43
1 รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนเพศชายและเพศหญิง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) โดย นางสาวภาวิณี รัตนคอน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม)

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

1

รายงานการวิจัยในช้ันเรียน

เรื่อง

การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

ของนักเรียนเพศชายและเพศหญิง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3 ท่ีได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

โดย

นางสาวภาวิณี รัตนคอน

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลยัราชภฎัสวนสนุนัทา (ฝ่ายมธัยม)

Page 2: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

2

ชื่องานวิจัย : การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพศ ชายและเพศหญิง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

ชื่อผู้วิจัย : นางสาวภาวิณี รัตนคอน ปีท่ีท าการวิจัย : 2557

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพศชายและเพศหญิง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการจัดกิจกรรม เป็น กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) ที่ก าลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จ านวน 47 คน ซึ่งเป็นนักเรียนเพศชาย 13 คน และเป็นนักเรียนเพศหญิง 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลท าโดยการเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพศชายและเพศหญิง ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า เจตคติของนักเรียนเพศชายและนักเรียนเพศหญิง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) อยู่ในระดับปานกลาง

Page 3: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

3

สารบัญ

เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก สารบัญ

ข บทที่ 1 บทน า 1 ความส าคัญและที่มาของปัญหา 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 สมมุติฐานการวิจัย 2 นิยามศัพท์เฉพาะ 3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 4 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงงานวิทยาศาสตร์ 4 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีของการสอนแบบ Predict Observe Explain 11 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเจตคติต่อโครงงานวิทยาศาสตร์ 12 บทที่ 3 วิธีด าเนินการวิจัย 17 บทที่ 4 ผลการวิจัย 20 บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ 23 บรรณานุกรม 24 ภาคผนวก 27

Page 4: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

4

บทที่ 1

บทน า 1. ความส าคัญและที่มาของปัญหา

ยุคปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่มากขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาวิทยาศาสตร์นับว่าเป็นสิ่งส าคัญโดยตรง เนื่องจากวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานส าคัญที่จะรองรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ซึ่งมีความจ าเป็นต่อการด ารงชีวิตของมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต วิทยาศาสตร์เป็นความรู้เกี่ยวกับความจริงที่ทดสอบได้ ฉะนั้นการศึกษาวิทยาศาสตร์จึงไม่ใช่การท่องจ า แต่เป็นการลงมือปฏิบัติ เพื่อเกิดทักษะ การจัดการการศึกษาวิทยาศาสตร์จึงต้องมีการเร่งรัดพัฒนาการเรียนการสอน และจดักิจกรรมเพ่ือสงเสริมความรู้ ทักษะ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ในทุกระดับชั้นการศึกษา ซ่ึงพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ปรับปรุง 2553) มาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักให้นักเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่านักเรียนมีความส าคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (กรมวิชาการ, 2545: 7)

จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2553 ทีไ่ด้ก าหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเกณฑ์ในการก าหนดคุณภาพของนักเรียน โดยเน้นการสอนวิทยาศาสตร์ (โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2553) ด้วยเหตุนี้การจัดการศึกษาขั้นพ้ืนฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จึงได้น าแนวคิดดังกล่าวมาพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและจัดท าเป็นสาระการเรียนรู้มาตรฐานวิชาวิทยาศาสตร์ โดยก าหนดคุณภาพของนักเรียนในแต่ละช่วงชั้นไว้อย่างชัดเจนตามโครงสร้างของหลักสูตร ซึ่งก าหนดให้วิชา โครงงานวิทยาศาตร์ รหัส ว 23202 เป็นรายวิชาเพ่ิมเติม (โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา , 2553: 168) โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการท างานของนักวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความหมายและประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ ล าดับขั้นตอนในการท าโครงงานวิทยาศาสตร์ ศึกษาค้นคว้า อธิบายเกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์และท ากิจกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ฝึกทักษะการตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การก าหนดและควบคุมตัวแปร ตลอดจนการใช้เครื่องมือพ้ืนฐานเพ่ือให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงงาน และสามารถอธิบายถึงความแตกต่างของโครงงานประเภทต่างๆ และท าโครงงานประเภททดลอง ประเภทสิ่งประดิษฐ์หรือประเภทส ารวจ เป็นขั้นตอนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยสามารถวางแผนด าเนินการตามโครงการและน าเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่ม มีความสามารถในการตัดสินใจ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ดังกล่าวจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สืบเสาะหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง ท าให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายมากกว่าการเรียนรู้เพ่ือจ าตัวความรู้เพียงอย่างเดียว (พินิจ แท่นมาก : 2554)

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธี Predict Observe Explain (POE) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ซึ่งเป็นการสอนที่สนับสนุนให้นักเรียนได้ตัดสินใจเกี่ยวกับความเข้าใจที่มีอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อเดิม ส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นขั้นตอนได้โดยการน าเสนอสถานการณ์และให้นักเรียนท านายว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีการเปลี่ยนแปลงหลังจากนักเรียนท านายแล้ว โดยให้นักเรียนลงมือทดลอง สังเกต หรือหาวิธีพิสูจน์เพ่ือหาค าตอบจากสถานการณ์ท่ีครูสร้างข้ึน แล้วให้นักเรียนบอกสิ่งที่นักเรียนสังเกตได้จากการสืบเสาะหาความรู้ด้วย

Page 5: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

5

ตัวนักเรียนเอง โดยนักเรียนจะต้องอภิปรายถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ได้จากการท านายและการสังเกตหรือผลการทดลองที่ได้ (White and Gunstone, 1992 อ้างถึงใน น้ าค้างจันทร์เสริม, 2551 : 16)

การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ (POE ) จึงเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยความรู้พ้ืนฐานจากประสบการณ์เดิมของตน รวมทั้งฝึกให้นักเรียนพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ เนื่องจากเป็นวิธีการสอนที่เน้นให้นักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ให้นักเรียนได้เรียนรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการหาค าตอบด้วยตนเอง และสามารถพัฒนาทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุปได้ จึงเหมาะสมต่อการน ามาใช้จัดการเรียนการสอนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียน ดังนั้นผู้ท าการวิจัยจึงต้องการทราบเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) ว่าเป็นเช่นไรเพ่ือที่จะได้น าข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพ่ือศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพศชายและเพศหญิง ที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

2. เพ่ือเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียนให้ดีขึ้น 3. เพ่ือเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ให้ดียิ่งขึ้น

สมมติฐานการวิจัย 1. นักเรียนที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ (POE) มีความรู้สึก

ในเชิงบวกต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2. นักเรียนเพศชายและเพศหญิงที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์มีเจตคติไม่แตกต่างกัน

ขอบเขตของโครงการวิจัย 1. ประชากร ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสนุันทา แขวง

วชิระ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภฏัสวนสุนันทา

แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จ านวนนักเรียน 47 คน 3. ระยะเวลาที่ใช้ทดลอง ท าการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โดยการสอนคาบละ 50 นาท ีจ านวน 40 ชั่วโมง 4. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศของนักเรียน ตัวแปรตาม ได้แก่ เจตคติต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร ์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ

Predict Observe Explain (POE) นิยามศัพท์เฉพาะ

1. โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง กิจกรรมส าหรับนักเรียนในการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้ค าแนะน าปรึกษาของครูหรือผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมนี้อาจท าเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้ และจะกระท าในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ โดยไม่จ ากัดสถานที่ เช่น อาจท านอกห้องเรียน ในห้องปฏิบัติการ หรือนอกโรงเรียน แม้กระทั่งที่บ้านของนักเรียนก็ได้

Page 6: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

6

2. วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ (POE) หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ เป็นการฝึกให้นักเรียนคิด ท านายสิ่งที่จะเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นโดยใช้เหตุผล จากนั้นท าการสังเกต ทดลอง หรือหาข้อพิสูจน์สถานการณ์ดังกล่าว นักเรียนต้องบอกสิ่งที่สังเกตได้ และอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ได้จากการท านายและการสังเกต มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 Predict (P) ให้นักเรียนท านาย หรือคาดคะเนค าตอบจากสถานการณ์ท่ีก าหนดให้ โดยให้เหตุผลประกอบ

ขั้นที่ 2 Observe (O) ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ การสังเกต ส ารวจ ทดลอง สืบค้นหา ค าตอบจากสถานการณ์ท่ีก าหนด

ขั้นที่ 3 Explain (E) ให้นักเรียนอธิบายผลที่ได้จากการสังเกต ส ารวจ ทดลอง สืบค้นหา ค าตอบจากสถานการณ์ที่ก าหนดโดยให้เหตุผลประกอบซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในขั้นการสอนในแผนการจัดการเรียนรู้

3. เจตคติต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) หมายถึง ความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ในเชิงบวก หรือเชิงลบ อันมีผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

- เจตคติเชิงบวกต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาในลักษะพึงพอใจความชอบ อยากเรียน และอยากเก่ียวข้องกับโครงงานวิทยาศาสตร์

- เจตคติเชิงลบต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาในลักษณะไม่พอใจ ไม่ชอ ไม่อยากเรียน และไม่อยากเกี่ยวข้องกับโครงงานวิทยาศาสตร์

Page 7: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

7

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงงานวิทยาศาสตร์ 1.1 ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์

1.2 ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ 1.3 ขั้นตอนในการท าโครงงานวิทยาศาสตร์

2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีของการสอนแบบ Predict-Observe-Explain 3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเจตคติต่อโครงงานวิทยาศาสตร์

2.1 ความหมายของเจตคติ 2.2 เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ 2.3 การวัดเจตคติ

1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงงานวิทยาศาสตร์

1.1 ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น ได้มีสถาบันที่เกี่ยวกับการศึกษาและนักการศึกษาหลายท่าน

ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ ธีระชัย ปูรณโชติ (2531 : 1) ให้ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ว่าเป็นการศึกษาเรื่องใดเรื่อง

หนึ่งที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้การแนะน า ปรึกษา และการดูแลของครู หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ

ยุทธ ไกรวรรณ์ (2544: 11) ให้ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ว่าเป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการ โดยผู้เรียนเป็นผู้คิดค้น วางแผน ลงมือปฏิบัติตามท่ีวางแผนไว้ อาศัยเครื่องมือ เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติ เพื่อให้โครงงานส าเร็ยภายใต้ค าแนะน า การกระตุ้นความคิด กระตุ้นการท างานจากครูผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญ ครูผู้ดูแลโครงงานจะอ านวยความสะดวกในการท าโครงงาน ชี้แนวทางแก้ปัญหาที่เกิดข้ึนจากการท าโครงงาน ตลอดทั้งติดตามวัดและประเมินโครงงานด้วย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2544 : 1-2) ให้ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ว่าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย ีโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าเพ่ือตอบปัญหาที่สงสัยซึ่งนักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ มีการวางแผนในการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูล ด าเนินการปฏิบัติทดลอง หรือประดิษฐ์คิดค้น สรุปผลด้วยตนเอง โดยมีครูอาจารย์เป็นผู้ให้ค าปรึกษา ซึ่งมหีลักการ ดังนี้

1. นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตามความสนใจและระดับความรู้และความสามารถ

2. เป็นกิจกรรมที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าเพื่อตอบปัญหาข้อสงสัย 3. นักเรียนเป็นผู้วางแผนการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลด าเนินการปฏิบัติการทดลองหรือ

ประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งการแปลผล สรุปผล และเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้ค าปรึกษา

Page 8: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

8

4. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มะลิวัลย์ หาญชนะ (2546 : 10) ให้ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ว่าโครงงานวิทยาศาสตร์

เป็นการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เก่ียวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามความถนัดความสนใจของนักเรียนและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้การดูแลและให้คาปรึกษาของอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอาจทาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้รวมทั้งจัดในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ พันธ์

ลัดดา ภู่เกียรติ (2552 : 21-22) ได้สรุปความหมายของโครงงานว่า โครงงานเป็นวิธีการเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียนที่อยากจะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลาย ๆ สิ่งที่สงสัยหรืออยากรู้ค าตอบให้ลึกซึ้งชัดเจน โดยใช้ทักษะกระบวนการและปัญญา หลาย ๆ ด้าน มีวิธีศึกษาอย่างเป็นระบบ และมีขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด และลงมือปฏิบัติตามที่วางแผนไว้จนได้ข้อสรุปหรือผลการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ โดยหลักการส าคัญของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์คือ เป็นกิจกรรมที่ต้องการเน้นให้นักเรียนคิดเอง ท าเอง และแก้ปัญหาด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่การคิดหาปัญหาที่นักเรียนสนใจจะศึกษา ท าการวางแผนแก้ปัญหา ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ลงมือปฏิบัติ รวบรวมข้อมูลที่ศึกษา ทดลอง บันทึกผลการศึกษา แปลผล และน าเสนอผลการศึกษาค้นคว้าของตนเองหรือกลุ่มเผยแพร่แก่ผู้อ่ืนต่อไป ซึ่งจะครอบคลุมกระบวนการเรียนรู้ที่มีระบบชัดเจน

จากความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ดังที่กล่าวข้างต้น พอจะสรุปได้ว่าโครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความถนัดหรือสนใจของนักเรียน โดยนักเรียนเป็นผู้ปฎิบัติและศึกษาด้วยตนเอง ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาค้นคว้าเพ่ือตอบปัญหาที่สงสัย ภายใต้การแนะน าให้ค าปรึกษาจากครูอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

1.2 ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์สามารถจัดจ าแนกออกเป็นประเภทต่างๆ โดยมีสถาบันที่เกี่ยวกับการศึกษาและ

นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ ธีระชัย ปูรณโชติ (2531 : 5-9) ได้กล่าวถึงประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ 4 ประเภท คือ 1. โครงงานประเภทส ารวจ (Survey Research Project) เป็นกิจกรรมการศึกษาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มี

วัตถุประสงค์เพ่ือความรู้ที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ตามธรรมชาติ โดยใช้วิธีการส ารวจและรวบรวมข้อมูลแล้วน าข้อมูลเหล่านั้นมาจัดกระท า เช่น จ าแนกเป็นหมวดหมู่แล้วน าเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพ่ือให้เห็นลักษณะหรือเห็นความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

2. โครงงานประเภททดลอง (Experimental Research Project) เป็นการศึกษาหาค าตอบของปัญหาโดยออกแบบการทดลองเพ่ือหาค าตอบของปัญหาที่ต้องการทราบหรือตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ขั้นตอนของการท าโครงงานประเภทนี้ ประกอบด้วย การก าหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง ซึ่งจะต้องมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาแล้วด าเนินการทดลองโดยจัดกระท ากับตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น เพ่ือดูผลที่เกิดข้ึนกับตัวแปรมีการแปลผลและสรุปผล

3. โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ (Development Research Project or Invention Project ) เป็นการพัฒนาหรือปฏิบัติเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ใช้งานได้ตามความประสงค์ โดยอาศัยความรู้หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ อาจประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการปรับปรุงอุปกรณ์หรือสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ใช้งานได้ดีกว่าเดิม รวมทั้งเป็นการเสนอหรือสร้างแบบจ าลองทางความคิดเพ่ือแก้ปัญหา

Page 9: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

9

4. โครงงานประเภทการสร้างหรือการอธิบายทฤษฎี (Theoretical Research Project) เป็นโครงงานทีเ่สนอแนวความคิดใหม่ ๆ ในการอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีเหตุผลโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์หรือสนับสนุนหรือหากเป็นการอธิบายปรากฏการณ์เก่าในแนวใหม่ อาจเสนอในรูปการอธิบายสูตรหรือสมการ โดยมีข้อมูลหรือทฤษฎีอ่ืนสนับสนุน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2544 : 4-9) ได้จัดประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ 4 ประเภท คือ

1. โครงงานประเภทส ารวจ เป็นกิจกรรมการศึกษาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพ่ือหาความรู้ที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ตามธรรมชาติ โดยใช้วิธีการส ารวจและรวบรวมข้อมูล แล้วน าข้อมูลเหล่านั้นมาจัดกระท า เช่น จ าแนกเป็นหมวดหมู่แล้วน าเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพ่ือให้เห็นลักษณะหรือเห็นความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ต้องมีการจัดหรือก าหนดตัวแปรอิสระ อาจท าได้หลายลักษณะ เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บวัสดุตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ การจ าลองธรรมชาติเพ่ือสังเกตและศึกษาข้อมูลต่าง ๆ โดยการท าโครงงานประเภทส ารวจประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ การคิดและเลือกหัวเรื่องท่ีจะศึกษา การวางแผนในการท าโครงงาน การลงมือท าโครงงาน และการเขียนรายงานโครงงาน

2. โครงงานประเภททดลอง เป็นการศึกษาหาค าตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยการออกแบบการทดลอง และด าเนินการทดลองเพ่ือหาค าตอบของปัญหาที่ต้องการทราบหรือเพ่ือตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ขั้นตอนการด าเนินงานของโครงงานประเภทนี้ประกอบด้วย การก าหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง เพ่ือเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม การด าเนินการทดลอง รวบรวมข้อมูล การแปลผลและการสรุปผล ทั้งนี้ลักษณะสาคัญของโครงงานประเภททดลอง คือ จะต้องออกแบบการทดลอง โดยก าหนดกลุ่มทดลอง (Treatment Group) และกลุ่มควบคุม (Controlled Group) เพ่ือศึกษาอิทธิพลของตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งหรือหลาย ๆ ตัวแปร แล้วติดตามดูผลที่เกิดขึ้นกับกลุ่มทดลองโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

3. โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ เป็นการพัฒนาหรือประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ใช้งานได้ตามต้องการโดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ อาจเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่ไมเ่คยมีมาก่อนหรือการปรับปรุงอุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่แล้วให้ใช้งานได้ดีกว่าเดิม รวมทั้งเป็นการเสนอหรือสร้างแบบจ าลองทางความคิดเพ่ือแก้ปัญหา

4. โครงงานประเภทการสร้างหรือการอธิบายทฤษฎี เป็นโครงงานที่ได้เสนอทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดใหม่ ๆ ในการอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีเหตุผล โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์หรือทฤษฎีสนับสนุน หรือหากเป็นการอธิบายปรากฏการณ์เก่าในแนวใหม่อาจเสนอในรูปสูตรหรือสมการ โดยมีข้อมูลหรือทฤษฎีอื่นสนับสนุนอ้างอิง ในการท าโครงงานประเภทนี้ ผู้ทาต้องมีพ้ืนฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดีจะต้องศึกษาค้นคว้าเรื่องราวที่เก่ียวข้องอย่างมาก จึงจะสร้างคาอธิบายหรือทฤษฎีได้

ลัดดา ภู่เกียรติ (2552 : 22-28) ได้จัดแบ่งโครงงานวิทยาศาสตร์ออกเป็น 4 ประเภทดังนี้ 1. โครงงานประเภทส ารวจ เป็นโครงงานที่ไม่ต้องมีการจัดหรือก าหนดตัวแปร แต่เป็น การรวบรวม

ข้อมูลในสนามหรือในธรรมชาติได้ทันที หรือท าการเก็บรวบรวมวัสดุตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ หรือจ าลองธรรมชาติขึ้นในห้องปฏิบัติการ สังเกตและศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ แล้วน าข้อมูลเหล่านั้นมาจ าแนกเป็นหมวดหมู่และน าเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพ่ือให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจนมากยิ่งข้ึน

2. โครงงานประเภทการทดลอง เป็นโครงงานที่ต้องท าการทดลองเพ่ือต้องการที่จะศึกษาผลของตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งที่มีผลต่อตัวแปรอีกตัวแปรหนึ่ง โดยที่ในทางทฤษฎีแล้วอาจมีตัวแปรหลาย ๆ ตัวแปรก็ได้ที่

Page 10: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

10

มีผลต่อตัวแปรที่จะศึกษา แต่ในทางการทดลองดังกล่าวนั้นผู้ที่ท าการศึกษาจะต้องเลือกศึกษาเพียงตัวแปรเดียวเสียก่อนและจะต้องให้กาหนดให้ตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อการศึกษานั้น ๆ เป็นตัวแปรที่จะต้องท าการควบคุมให้หมดทุกตัว เพ่ือป้องกันไม่ให้เกิดมีการแทรกซ้อนของตัวแปร แล้วท าให้ผลของการศึกษานั้นคลาดเคลื่อนไป

3. โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ เป็นโครงงานประเภทพัฒนาหรือประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่น ามาใช้ประโยชน์ในการท างาน โดยน าหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด หรือเป็นการดัดแปลงมาจากของที่มีอยู่แล้วก็ได้เพ่ือปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม หรือสร้างแบบจ าลองเพ่ืออธิบายแนวความคิดบางอย่างในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งก็ได้

4. โครงงานระเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย เป็นโครงงานที่น าเสนอแนวคิดหรือทฤษฎีใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคาอธิบาย โดยตั้งข้อตกลงหรือกติกาขึ้นมาเองแล้วเสนอหลักการหรือแนวคิด หรือทฤษฎีตามกติกาหรือข้อตกลงนั้น ๆ หรือเป็นการขยายทฤษฎีในรูปแบบใหม่ที่ยังไม่มีผู้ใดคิดมาก่อน การท าโครงงานประเภทนี้ผู้ท าจะต้องเป็นผู้ที่มีพ้ืนฐานความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดีต้องศึกษาเรื่องราวที่เก่ียวข้องอย่างมากมายจึงจะสามารถสร้างคาอธิบายหรือทฤษฎีนั้นได้เป็นอย่างดีและมักจะเป็นโครงงานทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์มากกว่า

สรุปได้ว่าโครงงานวิทยาศาสตร์มีด้วยกันทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ โครงงานประเภทส ารวจ โครงงานประเภททดลอง โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ และโครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย ซึ่งแต่ละโครงงานจะมีหลักการและขั้นตอนในการท าแตกต่างกันออกไป

1.3 ขั้นตอนในการท าโครงงานวิทยาศาสตร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2546 : 10) ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการจัด

กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 1. การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา เป็นขั้นตอนที่ส าคัญท่ีสุดและยากท่ีสุด โดยหัว

เรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษานั้นควรให้นักเรียนเป็นผู้คิดและเลือกด้วยตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความสนใจความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียนสืบเนื่องจากความสงสัย การเรียนในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนหรือจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว การอภิปรายซักถามร่วมกับผู้อ่ืน เช่น คร ูเพ่ือน

ข้อควรค านึงในการคัดเลือกหัวเรื่องท่ีจะท าโครงงานวิทยาศาสตร์ ดังนี้ 1) เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของนักเรียน 2) มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอค าปรึกษา 3) วัสดุอุปกรณ์ที่จ าเป็นสามารถจัดหาหรือจัดท าขึ้นมาได้ 4) งบประมาณเพียงพอ 5) ระยะเวลาเพียงพอที่ใช้ทาโครงงาน 6) มีครู อาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิรับเป็นที่ปรึกษา 7) มีความปลอดภัย

2. การวางแผนในการท าโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนในการท าโครงงานหรือเค้าโครงร่างของโครงงานซึ่งต้องมีการวางแผนหรือวางรูปโครงงานไว้ล่วงหน้าเพื่อให้การด าเนินการเป็นไปอย่างรัดกุมไม่สับสน

การวางแผนในการท าโครงงานวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย

Page 11: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

11

1) การก าหนดปัญหาหรือที่มาและความส าคัญของโครงงาน 2) การก าหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) 3) การก าหนดขอบเขตการศึกษา 4) การอ่านและศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องที่ต้องการศึกษาเพ่ือให้

เกิดความรอบรู้ในเรื่องนั้น ๆ เพ่ือใช้ประโยชน์ในการวางแผนท าโครงงานในขั้นต่อไป และยังช่วยให้นักเรียนก าหนดขอบเขตของการศึกษาให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งข้ึน

5) การวางแผนวิธีด าเนินการ ซึ่งได้แก่ แนวทางในการศึกษาค้นคว้า วัสดุอุปกรณ์ที่ จ าเป็นต้องใช้ การออกแบบการทดลองและควบคุมตัวแปร วิธีการส ารวจและรวบรวมข้อมูล วิธีการประดิษฐ์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และการวางแผนปฏิบัติงาน

3. การลงมือท าโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการปฏิบัติตามแผนด าเนินงานที่วางไว้ล่วงหน้าแล้ว ควรปฏิบัติตามข้ันตอนโครงร่างหรือเค้าโครงที่ผ่านการเห็นชอบของครูที่ปรึกษาแล้วซึ่งประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างหรือประดิษฐ์ การปฏิบัติการทดลอง การค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ โดยค านึงถึงประเภทของโครงงานเป็นเกณฑ์ การลงมือจัดกิจกรรมโครงงานนั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพ่ิมเติมจากแผนที่วางไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพ่ือท าให้ผลงานดีขึ้น หรือเป็นการแก้ปัญหาที่คาดไม่ถึง การลงมือท าโครงงานควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อม การท าการทดลองให้รอบคอบพร้อมกับบันทึกข้อมูลทุกครั้งโดยค านึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย และท่ีส าคัญ โครงงานประเภททดลองควรมีการทดลองซ้ า โดยควรชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจและยอมรับความส าเร็จของโครงงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลการทดลองที่ได้ตรงกับความคาดหวัง แม้ผลการทดลองท่ีได้จะไม่เป็นไปตามท่ีคาดหวังก็ถือว่ามีความส าเร็จในการท าโครงงานนั้นเหมือนกัน

4. การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการสื่อความหมายเพ่ือให้ผู้อ่ืนเข้าใจ แนวความคิด วิธีด าเนินการศึกษาข้อมูล ผลท่ีได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ควรใช้ภาษาท่ีอ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน สั้น ๆ และตรงไปตรงมาโดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้ ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ท าโครงงาน บทคัดย่อ จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า สมมติฐาน วิธีการด าเนินการ อธิบายขั้นตอน ผลการศึกษาคน้คว้า น าเสนอข้อมูล สรุปผล และข้อเสนอแนะ ค าขอบคุณ และเอกสารอ้างอิง

5. การแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นตอนสุดท้ายและเป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสาเร็จลงด้วยความเพียรพยายามของผู้ท าโครงงานให้ผู้อ่ืนได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานอาจกระท าได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์อาจจัดท าได้หลายระดับ เช่น การจัดเสนอผลงานในชั้นเรียน การจัดนิทรรศการในโรงเรียน การจัดนิทรรศการในงานประจาปีของโรงเรียน การส่งผลงานเข้าประกวดในระดับต่าง ๆ เช่น ระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับเขตการศึกษา ระดับชาติ

ลัดดา ภู่เกียรติ (2552 : 28-52) ได้กล่าวว่า ขั้นตอนของการท าโครงงานประกอบด้วยการด าเนินการ 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การหาหัวข้อและการเลือกหัวเรื่องท่ีจะท าโครงงาน การเลือกหัวเรื่องที่จะท าโครงงานต้องเป็นเรื่องที่ผู้ท าโครงงานสนใจจริง ๆ ในระยะเริ่มต้นจึงไม่ควรก าหนดเป็นรายวิชา แต่เป็นเรื่องอะไรก็ได้ที่นักเรียนอยากศึกษาค้นคว้าเพ่ือหาค าตอบ เพราะการเริ่มต้นจากการท างานที่ตนเองให้ความสนใจเป็นพิเศษน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เนื่องจากอยากท าอยากรู้อยู่แล้วโดยมุ่งไปที่กระบวนการในการแสวงหาความรู้ จากการหาวิธีการในการแก้ปัญหานั้น ๆ แต่ผู้สอนควรพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ประกอบให้ครอบคลุมเสียก่อนว่ามีข้อมูล แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพียงพอหรือไม่ในการท าโครงงานนั้น ๆ และครูที่ปรึกษาต้องคุยกับนักเรียนว่าถ้าเลือกท าโครงงานดังกล่าวจะหาข้อมูลได้จากแหล่งใดบ้าง

Page 12: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

12

2. การวางแผนในการท าโครงงาน เป็นขั้นตอนในการเขียนแผนงานซึ่งต้องคิดไว้ล่วงหน้าว่าจะท าอย่างไร ในช่วงเวลาใด โดยการเขียนเป็นโครงร่างหรือเค้าโครงเสนออาจารย์ที่ปรึกษาว่าจะด าเนินการเป็นขั้นตอนอย่างไร หรือเป็นการก าหนดแผนงานอย่างคร่าว ๆ เพ่ือให้เข้าใจถึงการท างานอย่างเป็นล าดับไม่สับสน

3. การลงมือท าโครงงาน การลงมือท าโครงงานเป็นการด าเนินงานตามแผนงานที่วางไว้แล้ว โดยการปฏิบัติตามข้ันตอนที่เขียนไว้ในโครงร่างหรือเค้าโครงที่ผ่านการเห็นชอบจากครูที่ปรึกษาแล้ว ทั้งนี้การปฏิบัติดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทของการท าโครงงาน ถ้าเป็นโครงงานประเภทการทดลอง ควรตรวจสอบผลของการทดลองโดยการทดลองซ้ าอีกเพ่ือให้ได้ผลที่แน่นอน และจะต้องปฏิบัติไปตามแผนการด าเนินงานที่ได้วางไว้ หากมีข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนต้องรีบปรึกษากับกลุ่มและครูที่ปรึกษาทันที เพ่ือจะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที

4. การบันทึกผลการปฏิบัติงาน การบนัทึกผลการปฏิบัติงานเมื่อท าการทดลองไปตามขั้นตอนและได้ผลของข้อมูลจากการวิเคราะห์แล้ว ผู้ท าโครงงานจะต้องท าการแปลผลและสรุปผลการทดลองด้วย พร้อมกับอภิปรายผลของการศึกษาค้นคว้า หากไม่ตรงกับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ก่อนท าการทดลอง ให้บอกเหตุผลด้วยว่าเหตุใดจึงไม่เป็นไปตามสมมติฐาน

5. การเขียนรายงานการเขียนรายงานโครงงานเป็นการเสนอผลจากการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบของการรายงานเป็นเอกสารเพ่ือขยายผลให้ผู้อ่ืนได้ทราบและเข้าใจถึงแนวคิด วิธีการศึกษาค้นคว้าและสิ่งที่ท าการศึกษานั้นว่าผลเป็นอย่างไรบ้าง รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้นโดยใช้ภาษาท่ีอ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน สั้น ตรงไปตรงมา และครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ โดยตระหนักอยู่เสมอว่าการเขียนรายงานโครงงานนี้เป็นการสื่อความทางเดียว จึงควรเขียนให้อ่านง่าย ชัดเจน ไม่สับสน วิธีการเขียน

6. การน าเสนอโครงงาน หลังจากที่ได้มีการศึกษาและหาวิธีการในการแก้ปัญหาที่อยากรู้และได้ผลออกมาแล้ว ต้องการน าความรู้ที่ได้จากการศึกษาและทดลองนั้นมาเล่าให้ผู้อื่นได้รับรู้รับทราบ ซึ่งผู้ท าโครงงานจะต้องคิดรูปแบบของการน าเสนอเองโดยการเขียนในรูปแบบรายงานเป็นเอกสาร หรือรายงานปากเปล่า หรือจัดนิทรรศการ โดยมีหัวข้อต่อไปนี้

7. การประเมินผลโครงงาน ส าหรับการประเมินโครงงานซึ่งเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างเห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นการท างานโดยตัวนักเรียนเองตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ และได้มาซึ่งความรู้ที่ตัวนักเรียนเป็นผู้ค้นหาศึกษาด้วยตนเอง

จากศึกษาสามารถสรุปได้ว่าขั้นตอนการท าโครงงานวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ 1. การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา โดยนักเรียนควรเป็นผู้เลือกและก าหนดหัวข้อ

เรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษาเองจากความสนใจ ทั้งนี้ควนค านึงถึงแหล่งข้อมูลที่สนับสนุนว่าเพียงพอหรือไม่ 2. การวางแผนในการท าโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการก าหนดขั้นตอนการศึกษาหรือแผนงานก่อนลง

มือปฏิบัติ แล้วน าแผนงานที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ที่ควบคุมโครงงานหรือผู้เชี่ยวชาญในด้านด้งกล่าว ก่อนน าไปปฏิบัติจริง

3. การลงมือท าโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการลงมือปฏิบัติตามข้ันตอนในแผนงานที่ได้วางแผนไว้ โดยก่อนลงมือท า ควรจัดเตรียมอุปกรณ์หรือวัสดุที่ต้องใช้ให้พร้อมก่อน และขณะท ากิจกรรมควรสังเกตหรือบันทึกข้อมูลทุกระยะให้ครบถ้วย โดยขึ้นอยู่กับประเภทของโครงงานที่เลือกศึกษา

4. การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการเสนอผลจากการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบของการรายงานเป็นเอกสารเพื่อขยายผลให้ผู้อื่นได้ทราบและเข้าใจถึงแนวคิดว่าผลเป็นอย่างไร รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้นโดยใช้ภาษาท่ีอ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน

Page 13: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

13

5. การแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ อาจกระท าได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายงานเป็นเอกสาร รายงานปากเปล่า หรือการจัดนิทรรศการ 2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีของการสอนแบบ Predict Observe Explain

ขวัญชนก กัญทาทอง (2553) กล่าวว่า วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Predict Observe Explain (POE) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัควิสต์ โดยการน าความรู้เดิมมาเป็นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ด้วยตัวผู้เรียนเอง ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism เกิดจากการบูรณาการของรากฐานทางจิตวิทยาและรากฐานทางปรัชญา กล่าวคือ มนุษย์เรียนรู้โดยกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยกลไกพ้ืนฐาน 2 อย่าง คือการดูดซึมเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) และการปรับโครงสร้าง (accommodation) โดยการดูดซึมเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) คือ ความสามารถในการตีความปัญหา หรือจัดปัญหาให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถแก้ไขได้ด้วย มโนทัศน์หรือประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ ภาษา สังคม วัฒนธรรม การร่วมมือกันเรียนรู้ ช่วยในการสร้างการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีพ้ืนฐานความรู้ ประสบการณ์เดิมหรือโครงสร้างทางปัญญา ที่แตกต่างกัน และผู้เรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาความรู้ หรือขยายโครงสร้างทางปัญญาของตนเองได้ ถ้านักเรียนได้ผ่านกระบวนการสืบค้น เสาะหา ส ารวจตรวจสอบ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ เพ่ือสรุปองค์ความรู้เป็นของตนเองดังนั้น สิ่งที่ส าคัญที่สุดที่ผู้สอนจะต้องรู้ในจุดเริ่มแรกของการสอน คือ สิ่งที่ผู้เรียนรู้มาแล้ว เพ่ือที่ผู้สอนจะได้วางแผนการสอนโดยใช้ความรู้เดิมและกลวิธีการเรียนรู้เดิมของผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้น (เพลินพิศ นามวาด, 2554: 14-15)

จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า มีผู้ให้แนวคิดที่สนับสนุนการสอนแบบ Predict Observe Explain (POE) ไว้ดังนี้ พัชรวรินทร์ เกลี้ยงนวล (2556 : 22) ได้ท าการศึกษา ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ(POE) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ (POE) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ (POE) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่สนับสนุนให้นักเรียนได้ตัดสินใจเกี่ยวกับความเข้าใจที่มีอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อเดิม ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนนั้นผู้เรียนจะต้องคิดท านายเหตุการณ์จากความรู้เดิมที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล ซึ่งผู้เรียนจะต้องใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในกระบวนการเรียน เกียรติมณี บ ารุงไร่ ( 2553 : 15) กล่าวไว้ว่า วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ (POE) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสรัคติวิสต์ เกี่ยวกับการน าความรู้เดิมมาเป็นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ด้วยตัวผู้เรียนเอง โดยวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ (POE) จะช่วยให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความคิดของตนเอง โดยมีการวางแผน ก ากับ และประเมินความคิด เพ่ือส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการพัฒนาเมตาคอกนิชัน โดยมีวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ (POE) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ขั้นการท านายผล (Predict : P) เป็นขั้นตอนการท านายผลจากสถานการณ์ปัญหา 2. ขั้นการหาค าตอบจากสถานการณ์ปัญหา (Observe : O) เป็นขั้นตอนการหาค าตอบโดยการท าการทดลอง การสังเกต การท ากิจกรรม การสืบค้นข้อมูลและวิธีการต่างๆเพ่ือให้ได้มาซึ่งค าตอบของสถานการณ์ปัญหา 3. ขั้นการอธิบาย (Explain : E) เป็นขั้นตอนการอธิบายผลจากข้ันการท านายและการหาค าตอบว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

Page 14: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

14

ขวัญชนก กัญทาทอง (2553) ได้กล่าวไว้วิธีการสอนแบบ Predict Observe Explain เป็นกลวิธีที่ให้นักเรียนเรียนรู้จากการท านาย (Predict) การสังเกต (Observe) และการอธิบาย (Explain) ใช้เพ่ือกระตุ้นให้นักเรียนสนใจ มุ่งมั่นในการทดลอง โดยให้นักเรียนท านายผลที่เกิดขึ้นล่วงหน้าก่อนลงมือท ากิจกรรมเพ่ือให้นักเรียนสังเกตอย่างจดจ่อ ละเอียด รอบคอบ น าผลที่ได้จากการสังเกตมาอธิบายและเปรียบเทียบกับสิ่งที่ท านายไว้ นักเรียนจะรู้สึกสนุกสนานและในช่วงที่ท ากิจกรรมหรือท าการทดลองแล้วท้าทายในการค้นหาความรู้เพ่ือตรวจสอบผลการท านายของตัวเอง (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , 2552 : 10) ซ่ึงมี 3 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นท านาย (Predict) ครูใช้ค าถามกระตุ้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม/คนท านายสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสาธิตการทดลองหรือปัญหา ที่ก าหนด

2. ขั้นสังเกต (Observe) ครูให้นักเรียนท าการทดลอง สังเกต บันทึกผล เพ่ือศึกษาว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร และเป็นไปตามที่ท านายไว้หรือไม่

3. ขัน้อธิบาย (Explain) ให้นักเรียนอธิบายผลที่เกิดจริง ซึ่งผลที่เกิดจริงอาจตรงกับที่ท านายไว้ทั้งหมด หรือบางส่วน ครูให้นักเรียนวิเคราะห์หาสาเหตุและสรุป สรุปได้ว่า วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) เป็นวิธีการสอนตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism โดยเน้นการเรียนที่ผู้เรียนต้องแสวงหาความรู้ด้วยตนเองผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่โดยอาศัยความรู้จากประสบการณ์เดิมและการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอ่ืน การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอน (POE) จะท าให้นักเรียนได้ฝึกการท านายสิ่งที่จะเกิดขึ้นฝึกทักษะการสังเกตซึ่งเป็นทักษะหนึ่งในทักษะทางวิทยาศาสตร์หลังจากนั้นจะเป็นการอธิบายผลที่เกิดขึ้น โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้

1. Predict (P) หมายถึงการท านายผลที่เกิดจากการทดลองกิจกรรมหรือสถานการณ์ท่ีก าหนดให้ 2. Observe (O) หมายถึงข้ันตอนที่นักเรียนต้องลงมือทดลองพิสูจน์สังเกตหาค าตอบ

3. Explain (E) หมายถึงเป็นขั้นตอนที่ให้นักเรียนอธิบายผลที่เกิดข้ึนจริงซึ่งผลที่เกิดขึ้นจริงอาจตรงกับที่ท านายไว้ทังหมดหรือบางส่วนซึ่งนักเรียนต้องท าการวิเคราะห์หาสาเหตุและสรุปผล 3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเจตคติต่อโครงงานวิทยาศาสตร์

3.1 ความหมายของเจตคติ เจตคต ิ เปนค าที่บัญญัติไวในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (ราชบัณฑิตยสถาน

2539) อานวา เจตะคติ เปนค ามาจากภาษาอังกฤษวา Attitude มาจากรากศัพทภาษาละตินวา Aptus ซึ่งมีความหมายวา โนมเอียง เหมาะสม (รวีวรรณ อังคนุรักษพันธ. 2533 : 9) โดยมีผใูหความหมายไวหลากหลายดังนี้นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของเจตคติไว้ ดังนี้

อังคณา สายยศ (2540 : 2) กลาววา เจตคติ มาจากภาษาอังกฤษวา แอททิจูด (Attitude) ซ่ึงแตเดิมใชค าวาทัศนคติ แตปจจุบันนิยมใชค าวา เจตคติ หมายถึง อารมณหรือความรูสึกอันบังเกิดจากการรับรูตอสิ่งนั้นๆ โดยแสดงพฤติกรรมโนมเอียงอยางใดอยางหนึ่งในรูป การประเมิน เชน ชอบ – ไมชอบ เปนตน

บุญมั่น ธนาศุภวัฒน์ (2547:158) ได้สรุปความหมายไว้ว่า หมายถึง เจตคติในทางบวกของบุคคลที่มีต่องานหรือกิจกรรมที่เขาท าขึ้น ซึ่งเป็นผลให้บุคคลเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น มีความมุ่งมั่นที่จะท างาน มีขวัญและก าลังใจในการท างาน สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการท างาน ซึ่งส่งผลต่อความส้าเร็จและเป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ

Page 15: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

15

สุภากร พูลสุข (2547 :48) ให้ความหมายไว้ว่า การแสดงออกด้านเจตคติ เป็นความรู้สึกทางบวกของจิตใจที่มีต่อประสบการณ์ที่มนุษย์ ได้รับมากหรือน้อยก็ได้

Good (1973 : 518) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้สึกท่ีเป็นผลมาจากความสนใจสิ่งต่าง ๆ หรือ เจตคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้รับผลส าเร็จตามความมุ่งหมาย

กล่าวโดยสรุป เจตคติ หมายถึงความรู้สึกและความคิดเห็นของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เนื่องมาจากการเรียนรู้และประสบการณ์เป็นตัวกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมไปในทางสนับสนุนหรือต่อต้านต่อสิ่งนั้น ซึ่งจะแสดงออกมาในลักษณะชอบหรือไมชอบ พอใจหรือไมพอใจ เห็น ดวยหรือไมเห็นดวย หรืออาจจะแสดงออกในลักษณะเปนกลาง เชน รสูึกเฉยๆ เปนตน

3.2 เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์

Gardner (1975 อ้างถึงใน มาฆะ ทิพย์คีรี : 2547) ไดอธิบายวาเจตคติเก่ียวกับวิทยาศาสตรมี 2 ความหมาย คือ เจตคติทางวิทยาศาสตร (scientific attitude) และเจตคติตอวิชาวิทยาศาสตร (attitude towards science) เจตคติทั้ง 2 ประการ จะเกิดขึ้นพรอมๆ กันในดานบุคคล เมื่อเขาไดเรียนรูวิทยาศาสตรแตเปนการแสดงออกของเจตคติท่ีแตกตางกัน เจตคติทางวิทยาศาสตรอยูในลักษณะของความรูและความเชื่อในหลักการของวิทยาศาสตร สวนเจตคติตอวิชาวิทยาศาสตรอยูในความรูสึก ความชอบ ไมชอบ ความนิยม ของบุคคลที่มีตอวิชาวิทยาศาสตร์ เจตคติตอวิทยาศาสตร หมายถึง ความรูสึกและความเชื่อมั่นของนักเรียนที่มีตอวิทยาศาสตรทั้งทางดีและไมดีเกี่ยวกับคุณประโยชน ความส าคัญเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร (บุปผาชาติ เรืองสุวรรณ. 2530: 10) เจตคติตอวิทยาศาสตร เปนความรูสึกนึกคิด ความเชื่อและความซาบซึ้งของบุคคลที่เกิดจากผลของวิทยาศาสตรทั้งทางตรงและทางออมและผลของวิทยาศาสตรนั้นมีอิทธิพลตอพฤติกรรมของมนุษยที่มีต่อวิทยาศาสตร์ (Hassan and Billeh. 1975 : 247) กลาวโดยสรุปไดวา เจตคติตอวิทยาศาสตร หมายถึงความเชื่อ ความคิด ความรูสึกของบุคคลที่มีตอวิชาวิทยาศาสตร โดยพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นจะมี 2 ลักษณะ คือ 1. เจตคติเชิงบวกตอวิทยาศาสตร หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาในลักษณะพึงพอใจ ความชอบ อยากเรียน และอยากเก่ียวของกับวิทยาศาสตร 2. เจตคติเชิงลบตอวิทยาศาสตร หมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกมาในลักษณะไมพอใจ ไมชอบ ไมอยากเรียน และไมอยากเก่ียวของกับวิทยาศาสตร

3.3 การวัดเจตคติ บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2542 : 186) ไดกลาววา ในการวัดเจตคติจะตองค านึงถึงประเด็นหลกั 3

ประการ คือ 1. เนื้อหาเจตคติท่ีตองการวัด ซึ่งไดแก สิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นใหแสดงกิริยาทาทีออกมา 2. ทิศทางของเจตคติ โดยทั่วไปจะก าหนดใหเจตคติมทีิศทางเป็นเส้นตรงและต่อเนื่องกัน มีลักษณะ

เป็นซ้าย-ขวา หรือบวก-ลบ กล่าวคือ เริ่มจากเห็นด้วยอย่างยิ่ง และลดระดับความเห็นด้วยลงเรื่อง ๆ จนถึงความรู้สึกเฉยๆ และลดต่อไปเป็นไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 3. ความเขมของเจตคติ ไดแก ปริมาณความรูสึกที่มตี่อสิ่งเร้านั้นว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้ามีความเข้มสูงไม่ว่าจะเป็นในทิศทางบวกหรือลบก็ตาม จะมีความรุนแรงมากว่าที่เป็นกลางๆ

Page 16: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

16

ปรียาพร วงศอนุตรโรจน (2546 : 252) กลาวว่า เจตคติค่อนไปทางนามธรรมมากว่ารูปธรรม เป็นความรู้สึก ความเชื่อของบุคคลซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง การวัดเจตคติจึงไม่สามารถวัดได้โดยตรง แต่วัดได้จากแนวโน้มของบุคคลที่แสดงออกทางภาษา และวัดในรูปความเห็น การวัดเจตคติของบุคคลที่มีตอสิ่งใดและผูใด อาจจะใชวิธีการสังเกตจากการกระท า ค าพูด การแสดงสีหนาทาทาง หรือสัมภาษณความรูสึกนึกคิดของเขา แตแบบวัดหรือเครื่องมือที่นักจิตวิทยานิยมใช้กันมาก จะอยู่ในรูปของแบบสอบถามหรือแบบส ารวจ เรียกว่า แบบวัดเจคติ โดยมีข้อตกลงเบื้อต้น ดังนี้

1. การศึกษาเจตคติ เปนการศึกษาความคิดเห็น ความรูสึกของบุคคลที่มีลักษณะคงเสนคงวา หรืออย่างน้อยก็เป็นความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่จะไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลา

2. เจตคติเปน็สิ่งที่ไมสามารถวัดหรือสังเกตไดโดยตรง การวัดเจตคติจึงเป็นการวัดทางออม จากแนวโนมที่บุคคลแสดงออก หรือพฤติกรรมที่มีแบบแผนคงที่

3. การศึกษาเจตคติของบุคคล มิใชแตเป็นการศึกษาทิศทางของเจตคติบุคคลนั้น แต่ต้องศึกษาถึง ระดับความมากนอย หรือความเขมของเจตคตินั้นดวย

การสรางเครื่องมือวัดเจตคติ มาตราวัดเจตคติที่ใชในการวิจัยมีอยูหลายชนิด พวงรัตน ทวีรัตน (2540 : 112) กลาวว่าที่นิยมใช้มีอยู่

3 ชนิด คือ 1. วิธีการของเทอรสโตน (Thurstone, s Method) 2. วิธีของลิเคิรท์ (Likert,s Method) 3. วิธีใชความหมายของภาษา (Semantic Differential Scales) ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาการสร้างเครื่องมือวัดเจตคติแบบลิเคอร์ท ซึ่งมีวิธีการสร้าง

ดังต่อไปนี้ (ปราณี ทองค า, 2539 : 156-158) ขั้นที่ 1 ก าหนดสิ่งที่จะวัด ก าหนดโครงสร้างหรือขอบข่ายของเรื่องที่จะวัดให้ครอบคลุมชัดเจน ขัน้ที่ 2 เขียนข้อความ ให้มีจ านวนหลาย ๆ ข้อความ โดยรวบรวมจากหนังสือ เอกสาร งานวิจัย ความ

คิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ หรือจากการสัมภาษณ์บุคคลที่มีเจตคติ ดี/ไม่ดี ต่อสิ่งนั้น ให้ครอบคลุมขอบเขตท่ีต้องการวัด

ข้อความวัดเจตคติแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 1. ข้อความทางบวกหรือประเภทนิมาน (Favorable Statements) เป็นข้อความที่เห็นด้วยหรือคล้อย

ตาม เป็นข้อความที่เป็นไปในทางดี หรือเป็นที่ต้องการของสังคมท่ัวไป เช่น อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ วิชาวิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อการเรียนวิชาอ่ืน เป็นต้น

2. ข้อความทางลบหรือประเภทนิเสธ (Unfavorable Statements) เป็นข้อความที่ไม่เห็นด้วยหรือคัดค้าน เป็นข้อความที่ตรงกันข้ามกับข้อความประเภทแรก เช่น อาชีพครูรายได้ต่ า วิชาวทิยาศาสตร์น่าเบื่อ เป็นต้น

ขั้นที่ 3 ก าหนดน้ าหนักความเห็นในแต่ละข้อความ โดยทั่วไปจะก าหนดเป็น 5 ระดับ โดยใช้ข้อความแสดงถึงระดับความคิดเห็นในเรื่องท่ีจะถาม คือ

Page 17: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

17

ระดับความคิดเห็น การก าหนดคะแนน ข้อความทางบวก ข้อความทางลบ

เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Strongly Agree) 5 1 เห็นด้วย (Agree) 4 2 เฉยๆหรือไม่แน่ใจ (Neural or Uncertain) 3 3 ไม่เห็นด้วย (Disagree) 2 4 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Strongly Disagree) 1 5

การให้คะแนนไม่จ าเป็นต้องเป็นแบบ 1,2,3,4,5 เสมอ แต่อาจเป็นแบบ 2,1,0,-1,-2 ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ความถนัดของผู้ใช้

ขั้นที่ 4 คัดเลือกข้อความที่จะน าไปใช้จริง ขั้นที่ 5 น าข้อความที่คัดเลือกไว้ทั้งหมดมาจัดเรียง โดยให้ข้อความทางบวกและข้อความทางลบคละ

กันไป บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2542 : 141-142) ได้กล่าวถึงข้อดีของเครื่องมือวัดเจตคติแบบลิเคิร์ท

(Likert ,s Scale) ดังนี้ 1. สร้างได้ง่าย สะดวกในการน าไปใช้และวิเคราะห์ผล 2. ไม่ต้องหากลุ่มที่จะน ามาตัดสิน เพ่ือก าหนดค่าประจ าข้อ 3. ไม่ต้องค านวณค่าประจ าข้อ ซึ่งช่วยลดภาระงานลงมาก 4. สามารถวัดเจตคติได้แน่นอนกว่ามาตรวัดเจตคติแบบเทอร์สโตน เพราะผู้ตอบต้องตอบทุกข้อความ

ในขณะที่วิธีของเทอร์สโตนเลือกตอบเพียงบางข้อ ผู้ตอบจึงมีโอกาสบิดเบือนความจริงได้ 5. มีความเชื่อมั่นสูง ใช้เพียงไม่กี่ข้อก็มีความเชื่อมั่นได้สูงพอ ๆ กับเทคนิคอ่ืน ๆ ที่ใช้จ านวนข้อมาก 6. สามารถน าไปประยุกต์ใช้ในการวัดเจตคติท่ีมีต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งยัง

สามารถวัดได้ทั้งทิศทางและปริมาณความมากน้อยของเจตคติได้อีกด้วย 7. การตรวจให้คะแนนไม่ยุ่งยาก ยอมให้ผู้ตอบได้พิจารณาระดับความมากน้อยของความรู้สึกของ

ตนเอง

Page 18: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

18

บทที่ 3

วิธีด าเนินการวิจัย ประชากร

ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ จ านวนนักเรียน 47 คน แบ่งเป็นนักเรียนชายจ านวน 13 คน และนักเรียนหญิงจ านวน 34 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการท าวิจัย

ท าการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 แบบแผนการทดลอง

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการสร้างแบบสอบถามเพ่ือวัดเจตคติ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที ่3 ที่มีต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) โดยใช้ข้อค าถามท้ังประเภททางบวกและทางลบ จ านวน 20 ข้อ แล้วท าการเก็บรวบรวมข้อมูล โดย การเก็บรวบรวมแบบสอบถาม แล้วน าแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในการวิจัยนี้ คือ แบบสอบถามเพ่ือวัดเจตคติของนักเรียนใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) จ านวน 20 ข้อ ที่มีข้อค าถามประเภททางบวก 12 ข้อ และ ข้อค าถามประเภททางลบ 8 ข้อ ขั้นตอนในการด าเนินการวิจยั 1. ขั้นเตรียมการก่อนการด าเนินการวิจัย 1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ - การวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ - การสร้างแบบวัดเจตคติตามวิธีของลิเกิร์ต 2. สร้างแบบสอบถามวัดเจตคติต่อการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์

3. น าแบบสอบถามที่ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้อง แล้วปรับปรุง 2. ขั้นด าเนินการวิจัย

ผู้วิจยัด าเนินการสร้างแบบสอบถามเพ่ือวัดเจตคติของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อ

วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) โดยมีล าดบัขัน้ตอนการสร้างดงันี ้

Page 19: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

19

1. ศกึษาเทคนิคการสร้างแบบสอบถามวดัเจตคตจิากเอกสารตา่งๆ 2. สร้างแบบวดัเจตคติที่มีต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ

Predict Observe Explain (POE) จ านวน 20 ข้อ โดยใช้มาตราสว่นประมาณคา่ 5 ระดบั ตามวิธีการของ Likert ซึง่มีตวัเลือกให้เลือก 5 ข้อ โดยถือเกณฑ์น า้หนกัในการให้คะแนนตวัเลือกของข้อค าถามประเภทบวกและประเภทลบดงันี ้ (บญุเรียง ขจรศลิป์, 2530)

ข้อค าถามประเภททางบวก Favorable Statement

ข้อค าถามประเภททางลบ Unfavorable Statement

เห็นด้วยอย่างยิ่ง ให้ 5 คะแนน เห็นด้วย ให้ 4 คะแนน ปานกลาง ให้ 3 คะแนน ไม่เห็นด้วย ให้ 2 คะแนน ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งให้ 1 คะแนน

เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 คะแนน เห็นด้วย 2 คะแนน ปานกลาง 3 คะแนน ไม่เห็นด้วย 4 คะแนน ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5 คะแนน

ก าหนดเกณฑ์ในการคิดคะแนนเฉลี่ยของแบบสอบถามตามเกณฑ์ของ ศักดิ์ชัย เสรีรัฐ (2530)

ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยมีค่าน้อยกว่า 1.55 แสดงว่ามีเจตคติท่ีไม่ดีอย่างมากต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่

ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.56 – 2.55 แสดงว่ามีเจตคติท่ีไม่ดีต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่

ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.56 – 3.55 แสดงว่ามีเจตคติปานกลางต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่

ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.56 – 4.55 แสดงว่ามีเจตคติท่ีดีต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 4.55 แสดงว่ามีเจตคติท่ีดีอย่างมากต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

3. น าแบบสอบถามวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างท า 4. เก็บรวมรวมแบบสอบถามเพ่ือน ามาวิเคราะห์ผล 3. ขั้นอภิปรายผลการวิจัย

เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพศชายกับเพศหญิงในระดับชั้น มัธยมศึกษา 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) โดยใช้ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

Page 20: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

20

X N

x

การแปลความหมายคะแนน ได้ก าหนดเกณฑ์ความหมายของคะแนนเฉลี่ยของค าตอบโดยแปลความหมายของคะแนนตามเกณฑ์ ที่ก าหนดไว้ดังนี้ (Best, 1977 )

ชว่งคะแนนเฉล่ีย ความหมาย 1.00 -1.79 หมายถึง ระดบัน้อยท่ีสดุ 1.80-2.59 หมายถึง ระดบัน้อย 2.60-3.39 หมายถึง ระดบัปานกลาง 3.40-4.19 หมายถึง ระดบัมาก 4.20-5.00 หมายถึง ระดับมากท่ีสุด

การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ ใช้การวิเคราะห์แนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (สุวิมล ติรกานันท์, 2549)

ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ = โดยที่

X หมายถึง ค่ามัชฌิมเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย N หมายถึง จ านวนข้อมูลทั้งหมด

Σx หมายถึง ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด

Page 21: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

21

บทที่ 4

ผลการวิจัย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเรื่อง การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพศ ชายและเพศหญิง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) ผู้วิจัยได้ด าเนินการตามล าดับหัวข้อดังนี้

1. สัญลักษณ์ท่ีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพ่ือความสะดวกและให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการแปลความหมายของการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้ก าหนดให้ N แทน จ านวนประชากร X แทน ค่าเฉลี่ย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพศชายและเพศหญิง ระดับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) ได้ผลการวิเคราะห์ดังนี้

Page 22: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

22

ตาราง 1 ผลการวิเคราะห์แบบวัดเจตคติของเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพศโครงงานชาย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

จากตาราง พบว่านักเรียนชายมีเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพศชาย ที่

ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) เฉลี่ย 3.33 อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง

ข้อที่ ข้อความ ค่าเฉล่ีย (X) 1. นักเรียนเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยความสุข 4.00 2. โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักเรียนท างานอย่างมีเหตุผล 4.07 3 ในชั่วโมงวิทยาศาสตร์แต่ละครั้งนักเรียนต้องการให้หมดไปเร็วๆ 2.46 4. นักเรียนรู้สึกว่าอยากเรียนวิชาอ่ืนแทนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2.23 5. การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้มีทักษะกระบวนการ 4.53 6. นักเรียนรู้สึกง่วงนอนทุกครั้งในขณะที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2.07 7. เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วไม่สามารถน าไปใช้พัฒนาตนเองได้ 1.84 8 ถ้าให้เลือกเรียนนักเรียนจะเลือกวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอันดับแรก 3.46 9. การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์จะท าให้เกิดความเครียดเพราะต้องขบคิด

ปัญหาตลอดเวลา 2.92

10. นักเรียนตั้งใจเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอ่ืน 3.92 11. โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยฝึกให้คนแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างมีเหตุผล 4.23 12. นักเรียนรู้สึกกังวลมากถ้าเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2.61 13. นักเรียนคิดว่าไม่สามารถเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ 2.07 14. โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 4.23 15. ถ้าเลือกได้นักเรียนจะไม่เลือกเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2.76 16. วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจ าวันมาก 3.69 17. กิจกรรมในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ 3.30 18. การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการ

วิทยาศาสตร์มากข้ึน 4.15

19. การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเป็นคนมีเหตุผล 4.15 20. วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าสนใจมาก 3.92

รวม 66.61 เฉลี่ย 3.33

Page 23: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

23

ตาราง 2 ผลการวิเคราะห์แบบวัดเจตคติของเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหญิงที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

จากตาราง พบว่านักเรียนหญิงมีเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพศชาย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) เฉลี่ย 3.08 อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง

ข้อที่ ข้อความ ค่าเฉล่ีย (X) 1. นักเรียนเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยความสุข 3.38 2. โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักเรียนท างานอย่างมีเหตุผล 3.37 3 ในชั่วโมงโครงงานวิทยาศาสตร์แต่ละครั้งนักเรียนต้องการให้หมดไปเร็วๆ 2.64 4. นักเรียนรู้สึกว่าอยากเรียนวิชาอ่ืนแทนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2.38 5. การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้มีทักษะกระบวนการ 4.00 6. นักเรียนรู้สึกง่วงนอนทุกครั้งในขณะที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2.50 7. เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วไม่สามารถน าไปใช้พัฒนาตนเองได้ 1.82 8 ถ้าให้เลือกเรียนนักเรียนจะเลือกวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอันดับแรก 2.79 9. การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์จะท าให้เกิดความเครียดเพราะต้องขบคิด

ปัญหาตลอดเวลา 2.47

10. นักเรียนตั้งใจเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอ่ืน 2.85 11. โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยฝึกให้คนแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างมีเหตุผล 3.88 12. นักเรียนรู้สึกกังวลมากถ้าเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2.70 13. นักเรียนคิดว่าไม่สามารถเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ 2.08 14. โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3.82 15. ถ้าเลือกได้นักเรียนจะไม่เลือกเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2.35 16. วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจ าวันมาก 3.82 17. กิจกรรมในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ 3.67 18. การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการ

วิทยาศาสตร์มากข้ึน 3.94

19. การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเป็นคนมีเหตุผล 3.97

20. วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าสนใจมาก 3.29 รวม 61.72

เฉลี่ย 3.08

Page 24: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

24

บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเพศชายและเพศหญิง ระดับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) สามารถสรุปผลการวิจัย การอภิปรายผลการวิจัย และการเสนอข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้ รวมทั้งประเด็นในการท าวิจัยครั้งต่อไปได้ตามล าดับดังนี้ สามารถสรุปผลการวิจัย

1. นักเรียนเพศชายมีเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง

2. นักเรียนเพศหญิงมีเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง การอภิปรายผลการวิจัย นักเรียนเพศชายและนักเรียนเพศหญิง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE) อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ซึง่จากการวิเคราะห์คา่เฉล่ียของแตล่ะข้อค าถามทัง้ประเภททางบวกและทางลบ พบวา่อาจมีผลมาจากการท่ีนกัเรียนส่วนใหญ่เกิดความสบัสนกบัข้อค าถามท่ีเป็นข้อค าถามประเภททางลบ ข้อเสนอแนะ

1. ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรลองเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ การจัดการเรียนรู้รูปแบบอื่น หรือกับรายวิชาอ่ืน เพ่ือจะได้น าไปเป็นข้อมูลพื้นฐานและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนครั้งต่อไป 2. ควรพฒันาแบบสอบถามเจตคติให้มีข้อค าถามตามหลักจิตวิทยาที่ลึกกว่านี้ ซ่ึงจะท าให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น

Page 25: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

25

บรรรณานุกรม กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2545. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการเรียนรู ้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เกียรติมณี บ ารุงไร่. 2553. การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลือ่นที่ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predicts–Observe–Explain. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขวัญชนก กัญทาทอง. 2553. ตัวแทนความคิดเรื่องสมบัติเชิงกลของของเหลว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีท่ี 5 ก่อน ระหว่าง และหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาฟิสิกส์ โดยใช้วิธี Predict-Observe-Explain (POE). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2552. คุณภาพการเรียนรู้ ของนักเรียนไทย สังเคราะห์การประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2006 และ TIMM 2007 กรุงเทพมหานคร. บริษัท เซเว่นพริ้นติ้งกรุป จ ากัด

ธีรชัย ปูรณโชต.ิ 2531. การสอนกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ : คู่มือส าหรับครู. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้ าค้าง จันเสริม. 2551. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องงานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 4 บนพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้วิธี Predict-Observe-Explain (POE). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2542. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลส าหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2543. รวมบทความการวิจัย การวัดผลและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ศรีอนันต์.

บุญมั่น ธนาศุภวัฒน์ . 2547. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการ แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรียนโยธินบ ารุงที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. ปริญญานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเรียง ขจรศิลป์. 2530. วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์เมเนียมพิมพ์. ปราณี ทองค า. 2539. เครื่องมือวัดทางการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี. พวงรัตน ทวีรัตน. 2540. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร. ส านักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พัชรวรินทร์ เกลี้ยงนวล. 2556. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ Predict-Observe-Explain

(POE) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1.รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Page 26: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

26

พินิจ แท่นมาก. 2554. การศกึษาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โดยใช้วิธี Predict - Observe - Explain (POE). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เพลินพิศ นามวาด. 2554. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 5 จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธี Predict–Observe–Explain (POE). รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มะลิวัลย์ หาญชนะ. 2546. ผลการใช้วิทยาศาสตร์ประกอบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มาฆะ ทิพย์คีรี. 2547. การวิจัยการสอนโครงงานระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร บริษัทพัฒนาคุณภาพ วิชาการ(พว.) จ ากัด.

ยุทธ ไกรวรรณ์. (2545). พืน้ฐานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น. รวีวรรณ อังคนุรักษ์พันธุ์. 2533. การวัดทัศนคติเบื้องต้น. มหาวิทยาลัยบูรพา. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2553. หลักสูตรสถานศึกษาปี 2553 โรงเรียนสาธิต

มหาวิทยาลัยรารชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายวิชาการ. ลัดดา ภู่เกียรติ. 2552. การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมท าได้.

กรุงเทพมหานคร : สาฮะแอนด์ซัน พริ้นติ้ง. ศักดิ์ชัย เสรีรัตน์. 2530. การพัฒนาโปรแกรมท่ีใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์สาหรับการสอนซ่อม

เสริมในวิชาคณิตศาสตร์ ค 204 เรื่อง “สมการ” วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546. การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่ม วิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพืนื้ฐาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุภากร พูนสุข. 2547. ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมต่อ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของ นักศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคพังงา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.

สุวิมล ติรกานันท์. 2549. การใช้สถิติในงานวิจัยสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร. ส านักพิมพ์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานกระทรวงศึกษาธิการ. 2554. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค

POE (Predict-Observe-Explain). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมือ่ 20 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://research.msu.ac.th/rds/rdsadmin/research.

อังคณา สายยศ. 2540. การศกึษาเจตคติที่มีตออาชีพครู. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Good, C. V. 1973. Dictionary of Education. New York . McGraw – Hill Book Company Hassan ,O.E. and V.Y. Billeh. 1975. “Relationships between teaches chance in

toward science and some professonal variables.” Journal of Research in Science Teaching, 12(3) : 247-253.

Page 27: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

27

Page 28: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

28

ภาคผนวก

Page 29: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

29

แบบสอบถามวัดเจตคติตอ่การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

ค าชีแ้จง ท าเคร่ืองหมาย ให้ตรงกบัความเป็นจริง 1. เพศ 1.) ชาย 2.) หญิง 2. ผลการเรียนเฉล่ีย 5 เทอม

1) น้อยกว่า 2.50 2) 2.50-3.00 3) 3.00-3.50 4) มากกว่า 3.50 3. ผลการเรียนเฉลี่ยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ 5 เทอม 1) น้อยกว่าเกรด 2 2) เกรด 2 3) เกรด 3 4) เกรด 4

ค าชี้แจง ท าเครื่องหมาย หลังข้อความแต่ละข้อความลงในช่องที่นักเรียนเห็นว่าตรงกับระดับความคิดเห็นของนักเรียน ดังนี้ 1 หมายถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 4 หมายถึง เห็นด้วย 2 หมายถึง เห็นด้วย 5 หมายถึง เห็นด้วยอย่างยิ่ง 3 หมายถึง ไม่แน่ใจ

ข้อที่ ข้อความ ระดับความคิดเห็น

1 2 3 4 5 1 นักเรียนเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยความสุข 2 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักเรียนท างานอย่างมีเหตุผล 3 ในชั่วโมงโครงงานวิทยาศาสตร์แต่ละครั้งนักเรียนต้องการให้หมดไป

เร็วๆ

4 นักเรียนรู้สึกว่าอยากเรียนวิชาอ่ืนแทนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 5 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้มีทักษะกระบวนการ 6 นักเรียนรู้สึกง่วงนอนทุกครั้งในขณะที่เรียนวิชาโครงงาน

วิทยาศาสตร์

7 เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วไม่สามารถน าไปใช้พัฒนาตนเองได้

8 ถ้าให้เลือกเรียนนักเรียนจะเลือกวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอันดับแรก

9 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์จะท าให้เกิดความเครียดเพราะต้องขบคิดปัญหาตลอดเวลา

10 นักเรียนตั้งใจเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอ่ืน

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2 ระดับเจตคติต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

Page 30: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

30

ข้อที่ ข้อความ ระดับความคิดเห็น

1 2 3 4 5 11 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยฝึกให้คนแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างมีเหตุผล 12 นักเรียนรู้สึกกังวลมากถ้าเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 13 นักเรียนคิดว่าไม่สามารถเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ 14 โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 15 ถ้าเลือกได้นักเรียนจะไม่เลือกเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 16 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจ าวัน

มาก

17 กิจกรรมในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ 18 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะ

กระบวนการวิทยาศาสตร์มากขึ้น

19 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเป็นคนมีเหตุผล 20 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าสนใจมาก

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงแก้ไข

Page 31: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

31

ตาราง 1 แสดงผลคะแนนเจตคตขิองนักเรียนเพศชายต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่าง

ยิ่ง 1 นักเรียนเรียนวิชาโครงงาน

วิทยาศาสตร์ด้วยความสุข 4 6 2 1 0

2 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักเรียนท างานอย่างมีเหตุผล

4 7 1 1 0

3 ในชั่วโมงโครงงานวิทยาศาสตร์แต่ละครั้งนักเรียนต้องการให้หมดไปเร็วๆ

1 1 5 2 4

4 นักเรียนรู้สึกว่าอยากเรียนวิชาอ่ืนแทนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

0 1 6 1 5

5 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้มีทักษะกระบวนการ

8 4 1 0 0

6 นักเรียนรู้สึกง่วงนอนทุกครั้งในขณะที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

1 1 3

1 7

7 เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วไม่สามารถน าไปใช้พัฒนาตนเองได้

0 2 2 1 8

8 ถ้าให้เลือกเรียนนักเรียนจะเลือกวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอันดับแรก

4 0 7 2 0

9 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์จะท าให้เกิดความเครียดเพราะต้องขบคิดปัญหาตลอดเวลา

1 4 4 1 3

10 นักเรียนตั้งใจเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอ่ืน

5 4 3 0 1

11 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยฝึกให้คนแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างมีเหตุผล

8 1 3 1 0

12 นักเรียนรู้สึกกังวลมากถ้าเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

1 4 2 1 5

13 นักเรียนคิดว่าไม่สามารถเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

0 2 2 4 5

14 โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

5 7 0 1 0

Page 32: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

32

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่าง

ยิ่ง 15 ถ้าเลือกได้นักเรียนจะไม่เลือกเรียน

วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 1 1 7 2 2

16 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจ าวันมาก

5 4 1 1 2

17 กิจกรรมในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ

2 4 4 2 1

18 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มากขึ้น

4 8 0 1 0

19 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเป็นคนมีเหตุผล

6 4 2 1 0

20 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าสนใจมาก

5 3 4 1 0

Page 33: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

33

ตาราง 2 แสดงการหาคา่ของข้อแตล่ะค าถามจากแบบวดัเจตคติของนักเรียนเพศชายต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่าง

ยิ่ง 1 นักเรียนเรียนวิชาโครงงาน

วิทยาศาสตร์ด้วยความสุข 4x5 6x4 2x3 1x2 0

2 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักเรียนท างานอย่างมีเหตุผล

4x5 7 x4 1 x3 1 x2 0

3 ในชั่วโมงโครงงานวิทยาศาสตร์แต่ละครั้งนักเรียนต้องการให้หมดไปเร็วๆ

1x5 1 x4 5 x3 2 x2 4

4 นักเรียนรู้สึกว่าอยากเรียนวิชาอ่ืนแทนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

0 1 x4 6 x3 1 x2 5x1

5 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้มีทักษะกระบวนการ

8 x5 4 x4 1 x3 0 0

6 นักเรียนรู้สึกง่วงนอนทุกครั้งในขณะที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

1 x5 1 x4 3 x3

1 x2 7 x1

7 เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วไม่สามารถน าไปใช้พัฒนาตนเองได้

0 x5 2 x4 2 x3 1 x2 8 x1

8 ถ้าให้เลือกเรียนนักเรียนจะเลือกวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอันดับแรก

4 x5 0 7 x3 2 x2 0

9 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์จะท าให้เกิดความเครียดเพราะต้องขบคิดปัญหาตลอดเวลา

1 x5 4 x4 4 x3 1 x2 3 x1

10 นักเรียนตั้งใจเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอ่ืน

5 x5 4 x4 3 x3 0 1 x1

11 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยฝึกให้คนแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างมีเหตุผล

8 x5 1 x4 3 x3 1 x2 0

12 นักเรียนรู้สึกกังวลมากถ้าเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

1 x5 4 x4 2 x3 1 x2 5 x1

13 นักเรียนคิดว่าไม่สามารถเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

0 2 x4 2 x3 4 x2 5 x1

14 โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

5 x5 7 x4 0 1 x2 0

Page 34: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

34

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่าง

ยิ่ง 15 ถ้าเลือกได้นักเรียนจะไม่เลือกเรียน

วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 1 x5 1 x4 7 x3 2 x2 2 x1

16 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจ าวันมาก

5 x5 4 x4 1 x3 1 x2 2 x1

17 กิจกรรมในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ

2 x5 4 x4 4 x3 2 x2 1 x1

18 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มากขึ้น

4 x5 8 x4 0 1 x2 0

19 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเป็นคนมีเหตุผล

6 x5 4 x4 2 x3 1 x2 0

20 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าสนใจมาก

5 x5 3 x4 4 x3 1 x2 0

Page 35: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

35

ตาราง 3 แสดงคะแนนรวมของแต่ละข้อค าถามและคะแนนเฉลี่ยเจตคติของนักเรียนเพศชายต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น ค่าเฉลี่ย

(X) เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

1 นักเรียนเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยความสุข

20 24 6 2 0 4.00

2 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักเรียนท างานอย่างมีเหตุผล

20 28 3 2 0 4.07

3 ในชั่วโมงโครงงานวิทยาศาสตร์แต่ละครั้งนักเรียนต้องการให้หมดไปเร็วๆ

5 4 15 4 4 2.46

4 นักเรียนรู้สึกว่าอยากเรียนวิชาอ่ืนแทนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

0 4 18 2 5 2.23

5 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้มีทักษะกระบวนการ

40 16 3 0 0 4.53

6 นักเรียนรู้สึกง่วงนอนทุกครั้งในขณะที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

5 4 9

2 7 2.07

7 เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วไม่สามารถน าไปใช้พัฒนาตนเองได้

0 8 6 2 8 1.84

8 ถ้าให้เลือกเรียนนักเรียนจะเลือกวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอันดับแรก

20 0 21 4 0 3.46

9 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์จะท าให้เกิดความเครียดเพราะต้องขบคิดปัญหาตลอดเวลา

5 16 12 2 3 2.92

10 นักเรียนตั้งใจเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอ่ืน

25 16 9 0 1 3.92

11 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยฝึกให้คนแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างมีเหตุผล

40 4 9 2 0 4.23

12 นักเรียนรู้สึกกังวลมากถ้าเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

5 16 6 2 5 2.61

13 นักเรียนคิดว่าไม่สามารถเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

0 8 6 8 5 2.07

Page 36: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

36

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น ค่าเฉลี่ย

(X) เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

14 โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

25 28 0 2 0 4.23

15 ถ้าเลือกได้นักเรียนจะไม่เลือกเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

5 4 21 4 2 2.76

16 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจ าวันมาก

25 16 3 2 2 3.69

17 กิจกรรมในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ

10 16 12 4 1 3.30

18 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มากขึ้น

20 32 0 2 0 4.15

19 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเป็นคนมีเหตุผล

30 16 6 2 0 4.15

20 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าสนใจมาก

25 12 12 2 0 3.92

Page 37: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

37

ตาราง 4 แสดงผลคะแนนเจตคตขิองนักเรียนเพศหญิงต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่าง

ยิ่ง 1 นักเรียนเรียนวิชาโครงงาน

วิทยาศาสตร์ด้วยความสุข 13 10 18 3 0

2 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักเรียนท างานอย่างมีเหตุผล

7 16 6 5 0

3 ในชั่วโมงโครงงานวิทยาศาสตร์แต่ละครั้งนักเรียนต้องการให้หมดไปเร็วๆ

3 1 16 9 5

4 นักเรียนรู้สึกว่าอยากเรียนวิชาอ่ืนแทนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

0 4 13 9 8

5 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้มีทักษะกระบวนการ

11 16 4 2 1

6 นักเรียนรู้สึกง่วงนอนทุกครั้งในขณะที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

1 1 18 8 6

7 เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วไม่สามารถน าไปใช้พัฒนาตนเองได้

1 0 5 14 14

8 ถ้าให้เลือกเรียนนักเรียนจะเลือกวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอันดับแรก

2 4 16 9 3

9 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์จะท าให้เกิดความเครียดเพราะต้องขบคิดปัญหาตลอดเวลา

0 5 12 11 6

10 นักเรียนตั้งใจเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอ่ืน

1 6 16 9 2

11 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยฝึกให้คนแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างมีเหตุผล

8 18 4 4 0

12 นักเรียนรู้สึกกังวลมากถ้าเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

3 3 14 9 5

13 นักเรียนคิดว่าไม่สามารถเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

1 2 7 13 11

14 โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

10 14 5 4 1

Page 38: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

38

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่าง

ยิ่ง 15 ถ้าเลือกได้นักเรียนจะไม่เลือกเรียน

วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 0 3 14 9 8

16 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจ าวันมาก

10 14 5 4 1

17 กิจกรรมในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ

5 18 6 5 0

18 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มากขึ้น

8 20 2 4 0

19 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเป็นคนมีเหตุผล

11 15 4 4 0

20 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าสนใจมาก

3 9 18 3 1

Page 39: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

39

ตาราง 5 แสดงการหาคา่ของข้อแตล่ะค าถามจากแบบวดัเจตคติของนักเรียนเพศหญิงต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่าง

ยิ่ง 1 นักเรียนเรียนวิชาโครงงาน

วิทยาศาสตร์ด้วยความสุข 13x5 10x4 18x3 3x2 0

2 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักเรียนท างานอย่างมีเหตุผล

7 x5 16 x4 6 x3 5 x2 0

3 ในชั่วโมงโครงงานวิทยาศาสตร์แต่ละครั้งนักเรียนต้องการให้หมดไปเร็วๆ

3 x5 1 x4 16 x3 9 x2 5 x1

4 นักเรียนรู้สึกว่าอยากเรียนวิชาอ่ืนแทนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

0 4 x4 13 x3 9 x2 8 x1

5 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้มีทักษะกระบวนการ

11 x5 16 x4 4 x3 2 x2 1 x1

6 นักเรียนรู้สึกง่วงนอนทุกครั้งในขณะที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

1 x5 1 x4 18 x3 8 x2 6 x1

7 เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วไม่สามารถน าไปใช้พัฒนาตนเองได้

1 x5 0 5 x3 14 x2 14 x1

8 ถ้าให้เลือกเรียนนักเรียนจะเลือกวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอันดับแรก

2 x5 4 x4 16 x3 9 x2 3 x1

9 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์จะท าให้เกิดความเครียดเพราะต้องขบคิดปัญหาตลอดเวลา

0 5 x4 12 x3 11 x2 6 x1

10 นักเรียนตั้งใจเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอ่ืน

1 x5 6 x4 16 x3 9 x2 2 x1

11 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยฝึกให้คนแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างมีเหตุผล

8 x5 18 x4 4 x3 4 x2 0

12 นักเรียนรู้สึกกังวลมากถ้าเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

3 x5 3 x4 14 x3 9 x2 5 x1

13 นักเรียนคิดว่าไม่สามารถเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

1 x5 2 x4 7 x3 13 x2 11 x1

14 โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

10 x5 14 x4 5 x3 4 x2 1 x1

Page 40: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

40

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่าง

ยิ่ง 15 ถ้าเลือกได้นักเรียนจะไม่เลือกเรียน

วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 0 3 x4 14 x3 9 x2 8 x1

16 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจ าวันมาก

10 x5 14 x4 5 x3 4 x2 1 x1

17 กิจกรรมในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ

5 x5 18 x4 6 x3 5 x2 0

18 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มากขึ้น

8 x5 20 x4 2 x3 4 x2 0

19 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเป็นคนมีเหตุผล

11 x5 15 x4 4 x3 4 x2 0

20 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าสนใจมาก

3 x5 9 x4 18 x3 3 x2 1 x1

Page 41: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

41

ตาราง 6 แสดงคะแนนรวมของแต่ละข้อค าถามและคะแนนเฉลี่ยเจตคติของนักเรียนเพศหญิงต่อการเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict Observe Explain (POE)

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น ค่าเฉลี่ย (X) เห็นด้วย

อย่างยิ่ง เห็นด้วย

ปานกลาง

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วยอย่าง

ยิ่ง 1 นักเรียนเรียนวิชาโครงงาน

วิทยาศาสตร์ด้วยความสุข 15 40 54 6 0 3.38

2 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักเรียนท างานอย่างมีเหตุผล

35 64 18 10 0 3.37

3 ในชั่วโมงโครงงานวิทยาศาสตร์แต่ละครั้งนักเรียนต้องการให้หมดไปเร็วๆ

15 4 48 18 5 2.64

4 นักเรียนรู้สึกว่าอยากเรียนวิชาอ่ืนแทนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

0 16 39 18 8 2.38

5 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้มีทักษะกระบวนการ

55 64 12 4 1 4.00

6 นักเรียนรู้สึกง่วงนอนทุกครั้งในขณะที่เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

5 4 54 16 6 2.50

7 เรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วไม่สามารถน าไปใช้พัฒนาตนเองได้

5 0 15 28 14 1.82

8 ถ้าให้เลือกเรียนนักเรียนจะเลือกวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอันดับแรก

10 16 48 18 3 2.79

9 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์จะท าให้เกิดความเครียดเพราะต้องขบคิดปัญหาตลอดเวลา

0 20 36 22 6 2.47

10 นักเรียนตั้งใจเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอ่ืน

5 24 48 18 2 2.85

11 โครงงานวิทยาศาสตร์ช่วยฝึกให้คนแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างมีเหตุผล

40 72 12 8 0 3.88

Page 42: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

42

ข้อที ่

ข้อความ

ระดับความคิดเห็น ค่าเฉลี่ย (X) เห็นด้วย

อย่างยิ่ง เห็นด้วย

ปานกลาง

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วยอย่าง

ยิ่ง 12 นักเรียนรู้สึกกังวลมากถ้าเรียน

วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 15 12 42 18 5 2.70

13 นักเรียนคิดว่าไม่สามารถเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

5 8 21 26 11 2.08

14 โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

50 56 15 8 1 3.82

15 ถ้าเลือกได้นักเรียนจะไม่เลือกเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

0 12 42 18 8 2.35

16 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจ าวันมาก

50 56 15 8 1 3.82

17 กิจกรรมในวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ไม่น่าเบื่อ

25 72 18 10 0 3.67

18 การเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มากข้ึน

40 80 6 8 0 3.94

19 การเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ท าให้เราเป็นคนมีเหตุผล

55 60 12 8 0 3.97

20 วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าสนใจมาก

15 36 54 6 1 3.29

Page 43: รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ...elsd.ssru.ac.th/pawinee_ra/pluginfile.php/40/block_html... · 2015-12-24 · รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

43

ประวัติผู้ท ารายงานวิจัย

นางสาวภาวิณี รัตนคอน ประวัติการศึกษา: 2557 ก าลังศึกษาในระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด) สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะ

ศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2546 วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2542 วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร สถานที่ท างานปัจจุบัน: พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (ฝ่ายมัธยม) ประเภทชั่วคราว

สายวิชาการ ต าแหน่งอาจารย์

รางวัลที่ได้รับ: - ประกาศนียบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ ผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มหาบัณทิต สาขาวิชาชีววิทยา จากมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร. แถบ นีละนิธิ

- เกียรติบัตรรางวัลและผลงานวิทยานิพนธ์ระดับชมเชย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - ได้รับคัดเลือกให้เสนอผลงานวิทยานิพนธ์ในงานประชุม Biothailand พัทยา จังหวัดชลบุรี