การมีผลปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ 5 หลักการส าคัญในการบริหารโรงเรียนคุณภาพ 5 การบริหารเชิงกลยุทธ์ 5 การบริหารโครงการ 7 แผนที่ผลลัพธ์ 7 การจัดการความรู้ 8 การบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 8 ปัจจัยที่น าไปสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ 9 ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ 9 ปัจจัยด้านองค์การ 10 ปัจจัยด้านความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี 11 ปัจจัยด้านระบบการบริหารและการจัดการ 11 แนวทางการบริหารเพ่ือน าไปสู่การเป็นโรงเรียนอัจฉริยะ 11

แนวทางท่ีควรจะเป็น 11 แนวทางท่ีน าไปสู่การปฏิบัติ 16

ภาคผนวก

Page 4: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษา

การบริหาร ความหมายของการบริหาร มีสองค าที่ใช้ในความหมายเดียวกัน คือ ค าว่า การบริหาร (Administration) และการจัดการ (Management) การบริหาร ใช้ในการบริหารระดับสูง หน้าที่เน้นหนักที่การก าหนดนโยบายที่ส าคัญและการก าหนดแผนไปสู่การปฏิบัติ (Implementation) เป็นค าที่นิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจ (Public administration) เน้นการด าเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่ได้วางไว้) นิยมใช้ส าหรับการจัดการธุรกิจ นอกจากนั้นได้มีผู้ให้ค านิยามหรือความหมายของค าว่า การบริหารไว้ ดังนี้ การบริหาร คือ ศิลปะในการท าให้สิ่งต่างๆ ได้รับการกระท าจนเป็นผลส าเร็จ การบริหาร คือ กระบวนการทางสังคมซึ่งพิจารณาได้เป็น 3 ทาง คือ

1. ทางโครงสร้าง เป็นความส าพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตามล าดับ ขั้นตอนของสายการบังคับบัญชา

2. ทางหน้าที่ เป็นขั้นตอนของหน่วยงานที่ระบุหน้าที่ บทบาท ความรับผิดชอบ และ เครื่องอ านวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้ส าเร็จตามเป้าหมาย

3. ทางปฏิบัติการ เป็นกระบวนการบริหารด าเนินการในสถานการณ์ที่บุคลต่อบุคคลก าลัง มีปฏิสัมพันธ์หรือร่วมท าปฏิกิริยาเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน การบริหาร คือการด าเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้ โดยอาศัยคน เงิน วัตถุ สิ่งของเป็นปัจจัยในการปฏิบัติงาน กล่าวโดยสรุป การบริหาร คือ กระบวนการทางสังคมของบุคคลที่ท าหน้าที่การวางแผน การจัดองค์การ จัดคนเข้าท างาน สั่งการ และควบคุมการท างานให้กิจกรรมขององค์การด าเนินงาน ไปตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานปัจจัยในการผลิต การเปลี่ยนแปลง ความหมายของการเปลี่ยนแปลง

หมายถึง สิ่งที่แตกต่างจากเดิม อันเป็นผลมาจากกระบวนการเปลี่ยนผ่านที่กระท าโดยปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง จนสิ่งเก่าไม่สามารถคงสภาพเดิมอยู่ได้ ความเปลี่ยนแปลง จึงมักได้รับการพูดถึงในรูปของเหตุการณ์ กระบวนการกระทั่งหลักการ

1

Page 5: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

มิติใหม่ของการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การคุณภาพ 1. ความหมายขององค์การคุณภาพ องค์การคุณภาพหมายถึงองค์การที่มีความสามารถโดดเด่นมีการพัฒนาศักยภาพของคนผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อคุณภาพการศึกษาระดับสูง และใช้ทรัพยากรในการบริหารอย่างคุ้มค่า จากความหมายของ องค์การคุณภาพ สามารถสรุปประเด็นส าคัญได้ดังนี้ 1. ความสามารถโดดเด่น หมายถึง ความสามารถทางด้านบุคคล ความสามารถในการบริหารจัดการ ความสามารถในด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างผลผลิต ความสามารถในการปรับตัวของโรงเรียนตามสถานการณ์ และสามารถพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ 2. พัฒนาศักยภาพของคนผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึง การพัฒนาคนทั้ง 2กลุ่ม ได้แก่ระดับเจ้าหน้าที่ และผู้บริหาร ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและกลุ่ม โดยการสร้าง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายความรู้ทั่วไป 3. นวัตกรรมที่ตอบสนองต่อคุณภาพการศึกษาระดับสูง หมายถึง องค์ความรู้ที่เหมาะสม ประกอบด้วย นวัตกรรมทางด้านการบริหารจัดการ และนวัตกรรมทางด้านการปฏิบัติงาน 4. การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หมายถึง การใช้ทรัพยากรทางการบริหารอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด 2. คุณลักษณะของ องค์การคุณภาพ

องค์การคุณภาพ เป็นองค์การคุณภาพต้องมีคุณลักษณะที่มีการสร้างและใช้ความรู้เพ่ือพัฒนาการด าเนินงานให้บรรลุเป้าหมายในการจัดการศึกษา คือ คุณภาพการศึกษาในระดับสูง และ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าว มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องได้แก่ คน โครงสร้าง งาน และ เทคโนโลยี

คุณลักษณะขององค์การคุณภาพ พิจารณาตามกรอบแนวคิด ดังนี้ 2.1 คน ได้แก่ ระดับเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1.1.1 ระดับปัจเจกบุคคล ต้องมีลักษณะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตามวินัย 5 ประการของ Peter M. Senge คือ มีความรอบรู้แห่งตน หรือ ทักษะในการพัฒนาตนเองเพ่ือการบรรลุเป้าหมาย (Personal Mastery) มีแบบแผนความคิดอ่าน หรือโลกทัศน์ (Mental Models) มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision Building) มีการเรียนรู้ของทีม (Team Learning) และมีการคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

2

Page 6: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

1.1.2 ระดับกลุ่ม ต้องมีคุณลักษณะเป็นทีม ชุมชนนักปฏิบัติ 1.2 โครงสร้าง มีลักษณะเป็นโครงสร้างที่มีชีวิต (Organic Organization) สามารถเคลื่อนไหว ยืดหยุ่น และมีสายการบังคับบัญชาที่สั้น มีลักษณะแบนราบ (Flat) 1.3 งาน มีลักษณะการปฏิบัติงานเป็นทีม (Team Work) และความสามารถในการปฏิบัติงานข้ามสายงาน (Cross-function) แบบทดแทน แลกเปลี่ยนงานได้ดี 1.4 เทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีที่เก่ียวข้องกับองค์ความรู้ ฐานความรู้ เพ่ือใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ 3. องค์ประกอบขององค์การคุณภาพ ประกอบด้วย

3.1 ทุนทางปัญญาของโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย การเป็นโรงเรียนแห่งวิสัยทัศน์ การเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ และมีผลปฏิบัติการที่เป็นเลิศ 3.2 หลักการบริหารที่สามารถท าให้โรงเรียนเป็นองค์การคุณภาพ ประกอบด้วย การบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารโครงการ แผนที่ผลลัพธ์ การจัดการความรู้ และการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 3.3 ระบบการปฏิบัติงานในแนวทางท่ีท าให้โรงเรียนเป็นองค์การคุณภาพ เป็นการบริหารจัดการภายใต้แนวคิดเชิงระบบ ที่มีความยืดหยุ่นและมีพลวัต 4. ทุนทางปัญญาของโรงเรียนคุณภาพ ทุนทางปัญญาของโรงเรียนคุณภาพ หมายถึง ผลรวมของความรู้ของบุคลากร และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศซึง่แปลงความรู้อยู่ในรูปของผลงาน และกระบวนการปฏิบัติงาน ทุนทางปัญญาของโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วยการเป็นโรงเรียนแห่งวิสัยทัศน์ การเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ และการมีผลปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ และหากพิจารณาแล้ว ทุนทางปัญญานี้เกิดจากทุนมนุษย์ หรือทุนบุคลากรในโรงเรียน ซึ่งเป็นผลมาจากสมรรถนะของบุคคล และสมรรถนะในการเป็นผู้น า ทุนทุนมนุษย์ จึงหมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความช านาญ นวัตกรรม และการ สร้างสรรค์ของบุคลากรในโรงเรียนทุกระดับ 4.1 การเป็นโรงเรียนแห่งวิสัยทัศน์

การเป็นโรงเรียนแห่งวิสัยทัศน์จัดเป็นทุนทางปัญญาหนึ่ง เพราะการสร้าง วิสัยทัศน์เกิดจากแรงปรารถนาร่วมกัน การมีวิสัยทัศน์ที่เหมาะสมมีความส าคัญต่อความส าเร็จของโรงเรียน เพราะวิสัยทัศน์ถือเป็นข้อผูกพัน (Commitment) ระหว่างบุคคล ให้มีความเข้าใจในความหมายของงาน เป็นการช่วยสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดี เป็นการเชื่อมโยงปัจจุบันไปสู่อนาคต เป็นการพัฒนาวิธีการท างานในรูปแบบใหม่ ๆ และให้การท างานบรรลุประสิทธิผล

3

Page 7: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

องค์ประกอบของการเป็นโรงเรียนแห่งวิสัยทัศน์ มีดังนี้ 1) มีการตอบสนองความต้องการ (Responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของครู

ผู้เรียน ผู้ปกครอง สังคม หรือความต้องการโดยผู้บริหารก าหนดก็ได้ 2) มีนวัตกรรม (Innovation) ที่หลากหลายแปลกใหม่หรือวิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนางาน 3) มีขีดความสามารถ (Competency) สูง ของครูและบุคลากรทางการศึกษาอ่ืน 4) มีประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการท างานสูง

4.2 การเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ องค์กรคุณภาพ โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ จัดเป็นทุนทางปัญญาประการหนึ่ง เพราะเป็นการพัฒนาการ

เรียนรู้ของบุคคลในโรงเรียน โดยมีการจัดการความรู้อย่างมีพลัง เพ่ือให้บุคลากรทุกระดับมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ มีวิธีคิดในการปฏิบัติงานอย่างหลากหลาย และมีความคิดสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายให้เกิดประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ องค์กรคุณภาพ มีดังนี้

1) ผู้บริหาร โรงเรียนต้องมีวิสัยทัศน์ และนโยบายที่เน้นการเรียนรู้เป็นหลัก ใช้ระบบคุณภาพในการปฏิบัติงาน โดยค านึงถึงการมีส่วนร่วม และกระจายอ านาจ ใช้ความไว้วางใจในการสร้างเสริมบรรยากาศเป็นมิตร มีการจัดสภาพและบรรยากาศการเรียนรู้

2) ครู ต้องมีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ โดยมีความรู้อย่างกว้างขวาง มีความสามารถ ในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพ่ือใช้ในการจัดการเรียนการสอน

3) ระบบบริหารจัดการ โดยมีการจัดการเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และการจัดสภาพการเรียนรู้โดยมีการปรับปรุงยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอน และการจัดบรรยากาศที่เอ้ือต่อการเรียนรู้

4) นวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ใช้ในการบริหารและการเรียนการสอน มีการวิจัยเพื่อพัฒนา

5) หลักสูตรของโรงเรียน มีลักษณะที่ยืดหยุ่น สอดคล้องตามสถานการณ์ และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย

4

Page 8: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

4.3 การมีผลปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ โรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ก็เป็นทุนทางปัญญาอีกประการหนึ่ง โดยเน้นการ

ปฏิบัติงานของบุคคล และภาพรวมของโรงเรียนที่เป็นรูปธรรม ซึ่งต้องมีการบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นระบบที่ค านึงถึงการปฏิบัติงานของคนในโรงเรียนทุกๆ ด้าน โดยตั้งอยู่บนการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องการบริหารผลการปฏิบัติงานเป็นการท าให้ผู้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งจะน าไปสู่ประโยชน์สูงสุดของโรงเรียน

องค์ประกอบของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ มีดังนี้

1) ผู้บริหารโรงเรียนมีภาวะผู้น า มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มีความสามารถในการจัดองค์การ ออกแบบงาน ก าหนดทิศทางในการท างาน สร้างบรรยากาศในการตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการกระตุ้นให้แรงจูงใจ มีความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง มีเอกภาพของทีม และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปฏิบัติงาน

2) การออกแบบงานที่มีความเป็นไปได้ทางเทคนิค มีความสามารถในเชิงพัฒนานวัตกรรม และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง มีผลงานเชิงคุณภาพ ส าเร็จตามเวลา และงบประมาณ

3) องค์การมีกลยุทธ์ระยะยาว มีวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือ เน้นเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีความมั่นคงในเป้าหมาย ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย มีความสามารถในการจัดการความเสี่ยง และมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

4) คน มีคุณลักษณะความสามารถสูง ต้องการที่จะประสบความส าเร็จร่วมกัน มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีความสามารถในการท างานเป็นทีมและพัฒนาทีมงาน มีการสื่อสารที่ดี และมีส่วนร่วมในการท างานสูง

5. หลักการส าคัญในการบริหารโรงเรียนคุณภาพ 5.1 การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)

การบริหารเชิงกลยุทธ์ เป็นการบริหารจัดการโดยค านึงถึงสภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอกท่ีจะส่งผลกระทบต่อโรงเรียน เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนสู่โรงเรียนคุณภาพ

สภาพแวดล้อมภายใน หมายถึง ปัจจัยภายในโรงเรียนที่มีผลต่อกลยุทธ์ของโรงเรียน ได้แก่ การน าปัจจัยน าเข้า โครงสร้างของโรงเรียน แนวคิดและวิธีการบริหาร การก าหนดเป้าหมาย ค่านิยม ความรู้ และงบประมาณ ทั้งนี้ การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนที่มีปัจจัยชี้น าจากสภาพแวดล้อมภายใน ได้แก่

1) วิเคราะห์ปัจจัยน าเข้าถึงคุณภาพและคุณลักษณะเพ่ือก าหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียน

5

Page 9: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

2) จัดโครงสร้างในการบริหารโรงเรียน และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นระยะๆ 3) ก าหนดแนวคิดและวิธีการบริหารเชิงระบบที่มีความยืดหยุ่นและมีพลวัต 4) ก าหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) สร้างค่านิยมที่เอ้ือต่อการปฏิบัติงานโดยใช้ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการ

ขยายความรู้ทั่วทั้งโรงเรียน 6) ใช้ความรู้เป็นฐานในการบริหารโรงเรียน 7) จัดท าแผนงบประมาณแบบมุ่งผลสมฤทธิ์แบบสมดุลทั่วทั้งองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึง ปัจจัยจากภายนอกโรงเรียนที่มีผลกระทบกับการ

บริหารจัดการของโรงเรียนในด้านการเป็นโอกาสหรือการเป็นอุปสรรคของโรงเรียนในการด าเนินงานของโรงเรียน ทั้งนี้ ปัจจัยภายนอกที่ชี้น ากลยุทธ์ของโรงเรียน คือ ทิศทางการพัฒนาของโรงเรียนสู่สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge / economic base society) ในส่วนของปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคของโรงเรียน คือ สภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ท าให้เกิดช่องว่างจากการพัฒนาและเกิดความไม่ยั่งยืน

การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนที่มีปัจจัยชี้น าจากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ 1) ก าหนดกลยุทธ์ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา 2) ก าหนดกลยุทธ์ในการบริหารโดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เครือข่ายการพัฒนา

ศักยภาพวิชาการ 3) ก าหนดกลยุทธ์ในการบริหารความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Analysis) โดยพิจารณาจุดแข็ง-จุดอ่อน

ภายในโรงเรียน และโอกาส-อุปสรรค จากภายนอกโรงเรียน ทั้งที่เป็นปัจจัยเงื่อนไขท่ีมีอิทธิพลต่อการบรรลุความส าเร็จของโรงเรียน ปัจจัยเงื่อนไขในระยะเวลาที่ผ่านมา และเงื่อนไขในอนาคต

2) การจัดวางทิศทางของโรงเรียน (Establishing Organization Direction) โดยพิจารณาภารกิจ และก าหนดเป้าประสงค์ของโรงเรียนเพ่ือให้บรรลุภารกิจ

3) การก าหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation) โดยพิจารณาออกแบบและเลือก กลยุทธ์ที่เหมาะสม สามารถน าไปปฏิบัติได้จริงจากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่างๆ

4) การปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ (Strategic Implementation) โดยด าเนินงานตามแผนปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ที่ก าหนดไว้ โดยค านึงถึงโครงสร้างของโรงเรียน และวัฒนธรรมองค์การ เพื่อน าไปสู่ความส าเร็จที่พึงประสงค์

5) การควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Control) โดยท าการติดตามผลการปฏิบัติงาน และท าการประเมินผลกระบวนการ และประเมินผลส าเร็จของโรงเรียน

6

Page 10: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

5.2 การบริหารโครงการ (Project Management)

การบริหารโครงการเป็นการบริหารปฏิบัติงานโดยพิจารณาเป้าหมาย แผนงาน และผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนอย่างสมดุล

โรงเรียนคุณภาพสามารถใช้การบริหารโครงการ เพ่ือให้บรรลุกลยุทธ์และเป้าหมายของโรงเรียนเป็นหลัก ทั้งนี้ การบริหารโครงการต้องค านึงถึงข้อจ ากัดทางด้านเวลา งบประมาณ ทรัพยากร และผลลัพธ์ ซึ่งวิธีการบริหารโครงการต้องท าให้ทุกคนในโรงเรียนร่วมกันท างาน

การบริหารโครงการของโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วยขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) ก าหนดนิยามโครงการ (Definition) เป็นการก าหนดเป้าหมาย ข้อก าหนดต่างๆ ส่วน

งานย่อยๆ และผู้รับผิดชอบ 2) การวางแผน (Planning) ประกอบด้วย การก าหนดการ การวางแผนงบประมาณของ

แต่ละงาน การวางแผนการจัดสรร/การใช้ทรัพยากร การวางแผนการจัดการความเสี่ยง การวางแผนบุคลากร 3) ด าเนินการ (Execution) เป็นการรายงานสถานภาพ โดยค านึงถึงระยะเวลา

ค่าใช้จ่าย ผลลัพธ์ การเปลี่ยนแปลง คุณภาพการศึกษา และการคาดการณ์ในอนาคต 4) การส่งมอบโครงการ (Delivery) ประกอบด้วย การฝึกอบรม เอกสารที่เกี่ยวข้อง การ

ใช้ทรัพยากร การมอบงานใหม่ และบทเรียนจากอดีต เช่น ปัญหาต่างๆ ที่พบจากการท างาน

5.3 แผนที่ผลลัพธ์ (Outcome Mapping) แผนที่ผลลัพธ์ เป็นเครื่องมือเพ่ือบริหารจัดโครงการ /แผนงาน ที่ให้ความส าคัญกับการ

เกิดข้ึนของ “ผลลัพธ์” หรือ “Outcome” ของแผนงานที่เกิดข้ึนกับคน กลุ่มคน หรือองค์กรที่แผนงานท างานด้วย ผลที่เกิดจากแผนที่ผลลัพธ์ คือ การเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรม (Behavior change) ที่ยั่งยืนเมื่อแผนงานนั้นๆ สิ้นสุดลง ผลของแผนงานนั้นจะยังคงอยู่ต่อไป

คุณลักษณะเด่นประการหนึ่งของแผนที่ผลลัพธ์ คือ การผนวกการติดตาม และประเมินผลเข้าไว้กับแผนงาน เพ่ือให้การติดตามและประเมินผล เป็นเครื่องมือในการบริหารแผนงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ และเป็นเครื่องมือเพ่ือการเรียนรู้ การจัดการความรู้ ทั้งความส าเร็จ และปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับแผนงาน

โรงเรียนคุณภาพควรใช้แผนที่ผลลัพธ์ในการบริหารโรงเรียน เพื่อการติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการ เป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาโรงเรียนให้ดีขึ้น โดยมีจุดเด่น คือ การให้ความส าคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้ความสนใจกับการติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องในแผนงาน เน้นการประเมินจากผลลัพธ์มากกว่าผลกระทบระยะยาว (Impact) นอกจากนี้ แผนที่ผลลัพธ์เน้นการน าข้อมูลย้อนกลับจากการด าเนินโครงการสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานของโครงการที่ตั้งไว้

7

Page 11: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

ดังนั้น แผนงานที่ใช้แผนที่ผลลัพธ์ต้องมีการเรียนรู้ที่อยู่บนฐานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการติดตามและประเมินผล และโรงเรียนคุณภาพต้องมีการพัฒนาวิธีการประเมินผลลัพธ์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความส าเร็จของโครงการ และเป็นกระบวนการที่ทั้งฝ่ายผู้ประเมินและผู้ด าเนินการโครงการร่วมกันคิด

5.4 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) การจัดการความรู้เป็นพื้นฐานของการเป็นโรงเรียนคุณภาพ โดยมีการจัดการความรู้ใน

ลักษณะไตรมิติ – ไตรภาคี กล่าวคือ โรงเรียนคุณภาพต้องมีการจัดการความรู้ในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์การ และมีผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม คือ ผู้เรียน ครู และผู้บริหาร

การจัดการความรู้ของโรงเรียนคุณภาพ มีลักษณะส าคัญ 3 ประการ คือ 1) การใช้ความรู้ในการตอบสนองเป้าหมายของโรงเรียน มีการจัดท าแผนการจัดการ

ความรู้ ก าหนดตัวชี้วัดและการติดตามประเมินผล รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกลุ่มของครูและนักเรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2) การใช้ความรู้เพ่ือเพ่ิมคุณค่าแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องของโรงเรียน โดยให้ความส าคัญกับความรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง และการมีส่วนร่วมในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างทีมและแกนน าการจัดการความรู้ในโรงเรียน

3) การบริหารจัดการที่มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ โรงเรียนคุณภาพต้องให้ความส าคัญกับภาวะผู้น าในกลุ่มคนทุกระดับทั้งนักเรียน ครู และผู้บริหาร โดยเฉพาะการเสริมสร้างพลัง (empower) การให้ก าลังใจ (encouragement) ควบคู่กับการสร้างพลังวิสัยทัศน์ร่วม (shared vision)

5.5 การบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Management) การบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารในโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนคุณภาพต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือของการบริหาร โดยเฉพาะการบริหารจัดการข้อมูล โดยโรงเรียนต้องมีฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ ข้อมูลที่ส าคัญได้แก่ ข้อมูลด้านบุคลากร ได้แก่ นักเรียน และครู ข้อมูลด้านทรัพยากร ได้แก่ การเงินและงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ข้อมูลด้านบริหารทั่วไป เพื่อเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา และข้อมูลที่เกี่ยวกับความรู้ความสามารถในการสอนของครู โดยระบบสารสนเทศของโรงเรียนคุณภาพ ได้แก่

1) ระบบสารสนเทศพ้ืนฐานของโรงเรียน ประกอบด้วย ข้อมูลและสารสนเทศที่เก่ียวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความต้องการของชุมชน สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ เช่น ปฏิทินการปฏิบัติงานของโรงเรียน กิจกรรมประจ าวันของโรงเรียน ระบบเอกสารที่จ าเป็นในโรงเรียน เป็นต้น

8

Page 12: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

2) ระบบสารสนเทศเก่ียวกับผู้เรียน เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด สารสนเทศส่วนนี้จัดท าโดยครูผู้สอนหรือผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจ าแนกเป็นรายชั้นรายปี ผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน รายงานผลความก้าวหน้าของผู้เรียน รายงานความประพฤติ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน เป็นต้น

3) ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเก่ียวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

4) ระบบสารสนเทศเพ่ือการบริหารจัดการ เป็นระบบสารสนเทศท่ีต้องมีการประเมินผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น งานธุรการ การเงิน งานบุคลากร งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน งานพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ เป็นต้น

5) ระบบสารสนเทศเพ่ือการรายงาน การบริหารจัดการของโรงเรียนต้องมีการรายงานคุณภาพการศึกษาประจ าปีต่อเขตพ้ืนที่การศึกษาที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการรายงานให้ผู้ปกครองชุมชน และสาธารณชนให้ทราบ ดังนั้น สารสนเทศส่วนนี้จึงเป็นการน าข้อมูลสารสนเทศท้ัง 4 ส่วน ที่กล่าวมาข้างต้นมาจัดท า สรุปเป็นภาพรวม ที่ชี้ให้เห็นถึงผล ส าเร็จตามสภาพและผลการพัฒนาที่เกิดข้ึน

6. ปัจจัยที่น าไปสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ จากการศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่น าไปสู่การเป็นองค์การคุณภาพ

สามารถสรุปได้ดังนี้ 6.1 ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้เรียน

6.1.1 ผู้บริหารโรงเรียน 1) ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีคุณลักษณะเป็นผู้น าแห่งการเปลี่ยนแปลง 2) ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีภาวะผู้น าในการสร้างการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และ

เสริมสร้างพลังให้กับผู้ร่วมงาน เปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียนสามารถสร้างสรรค์งานได้เต็มตามศักยภาพ 3) ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีความสามารถในการก าหนดนโยบาย และวิสัยทัศน์ที่เน้นการ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4) ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีความสามารถเป็นที่ปรึกษาหรือพ่ีเลี้ยงครู มีความสามารถใน

การพัฒนางาน วางแผน และสามารถท าให้เกิดปฏิบัติในโรงเรียน 6.1.2 ครู 1) ครูต้องมีคุณลักษณะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 2) ครูต้องมีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ๆ

ในการพัฒนาการเรียนการสอน 3) ครูต้องเน้นการจัดการเรียนการสอนเป็นทีม และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

9

Page 13: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

6.1.3 ผู้เรียน 1) นักเรียนมีคุณลักษณะมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน 2) นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ 3) นักเรียนมีทักษะในการพัฒนาตนเอง และสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างต่อเนื่อง 4) นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 5) นักเรียนมีความสามารถขยายการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติ

6.2 ปัจจัยด้านองค์การ 6.2.1 โครงสร้างองค์การ โครงสร้างโรงเรียนคุณภาพ ต้องเป็นโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่น บรรยากาศเปิดเผย มี

ความคล่องตัว ก่อให้เกิดการท างานเป็นทีมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ตลอดจนตอบสนองต่อการสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างต่อเนื่อง

6.2.2 งาน งานของโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย งานวิชาการ งานบริหารการเงินและงบประมาณ

งานบริหารงานบุคคล งานบริหารทั่วไป และงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยงานต้องมีลักษณะการด าเนินงานที่มีการประสานและจัดงานตามกลุ่มภารกิจ เน้นการออกแบบให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานมากกว่าการแข่งขัน และการบริหารผลการปฏิบัติงานให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพในระดับสูง

6.2.3 บรรยากาศและวัฒนธรรม บรรยากาศและวัฒนธรรมของโรงเรียนคุณภาพต้องเอ้ือต่อการเรียนรู้ของบุคคล กลุ่ม

และองค์การ ซึ่งได้แก่ การท างานเป็นทีม และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ต้องมีการจูงใจในเชิงสร้างสรรค์ เช่น การให้รางวัลในการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ การยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นต้น

6.2.4 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ โรงเรียนคุณภาพ ต้องก าหนดวิสัยทัศน์มุ่งพัฒนาคนและองค์การให้มีความสามารถโดด

เด่น โดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อคุณภาพการศึกษาระดับสูง และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยลักษณะของวิสัยทัศน์ของโรงเรียนคุณภาพต้องเป็นวิสัยทัศน์ร่วมและเป็นวิสัยทัศน์เชิงปฏิบัติ (Operational vision statement) มีเป้าหมายที่ชัดเจน เปิดกว้าง และหลากหลาย ยอมรับแนวคดิที่แตกต่างเพ่ือสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ขึ้น มีการก าหนดพันธกิจและกลยุทธ์ที่สอดคล้องกัน ตลอดจนก าหนดแนวทางท่ีเป็นรูปธรรมและน าไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

10

Page 14: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

6.3 ปัจจัยด้านความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี 6.3.1 หลักสูตร

หลักสูตรของโรงเรียนคุณภาพต้องมีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และประเทศ เพ่ือเสริมสร้างคุณลักษณะของบุคคลแห่งการเรียนรู้ เป็นหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อน าไปสู่การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ฐานความรู้อย่างหลากหลาย และมีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

6.3.2 นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการบริหารงานและจัดการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการบริหารงานและจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

คุณภาพนั้น ต้องน าเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน การปฏิบัติงาน มีการจัดระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน และมีการพัฒนา Software เพ่ือการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ตลอดจนใช้วิจัยเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และการบริหารงาน

6.4 ปัจจัยด้านระบบการบริหารและการจัดการ โรงเรียนคุณภาพต้องมีระบบการบริหารและการจัดการที่เน้นคุณภาพและมุ่งผลสัมฤทธิ์

เป็นหลัก โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม ให้ความส าคัญกับการปฏิบัติงานเป็นทีม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพ่ือสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพ่ิมให้กับโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

7. แนวทางการบริหารเพื่อน าไปสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ

7.1 แนวทางท่ีควรจะเป็น แนวทางท่ีควรจะเป็นในการบริหารโรงเรียนคุณภาพ เพ่ือให้โรงเรียนมีความสามารถโดด

เด่น มีการพัฒนาศักยภาพของคนผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อคุณภาพการศึกษาระดับสูง โดยใช้ทรัพยากรในการบริหารอย่างคุ้มค่านั้น สรุปได้ดังนี้

7.1.1 การประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงระบบในการบริหารโรงเรียน การประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงระบบในการโรงเรียนคุณภาพ ทั้งนี้เพราะโรงเรียน

คุณภาพต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมอย่างรวดเร็ว โดยใช้แนวคิดเชิงสถานการณ์เข้ามาบริหารงาน เพ่ือให้บรรลุเป้าหมายในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพระดับสูง และมีความสามารถในการแปรสภาพ (Transformation) ซึ่งหมายถึง ความสามารถของโรงเรียนในการบริหารและการใช้เทคโนโลยี ในการเปลี่ยนปัจจัยน าเข้า (input) ให้เกิดผลผลิต (output) ตามที่ต้องการ

การประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงระบบในการบริหารโรงเรียนคุณภาพ ต้องมีลักษณะเป็นระบบคุณภาพ (Intelligent system approach) ด้วย กล่าวคือ เป็นระบบมีสามารถจัดการภายในตัวเองให้มีพลวัต และมีความยืดหยุ่น

11

Page 15: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

รูปที่ 2 พลวัตขององค์การเชิงระบบ

7.1.2 แนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถของโรงเรียน โรงเรียนคุณภาพต้องมีความสามารถ 1)การสร้างผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ 2)ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อเป้าหมาย 3)มีการเพิ่มคุณค่า (value added) ให้กับผลผลิต 4)สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ที่เก่ียวข้องทุกฝ่าย และ 5)มีการยกระดับคุณภาพของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ความสามารถของโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย 1)ความสามารถทางด้านบุคคล 2)ความสามารถในด้านการบริหารจัดการ 3)ความสามารถในด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างผลผลิต โดยที่การพัฒนา

ความสามารถของโรงเรียน โดยที่ให้ความส าคัญกับ กระบวนการ (process) ในการบริหารจัดการต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะเป็นความสามารถในการแปรสภาพให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การพัฒนาความสามารถของโรงเรียนในส่วนของกระบวนการ

ตามแนวคิดของ Owens (1998) ซึ่งประกอบด้วย คน โครงสร้าง งาน และเทคโนโลยี โดยมีแนวทางการบริหาร ดังนี้

12

Page 16: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

1) การบริหารบุคคลของโรงเรียนคุณภาพ แนวทางการบริหารเพ่ือพัฒนาความสามารถของโรงเรียนคุณภาพทางด้านบุคคล

ประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ พิจารณาเรื่องความสามารถของบุคคลในการปฏิบัติงาน และความสามารถในการบริหารงานบุคคล ในส่วนของการบริหารบุคคลต้องให้ความส าคัญกับการบริหารจัดการความรู้ของบุคคล เพ่ือให้บุคคลมีคุณลักษณะเป็นบุคคลคุณภาพ (Talent person) ใน 3 ด้าน คือ

- การจัดการตนเอง (Self Management) ได้แก่ มุ่งเน้นประสิทธิผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยืดหยุ่น และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

- ความตระหนักทางสังคมและการจัดการ (Social Awareness and Management) ได้แก่ ความสามารถในการจัดการระดับกลุ่ม มีความตระหนักในประโยชน์ของส่วนรวม มีความสามารถการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ มีความสามารถในการสื่อสาร และการพัฒนาบุคคลอื่นผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

- ความสามารถในการให้เหตุผล (Analytic Reasoning) ได้แก่ ความสามารถในการคิดรวบยอด ทักษะการสื่อสารในด้านการเขียน ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี การใช้รูปแบบทางความคิด การวิเคราะห์เชิงปริมาณ และการคิดอย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ การบริหารบุคคลของโรงเรียนคุณภาพ มุ่งเน้นให้เกิดความสามารถในการปฏิบัติงานระดับสูง (High performance) โดยมีแนวทางการด าเนินงานดังนี้

- พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับผ่านการปฏิบัติจริง (on the job learning) การสอนงาน และการเรียนรู้ผ่านการฝึกอบรม

- พัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ - พัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพ โดยการสร้าง career path - พัฒนาการบริหารผลการปฏิบัติงาน โดยค านึงถึงผลส าเร็จตามเป้าหมาย และ

ผลลัพธ์ที่เกิดข้ึน ทั้งในระดับบุคคลและกลุ่ม - พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานในเชิงผสมผสาน โดยประเมิน

จากผลส าเร็จของงาน และพฤติกรรมการปฏิบัติงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ 2) การบริหารงานโรงเรียนคุณภาพ ความสามารถของโรงเรียนคุณภาพด้านในด้านของงาน (Tasks) ประกอบด้วย - ความสามารถในการออกแบบลักษณะงาน - การก าหนดเป้าหมาย แนววิธีด าเนินงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน

โดยมีลักษณะดังนี้ การออกแบบงานมีความเป็นไปได้ในทางเทคนิค มีความสามารถในการท าให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพ ส าเร็จตามเวลา ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า มีนวัตกรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

13

Page 17: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

งานของโรงเรียนคุณภาพสามารถแบ่งได้เหมือนกับโรงเรียนทั่วไป คือ งานวิชาการ งานบริหารทั่วไป งานการเงินและงบประมาณ และงานบุคลากร

แนวทางการบริหารงานของโรงเรียนคุณภาพ มีดังนี้ - การวางแผนกลยุทธ์โรงเรียน จะก าหนดเป็นระยะๆ โดยไม่ข้ึนกับวาระผู้บริหาร - การจัดโครงสร้างองค์กรโดยจัดกลุ่มงานและงานในลักษณะเป็นแนวราบ และ

เป็นเครือข่าย - อ านาจการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน กระจายสู่ผู้ปฏิบัติมากข้ึน - โรงเรียนสามารถจัดการด้วยตัวเองมากข้ึน ลดการพ่ึงพิงที่เป็นภาระกับบุคคล

และหน่วยงานอื่น การใช้จ่ายในการปฏิบัติงานต้องค านึงถึงความคุ้มค่า - การปฏิบัติงานต้องใช้ความรู้ในเชิงสหวิทยาการ - ลักษณะการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหา มีลักษณะเป็นองค์รวม (holistic) 3) การจัดโครงสร้างการบริหารโรงเรียนคุณภาพ ความสามารถในการจัดโครงสร้างของโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย

ความสามารถในการออกแบบโครงสร้างการบริหาร การควบคุมและการประสานการปฏิบัติงาน และการปรับโครงสร้าง

แนวทางการออกแบบโครงสร้างที่มีความเหมาะสมกับโรงเรียนคุณภาพ คือ มีลักษณะเป็นโครงสร้างแบบมีชีวิต (Organic model) ซึ่งเป็นการจัดโครงสร้างที่แบนราบ มีการข้ามสายบังคับบัญชา และข้ามภารกิจหน้าที่ มีความเป็นทางการต่ า มีการประมวลรวมเครือข่ายข้อมูลข่าวสาร และใช้การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 การจัดโครงสร้างแบบ Organic Model

14

Page 18: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

ลักษณะของการจัดโครงสร้างแบบมีชีวิต (organic model) จะมีลักษณะการจัดกลุ่มงานที่มีลักษณะและใช้ทักษะการปฏิบัติงานใกล้เคียงกัน โดยมีการประสานงานระหว่างกัน มีสายบังคับบัญชาสั้น มีการมอบการตัดสินใจให้กับกลุ่มงาน เน้นการบรรลุเป้าหมายมากกว่าระเบียบและข้ันตอน มีการประเมินผลและประมวลผลการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว

4) การบริหารเทคโนโลยีและความรู้ ความสามารถบริหารเทคโนโลยีและความรู้ของโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย

ความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้ การใช้ความรู้ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการบริหารงาน คือ ระบบเทคโนโลยีเพ่ือการจัดการ (MIS : management information system) และเทคโนโลยีสารสนเทศงานวิชาการ คือ การจัดท าหลักสูตร แผนการสอน สื่อเทคโนโลยี การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านการสนับสนุนการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การผลิตสื่อ ด้านการบริการสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา

แนวทางบริหารจัดการความรู้ของโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย - การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ในหลากหลายรูปแบบทั้งท่ีเป็นทางการและไม่

เป็นทางการ และในบุคลากรทุกระดับ - การจัดการความรู้จากเรื่องเล่า โดยเป็นการเก็บความรู้ในตัวบุคคลด้วยเรื่องเล่า

จากประสบการณ์ สถานการณ์ต่าง ๆ ในโรงเรียน - การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (community of practices: COPs) โดยเป็นการ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ คล้ายคลึงกัน - การสร้างคลังสมอง เป็นการจัดเก็บความรู้ภายในโรงเรียนอย่างเป็นระบบเพื่อให้

มีการศึกษาและน าไปประยุกต์ใช้ แนวทางการบริหารเทคโนโลยีของโรงเรียนคุณภาพ มีดังนี้ - การวางแผนระบบสารสนเทศ และการบริหารข้อมูลของของโรงเรียน - การจัดท าระบบฐานข้อมูลของโรงเรียน (data based) - การจัดวางเครือข่ายและการบริหารระบบสารสนเทศ

7.1.3 การบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนคุณภาพ การบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นแนวทางส าคัญที่จะท าโรงเรียนพัฒนาและธ ารง

รักษาความเป็นโรงเรียนคุณภาพไว้ได้อย่างยั่งยืน ดังนี้ 1) การก าหนดเป้าหมายเพ่ือการเปลี่ยนแปลง ความเป็นโรงเรียนคุณภาพทั้งใน

ด้านของคุณลักษณะและความสามารถของโรงเรียน

15

Page 19: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

2) การสร้างศักยภาพเพ่ือการเปลี่ยนแปลง โดยมุ่งพัฒนาในศักยภาพของบุคคล กลุ่ม และโรงเรียน โดยระดับบุคลและกลุ่ม ต้องมีการพัฒนาความรู้ ทักษะ และศักยภาพ รวมทั้งความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ส่วนระดับโรงเรียนต้องพัฒนาศักยภาพในการสรรหา จัดสรรทรัพยากร การก าหนดวิสัยทัศน์ พันธะกิจ นโยบาย กลยุทธ์ในการด าเนินการสู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพ

3) การสร้างความเข้าใจกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีการวางแผน

รองรับ โดยการเปลี่ยนแปลงจ าเป็นต้องมีพลัง แนวคิด มีพันธะสัญญา และมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง การเป็นโรงเรียนคุณภาพบุคลากรทุกระดับต้องมีความตระหนักและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนานวัตกรรมเพ่ือตอบสนองต่อคุณภาพการศึกษาระดับสูง

4) การพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้จากโรงเรียนอ่ืน และการเรียนรู้ภายในโรงเรียน โดยผ่านการจัดการความรู้ การเทียบเคียงสมรรถนะ และหาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียน

5) การพัฒนาระบบการติดตาม ประเมินผล เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อพัฒนาปรับปรุงการด าเนินงานของโรงเรียน

6) การเน้นความเป็นผู้น าการเปลี่ยนแปลง โดยผู้น าเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งภาวะผู้น าจะเป็นปัจจัยส าคัญต่อความส าเร็จของโรงเรียนคุณภาพ

7) การสนับสนุนในการสร้างความชัดเจน โดยจัดกระท าให้การเปลี่ยนแปลงมีล าดับความส าคัญ เชื่อมโยงเป็นแผนที่เชิงกลยุทธ์ ทั้งนี้ในการสนับสนุนในการสร้างความชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมการเรียนรู้ การการติดตาม ประเมินผล และแบบแผนของผู้บริหารโรงเรียน

8) การเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงสามระดับ (tri – level) ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล กลุ่ม และโรงเรียนที่มีความเชื่อมโยง สอดคล้องในทิศทางและเพ่ือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน

7.2 แนวทางท่ีน าไปสู่การปฏิบัติ 7.2.1 วาดภาพอนาคต

โรงเรียนคุณภาพมีการก าหนดเป้าหมายและแนวทางการด าเนินงานในอนาคต ภาพของโรงเรียนคุณภาพจึงต้องมีการก าหนดวิสัยทัศน์ ให้มองเห็นภาพที่พึงปรารถนา การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่มีความท้าทายต่อโรงเรียนด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งภายนอกและภายใน โดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการก าหนดภาพอนาคตของโรงเรียน ซึ่งมีข้ันตอนการด าเนินการ ดังนี้

ขั้นที่ 1 ก าหนดขั้นตอนของการพัฒนาโรงเรียนอย่างมีวิสัยทัศน์ ขั้นที่ 2 ประเมินสภาพแวดล้อมและวิเคราะห์สภาพโรงเรียน

16

Page 20: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

ขั้นที่ 3 ก าหนดวิสัยทัศน์ พันธะกิจ โดยสร้างแบบประเมินความต้องการของโรงเรียนแบบสมดุล

7.2.2 ก าหนดแนววิธีด าเนินการ โรงเรียนคุณภาพต้องมีการก าหนดแนววิธีด าเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายใน

อนาคต โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนให้สามารถพัฒนานวัตกรรม มีการท างานเป็นทีมเพ่ือสร้างคุณค่าให้กับโรงเรียนผ่านกระบวนการการจัดการความรูในโรงเรียน โดยมีขั้นตอนการด าเนินการ ดังนี้

ขั้นที่ 4 สร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของร่วมกันในวิสัยทัศน์ พันธกิจ และคุณค่าทั่วโรงเรียน

ขั้นที่ 5 สร้างระบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและนวัตกรรมของโรงเรียน ขั้นที่ 6 บูรณาการคุณค่าใหม่เข้าไปในระบบและกระบวนการบริหารบุคคล ขั้นที่ 7 จัดพัฒนาบุคคลเพ่ือสนับสนุนวัฒนธรรมใหม่

7.2.3 ติดตามประเมินผล โรงเรียนคุณภาพต้องมีการติดตามประเมินผล เพื่อติดตามความก้าวหน้าและเป็น

สารสนเทศในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต โดยมีขั้นตอนการด าเนินการ ดังนี้ ขั้นที่ 8 ติดตามความก้าวหน้าสู่การบรรลุเป้าหมาย ขั้นที่ 9 ประเมินผลความส าเร็จที่เกิดข้ึน

7.2.4 พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนคุณภาพต้องมีการพัฒนานวัตกรรม และบุคคลอย่างต่อเนื่อง และธ ารง

รักษาให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยมีขั้นตอนการด าเนินการ ดังนี้ ขั้นที่ 10 พัฒนาเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ใหม่ ปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และคุณค่า

อย่างต่อเนื่อง

17

Page 21: รายงาน เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสถานศึกษาkruinter.com].pdf ·

เอกสารอ้างอิง www.skn.ac.th/miti.doc ปรเมษฐ์ โมลี ผู้อ านวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี www.kicec.ac.th วณิดา หม้อทิพย์ นฤมล อุตสาหะ นุสรา ผดุงทรง ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2548). การพัฒนาองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร:

วิทยไพบูลย์ พริ้นท์ติ้ง. วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2547). องค์กรแห่งการเรียนรู้และการบริหารความรู้. กรุงเทพมหานคร: สามลดา. วิจารณ์ พานิช และประพนธ์ ผาสุขยืด. (2550). การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาองค์กร คุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพ่ือสังคม. วิโรจน์ สารรัตนะ. (2544). โรงเรียน : องค์การแห่งการเรียนรู้ กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีทาง

การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์. วิโรจน์ สารรัตนะและอัญชลี สารรัตนะ. (2545). ปัจจัยทางการบริหารกับความเป็นองค์การ

แห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์. วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2542). องค์กรเรียนรู้สู่องค์กรอัจฉริยะ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท. สมชาย เทพแสง. (2547). “โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (Learning School) กุญแจส าคัญในการพัฒนาคุณภาพ นักเรียน.” วารสารวิชาการ 2(เมษายน – มิถุนายน): 10 – 16. ริชาร์ด, บาร์เร็ต. (2546). ปลดปล่อยวิญญาณธุรกิจสู่การเป็นยอดองค์กร (Liberating the