Transcript
Page 1: ห้องปฏิบ ัติการวิจ ัย ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรม ...irre.ku.ac.th/pdf/BrochureTH.pdfชื่อเต็ม:

ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน

มหาวทิยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 6

ตําบลกําแพงแสน อาํเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม

โทรศัพท์ : 0-2942-8010-19 ต่อ 3500-3, 0-3435-1897,

0-3428-1074, 0-3428-1658, 09-1278-9800

โทรสาร : 0-3435-1404, 0-3435-2053

e-mail : [email protected]

ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน ได้กําหนดนโยบายเพื่อผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาทางด้านการเรียนการสอน การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและสร้างองค์ความรู้ ใหม่ รวมทั้งการบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้ เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริ ง มีการพัฒนากระบวนการคิด ค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองโดยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความเป็นเลิศทางด้านวิศวกรรมชลประทาน

สาขาวิชาวิศวกรรมชลประทาน เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ วิศวกรรมแหล่งน้ํา วิศวกรรมโยธา วิศวกรรม ชลศาสตร์ และอุทกวิทยา เพื่อการออกแบบระบบชลประทานในไร่นาชนิดต่างๆ เช่น การให้น้ําแบบผิวดิน แบบฉีดฝอยและแบบหยด การวางแผนและออกแบบระบบการส่งน้ํา ระบบสูบน้ําและระบบระบายน้ํา การออกแบบอาคารชลประทานแบบต่างๆ เช่น เขื่อน ฝาย คลองส่งน้ํา และอาคารประกอบ การพิจารณาวางโครงการ การจัดการโครงการชลประทานและลุ่มน้ํา รวมถึงการประยุกต์คอมพิวเตอร์สําหรับวิศวกรรมชลประทาน

นอกเหนือจากการสอน วิจัย ซึ่งเป็นงานหลักแล้ว ภาควิชาวิศวกรรมชลประทานยังสามารถให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยให้บริการด้านการจัดฝึกอบรมหลักสูตรทางวิศวกรรมชลประทานตามความต้องการของหน่วยงานต่างๆ หรือกลุ่มคนผู้สนใจทั่วไป อาทิเช่น หลักสูตรการจัดการน้ําชลประทาน หลักสูตรการพัฒนาแหล่งน้ําขนาดเล็ก งานบริการวิชาการด้านการออกแบบและจัดการชลประทาน การชลประทานแบบฉีดฝอยและ น้ําหยด การศึกษาออกแบบพัฒนาการใช้ที่ดิน เป็นต้น โดยในปัจจุบันภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน ดูแลรับผิดชอบหลักสูตร ทั้งในระดับปริญญาตรี(สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา-ชลประทาน) ปริญญาโทและปริญญาเอก(สาขาวิชาวิศวกรรมชลประทาน)

ลักษณะงานวิจัย

แบบจําลองทางกายภาพและคณิตศาสตร์ของการไหลในทางน้ําเปิด เครื่องจักรกลของไหล นวัตกรรมเกี่ยวกับการไหลในทางน้ําเปิดและระบบท่อ อาคารชลศาสตร์

ลักษณะงานวิจัย

ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ํา พืช การใช้น้ําของพืช การอนุรักษ์ดินและน้ํา การจัดการน้ําชลประทาน การจัดการระบบชลประทานทั้งระดับโครงการและระดับไร่นา การชลประทานภายใต้แรงดันชนิดต่างๆ เครื่องสูบน้ํา การให้น้ําทางผิวดินและใต้ดิน (Surface and Subsurface Irrigation) การระบายน้ํา เครื่องมือตรวจวัดและควบคุมทางวศิวกรรมชลประทาน

ลักษณะงานวิจัย

แบบจําลองด้านอุทกวิทยา แบบจําลองด้านอุตุนิยมวิทยา การจําลองระบบทรัพยากรน้ํา การพยากรณ์ภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและผลกระทบต่อการชลประทาน การจัดทําฐานข้อมูล GIS ระบบโทรมาตรและการเตือนภัย การพัฒนาระบบสารสนเทศและระบบตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา การศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลการกระทบสิ่งแวดล้อม

ลักษณะงานวิจัย

ศึกษาวิจัยกระบวนการทางอุทกวิทยาเพื่อการจัดการน้ํา โดยเน้นพื้นที่เกษตรกรรม ด้วยการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาระบบการติดตามตรวจวัดข้อมูล การจัดการและประมวลสารสนเทศและการตัดสินใจเพื่อการจัดการน้ํา โดยใช้แบบจําลองและเทคนิคปัญญาประดิษฐ์

ห้องปฏิบัติการวิจัย

ห้องปฏิบัติการวิจัยชลศาสตร์

ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร กําแพงแสน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขตกําแพงแสน

ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการชลประทาน

ห้องปฏิบัติการการจําลองระบบทรัพยากรน้ําด้วยคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ

ห้องปฏิบัติการการติดตามและการจัดการทางอุทกวิทยาเกษตรด้วยระบบอัจฉริยะ

Page 2: ห้องปฏิบ ัติการวิจ ัย ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรม ...irre.ku.ac.th/pdf/BrochureTH.pdfชื่อเต็ม:

ชื่อเต็ม : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา-ชลประทาน)

ชื่อย่อ : วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา-ชลประทาน)

เป็นหลักสูตร 4 ปี โดย 2 ปีแรก เรียนวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม และ 2 ปีหลัง เรียนวิชาเน้นทางด้านวิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมทรัพยากรน้ํา ผู้สําเร็จการศึกษาตามหลักสูตรจะได้รับปริญญา วศ.บ.(วิศวกรรมโยธา-ชลประทาน)

วิชาที่เปดสอน หลักการชลประทาน

วิศวกรรมการระบายน้ํา

เครื่องมือทางวิศวกรรมชลประทาน

การออกแบบการชลประทานในระดับไร่นา

การวางแผนและออกแบบระบบส่งน้ํา

การออกแบบอาคารชลประทาน

การออกแบบชลประทานแบบฉีดฝอยและแบบน้ําน้อย

การวางโครงงานชลประทาน

การจัดการน้ํา

การประยุกต์คอมพิวเตอร์สําหรับวิศวกรรมชลประทาน

วิศวกรรมอนุรักษ์ดินและน้ํา

วิศวกรรมน้ําใต้ดิน

การออกแบบเขื่อนขนาดเล็ก

เศรษฐศาสตร์การชลประทาน

อุทกวทิยา

วิศวกรรมชลศาสตร์

ปฐพีกลศาสตร์

วิศวกรรมฐานราก

การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก

ประวัติภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน

ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน ถือว่าเป็นภาควิชาแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยเริ่มต้นมาจากโรง เ รียน ช่า งชลประทาน สั งกั ดกรมชลประทาน กระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งได้ก่อตั้งโดย ม.ล.ชูชาติ กําภู เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2481 โดยในระยะแรกได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรช่างชลประทาน (หลักสูตร 2 ปี) วิชาหลักที่เปิดสอนคือ วิศวกรรมชลประทาน ( Irrigation Engineering) วิชาเกษตรชลประทาน ( Irrigation Agronomy) วิ ช าชลศาสต ร์ (Hydraulic) วิชาอุทกวิทยา (Hydrology) วิชาการสํารวจ (Survey) วิชาออกแบบและเขียนวิศวกรรม (Engineering Design and Drawing) วิชาการก่อสร้าง (Construction) และการฝึกภาคสนาม ภาควิชาวิศวกรรมชลประทานได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาด้านหลักสูตรต่างๆ เรื่อยมาตามลําดับ ดังนี้ พ.ศ.2492 โรงเรียนช่างชลประทานเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนการ

ชลประทาน "เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรการชลประทาน (หลกัสูตร 3 ป)ี เมื่อเรียนจบจะได้บรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสามัญชั้นตรี

พ.ศ.2494 โรงเรียนการชลประทานได้สมทบเข้าเป็นเครือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ.2497 เปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิศวกรรมชลประทานเปิดสอนหลักสูตรช่างชลประทานบัณฑิต (หลักสตูร 5 ปี)

พ.ศ.2507 เปลี่ยนเป็นหลักสูตรวิศวกรรมชลประทานบัณฑิต(หลักสตูร 4 ปี) ตั้งแต่นิสิตรุ่นที่ 20

พ.ศ.2509 เปลี่ยนชื่อเป็น ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน สังกัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมชลประทาน) หลักสูตร 4 ปี โดยมี อ.อรุณ อินทรปาลิต เป็นหัวหน้าภาควิชาฯ

พ.ศ.2512-13 เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมชลประทาน)

พ.ศ.2522 ภาควิชาวิศวกรรมชลประทานได้ย้ายไปอยู่ที่ วิทยาเขตกําแพงแสน จ. นครปฐม ซึ่งเป็นวิทยาเขต แห่งที่สองของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ.2543 เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมชลประทาน)

พ.ศ. 2545 สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน (เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545)

ชื่อเต็ม : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมชลประทาน)

ชื่อย่อ : วศ.ม. (วิศวกรรมชลประทาน)

เป็นหลักสูตร 2 ปี ซึ่งผู้สมัครต้องสําเร็จ วศ.บ. สาขาวิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมทรัพยากรน้ํา หรือสาขาอื่นเทียบเท่า นิสิตจะต้องทําวิทยานิพนธ์ 1 เรื่อง และหลังจากที่สําเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับปริญญา วศ.ม.(วิศวกรรมชลประทาน)

หลักสูตร แผน ก แบบ ก 1

ชื่อเต็ม : วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมชลประทาน)

ชื่อย่อ : วศ.ด. (วิศวกรรมชลประทานชื่อเต็ม :

เป็นหลักสูตร 3 ปี ผู้สําเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา วศ.ด.(วิศวกรรมชลประทาน)

หลักสูตร แบบ 1.1

- สัมมนา 02207597 สัมมนา - วิชาเอกบังคับ 02207591 เทคนิคการวิจัยทาง วิศวกรรมชลประทาน ข. วิทยานิพนธ์ ไม่นอ้ยกว่า 36 หน่วยกิต 02207599 วิทยานิพนธ ์

2 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วย) 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วย) 1-36

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

ก. วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)

- สัมมนา 02207697 สัมมนา - วิชาเอกบังคับ 02207691 เทคนิควิจัยขั้นสูงทาง วิศวกรรมชลประทาน ข. วิทยานิพนธ์ ไม่นอ้ยกว่า 48 หน่วยกิต 02207699 วิทยานิพนธ ์

4 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วย) 1 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วย) 1-48

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

ก. วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)


Recommended