16
คำนำ รายงานวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝ่งอันดามัน เป็นรายงาน สถานการณ์ที่สานักงานสถิติจังหวัดในกลุ่มจังหวัดฯ ได้จัดทาขึ้นเพื่อรวบรวมและ ประมวลผลข้อมูลสถิติที่น่าสนใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่ม จังหวัด ระยะ 4 ปี และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตาม แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดดังกล่าว ด้วยการนาข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการกาหนด ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ ( Product Champion)/ประเด็นปัญหาที่สนใจ (Critical Issue) ห่วงโซ่คุณค่า ( Value Chain) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น ยุทธศาสตร์กับตัวแปรที่สาคัญ ที่จะนาไปสู่การกาหนดปัจจัยสู่ความสาเร็จที่เหมาะสม ด้วยข้อมูลสารสนเทศตามประเด็นต่างๆ สานักงานสถิติจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝ่งอันดามัน ได้ดาเนินการวิเคราะห์ ข้อมูลสถานการณ์แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดใน 1 ประเด็นทีเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ที1 พัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคุณภาพระดับโลกอย่าง ยั่งยืน โอกาสนี้ สานักงานสถิติจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝ่งอันดามัน ขอขอบคุณ คณะกรรมการสถิติระดับกลุ่มจังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ที่ได้อนุเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็น ผลทาให้การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนากลุ่ม จังหวัดสาเร็จลุล่วงไปด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้บริหารในพื้นที่ และผู้สนใจ

ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

ค ำน ำ

รายงานวิเคราะห์สถานการณ์ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นรายงานสถานการณ์ที่ส านักงานสถิติจังหวัดในกลุ่มจังหวัดฯ ได้จัดท าขึ้นเพื่อรวบรวมและประมวลผลข้อมูลสถิติที่น่าสนใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ระยะ 4 ปี และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดดังกล่าว ด้วยการน าข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการก าหนดผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion)/ประเด็นปัญหาที่สนใจ (Critical Issue) ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และการวิ เคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์กับตัวแปรที่ส าคัญ ที่จะน าไปสู่การก าหนดปัจจัยสู่ความส าเร็จที่เหมาะสมด้วยข้อมูลสารสนเทศตามประเด็นต่างๆ

ส านักงานสถิติจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้ด าเนินการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดใน 1 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคุณภาพระดับโลกอย่างยั่งยืน

โอกาสนี้ ส านักงานสถิติจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ขอขอบคุณคณะกรรมการสถิติระดับกลุ่มจังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ที่ได้อนุเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นผลท าให้การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในพื้นที่ และผู้สนใจ

Page 2: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ
Page 3: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

1

สถานการณ์ แนวโน้ม และยุทธศาสตร์ที่ส าคัญของ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง)

แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ระยะ 4 ปี (ปี พ.ศ. 2558 - 2561) ได้ก าหนดวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ เพื่อก าหนดทิศทางการพัฒนากลุ่มจังหวัด ดังนี ้

วิสัยทัศน์ : “การท่องเที่ยวทางทะเลทีม่ีคณุภาพระดับโลกบนฐานความเข้มแข็งของภาคเกษตรและชุมชนอย่างยั่งยืน”

ประเด็นยุทธศาสตร ์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคณุภาพระดับโลก อย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสรา้งมูลค่าเพิ่มให้สินคา้เกษตร ประมง และปศสุัตว์ ที่มีศักยภาพในพื้นที่เพือ่ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

Page 4: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

2

ข้อมูลทั่วไป

กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย พื้นที่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และจังหวัดตรัง ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีรูปร่างพื้นที่ทอดตัวเป็นแนวยาวตามแนวเหนือ-ใต้ มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลของมหาสมุทรอินเดียเป็นแนวยาวถึง 878 กิโลเมตร โดยมีลักษณะภูมิสัณฐานเป็นทิวเขาสูงติดชายฝั่งทะเลที่มีลักษณะชายฝั่งจมน้ าและเว้าๆ แหว่งๆ โดยมีเกาะริมทวีป (Continental Island) และเกาะขวางกั้น (Barrier Island) กระจายตัวตลอดแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 568 - 828 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 17,688.915 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 11,055,571.875 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ภาคใต้ มีเขตการปกครองประกอบด้วย 5 จังหวัด 34 อ าเภอ 235 ต าบล และ 1,716 หมู่บ้าน ครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นพื้นที่ทางบกและพื้นที่ทางทะเล ตลอดจนเกาะต่างๆ รวมทั้งหมด 412 เกาะ

ภาพรวมภาวะเศรษฐกจิกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง และระนอง ซึ่งกลุ่มจังหวัดนี้มีแนวโน้มการเติบโตของนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2550 มีนักท่องเที่ยวไหลเวียนเข้ามาในพื้นที่ประมาณ 9.5 ล้านคน จากปี พ.ศ. 2543 ที่มีนักท่องเที่ยวประมาณ 7.2 ล้านคน แม้ว่าในช่วงปลายปี พ.ศ.2547 จะเกิดพิบัติภัยคลื่นยักษ์สึนามิที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล ท าให้จ านวนนักท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอั นดามันลดลงกว่าครึ่ง แต่ในระยะเวลาเพียงปีกว่าการท่องเที่ยวก็พลิกฟื้นกลับมาอย่างรวดเร็ว จ านวนนักท่องเที่ยวเริ่มกลับเข้าสู่อัตราการเติบโตปกติ แต่ไม่เพิ่มสูงมาก เนื่องจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมือง และปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Page 5: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

3

ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการท่องเที่ยว และภาคเกษตรกรรมโดยมีขนาดเศรษฐกิจ 3.31 แสนล้านบาท ต่ ากว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 2.95 แสนล้านบาท สาขาเกษตร 1.11 แสนล้านบาท สาขาอุตสาหกรรมเพียง 0.23 แสนล้านบาท

ตารางที่ 1 รายได้จากการท่องเที่ยว ปี พ.ศ. 2552 - 2556 หน่วย : ล้านบาท

จังหวัด 2552 2553 2554 2555 2556 กลุ่มจังหวัด 120,802 148,786 239,652 295,444 325,437 ภูเก็ต 94,007 108,446 188,822 228,985 241,927 กระบี ่ 20,142 30,389 37,646 48,271 60,087 ตรัง 2,792 4,497 4,927 6,231 6,679 พังงา 3,017 4,026 5,678 9,177 13,494 ระนอง 843 1,428 2,579 2,780 3,250

ท่ีมา : กรมการท่องเท่ียว

จากข้อมูลศึกษาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การท่องเที่ยวของจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอันดามันเป็นแหล่งรายได้ที่ส าคัญทางเศรษฐกิจ และมีความส าคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ดังนั้น จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จึงเลือก “การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 ตามแผนพัฒนาจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ระยะ 4 ปี (ปี พ.ศ. 2558 - 2561)

ซึ่งการท่องเที่ยวทางธรรมชาติสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 อยู่ในมิติด้านเศรษฐกิจ มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ “พัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคุณภาพระดับโลก อย่างยั่งยืน” ซึ่งมีกลยุทธ์และตัวชี้วัดที่ส าคัญ ในการก าหนดให้แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเล ให้เป็นแหล่งรายได้ที่ส าคัญและยั่งยืนของกลุ่มจังหวัด

Page 6: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

4

กลยุทธ์ที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที ่1 ประกอบไปด้วย

1. พัฒนาปัจจัยพื้นฐานรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวอยา่งเพียงพอและเหมาะสม

2. พัฒนาแหลง่ทอ่งเทีย่วและกิจกรรมการท่องเทีย่วให้สอดรับกับอัตลักษณ ์อันดามันมีภมูิทศัน์สวยงาม สะอาด เช่ือมโยง วถิีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

3. รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้มให้อุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน โดยกระบวนการมีส่วนรว่มของทุกภาคสว่นในพืน้ที่

4. พัฒนาศักยภาพบุคลากรภาคบริการแหล่งทอ่งเที่ยว 5. บริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืน 6. พัฒนาด้านการตลาดและประชาสมัพันธ์

ตัวชี้วัดที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 1 ประกอบไปด้วย 1. ร้อยละของจ านวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ระหว่างปี 2558 - 2561 2. ร้อยละรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ต่อปี 3. ระดับความพึงพอใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ได้รับบริการ

สาธารณะในการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ทั้งนี้ กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาฯ สอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และปัจจัยสู่ความส าเร็จ ดังแผนภาพที่ 1

Page 7: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

5

แผนภาพท่ี 1 ห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวทางธรรมชาต ิ

วางยุทธศาสตร์/แผนการท่องเท่ียว

พัฒนาระบบบริหารจัดการการท่องเท่ียว

พัฒนาศักยภาพมัคคุเทศน์ และ

บุคลากร

พัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านท่องเที่ยว/

ทรัพยากร

พัฒนาแหล่งและกิจกรรมท่องเที่ยว

พัฒนาธุรกิจบริการการท่องเท่ียว

พัฒนาการตลาดและ

ประชาสัมพันธ์

1.1 ศึกษาแนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวของประเทศต้นแบบคู่แข่ง

2.1 การรวบรวมและจัดท าข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว

2.2 ก าหนดขีดความ สามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว

2.3 พัฒนาและเชื่อมโยงเสน้ทางท่องเที่ยวระหว่างกลุม่จังหวัดและจังหวัด

2.5 พัฒนาความร่วมมือระหว่างภาค เอกชนและกลุ่มจังหวัดในการพัฒนา การท่องเที่ยว

3.1 พัฒนาศักยภาพแรงงานวิชาชีพ และบุคลากรด้านการท่องเที่ยว

2.4 สรา้งความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน

2.6 การสร้างการมีส่วนรวมของชุมชน

4.1 การรวบรวมและจัดท าข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว

4.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า เป็นต้น

5.1 สรา้งสรรค์กิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ๆให้สอดคล้องกับความสนใจ 4.2 การ

จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวท่ียั่งยืน

6.1 การดูแลการพัฒนามาตรฐาน โรงแรมและที่พักของกลุ่มจังหวัด

6.3

7.1 ประชา สัมพันธ์สร้างภาพลักษณ ์

6.4 พัฒนามาตรฐานธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว

6.3 พัฒนามาตรฐานธุรกิจน าเที่ยว

6.2 พัฒนามาตรฐานสินค้าของฝาก และของที่ระลึกของกลุ่มจังหวัด

5.3 พัฒนาและยกระดับคุณภาพ สิ่งอ านวยความสะดวก และบริการสาธารณะในสถานท่ีท่องเที่ยว เช่น ห้องน้ าสาธารณะ ระบบขนส่งมวลชน

5.2 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

6.5 สนับสนุนธุรกิจการจดัประชุม (MICE)

การบริหารจัดการ ผลิตภัณฑ์สนิค้าและบริการ การตลาด

Page 8: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

6

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าการท่องเที่ยวยังเป็นรายได้หลักของทั้งประเทศและกลุ่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน จากการส ารวจเก็บข้อมูลผู้พักแรมโดยแบ่งตามสัญชาติ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พบว่า ตลาดนักท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่มาจากภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ รองลงมาเป็นภูมิภาคเอเชีย อเมริกา และออสเตรเลีย ตามล าดับ สังเกตได้ว่า จังหวัดภูเก็ตมีความหลากหลายของกลุ่มตลาดท่องเที่ยวค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีสินค้าท่องเที่ยวที่หลากหลายรูปแบบเป็นที่ดึงดูดของตลาดในหลายกลุ่ม ในขณะที่จังหวัดอื่นๆ เน้นรูปแบบการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจอย่างสงบท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดยุโรปเป็นอย่างมาก

ตารางที ่2 แสดงปรมิาณขนส่งผู้โดยสาร ณ ทา่อากาศยานภาคใต้ ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - 2552

ภาค/ กลุ่มจังหวัด

2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552

รวมภาคใต้ 5,791,365 7,933,381 6,469,995 8,555,911 10,256,950 9,820,678 10,147,802

กลุ่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน

3,593,629 4,825,600 3,155,585 4,697,891 5,689,679 5,747,663 5,773,325

(คิดเป็น ร้อยละของภาคใต้)

69.43 68.03 54.85 62.35 64.84 66.22 65

ระนอง - 34.22 -34.25 50.33 24.67 -2.21 1.42

ภูเก็ต 48,050 46,207 31,785 5,395 2,560 27,962 10,579

กระบี่ 3,545,579 4,779,359 3,123,834 4,692,446 5,687,094 5,719,703 5,762,745

ท่ีมา : การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย กรมการบินพลเรือน บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จ ากัด

Page 9: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

7

การเดินทางของนักท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากภายนอกมายังแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาทางถนน ทางอากาศ และทางรถไฟ ซึ ่งการเดินทางทางถนนเป็นรูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่มากนักและเป็นรูปแบบการเดินทางที่สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวก รองลงมา เป็นการเดินทางทางอากาศและทางรถไฟ โดยการเดินทางด้วยเครื่องบินมายังแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษานั้ น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน คือ กระบี่-ภูเก็ต-พังงา เนื่องจากการเดินทางทางถนนต้องใช้เวลาการเดินทางมากกว่า 10 ชั่วโมง โดยเส้นทางการบินจากกรุงเทพฯ และต่างประเทศนั้นมีให้บริการไปยังจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ สนามบินในพื้นที่ศึกษาประกอบด้วย ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ ท่าอากาศยานตรัง และท่าอากาศยานระนอง

ปัญหาการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ถึงแม้ว่าในพื้นที่ศึกษาจะมีสนามบินพาณิชย์ในเกือบทุกจังหวัดซึ่งในจังหวัดระนอง กระบี่ และตรัง ความสามารถในการรองรับปริมาณผู้โดยสารและเที่ยวบินยังสามารถรองรับได้ แต่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตปัจจุบันปริมาณเที่ยวบินและปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้สนามบินเริ่มจะเต็มความจุของสนามบิน ซึ่งจากข้อมูลของบริษัท ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จ ากัด (มหาชน) ปริมาณผู้โดยสารล่าสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 มีปริมาณเที่ยวบินมาใช้ท่าอากาศยานนานาชาติเมืองภูเก็ตทั้งสิ้น 46,132 เที่ยวบิน (126 เที่ยวต่อวัน) และมีผู้โดยสาร 6,769,502 คน (18,546 คนต่อวัน) ซึ่งพบว่าเริ่มเกินความจุของสนามบินที่จะรองรับได้ (6.5 ล้านคน) จ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องด าเนินการขยายสนามบินเพิ่มเติมเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจึงได้ก าหนดแผนพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตสู่ความเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเพื่อให้ท่าอากาศยานภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการบินในภาคใต้ที่สามารถรองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวได้ 12.5 ล้านคนต่อปี และสามารถขนถ่ายสินค้าได้มากกว่า 30,000 เมตริกตัน/ปี

Page 10: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

8

ตารางที่ 3 จ านวนห้องพักส าหรับนักท่องเที่ยวในแต่ละวันของกลุม่จังหวัด ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - ปี พ.ศ. 2556

จังหวัด 2552 2553 2554 2555 2556 กลุ่มจังหวัด 59,534 64,062 86,462 86,382 79,453 ภูเก็ต 37,884 44,330 57,679 53,814 46,007 กระบี ่ 12,446 10,808 15,529 18,692 18,122 ตรัง 2,265 2,046 3,197 3,103 3,268 พังงา 5,803 5,841 7,688 7,995 9,289 ระนอง 1,136 1,037 2,369 2,778 2,767

ท่ีมา : ส านักงานสถิติแห่งชาติ

อย่างไรก็ดี ในปี 2552 จ านวนห้องพักส าหรับนักท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด มีจ านวน 59,534 ห้อง และเพิ่มขึ้นเป็น 79,453 หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 33.46 ของจ านวนห้องพักทั้งหมด จ านวนห้องพักที่เพิ่มขึ้นสูงสุดมาจากจังหวัดพังงา โดยเพิ่มขึ้นจาก 5,803 ห้อง ในปี 2552 เป็น 9,289 ห้อง ในปี 2556 ส่งผลต่อรายได้การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดโดยตรงในช่วงเวลาที่ผ่านมา

แผนภมูิที่ 1 จ านวนนักท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามนั ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - ปี พ.ศ. 2556

ท่ีมา : กรมการท่องเท่ียว

7,510,459 10,058,826

14,674,385 17,399,123

19,937,094

-

5,000,000

10,000,000

15,000,000

20,000,000

25,000,000

2552 2553 2554 2555 2556

(คน)

ปี

Page 11: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

9

แผนภมูิที่ 2 รายได้จากการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - ปี พ.ศ. 2556

ท่ีมา : ส านักงานสถิติแห่งชาติ

อย่างไรก็ดี ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายในการท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยในปี 2552 มีรายได้จากการท่องเที่ยว 120,802 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 325,437 ล้านบาท ในปี 2556 จากการศึกษาวิเคราะห์สถิติแนวโน้มการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวในระดับโลกขององค์การท่องเที่ยวโลก จะเห็นได้ว่าในช่วง 6 ทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในบางช่วงเช่นในปี พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2543 จะเป็นช่วงที่อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวขยายตัวอย่างรวดเร็ว สูงกว่าอัตราเฉลี่ยที่ได้คาดการณ์ไว้ ในขณะที่บางช่วงตัวเลขสถิติของนักท่องเที่ยวอาจชะลอตัวหรือลดลงไปบ้าง เช่น ในปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2546 ซึ่งท าให้อัตราการเติบโตของช่วงที่ดีทดแทนในช่วงที่ประสบภาวะวิกฤตได้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลายเป็นสาขาทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมด้านอื่นๆ มีจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมาย โดยเฉพาะในประเทศก าลังพัฒนา มาแข่งขันกับจุดหมายปลายทางที่มีมาช้านาน เช่น ยุโรปตะวันตก และอเมริกาเหนือ ส่งผลให้สัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศก าลังพัฒนาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31 ในปี พ.ศ. 2533 เป็นร้อยละ 45 ในปี พ.ศ. 2551 ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีของกลุ่มจังหวัดที่จะก าหนดต าแหน่งการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ชัดเจน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบต่อไป

120,802 148,786 239,652

295,444 325,437

-

100,000

200,000

300,000

400,000

2552 2553 2554 2555 2556

(ล้านบาท)

ปี

Page 12: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

10

ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เพื่อก าหนดห่วงโซ่ คุณค่าและปัจจัยสู่ความส าเร็จที่ส าคัญ พบว่า จ านวนสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจ านวนห้องพัก/ นักท่องเที่ยวที่สามารถให้บริการได้ในแต่ละวันและจ านวนที่พักโฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์ธรรมชาติที่บริหารโดยชุมชนและชาวบ้านเป็นตัวแปรที่ส าคัญในการเลือกห่วงโซ่มูลค่า จึงมีการก าหนดสมการความสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ดังน้ี

สมการความสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ทีม่ีศักยภาพ : รายได้จากการท่องเทีย่วทางธรรมชาติ Y “รายได้จาก

การท่องเที่ยวฯ” = X1 + X2 + X3

รายได้จากการท่องเทีย่วทางธรรมชาต ิ

จ านวนสถานประกอบการธุรกิจท่องเทีย่ว

จ านวนห้องพัก/ นักท่องเที่ยวที่สามารถให้บริการได้ในแต่ละวัน

จ านวนที่พักโฮมสเตย์เชิงอนุรักษ์ธรรมชาติที่บริหารโดยชุมชนและชาวบ้าน

สมการความสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของการจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์ที่ 1 โดยน าตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์มาเป็นตัวแปรเพื่อค้นหาความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนและยืนยัน ทิศทางการจัดสรรงบประมาณของจังหวัด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีข้อจ ากัด จึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์จากรายได้จากการท่องเที่ยวและจ านวนสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และจ านวนห้องพัก/นักท่องเที่ยวทีส่ามารถให้บริการได้ในแต่ละวัน

Page 13: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

11

ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์ สามารถก าหนดสมการความสัมพันธ์ของจ านวนนักท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด (ล้านบาท) โดยเป็นการอธิบายแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจ านวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นตามปี หรือระยะเวลา ซึ่งมีแนวโน้มแปรปรวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสมการรายได้จากจ านวนนักท่องเที่ยวตามอนุกรมเวลา กลุ่มจังหวัด คือ Y = 3000000x + 4E + 06 มีค่าสัมประสิทธิ์ของสมการเป็นบวกที่ 3,000,000x และมีค่า R2 หรือความสามารถในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงผลผลิตด้วยสมการเชิงเส้นที่ 0.9883 อย่างไรก็ตามด้วยข้อจ ากัดของข้อมูล จึงเป็นการท านายเพียงจ านวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีปีละ 3,000,000 คนต่อปี แต่ไม่สามารถสรุปผลความสัมพันธ์ได้อย่างชัดเจน

แผนภมูิที่ 3 วิเคราะห์แนวโน้มของรายได้จากการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต ้ฝั่งอันดามัน ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - ปี พ.ศ. 2556

ท่ีมา: จากการค านวณ

ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์ สามารถก าหนดสมการความสัมพันธ์ของรายได้จากการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด (ล้านบาท) โดยเป็นการอธิบายแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นตามปี หรือระยะเวลา ซึ่งมีแนวโน้มแปรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสมการรายได้จากการท่องเที่ยวตามอนุกรมเวลาของกลุ่มจังหวัด คือ Y = 55593x + 59246 มีค่าสัมประสิทธ์ของสมการเป็นบวกที่ 55,593x และมีค่า R2 หรือความสามารถในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงผลผลิตด้วยสมการเชิงเส้นที่ 0.9681อย่างไรก็ตามด้วยข้อจ ากัดของข้อมูล จึงเป็นการท านายเพียงรายได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปีละ 55,593 ล้านต่อปี แต่ไม่สามารถสรุปผลความสัมพันธ์ได้อย่างชัดเจน

y = 3E+06x + 4E+06R² = 0.9883

- 5,000,000

10,000,000 15,000,000 20,000,000 25,000,000

2552 2553 2554 2555 2556

(คน)

ปี

Page 14: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

12

แผนภมูิที่ 4 วิเคราะห์แนวโน้มรายได้จากการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอันดามันระหว่างปี พ.ศ. 2552 – ปี พ.ศ. 2556

ท่ีมา : จากการค านวณ

ทั้งนี้ ทิศทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ได้จัดท ายุทธศาสตร์ส าคัญ 6 ประเด็น ซึ่งให้ความส าคัญกับการพัฒนาทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่ของส านักงานสถิติแห่งชาติแบ่งออกเป็น 3 ด้าน โดยมีรายการข้อมูลหรือสถิติที่ส าคัญจ าเป็นต่อการพัฒนาพื้ นที่ 21 สาขาครอบคลุมทั้ งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกัน และในส่วนของแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ที่ก าหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนานั้น ในกระบวนการจัดท าได้มีการทบทวนและน าแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และวาระแห่งชาติต่างๆ ใช้ประกอบในการก าหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ แล้วด้วย ดังนั้น การพัฒนาข้อมูลให้มีเพียงพอ จึงเป็นเรื่องส าคัญที่จะช่วยตอบสนองในการจัดท าแผนหรือการก าหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่นั้นๆ ได้

y = 55593x + 59246R² = 0.9681

-

50,000

100,000

150,000

200,000

250,000

300,000

350,000

400,000

2552 2553 2554 2555 2556

(ล้านบาท)

ปี

Page 15: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ

13

รายงานสถานการณ์การจัดท าข้อมูลเชิงพื้นที่ระดับกลุ่มจังหวัดด้านเศรษฐกิจนี้ เป็นการรวบรวมประมวลข้อมูลที่น่าสนใจต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด 4 ปี (ปี 2558 – 2561) และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ด้วยการน าข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการก าหนดผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญ และห่วงโซ่คุณค่า และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์กับตัวแปรที่ส าคัญ ที่จะน าไปสู่การก าหนดปัจจัยสู่ความส าเร็จที่เหมาะสมด้วยข้อมูลสารสนเทศซึ่ง ในยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคุณภาพระดับโลกอย่างยั่งยืน “การท่องเที่ยวทางทะเล” มีการใช้รายงานสถิติทางการระดับกลุ่มจังหวัดด้านเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย 2 สาขาที่ส าคัญ คือ สาขาบัญชีประชาชาติ และสาขาท่องเที่ยว

Page 16: ค ำน ำosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file... · 2015-03-03 · 3 ในปี 2555 เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันขึ้นอยู่กับภาคการ