174
ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดย นายจิระสันต์ วงษ์วรสันต์ การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2560 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรRef. code: 25605903010139DQP

012#3)4#,56%76/%#+*89&,:;8?@ABCD;+#99E/9 '/.:)#!#+*ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5903010139_81… · atmosphere. They affect nine dimensions of happiness:

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าท่ีส่ือสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย

    ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

    โดย

    นายจิระสันต์ วงษ์วรสันต์

    การค้นคว้าอิสระน้ีเป็นส่วนหน่ึงของการศึกษาตามหลักสูตร

    รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ)

    สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรบันักบริหาร

    คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ปีการศึกษา 2560

    ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าท่ีส่ือสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย

    ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

    โดย

    นายจิระสันต์ วงษ์วรสันต์

    การค้นคว้าอิสระน้ีเป็นส่วนหน่ึงของการศึกษาตามหลักสูตร

    รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ)

    สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรบันักบริหาร

    คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ปีการศึกษา 2560

    ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • HAPPINESS IN THE WORK OF BRANCH EFFECTIVENESS OFFERS

    OF KRUNG THAI BANK PUBLIC COMPANY LIMITED

    BY

    MR. JIRASAN WONGVORASAN

    AN INDEPENDENT STUDY SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF

    THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF

    MASTER OF POLITICAL SCIENCE

    (PUBLIC ADMINISTRATION AND PUBLIC AFFAIRS)

    EXECUTIVE PROGRAM IN PUBLIC ADMINISTRATION AND PUBLIC AFFAIRS

    FACULTY OF POLITICAL SCIENCE

    THAMMASAT UNIVERSITY

    ACADEMIC YEAR 2017

    COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • (1)

    หัวข้อการค้นคว้าอิสระ ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์และ

    ผลิตภัณฑ์รายย่อยของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

    ช่ือผู้เขียน นายจิระสันต์ วงษ์วรสันต์

    ช่ือปริญญา รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

    (บรหิารรัฐกจิและกิจการสาธารณะ)

    สาขาวิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย บรหิารรัฐกจิและกจิการสาธารณะ สำหรับนักบรหิาร

    คณะรัฐศาสตร ์

    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ์

    อาจารย์ทีป่รึกษาการค้นคว้าอิสระ

    รองศาสตราจารย์ ดร.ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์

    ปีการศึกษา 2560

    บทคัดย่อ

    การศึกษาน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้า

    สื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยจากการทบทวน

    วรรณกรรมพบ ว่ามี 3 ปัจจัยส ำคัญที่ ส่ งผล ต่อความสุขในการทำงาน ได้แก่ ปั จจัย ด้าน

    สัมพันธภาพ ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ซึ่ง

    ส่งผลต่อความสุข 9 ด้าน ได้แก่ Happy Body (สุขภาพดี) Happy Relax (ผ่อนคลายดี) Happy

    Heart (น้ำใจดี) Happy Soul (จิตวิญญาณดี) Happy Family (ครอบครัวดี) Happy Society (สังคม

    ดี) Happy Brain (ความรูดี้) Happy Money (การเงินดี) และ Happy Work-life (การงานดี) โดยมี

    กลุ่มประชากรศึกษาจำนวน 152 คน ซึ่งได้รับแบบสอบถามจำนวน 152 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100

    ผลจากการศึกษา พบว่า ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์และ

    ผลิตภัณฑ์รายย่อย ในระดับมาก ปัจจัยด้านสัมพันธ์ภาพในที่ทำงาน ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ

    4.15 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 และปัจจัยด้าน

    สภาพแวดล้อมในการทำงาน ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 นอกจากน้ี พบว่าปัจจัยลักษณะ

    บุคคล ด้านระดับการศึกษาและด้านระยะเวลาทำงานที่แตกต่างกัน มีผลต่อความสุขในการทำงานของ

    เจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย

    คำสำคัญ: ความสุขในการทำงาน, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), เจ้าหน้าที่สือ่สารกลยุทธ์และผลิตภัณฑร์ายย่อย

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • (2)

    Independent Study Title HAPPINESS IN THE WORK OF BRANCH

    EFFECTIVENESS OFFERS OF KRUNG THAI BANK

    PUBLIC COMPANY LIMITED

    Author MR. Jirasan Wongvorasan

    Degree Master of Political Science

    (Pubic Administration and Public Affairs)

    Major Field/Faculty/University Executive Program in Public Administration and

    Public Affairs

    Political Science

    Thammasat University

    Independent Study Advisor

    Associate Professor Trairat Pokapalakorn, Ph.D.

    Academic Years 2017

    ABSTRACT

    This study is aimed to examine variables affecting happiness at work of branch

    effectiveness officers, Krung Thai Bank Public Company Limited. Literature review reveals

    three variables affecting happiness at work: relationship, job characteristic and workplace

    atmosphere. They affect nine dimensions of happiness: happy body, happy relax, happy

    heart, happy soul, happy family, happy society, happy brain, happy money and happy work-

    life. The study examines 152 samplings responding to 152 surveys, accounting for 100

    percent.

    The finding shows that happiness at work of branch effectiveness officers is at

    high level. Relationship at workplace factor is at high level, equivalent to 4.25 mean.

    Workplace atmosphere factor is at high level, equivalent to 4.12 mean. And work

    environment factor is at high level, equivalent to 3.85 mean. In addition, it discloses that

    such varying personal factors as education level and length of work experience impact

    happiness at work of branch effectiveness officers.

    Keywords: Happiness, Krung Thai bank public company, Branch effectiveness offers

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • (3)

    กิตติกรรมประกาศ

    การค้นคว้าอิสระใรครั้งน้ีสำเร็จลุล่วงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา เน่ืองจาก

    ความเมตตากรุณาของอาจารย์ที่ปรึกษา ขอกราบขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ไตรรัตน์

    โภคพลากรณ์ ที่กรุณารับเป็นที่ปรึกษาและเสียสละเวลาที่มีค่าในการให้คำปรึกษาพร้อมคำช้ีแนะ

    เกี่ยวกับแนวคิดในการทำการศึกษา ตรวจแก้ไข ความเรียบร้อย ตลอดจนการให้คำแนะนำทาง

    วิชาการที่ดีเสมอมา และขอกราบขอพระคุณรองศาสตราจารย์ ดร.อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์ ที่กรุณารับ

    เป็นประธานกรรมการสอบการค้นคว้าอิสระ และให้ข้อคิดที่ดีต่อการศึกษา รวมทั้งการแนะนำการ

    อภิปรายผลในการศึกษาได้อย่างชัดเจน

    ขอขอบกราบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความกรุณาในการตรวจสอบเครื่องแบบสอบถาม

    ในการ ศึ กษา ได้ แก่ 1. ผู้ ช่ วยศาสตราจาร ย์ ดร . สุ นิ ส า ช่อ แก้ ว 2. อาจ าร ย์ปิ ย ะ ฉัต ร

    ลีลาศิลปะศาสน์ และ 3. คุณสุเทพ ฤๅชัย นอกจากน้ีขอขอบพระคุณพนักงานธนาคารกรุงไทย

    ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย จำนวน 152 ท่าน ที่ให้ความร่วมมือเป็น

    อย่างดีในการตอบแบบสอบถามการค้นคว้าอิสระในครั้งน้ี

    สุดท้ายน้ีขอกราบขอกราบขอบพระคุณครอบครัว หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงานและเพื่อน

    ร่วมรุ่น EPA28 ทุกคน ที่ให้ความสนับสนุนการเรียนในครั้งน้ี และคอยให้กำลังใจทุกครั้งที่เกิดความ

    เหน่ือยล้า ที่สำคัญขอกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ทุกท่านและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่

    ประสิทธ์ิประสาทวิชาความรู้ทั้งปวงให้กับผู้วิจัยสำเร็จการศึกษาในครั้งน้ี

    นายจิระสันต์ วงษ์วรสันต์

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • (4)

    สารบัญ

    หน้า

    บทคัดย่อภาษาไทย (1)

    บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (2)

    กิตติกรรมประกาศ (3)

    สารบัญตาราง (7)

    สารบัญภาพ (11)

    บทที่ 1 บทนำ 1

    1.1 ที่มาและความสำคัญ 1

    1.2 วัตถุประสงค์

    1.3 ขอบเขตการศึกษา

    1.4 ประโยชน์ของการศึกษา

    1.5 สมมติฐานงานวิจัย

    1.6 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย

    5

    6

    6

    6

    8

    บทที่ 2 วรรณกรรมและงานวิจัยทีเ่กี่ยวข้อง 9

    2.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความสุข 9

    2.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความสุขในการทำงาน (happiness works)

    2.3 ข้อมูลพื้นฐานของธนาคารกรุงไทย

    2.4 งานวิจัยทีเ่กี่ยวข้อง

    15

    32

    48

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • (5)

    หน้า

    บทที่ 3 วิธีการวิจัย 51

    3.1 การเกบ็รวบรวมข้อมลู 51

    3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

    3.3 เครือ่งมอืวิจัย

    3.4 การวางแผนดำเนินงาน

    3.5 การนำเสนอผลการศึกษา

    51

    56

    62

    65

    บทที่ 4 ผลการวิจัยและอภิปรายผล 66

    4.1 ส่วนที่ 1 ปัจจัยลกัษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง 67

    4.2 ส่วนที่ 2 ปัจจัยด้านสมัพนัธภาพในที่ทำงาน

    4.3 ส่วนที่ 3 ปัจจัยด้านลกัษณะงานที่ได้รบัมอบหมาย

    4.4 ส่วนที ่4 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    4.5 ส่วนที ่5 แบบวัดความสุข: HPPINOMETER

    4.6 ส่วนที่ 6 ผลการทดสอบสมมติฐานงานวิจัย

    70

    73

    80

    87

    98

    บทที่ 5 สรปุผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 124

    5.1 สรุปผลการศึกษา 125

    5.2 อภิปรายผล

    5.3 ข้อเสนอแนะ

    128

    132

    รายการอ้างอิง 134

    ภาคผนวก 138

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • (6)

    ภาคผนวก ก แบบสอบถาม

    หน้า

    139

    ภาคผนวก ข ค่าความเช่ือมั่นแบบสอบถาม 153

    ประวัติผูเ้ขียน 159

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • (7)

    สารบัญตาราง

    ตารางที ่ หน้า

    2.1 สรุปปัจจัยทีเ่กี่ยวข้องกบัความสุขในการทำงาน 21

    2.2 การลาออกและโอนย้ายตำแหน่งของเจ้าหน้าทีส่ื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์

    รายย่อย ต้ังแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม ปี 2560

    44

    3.1 แสดงเกณฑ์ในการให้คะแนนตามระดับของความคิดเหน็ต่อปัจจัยสมัพันธภาพ

    ในที่ทำงานทีส่่งผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าทีส่ือ่สารกลยุทธ์และ

    ผลิตภัณฑ์รายย่อย ธนาคารกรุงไทย

    57

    3.2 แสดงการแปลผลตามค่าคะแนนเฉลี่ยของปัจจัยทีส่่งผลต่อความสุขในการ

    ทำงานของเจ้าหน้าที่สือ่สารกลยุทธ์และผลิตภัณฑร์ายย่อย ธนาคารกรุงไทย

    58

    3.3 แสดงเกณฑ์ในการให้คะแนนตามระดับของความคิดเหน็ต่อปัจจัยลกัษณะงาน

    ที่ได้รับมอบหมายทีส่่งผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์

    และผลิตภัณฑ์รายย่อย ธนาคารกรุงไทย

    58

    3.4 แสดงการแปลผลตามค่าคะแนนเฉลี่ยของปัจจัยทีส่่งผลต่อความสุขในการ

    ทำงานของเจ้าหน้าที่สือ่สารกลยุทธ์และผลิตภัณฑร์ายย่อย ธนาคารกรุงไทย

    59

    3.5 แสดงเกณฑ์ในการให้คะแนนตามระดับของความคิดเหน็ต่อปัจจัย

    สภาพแวดล้อมในการทำงานที่สง่ผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่

    สื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย ธนาคารกรงุไทย

    60

    3.6 แสดงการแปลผลตามค่าคะแนนเฉลี่ยของปัจจัยทีส่่งผลต่อความสุขในการ

    ทำงานของเจ้าหน้าที่สือ่สารกลยุทธ์และผลิตภัณฑร์ายย่อย ธนาคารกรุงไทย

    61

    3.7 แสดงเกณฑท์ี่ใช้สำหรับการแปลผลของความเช่ือมั่น 64

    3.8 ตารางคำนวณหาค่าสมัประสทิธ์ิแอลฟ่า (Alpha coefficient: α) 4.1 แสดงจำนวนและร้อยละปจัจัยลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง

    4.2 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงานใน

    ภาพรวม

    4.3 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน

    ด้านสมัพันธภาพกับผู้บงัคับบัญชา

    65

    68

    70

    71

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • (8)

    ตารางที ่ หน้า

    4.4 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน

    ด้านสมัพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน

    4.5 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ได้รบัมอบหมาย

    ในภาพรวม

    4.6 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ได้รบัมอบหมาย

    ด้านความหลากหลายของงาน

    4.7 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ได้รบัมอบหมาย

    ด้านงานมีเอกลักษณ์ของงาน

    4.8 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ได้รบัมอบหมาย

    ด้านความสำคัญของงาน

    4.9 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ได้รบัมอบหมาย

    ด้านความมีอิสระในการปฏิบัติงาน

    4.10 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปจัจัยด้านลักษณะงานที่ได้รับ

    มอบหมาย ด้านผลสะท้อนกลับจากงาน

    4.11 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปจัจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    ในภาพรวม

    4.12 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปจัจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    ด้านกายภาพ

    4.13 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปจัจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    ด้านจิตใจหรือจิตวิทยาและสังคมในการทำงาน

    4.14 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปจัจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    ด้านเวลาการทำงานหรือตารางการทำงาน

    4.15 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปจัจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    ด้านความมั่นคงปลอดภัย

    4.16 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบวัดความสุข: HAPPINOMETER

    ในภาพรวม

    72

    73

    75

    76

    76

    78

    79

    80

    81

    83

    84

    85

    87

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • (9)

    ตารางที ่ หน้า

    4.17 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบวัดความสุข: HAPPINOMETER 88

    ด้านสุขภาพดี

    4.18 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบวัดความสุข: HAPPINOMETER 89

    ด้านผ่อนคลายดี

    4.19 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบวัดความสุข: HAPPINOMETER 91

    ด้านน้ำใจดี

    4.20 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบวัดความสุข: HAPPINOMETER 92

    ด้านครอบครัว

    4.21 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบวัดความสุข: HAPPINOMETER 93

    ด้านสังคมดี

    4.22 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบวัดความสุข: HAPPINOMETER 94

    ด้านใฝ่รู้ดี

    4.23 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบวัดความสุข: HAPPINOMETER 95

    ด้านสุขภาพเงินดี

    4.24 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบวัดความสุข: HAPPINOMETER 96

    ด้านการงานดี

    4.25 เปรียบเทียบความแตกต่างปจัจัยลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศกับการมีความสุข 99

    ในการทำงาน

    4.26 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ปจัจัยลักษณะส่วนบุคคล 101

    ด้านอายุกับความสุขในการทำงาน

    4.27 เปรียบเทยีบความแตกต่างระหว่าง ปจัจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านสถานภาพ 103

    กับความสุขในการทำงาน

    4.28 เปรียบเทียบความแตกต่างปจัจัยลักษณะส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา 105

    กับการมีความสุขในการทำงาน

    4.29 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ปจัจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านตำแหน่งงาน 107

    กับความสุขในการทำงาน

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • (10)

    ตารางที ่ หน้า

    4.30 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ปจัจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านระยะเวลา 109

    การทำงาน กับความสุขในการทำงาน

    4.31 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่ระหว่าง ปจัจยัลักษณะส่วนบุคคล 111

    ด้านระยะเวลาการทำงานกบัความสุขในการทำงาน

    4.32 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ปจัจัยลักษณะส่วนบุคคล 116

    ด้านรายได้ต่อเดือน กับความสุขในการทำงาน

    4.33 ทดสอบความสมัพันธ์ระหว่างปจัจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน 118

    กับความสุขในการทำงาน

    4.34 ทดสอบความสมัพันธ์ระหว่างปจัจัยด้านลักษณะงานทีไ่ด้รับมอบหมาย 120

    กับความสุขในการทำงาน

    4.35 ทดสอบความสมัพันธ์ระหว่างปจัจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 122

    กับความสุขในการทำงาน

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • (11)

    สารบัญภาพ

    ภาพที่ หน้า

    1.1 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย

    2.1 โครงสร้างธนาคารกรุงไทย

    8

    38

    2.2 ผลสำรวจความมุง่มั่นในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย ครั้งที่ 1

    และ 2 ปี 2558

    45

    2.3 ผลสำรวจความมุง่มั่นในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย ครั้งที่ 1

    และ 2 ปี 2559

    46

    2.4 ผลสำรวจความมุง่มั่นในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย ครั้งที่ 1

    และ 2 ปี 2560

    47

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 1

    บทที่ 1

    บทนำ

    1.1 ท่ีมาและความสำคัญ

    ในศตวรรษที่ 21 น้ี ซึ่งอยู่ในสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่มีการพัฒนา

    อย่างรวดเร็วในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในภาคส่วนของเศรษฐกิจที่มีการ

    แข่งขันที่มากข้ึน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการแข่งขันกัน

    เพือ่แย่งชิงสิ่งที่ดีที่สุดใหแ้ก่องค์การตนเอง เช่น การแข่งขันทางกลยุทธ์ ซึ่งในแต่ละองค์การหรือบริษัท

    จะต้องมีการวางยุทธศาสตร์ทางกลยุทธ์เพื่อทำการแข่งขันในเรื่องต่าง ๆ การแข่งกันทางตลาดเพื่อแย่ง

    ชิงพื้นที่ทางการค้าและการพัฒนาให้ได้มากที่สุดเพื่อผลประกอบการขององค์การ ทั้งน้ีบุคลากรจึงเป็น

    ส่วนสำคัญในการสร้างโอกาส และการพัฒนาทรัพยากรของแต่ละองค์การ จึงมีความจำเป็นในการ

    พัฒนาสุข และคุณภาพชีวิตการทำงานให้แก่บุคลากร เพื่อเป็นส่วนที่เสริมสร้างให้บุคลากรมีความ

    พร้อมในการสร้างสรรค์งานได้อย่างมปีระสิทธิภาพ และเพิ่มมูลค่าให้กบัองค์การ สอดคล้องกับกระแส

    การขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ในกระแสโลกาภิวัตน์ เกิดความสอดคล้องกับความต้องการ

    ของมนุษย์ บุคลากรซึ่งเป็นผู้ส่งมอบคุณค่า และเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับองค์การ และ

    มูลค่าทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อทั้งระดับ Localization และ Globalization ซึ่งต้องการความย่ังยืน

    จาก “คุณภาพของทุนมนุษย์ที่มีความสุข” ด้วยการทำงานที่เน้นการใช้ทุนทางปัญญาอย่างเต็ม

    ศักยภาพ มีความสุขในการสร้างสรรค์งานและบุคลากร1

    การทำงานเป็นส่วนหน่ึงในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะการทำงานเป็นองค์ประกอบ

    ส่วนหน่ึงที่สำคัญ เน่ืองจากเป็นการหารายได้เพื่อนำมาใช้จ่ายในการซื้อสิ่งอุปโภค และบริโภค เป็น

    การสร้างสังคมเพื่อนรว่มงาน เป็นการสร้างเสรมิประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กับชีวิต เป็นส่วนหน่ึงในการที่

    จะเพิ่มความรู้สึกทั้ง ความรัก ความผูกพัน ความพึงพอใจต่อการทำงาน ดังน้ันการทำงานจึงเปน็ส่วนที่

    ขาดไม่ได้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน การทำงานที่มีความสุขคือสิ่งที่ทุกองค์การมีความคาดหวัง

    ต่อพนักงานทุกคน ถ้าหากผู้บริหารได้ให้ความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพจิตใจ

    ในการทำงาน โดยกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจนและให้ความสำคัญ มีผู้รับผิดชอบโดยตรง และมีการ

    1 คงพล มนวรินทรกุล, “Literature Review แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ Healthy Organization

    และ Quality of Work Life,” GotoKnow, https://www.gotoknow.org/posts/613377 (สื บ ค้น

    เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2561).

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 2

    จัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเน่ืองจะทำให้พนักงานในองค์การทำงานได้อย่างมีความสุขมากข้ึน มี

    ความเครียดลดลง ซึ่งจะช่วยให้มีอัตราการเจ็บป่วยที่ลดลง พนักงานจะมีความรัก และความผูกพันใน

    องค์การ ทำให้อัตราการลาออกน้อยลง และพนักงานจะทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างเต็มที่เพื่อตอบ

    แทนความสุขและความพึงพอใจในการทำงาน ซึ่งส่งผลใหอ้งค์การหรอืหน่วยงานได้ผลลพัธ์ของงานทีดี่

    มีผลประกอบการกำไรที่มาข้ึนด้วย2

    ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตเต็มไปด้วยการแข่งขันกันตลอดเวลา ผล

    จากการเปลี่ยนแปลงทางสงัคมอย่างรวดเรว็ ส่งผลให้แต่ละภาคธุรกิจต่าง ๆ ต้องมีการปรับตัวเพื่อการ

    อยู่รอดตลอดเวลา หลายองค์การมีการปรับกลยุทธ์การบริหารเพิ่มเติมด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่ม

    ผลผลิต เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้สูงข้ึนด้วยระบบการบริหารองค์การแบบระบบทุนนิยมที่ทุก

    อย่างสามารถนำมาประเมินออกเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่ต้องทำงานหนักมากข้ึน เพื่อ

    มุ่งหวังสิ่งที่เรียกว่า “ผลผลิตและกำไร” จนขาดการมองกลับมาดูสังคมภายในองค์การ ขาดการเอื้อ

    อาทรต่อคน และสังคมรอบข้าง ขาดการนำองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ ขาดการใช้ชีวิตที่

    พอเพียง และขาดความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน อันจะนำมาสู่ปัญหาภายในองค์การ

    หากพนักงานไม่เกิดความสุขในการทำงาน เกิดปัญหาอัตราการลาออกของพนักงานที่สูงข้ึน สิ่งเหล่าน้ี

    จะเป็นการสะท้อนถึงการให้มูลค่าสูงกว่าการมองเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เกิดการขาด

    คุณภาพชีวิตที่ดีหรือการขาดความสุขในการทำงานของพนักงานและการพัฒนาองค์การ

    ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นหน่ึงในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในรูปแบบธนาคาร

    พาณิชย์ มีพันธกิจขององค์การที่จะต้องเป็นผู้แข่งขันในการดำเนินงานธุรกิจทางด้านการเงินธนาคาร

    และจะต้องมีการดำเนินยุทธศาสตร์เพื่อทำการแข่งขันกับธนาคารคู่เทียบ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย

    ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ เพื่อเป็นการแย่งชิงพื้นที่ทางการตลาดและลูกค้าให้มาก

    ที่สุด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแผนยุทธศาสตร์ภายในองค์การในช่วง 5 ปีที่ผ่าน เพื่อนำแผนมาใช้ใน

    การแข่งขันทางการตลาด เป็นผลให้ผู้ทีน่ำนโยบายมาปฏิบัติ ได้แก่ พนักงานที่จะต้องรับเป้าหมายและ

    ความท้าทายไปสู่การปฏิบัติงานที่เพิ่มข้ึน

    การดำเนินธุรกิจของธนาคารกรุงไทยในฐานะธนาคารพาณิชย์หน่ึงเดียวของรัฐ ทำให้มี

    ความจำเป็นที่จะเข้ามาส่วนหน่ึงในการนำนโยบายจากภาครัฐมาปฏิบัติหรือส่งต่อให้กับประขาชน ซึ่ง

    หน่วยงานที่จะต้องเข้ามามีบทบาทและเปรยีบเสมอืนหน้าบ้านของธนาคารกรุงไทยก็คือ สาขา โดยทุก

    สาขาของธนาคารกรุงไทย จะสังกัดอยู่ภายใต้สายงานเครอืข่ายธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อย แบ่งสังกัด

    ตามกลุ่มเครือข่าย สำนักงานภาค สำนักงานเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งการทำงานของสาขาจะไม่

    2 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน (กรุงเทพฯ: บริษัทรุง่

    ศิลป์การพิมพ์ (1997) จำกัด, 2544), 5.

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 3

    สามารถประสบความสำเร็จได้ ถ้าไม่มีทีมหลังบ้านที่คอยให้สนับสนุนการทำงานของสาขาทำงานได้

    ง่ายข้ึน ไม่มีตำแหน่งงานที่เข้ามามีส่วนสำคัญอย่างย่ิงในการสนับสนุนการทำงานของสาขา คือ

    ตำแหน่ง เจ้าหน้าท่ีสื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย สังกัดส่วนงานสื่อสารกลยุทธ์และ

    ผลิตภัณฑ์รายย่อยของแต่ละสำนักงานเขตทั้งหมด 78 เขตทั่วประเทศ และต่อจากน้ีจะขอเรียกช่ือย่อ

    ของ เจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย ว่า “เจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ฯ”

    ปัจจุบันพบว่าเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ฯ ทุกสำนักงานเขตจะต้องเข้ามารับบทบาทและ

    ภาระอันหนักย่ิงในการทำงาน เพราะจะต้องทำงานตามตัวช้ีวัดการทำงาน (KPI) ที่ธนาคารได้กำหนด

    และการทำงานนอกเหนือการทำงานตามตัวช้ีวัดการทำงาน (KPI) เช่น การทำงานตามที่ได้รับ

    มอบหมายจากผู้บังคับบัญชา การทำงานที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานใหญ่ รวมทั้งงานที่ได้รับ

    มอบหมายจากภาครัฐ ทำให้เจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ฯ มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามามีบทบาทในการ

    นำนโยบาย ภารกิจที่ได้รับมอบหมายสื่อสารต่อทุกสาขาที่สังกัดภายใต้สำนักงานเขตตนเอง เพื่อให้

    ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน จึงทำให้เจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ฯจะต้องทำงาน 2 ด้านไป

    พร้อม ๆ กัน

    การทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ฯ มีภารกิจหลักตามตัวช้ีวัดการทำงาน (KPI)

    ก็คือ

    1. การทำงานสื่อสารนโยบาย ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของธนาคาร ไปสู่พนักงานสาขาทุก

    คน เช่น การสื่อสารเรือ่งความเข้าใจเกี่ยวกับตัวช้ีวัดในการทำงานของหน่วยงาน(สาขา) และตัวช้ีวัดใน

    การทำงานของพนักงานสาขาทุกตำแหน่ง เพื่อให้มีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้ตรงตาม

    ตัวช้ีวัดที่ธนาคารได้กำหนด โดยใช้ช่วงเวลาการสื่อสารเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ในเวลางานและนอก

    เวลางาน กล่าวคือ 1.ในเวลางานคือช่วงเวลาทำงานของสาขา 8.30 – 17.30 และ 2. นอกเวลางาน

    คือช่วงหลังเลิกงานไปแล้ว ซึ่งถ้าเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์จะต้องสื่อสารกับสาขาในช่วงเวลาน้ี จะต้อง

    เสียสละเวลาช่วงเย็นหลังเวลางานในบางวันเพื่อนัดสาขาประชุมสำหรับสื่อสารข้อมูล นโยบายต่าง ๆ

    ทำให้เจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์จะต้องมีการเสียสละในการทำงานล่วงเวลางานเป็นประจำ และได้กลับ

    บ้านช้ามากข้ึน รวมทั้งการทำงานไม่ได้มีการรับค่าตอบแทนพิเศษที่เป็นการทำงานล่วงเวลาให้กับ

    ธนาคาร

    2. การสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ของสาขา ได้แก่ การร่วมเดินตลาด

    ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของธนาคาร การร่วมนำเสนอผลิตภัณฑ์ของธนาคาร ให้กับหน่วยงาน

    ราชการ เอกชนและลูกค้าทั่วไป เช่น การเข้านำเสนอผลิตภัณฑ์การชำระเงินผ่าน QR Code ให้กับ

    หน่วยงานราชการในการชำระเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งในบางครั้งการเดินทางเพื่อไปนอก

    สถานที่ของพนักงานสื่อสารกลยุทธ์ฯ จะต้องมีการออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเอง รวมทั้งใน

    บางครั้งจะต้องมาถึงที่นัดหมายเร็วกว่าเวลางาน และทำงานเลยเวลางานตามที่ระเบียบได้กำหนด

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 4

    3. การทำข้อมูลสรุปรายงาน ผลงานยอดขายและการดำเนินงานต่าง ๆ ของแต่ละสาขา

    รายงานให้กับผู้บริหาร โดยการเก็บข้อมูลรายงานจะแบ่งเป็นรายงานข้อมูลรายวัน รายสัปดาห์และ

    รายเดือน โดยทั่วไปการทำสรุปรายงานรายเดือนและรายสัปดาห์ โดยใช้ช่วงเวลาการทำรายงานใน

    ช่วงเวลาการทำงานปกติ แต่สำหรับการทำรายงานประจำวันของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ฯจะต้องใช้

    ช่วงเวลาตอนเย็นหลังจากเลิกงานแล้ว จะต้องทำรายสรุปผลงานและยอดขายรายวันของแต่ละ

    ผลิตภัณฑ์ ของแต่ละสาขาทีส่ังกัดสำนักงานเขตตนเองทุกวัน

    การทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ฯ ที่นอกเหนือภาระกิจหลักตามตัวช้ีวัดการ

    ทำงาน (KPI) ก็คือ

    1. การทำงานที่หัวหน้าได้มอบให้ทำเพิ่มเติม เช่น การจัดกิจกรรมการแข่งขันเพื่อ

    ส่งเสริมการขาย ทำให้เจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ฯ จะต้องเข้ามาเป็นผู้ดำเนินงานต้ังแต่การคิดและ

    วางแผนกิจกรรม ดำเนินงานกิจกรรม และสรุปผลการแข่งขัน ซึ่งในบางครั้งจะต้องทำงานที่ต่าง

    สถานที่จะต้องมีการเดินทางไปต่างจังหวัด และจะต้องมีการออกค่าใช้จ่ายเองในบางครั้ง

    2. การได้รับมอบหมายภาระกิจจากภาครัฐ เช่น การติดเครื่องรูดบัตร EDC สำหรับร้าน

    ที่จะรับชำระเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งในบางครั้งจะต้องไปติดในพื้นที่ห่างไกลทำให้ล่วงเลย

    เวลางาน หรือในช่วงที่ผ่านมาจะต้องลงมาช่วยสาขาในรับลงทะเบียนและแจกบัตรสวัสดิการแห่ง

    ในช่วงปลายปี 2560 ที่ผ่านมา เป็นต้น

    3. การเป็นส่วนผลักดันการทำงานงานสาขาให้สำเร็จผลบรรลุเป้าหมาย กล่าวคือ

    ปัจจุบันการทำงานของธนาคารกรุงไทย สาขางานเครือข่ายธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อย ผู้บริหาร

    มักจะมอบหมายบทบาทหน้าทีท่ี่มีความสำคัญ ให้กับงานสื่อสารกลยุทธ์ในการผลักดัน สนับสนุน ดูแล

    การทำงานในทุก ๆ ด้านของสาขา ได้แก่ การเป็นผู้ผลักดันผลงานขายของสาขาให้บรรลุเป้าหมาย

    แทนผู้บริหาร เช่น การเป็นผู้ติดตามยอดขายผลติภัณฑ์ การจัด Motivation ให้กับพนักงานและสาขา

    เพื่อทำผลงานให้บรรลุเป้าหมาย หรือการจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานของพนักงาน

    สาขา เป็นต้น

    จากสภาพการณ์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ฯในปัจจุบัน ทำให้ดู

    เหมือนว่าผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งน้ีจะต้องตกอยู่ในสภาวะที่มีความสุขในการทำงานที่ลดน้อยลง ทั้ง

    การทำงานที่หนักตลอดเวลา การแบกรับความกดดันที่และการถูกคาดหวังสูงจากผูบ้รหิาร การทำงาน

    ที่ไม่ได้รับเงินที่เป็นผลตอบแทนเพิ่ม แต่กลับพบว่าพนักงานในตำแหน่งน้ีมีอายุการทำงานในตำแหน่ง

    ที่ยาวนาน รวมทั้งมีการโอนย้ายเปลี่ยนตำแหน่งจากเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ไปเป็นตำแหน่งอื่นมี

    จำนวนต่ำมาก รวมทั้งสถิติจำนวนการลาออกของพนักงานในช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่

    สื่อสารกลยุทธ์ฯ มีจำนวนทีน้่อยมาก แต่กลับมีการทำงานอย่างมีความสุขและสามารถปฏิบติังานอย่าง

    มีความกระตือรือร้น มีความมุ่งมั่นในตนเอง และทำงานอย่างทุ่มเทตลอดเวลาให้กับธนาคารมากที่สุด

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 5

    ปัจจุบันธนาคารกรุงไทยยังไม่เคยมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านงานที่ก่อให้เกิด

    ความสุขในการทำงานของพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ฯ ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายและ

    การบริหาร ด้านสวัสดิการของพนักงาน ด้านค่าจ้างเงินเดือนค่าตอบแทน ด้านความสัมพันธ์ทางด้าน

    สังคมภายในและภายนอกหน่วยงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าและความ

    มั่นคงในการทำงาน ด้านสุขภาพของพนักงาน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตด้าน

    ส่วนตัวอื่น ๆ ของพนักงานในการทำงานเชิงรุก ณ ปัจจุบัน

    ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยด้านความสุขในการทำงาน

    ในการทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ ที่เป็นส่วนหน่ึงในกำลังสำคัญด้านทรัพยากรบุคคลในการ

    ขับเคลื่อนองค์การให้ไปสู่ความสำเร็จทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพตามเป้าหมายที่ธนาคารได้กำหนด

    ไว้ รวมทั้งศึกษาแนวทางการสร้างความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ เพื่อเป็น

    แบบอย่างในการทำงานอย่างมีความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำแหน่งอื่น ๆ ต่อไป

    1.2 วัตถุประสงค ์

    1.2.1 เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพิจารณาแนวทางสร้างความสุขที่ทำให้เจ้าหน้าที่

    สื่อสารกลยุทธ์ฯ และผลิตภัณฑ์รายย่อยยังคงปฏิบัติงานกับธนาคารกรุงไทยอย่างมีความสุข

    1.2.2 เพื่อวิเคราะห์แนวทางสร้างความสขุในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สือ่สารกลยุทธ์

    และผลิตภัณฑ์รายย่อยสู่การกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานในตำแหน่งอื่นของธนาคารกรุงไทย

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 6

    1.3 ขอบเขตการศึกษา

    1.3.1 ขอบเขตการศึกษาทางด้านเน้ือหา การศึกษาน้ีเป็นการศึกษาปัจจัยที่ทำให้

    เจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์ฯ และผลิตภัณฑ์รายย่อยยังคงปฏิบัติงานกับธนาคารกรุงไทยอย่างมีความสุข

    ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสวัสดิการของพนักงาน ด้านค่าจ้างเงินเดือนค่าตอบแทน ด้าน

    ความสัมพันธ์ทางด้านสังคมภายในและภายนอกหน่วยงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้าน

    ความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน ด้านสุขภาพของพนักงาน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิต

    การทำงานและชีวิตด้านส่วนตัวอื่น ๆ

    1.3.2 ขอบเขตด้านประชากร การศึกษาในครั้งน้ีเลือกศึกษาเฉพาะเจ้าหน้าที่สื่อสารกล

    ยุทธ์ฯ และผลิตภัณฑ์รายย่อย สังกัดสายงานธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อย ประกอบด้วยสำนักงานเขต

    ทั้งหมด 78 สำนักงานเขต จำนวน 246 คน

    1.3.3 ขอบเขตด้านเวลา ศึกษาช่วงเวลาเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2561

    1.4 ประโยชน์ของการศึกษา

    1.4.1 สามารถนำผลการศึกษาปัจจัยสร้างความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สื่อสาร

    กลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและส่งเสริมในการทำงานของ

    เจ้าหน้าที่ตำแหน่งอื่น ๆ ต่อไป

    1.4.2 สามารถนำผลการศึกษาใช้เป็นแบบอย่างในการพิจารณากำหนดนโยบายด้านกลยุทธ์

    ให้พนักงานธนาคารกรุงไทยทุกตำแหน่งทำงานอย่างมีความสุข

    1.5 สมมติฐานงานวิจัย

    1.5.1 สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล มีผลต่อความสุขในการทำงาน แตกต่างกัน

    สมมติฐานย่อย 1.1 ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านเพศ มีผลต่อความสุขใน

    การทำงาน

    สมมติฐานย่อย 1.2 ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านอายุ มีผลต่อความสุขใน

    การทำงาน

    สมมติฐานย่อย 1.3 ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านสถานภาพ มีผลต่อความสุขใน

    การทำงาน

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 7

    สมมติฐานย่อย 1.4 ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา มีผลต่อ

    ความสุขในการทำงาน

    สมมติฐานย่อย 1.5 ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านตำแหน่งงาน มีผลต่อความสุข

    ในการทำงาน

    สมมติฐานย่อย 1.6 ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านระยะเวลาการทำงาน มีผลต่อ

    ความสุขในการทำงาน

    สมมติฐานย่อย 1.7 ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ด้านรายได้ต่อเดือน มีผลต่อ

    ความสุขในการทำงาน

    1.5.2 สมมติฐานที่ 2 ปัจจัยด้านสมัพันธภาพในที่ทำงานมีความสัมพันธ์ต่อความสุขใน

    การทำงาน

    1.5.3 สมมติฐานที่ 3 ปัจจัยด้านลกัษณะงานที่ได้รบัมอบหมายมีความสัมพันธ์ต่อ

    ความสุขในการทำงาน

    1.5.4 สมมติฐานที่ 4 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์ต่อความสุข

    ในการทำงาน

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 8

    1.6 กรอบแนวคิดท่ีใช้ในการวิจัย

    ภาพที่ 1.1 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย, ผู้ศึกษา, 2561.

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 9

    บทที่ 2

    วรรณกรรมและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง

    การศึกษาในครั้งน้ีผู้ศึกษามีความต้องการที่จะศึกษาความสุขในการปฏิบัติงานของ

    เจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เลือก

    กรณีศึกษาเฉพาะตำแหน่งเจ้าหน้าที่สื่อสารกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์รายย่อย ที่สังกัดสำนักงานเขต

    ทั้งหมด 78 เขต โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ศึกษาได้ประมวลแนวคิด

    ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่จะนำมาใช้ในการศึกษา ดังน้ี

    2.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความสุข

    2.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความสุขในการทำงาน (Happiness Works)

    2.3 ข้อมูลพื้นฐานของธนาคารกรุงไทย

    2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    2.1 แนวคิดและทฤษฎีเก่ียวกับความสขุ

    2.1.1 ความหมายของความสุข

    หากกล่าวถึงคำว่า “ความสุข” เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนล้วนมีความพึงปรารถนา

    และมีความต้องการเพราะความสขุเปน็เรือ่งของความรู้สึกและอารมณ์ที่ทำให้มนุษย์เกิดความพึงพอใจ

    หรือเกิดความรู้สึกใด ๆ ก็ตามกับมนุษย์ที่รู้สึกความรู้สึกน้ันคือความสุข จากการศึกษาเอกสารและ

    งานวิจัยหลายฉบับ พบว่านักวิจัยหลายท่านได้อธิบายความหมาย นิยาม และที่มาหรือรูปแบบของคำ

    ว่าความสุข ซึ่งจากการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

    2.1.1.1 ความหมายท่ัวไป

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 25421 นิยามว่า “ความสุข”

    หรือ สุข หมายถึง ความสบายกายสบายใจ" คือ ความรู้สึกหรืออารมณ์ประเภทหน่ึง มีหลายระดับ

    ต้ังแต่ความสบายใจเล็กน้อยหรือความพอใจจนถึงความเพลิดเพลินหรือเต็มไปด้วยความสนุก มีการใช้

    แนวความคิดทางปรัชญา ศาสนา จิตวิทยา ชีววิทยาอธิบายความหมายของความสุข รวมถึงสิ่งที่ทำให้

    เกิดความสุข

    1 ราชบัณฑิตยสถาน , พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ .ศ . 2542, (กรุงเทพฯ :

    ราชบัณฑิตยสถาน, 2542), อ้างคำว่า “ความสุข.”

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 10

    ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง2 ความสุข คือ การที่มนุษย์มีความพึงพอใจกับ

    ชีวิตของตนเองร่วมกับสิ่งที่รู้สึกในแต่ละวัน ซึ่งความสุขน้ีเองที่ถูกควบคุมจากพฤติกรรมต่าง ๆ ของ

    มนุษย์เอง จากโชคชะตา สภาวะแวดล้อมรวมทั้งจากพันธุกรรม แต่อย่างไรก็ตามความสุขน้ันสามารถ

    ถูกมองว่าเป็น “ทักษะ” ที่มนุษย์สามารถฝึกฝนได้และควบคุมได้

    ขจรศักด์ิ เพ็ชรรัตน์3 ความสุข หมายถึง การประเมินของแต่ละบุคคลว่า

    ช่ืนชอบชีวิตโดยรวมของตนเองมากแค่ไหน การที่เราบอกว่าเรามีความสุข จึงหมายถึงเรารู้สึกชอบ

    หรือพึงพอใจกับชีวิตเราน่ันเอง คนที่มีความสุขน้ัน เป็นคนที่แทบจะไม่รู้สึกวิตกกังวลกับชีวิตตนเอง

    ชอบสนุกสนานอยู่กับเพื่อนฝูง และชอบประสบการณ์ใหม่ๆ มีอารมณ์มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงข้ึนลงง่าย

    และมักจะหวังว่าตนจะพบเจอสิ่งดี ๆ ในอนาคต

    เฉลิมศักด์ิ เยาวโสภา4 กล่าวว่า มนุษย์ทุกคนมีความโหยหาความสุข

    เพราะเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่มักจะไขว่คว้าหาความสุข เป็นสิ่งที่ทุกปรารถนาและพากัน

    แสวงหาตามแต่สติและปัญญา ด้วยวิธีการต่าง ๆ จึงไม่ใช่เรื่องที่แปลกที่มนุษย์ทุกต่างหาความสุข

    ให้กับตนเอง

    อภิชัย มงคลและคณะ5 ความสุขหมายถึง คุณภาพชีวิตของมนุษย์ที่เป็น

    สุข ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความสุขในการที่มนุษย์สามารถจัดการแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตได้

    มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองเพื่อให้ตนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบคลุมถึงความดีงานภายในจิตใจ

    Diener 20006 ได้ให้ความของคำว่า “ความสุข” เกิดจากองค์ประกอบ

    ของความสุข ได้แก่ ความพึงพอใจในชีวิต (Life Satisfaction) การมีความรู้สึกทางบวก (Positive

    Affect) และการไม่มีความรู้สึกทางลบ (Negative Affect) โดยบุคคลจะสามารถประเมินความพึงพอใจ

    จากหลายๆด้าน เช่น ชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว เป็นต้น ทั้งน้ีเป็นการประเมินจากอารมณ์และ

    2 ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง, “ศาสตร์ของความสุขที่คุณควรจะรู้และเข้าใจ,” nuttaputch.

    com, http://www.nuttaputch.com/science-of-happiness/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2561). 3 ขจรศักด์ิ เพ็ชรรัตน์, “การสร้างความสุขในที่ทำงาน (Happy Workplace),”

    มหาวิทยาลัยทักษิณ, https://goo.gl/BRcjcX (สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561). 4 เฉลิมศักด์ิ เยาวโสภา, “ความสุขหมายถึงอะไร ,” gotoknow.com, https://www.

    gotoknow.org/posts/464994 (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2561). 5 อภิชัย มงคลและคณะ, รายงานการวิจัยการศึกษาดัชน้ีช้ีวัดความสุขของคนไทย, (ขอนแก่น

    : โรงพิมพ์พระธรรม, 2544), 1. 6 กรพินธ คชรัตน์ และคณะ, ปันสุข ปี2 เลม่ 1, (กรุงเทพ: โครงการเสรมิสร้างความรู้และ

    พัฒนางาน Happy Workplace,2559), 3.

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 11

    ความรู้สึกจากสิ่งที่เกิดข้ึนในชีวิต โดยบุคคลที่มีความสุขจะมีความสมดุลระหว่างความรู้สึกทางบวก

    และความรู้สึกทางลบ โดยที่มีความรู้สึกทางบวกสูงกว่าทางลบ ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกทางบวกจะ

    เพิ่มข้ึนจากการประเมินของเหตุการณ์ในเชิงบวก

    ณัฐวุฒิ เผ่าทวี7 ได้แบ่งความสุขออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

    1 ความพึงพอใจ (satisfaction) เช่น ความพึงพอใจในชีวิต ความพึง

    พอใจในการทำงาน ความพึงพอใจในชีวิตเเต่งงาน เป็นต้น โดยความพึงพอใจเหล่าน้ีมีความสัมพันธ์

    หลักกับเป้าหมายในชีวิตที่มนุษย์มีบวกลบกับความเป็นจริงที่มนุษย์ได้เจอ ถ้ามีความคาดหวังอะไรไว้

    มาก ๆ แล้วไม่สามารถได้ตามที่คาดหวังเอาไว้ ความพึงพอใจของมนุษย์ก็จะลดน้อยลงกว่าเดิม ความ

    พึงพอใจตัวน้ีมีตัวแปรเป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

    2 ประสบการณ์ที่เปน็อารมณ์ของมนุษย์ในแต่ละวัน จะเป็นปัจจัยส่งผลมี

    ได้ทั้งอารมณ์ที่ดี และไม่ดีสามารถปรับตัวข้ึนลงได้ตามเวลา ข้ึนอยู่กับว่ามนุษย์กำลังใช้เวลาทำอะไรอยู่

    ในขณะน้ัน อารมณ์ตัวน้ีมีตัวเเปรที่ไม่ค่อยเกี่ยวกันกับความคาดหวังของมนุษย์

    3 ความหมายของชีวิต (meaningfulness) ความหมายในที่น้ีหมายถึง

    การที่มนุษย์รู้สึกว่ากำลังใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าหรือไม่ มนุษย์มักจะพบว่าในหลายกิจกรรมที่ใช้เวลาทำ

    กับมันไม่ค่อยให้ผลสุทธิประสบการณ์ของอารมณ์ (net affects) ที่เป็นด้านบวกสักเท่าไหร่ แต่กลับมี

    ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อความรู้สึกที่ว่าชีวิตเราน้ีมีความหมายจริง ๆ

    ด้วยเหตุผลที่ ว่าตัวเเปรหลายๆ ตัวของนิยามความสุขทั้ ง 3 น้ันไม่

    เหมือนกันเสียทีเดียว เช่น เงินซื้อความพึงพอใจในชีวิตได้ แต่กลับไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพในการเพิ่ม

    จำนวนของอารมณ์ที่ดีในแต่ละวันของเราได้ และถึงเเม้ว่าการมีลูกจะไม่มีประสิทธิผลต่อความพึง

    พอใจในชีวิตของเรามากนัก แต่การมีลูกทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของเรามีความหมายข้ึนเยอะมากกว่าแต่

    ก่อน คำถามที่สำคัญสำหรับคนเราทุกคนที่พยายามขวนขวายหาความสุขที่สมดุลในแต่ละแบบก็คือ

    เราควรให้น้ำหนักกับนิยามความสุขแบบไหนมากกว่ากัน

    2.1.1.2 ความหมายในมุมมองด้านปรัชญาและศาสนา

    พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)8 ได้กล่าวถึงความสุขที่แท้จริง

    หมายถึงความสุขที่ไม่หลอกลวง เพราะยังมีความสุขที่หลอกลวงที่เกิดข้ึนมาจากกิเลส ความโง่เขลา

    ของมนุษย์หลงเอายึดนำสิ่งที่ไม่ใช่ความสุขมาเป็นความสุขส่วนตนเสมอ ดังคำกล่าวที่เรียกว่า เห็น

    7 ณั ฐวุฒิ เผ่ าทวี , “นิยามของความสุขคืออะไร ,” ไทยพับลิ ก้ า, https://thaipublica.

    org/2016/12/nattavudh-55/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2561). 8 พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ ), งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข , พิมพ์ครั้งที่ 4

    (กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2560), 11-25.

    Ref. code: 25605903010139DQP

  • 12

    กงจักรเป็นดอกบัว ดังน้ันความสุขที่แท้จริงจะต้องมาจากความพึงพอใจที่แท้จริง และความพอใจ

    จะต้องเกิดข้ึนมาจากสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งไม่เป็นการใช้ร้ายต่อบุคคลอื่น รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

    และทุกคน

    พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)9 ความสุข หมายถึง

    ความสบาย หรือ ความสำราญ เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา และพากันแสวงหาตามแต่สติและปัญญา

    ด้วยวิธีการต่าง ๆ แยกออกได้เป็นสองฝ่าย คือ ความสุขทางกาย กับความสุขทางใจ โดยความสุขทาง

    กายความสุขทางกาย ได้แก่ ความสุขที่สัมผัสได้จากประสาททั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และผิวหนัง

    เรียกว่า "กามคุณ 5" หรือความสุขที่เกิดจากเน้ือหนังมังสา อันเป็นสิ่งสกปรก และความสุขทางใจ

    ได้แก่ ความสุขที่สัมผัสได้จากจิต คือ ความสบายใจ ความสุขใจ ความอิ่มใจ ความพอใจ อันเกิดจาก

    จิตใจที่สงบและเย็น อันเป็นความสุขที่สะอาดเป็น ความสุขที่แท้จริง ความสุขทั้งทางกายและทางใจ

    ย่อมมีส่วนสัมพันธ์กัน ไม่อาจจะแยกให้ขาดจากกันได้ เพราะต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน จะขาด

    เสียอย่างใดอย่างหน่ึงหาได้ไม่

    จากความหมายของความสุขในมุมมองศาสนา สรุปได้ว่า ความสุขเป็นสิ่ง

    ที่ทุกคนปรารถนา ความสุขจะช่วยทำให้ชีวิตมนุษย์ดีข้ึน ด้วยเจตนาที่กระทำลงไปไม่ได้เกิดจาก

    ความรู้สึกพึงพอใจเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม และการรับรู้คุณค่าของชีวิตที่เหมาะสม

    ไม่ว่าจะเป็นความสุขทางกาย หรือจิตใจ

    2.1.1.3 ความหมายในมุมมองด้านจิตวิทยา

    กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข10 ได้ให้ความหมายของความสุข

    หมายถึง การมีสภาพชีวิตที่เป็นสุข ซ