49

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

  • Upload
    others

  • View
    8

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
Page 2: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพ

ระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Page 3: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

ชื่อหนังสือ : คู่มือแนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ISBN : 978-616-11-0730-7

จัดทำโดย : กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข

ถนนติวานนท์อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี

โทรศัพท์025904319โทรสาร025904321

พิมพ์ครั้งที่ 1 : มิถุนายน2554จำนวน 500 เล่ม

พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ)จำกัด

พิมพ์ครั้งที่ 2 : สิงหาคม2554 จำนวน 2,000 เล่ม

พิมพ์ที่ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

Page 4: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

ตาม พ.ร.บ.การกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 กำหนดให้งานสาธารณสุขด้านการสร้างเสริม

สุขภาพ การรักษาพยาบาล การป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อ เป็นภารกิจที่ต้องถ่ายโอนให้กับ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น ภารกิจต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะงาน

ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต การบริหารจัดการงาน

ด้านสุขภาพและงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

ทำอย่างไรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพัฒนาการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ให้เกิดความเข้มแข็ง มีกระบวนการทำงานที่มีคุณภาพได้มาตรฐานวิชาการ เป็นที่ยอมรับ สู่ผลลัพธ์

การดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน

กรมอนามัย จึงได้สร้างเครื่องมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพ ได้แก่ คู่มือการพัฒนาคุณภาพระบบ

บริการอนามัยสิ่งแวดล้อมฯ และคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมฯ เพื่อให้องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

และยั่งยืน รวมถึงเกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง แบบการประเมินตนเองตามคู่มือแนวทาง

การประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเป็นเครื่องมือ

สำคัญในการค้นหาโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับบริบท

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องจึงต้องมีการตรวจประเมิน

ความก้าวหน้า และปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานตลอดเวลา เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐาน

การทำงานไปสู่มาตรฐานตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ตลอดจน

เป็นหลักประกันคุณภาพที่น่าเชื่อถือในการบริหารจัดการองค์กรสู่การบริการและคุ้มครองสิทธิของ

ประชาชนให้ได้รับบริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ

กรมอนามัย

คำนำ

Page 5: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

สารบัญ

หน้า

คำนำ

สารบัญ

❖ การประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1

❖ หลักเกณฑ์การประเมินและรับรองคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม 3

❖ แนวทางการประเมินและรับรองการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม 4

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

❖ แบบประเมินตนเองการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม 8

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

❖ แบบรายงานผลคะแนนการประเมินตนเอง 17

❖ ภาคผนวก 19

• คำอธิบายประเด็นการประเมินในแบบประเมินตนเอง 21

•ตารางกำหนดค่าน้ำหนัก 40

❖ บรรณานุกรม 43

❖ ที่ปรึกษาและคณะผู้จัดทำ 44

Page 6: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข �

การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

จะต่อเนื่องยั่งยืนได้ ต้องมีการตรวจประเมินคุณภาพ (Quality Audit หรือ Quality Survey) ซึ่งจะเป็น

กลไกที่สำคัญยิ่งสำหรับการคงอยู่ของระบบคุณภาพ และการคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของระบบคุณภาพ ทั้งยัง

เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการค้นหาโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน และสอดคล้อง

กับบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการตรวจประเมิน

ความก้าวหน้า และปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานตลอดเวลา

การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมอนามัย

กระทรวงสาธารณสุข ได้ประยุกต์จาก การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) และ

ข้อกำหนดจากประสบการณ์ของต่างประเทศและประเทศไทย

เกณฑ์การประเมินคุณภาพเป็นกรอบการประเมินความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพระบบบริการ

อนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปท. สามารถใช้เกณฑ์ฯ ดังกล่าวนี้เป็นกรอบแนวทาง

ในการติดตามและประเมินผลระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรตนเอง ผลการประเมินตนเอง

สามารถบ่งชี้ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กร และ

สะท้อนให้เห็นถึงระดับการพัฒนาขององค์กร ตั้งแต่การวางระบบ (Policy Guideline) ทำตามระบบ

(Implement the Guideline) วัด/ทบทวน/ตรวจสอบ (Monitor /Review) ปรับปรุง (Action) ซึ่งเป็น

แนวทาง “การปรับปรุงทีละขั้น” อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง องค์กรที่มีการพัฒนา/ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

และสามารถดำเนินการผ่านเกณฑ์คุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมฯ โดยการประเมินตนเอง

อย่างสม่ำเสมอจะส่งผลให้องค์กรนั้นๆ ได้รับประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง และมีความพร้อมก้าวเข้าสู่

การประเมินและรับรองคุณภาพจากกรมอนามัย หรือองค์กรภายนอกต่อไป

กระบวนการการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

1. ลักษณะสำคัญขององค์กร

2. เกณฑ์คุณภาพการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

ระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การประเมินคุณภาพ

Page 7: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น�

ส่วนที่ 1 ลักษณะสำคัญขององค์กร

คือ การแสดงบริบทภาพรวมในปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจองค์กรตนเองมากขึ้น

ส่วนที่ 2 เกณฑ์คุณภาพการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 7 หมวด

หมวด 1 การนำองค์กร

1.1 การกำหนดวิสัยทัศน์/ค่านิยม/ยุทธศาสตร์

1.2 การถ่ายทอดสู่หน่วยงาน

1.3 การติดตามกำกับดูแล

1.4 การทบทวนผล

1.5 นำผลทบทวนไปปรับปรุง

หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

2.1 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย

2.2 การถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3.1 การเรยีนรูแ้ละรบัฟงัความตอ้งการ ความคาดหวงัของผูร้บับรกิารและผูม้สีว่นไดส้ว่นเสยี

3.2 การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

4.1 การวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานขององค์กร

4.2 การจัดการสารสนเทศและความรู้

หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

5.1 การจัดระบบงาน

5.2 การบริหารทรัพยากรบุคคล

5.3 การสร้างความพึงพอใจ/ความผาสุกของบุคลากร

Page 8: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข �

หมวด 6 การจัดการกระบวนการ

6.1 การพัฒนากระบวนงานสร้างคุณค่า/สนับสนุน

6.2 การกำหนดกระบวนการ การจัดทำข้อกำหนดที่สำคัญจากผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้

ส่วนเสีย การออกแบบกระบวนการ การนำกระบวนการไปปฏิบัติ การประเมินและปรับปรุงกระบวนการ

(คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานฯ: SOP)

หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

7.1 มิติด้านประสิทธิผล ผลลัพธ์ตามแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านอนามัย

สิ่งแวดล้อม

7.2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ ผลลัพธ์ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการ

ให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

7.3 มิติด้านประสิทธิภาพ ผลลัพธ์การดำเนินงานได้ตามระยะเวลาของมาตรฐาน

การปฏิบัติงานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

7.4 มิติด้านพัฒนาองค์กร ผลลัพธ์การพัฒนาองค์กร ด้านทรัพยากรบุคคล ด้าน

ระบบฐานข้อมูล ด้านการจัดการความรู้อนามัยสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์ทั้ง 7 หมวดดังกล่าว หมวด 1 - 6 คือ ส่วนที่เป็นกระบวนการ หมวด 7 คือส่วนที่เป็นผลลัพธ์

ของกระบวนการ (จากหมวด 1 - 6)

หลักเกณฑ์การประเมินและรับรองคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

(Environmental Health Accreditation, EHA)

หลักเกณฑ์การประเมินและรับรองคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นการประเมิน

คุณภาพการบริหารจัดการกระบวนการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์คุณภาพขององค์กร เกณฑ์การประเมินและรับรอง

คุณภาพฯ ประกอบด้วย สาระสำคัญของเกณฑ์และเกณฑ์การรับรอง มีรายละเอียดดังนี้

สาระสำคัญของเกณฑ์

สาระสำคัญของเกณฑ์การประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมในแต่ละหมวด

คือ ประเด็นการประเมินมี 7 หมวด หมวด 1 - 7 มี 10, 9, 12, 12, 7, 7 และ 6 ประเด็น ตามลำดับ

แต่ละประเด็นมีค่าน้ำหนักกำกับตามความสำคัญ (หมวด 1−6 มีค่าน้ำหนัก หมวดละ 100 หมวด 7

มีค่าน้ำหนัก 400) ผลการดำเนินการ (ดำเนินการเท่ากับ 1 ไม่ดำเนินการเท่ากับ 0) และคะแนนรวม (คะแนน

Page 9: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น�

เต็ม 1,000 คะแนน ประกอบด้วย คะแนนเต็มหมวด 1− 6 หมวดละ 100 คะแนน หมวด 7 มี 4 มิติ ๆ ละ

100 คะแนน รวม 400 คะแนน) รวมถึงหลักฐานหรือสิ่งที่ปรากฏ เพื่อสามารถบ่งบอกถึงสถานการณ์

ที่เป็นจริงของการบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาไปสู่ระดับการประเมินเพื่อการ

รับรองคุณภาพต่อไป

ประเดน็การประเมนิใน “แบบประเมนิตนเองการพฒันาคณุภาพระบบบรกิารอนามยัสิง่แวดลอ้ม

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” มีเนื้อหาครอบคลุมกระบวนการ/ขั้นตอนในการประเมินหมวด 1–6

ตามวงจร P D C A โดยกำหนดค่าน้ำหนักเป็นสัดส่วน 5 : 3 : 1 : 1 (ดูรายละเอียดค่าน้ำหนักรายประเด็น

ในแต่ละหมวดที่ภาคผนวก) และผลลัพธ์ของกระบวนการ (หมวด 7) ดังนี้

กระบวนการ/ขั้นตอนในการประเมินหมวด 1 – 6 เป็นการประเมินวงจร P D C A ที่องค์กร

ได้ตอบตามประเด็น/หัวข้อการประเมิน ได้แก่

1. ประเมินการวางระบบ (Policy Guideline : P) ประเมินว่า องค์กรมีแนวทางอย่างชัดเจน

ในการกระทำเรื่องต่างๆ ตามหัวข้อการประเมินนั้นหรือไม่ การวางระบบ คือ มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน

สามารถทำซ้ำได้ สามารถวัดผลได้ และสามารถคาดการณ์ในอนาคตได้

2. ประเมินการทำตามระบบ (Implement the Guideline หรือ Deploy : D) ประเมินว่า

องค์กรมีการนำแนวทางที่กำหนดไว้นั้นไปปฏิบัติอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร

3. ประเมินการวัด/ทบทวน/ตรวจสอบ (Monitor /Review หรือ Check : C)

4. ประเมินความสอดคล้องของผลการปฏิบัติกับเป้าหมายขององค์กรเพื่อปรับปรุง (Action

หรือ Act : A)

ผลลัพธ์ของกระบวนการ (หมวด 7)

เป็นการประเมินผลลัพธ์ของกระบวนการ ครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านประสิทธิผล มิติด้าน

คุณภาพการให้บริการ มิติด้านประสิทธิภาพ และมิติด้านพัฒนาองค์กร

แนวทางการประเมินและรับรองการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ขั้นตอนการประเมินตนเอง

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขอรับคำแนะนำจากศูนย์อนามัยที่ 1 – 12

2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

ตามคู่มือ

Page 10: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข �

2.1 คู่มือการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

2.2 คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม (SOP)

2.3 คู่มือแนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

3. กรณีตรวจพบว่าเรื่องใดยังไม่อยู่ในระดับที่พอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์ อปท.สามารถปรับปรุง

และประเมินซ้ำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงตลอดเวลา

4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขอรับการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพจากกรมอนามัย กรณี

ดำเนินการ “ ผ่าน ” เกณฑ์คุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมฯ ด้วยการประเมินตนเอง โดย

ส่งผลการประเมินตนเองให้กับหน่วยงานกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ ศูนย์อนามัยในพื้นที่ และ

เตรียมหลักฐานหรือสิ่งที่ปรากฏ เพื่อสามารถบ่งบอกถึงสถานการณ์ที่เป็นจริงของการดำเนินการตามประเด็น

การประเมิน

ขั้นตอนการประเมินและรับรองโดยกรมอนามัย

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งผลการประเมินตนเองให้กับหน่วยงานกรมอนามัย กระทรวง

สาธารณสุข ได้แก่ ศูนย์อนามัยในพื้นที่ อปท. ที่มีผลการประเมินตนเอง มีคะแนนรวม 800 คะแนน ขึ้นไป

ประกอบด้วย ผลการดำเนินงานหมวด 7 ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป และผลการประเมินตนเองในภาพรวม

(หมวด 1−7) ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไปและเตรียมพร้อมหลักฐานหรือสิ่งที่ปรากฏ เพื่อสามารถบ่งบอกถึง

สถานการณ์ที่เป็นจริงของการดำเนินการตามประเด็นการประเมินเพื่อรองรับการตรวจประเมินจากกรมอนามัย

2. กรมอนามัยกำหนดทีมประเมิน ประกอบด้วย หน่วยงานส่วนกลาง ศูนย์อนามัย และ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือหน่วยงาน/สถาบันที่กรมอนามัยกำหนด ดำเนินการนัดหมายและ

เข้าประเมิน อปท.

3. กรมอนามัยแจ้งผลการประเมินรับรองให้อปท. รับทราบ

เกณฑ์การรับรองการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

คณะผู้ตรวจประเมิน ได้แก่ กรมอนามัยหรือหน่วยงาน/สถาบันที่กรมอนามัยกำหนด จะเป็น

ผู้ตรวจประเมิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลการประเมินตนเอง มีคะแนนรวม 800 คะแนน ขึ้นไป

ประกอบด้วย ผลการดำเนินงานหมวด 7 ตั้งแต่ ร้อยละ 80 ขึ้นไป และผลการประเมินตนเองในภาพรวม

(หมวด 1−7) ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป

กรณีที่คณะผู้ตรวจประเมินดำเนินการตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน รวมถึงอาจมีการสัมภาษณ์

ณ หน่วยผู้รับตรวจ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) แล้วพบว่า องค์กรมีหลักฐานตามที่ปรากฏในรายงาน

ผลการประเมินตนเองหรือผลการดำเนินการจริงตามที่ระบุในรายงาน กรมอนามัยจะให้การรับรองการพัฒนา

คุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Page 11: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น�

กรณีที่คณะผู้ตรวจประเมินตรวจสอบเอกสาร หลักฐานรวมถึงอาจมีการสัมภาษณ์ ณ หน่วย

ผู้รับตรวจ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) แล้ว ไม่พบหลักฐานตามที่ปรากฏในรายงานผลการประเมินตนเอง

หรือผลการดำเนินการจริงไม่ดีตามที่ระบุในรายงาน องค์กรผู้รับการตรวจจะไม่ได้รับการรับรองฯ

การประเมิน เป็นการมองเชิงบวก กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ข้อใด

ก็สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น กรณีที่ได้รับการรับรองฯ แล้ว องค์กรสามารถพัฒนาต่อยอดตนเองเพื่อยกระดับ

การพัฒนาต่อไป

แผนภูมิกระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพ

ทำตามระบบ (Implement the

guideline)

วัด/ทบทวน/ตรวจสอบ (Monitor/Review)

วางระบบ (Policy guideline)

ปรับปรุง (Action)

พัฒนาคุณภาพ

ประเมินตนเอง

ประเมินและรับรอง โดยองค์กรภายนอก

Page 12: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข �

การพัฒนาคุณภาพ ระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แบบประเมินตนเอง

Page 13: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น�

ประเด็นการประเมิน น้ำหนัก (A)

ผลการดำเนินการ (B) ดำเนินการ

(1) ไม่ได้

ดำเนินการ (0)

หลักฐานหรือ สิ่งที่ปรากฏ

หมวด 1 การนำองค์กร 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม เป้าประสงค์หรือผลการดำเนินการที่คาดหวัง ขององค์กรด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการสื่อสารนโยบายและ

ทิศทางการดำเนินงานสู่การปฏิบัต ิ

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการติดตามและประเมิน

ผลการรับรู้และเข้าใจทิศทางและการสื่อสาร เกี่ยวกับ

วิสัยทัศน์ ค่านิยม เป้าประสงค์หรือผลการดำเนินการ

ที่คาดหวังขององค์กรด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

4. องคก์รปกครองสว่นทอ้งถิน่มกีารทบทวนความสอดคลอ้ง

ของทิศทางการดำเนินงาน กับวิสัยทัศน์ พันธกิจและ

ความคาดหวังขององค์กร

5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ

ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และแผนการประเมินผลการ

ปฏิบัติงาน

6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายงานผลการประเมิน

และทบทวนการปฏิบัติงานเพื่อการปรับปรุงผลการ

ดำเนินงานดีขึ้น 7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบาย/แผนงาน/ โครงการ/วิธีการเพื่อส่งเสริมให้มีการนำการกำกับดูแล องค์กรที่ดีไปสู่การปฏิบัติที่ครอบคลุมด้านรัฐ สังคม สิ่งแวดล้อม ด้านผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้าน องค์การ และด้านผู้ปฏิบัติงาน ครบทั้ง 4 ด้าน รวมถึง การจดัการผลกระทบทางลบทีเ่กดิขึน้จากการปฏบิตังิาน ขององค์กร

แบบประเมินตนเอง

การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

100

25

10

5

5

25

3

10

Page 14: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข �

ประเด็นการประเมิน น้ำหนัก (A)

ผลการดำเนินการ (B) ดำเนินการ

(1) ไม่ได้

ดำเนินการ (0)

หลักฐานหรือ สิ่งที่ปรากฏ

4

10

3

100

20

10

15

10

8. มีการรายงานและทบทวนผลการดำเนินงานตาม

แผนงาน/โครงการ/วิธีการ การกำกับดูแลองค์กรที่ดี

และการจัดการผลกระทบทางลบ เพื่อจัดทำเป็น

ข้อเสนอในการปรับปรุงต่อไป

9. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดทำแผนภาพ

(flow chart) ของกระบวนการควบคุมภายใน

10. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการรายงานผลการควบคุม

ภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

และมีการปรับปรุงพัฒนา

หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดทำแผนปฏิบัติ

ราชการ (4 ปี และ 1 ปี) และจัดทำแผนภาพ (Flow

chart)

2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีกระบวนการรวบรวมและ

วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นปัจจัยภายใน ภายนอก มาใช้ใน

การจัดทำแผน ประกอบด้วยข้อมูล วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ตลอดจนปัจจัยที่ เป็นความเสี่ ยงที่ทำให้ ไม่บรรลุ

เป้าหมาย

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนการบริหารทรัพยากร

บุคคลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและมีการทบทวนให้

สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ ( 4 ปี และ 1 ปี)

4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีช่องทางการสื่อสารและ

สร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตามแผน

Page 15: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น�0

ประเด็นการประเมิน น้ำหนัก (A)

ผลการดำเนินการ (B)

ดำเนินการ (1)

ไม่ได้ ดำเนินการ (0)

หลักฐานหรือ สิ่งที่ปรากฏ

10

5

10

15

5

100

10

10

5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและ

เป้าหมายสู่หน่วยงานปฏิบัติโดยจัดทำแผนปฏิบัติงาน

ประจำปี (Gantt Chart) และการมอบหมายงาน

รายบุคคลอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายงานผลการดำเนินงาน

ตามตัวชี้วัดและเป้าหมายตามความถี่ที่กำหนดและ

สรุปประเมินผลประจำป ี

7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อเสนอแนะเพื่อการ

ปรับปรุงการปฏิบัติงานในอนาคต

8. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดทำแผนบริหาร

ความเสี่ยงของโครงการที่สำคัญ อย่างน้อย 1 โครงการ

ต่อปี

9. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานสรุปผลการ

ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง

หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการกำหนดกลุ่มผู้รับ

บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามพันธกิจที่แสดงถึง

ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม

2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีช่องทางการรับฟังและ

เรียนรู้ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้

สว่นเสยีจากการบรกิารปจัจยัทีเ่กดิผลกระทบตอ่สขุภาพ

ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น การสำรวจ การสัมภาษณ์

เว็บบอร์ด หรือการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

Page 16: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ประเด็นการประเมิน น้ำหนัก (A)

ผลการดำเนินการ (B) ดำเนินการ

(1) ไม่ได้

ดำเนินการ (0)

หลักฐานหรือ สิ่งที่ปรากฏ

5

5

10

10

20

5

5

5

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ

เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และจัดการข้อร้องเรียน/

ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น/คำชมเชยด้านอนามัย-

สิง่แวดลอ้ม

4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์

และวางแผนเพื่อปรับปรุงคุณภาพงานได้อย่างรวดเร็ว

เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อมูลและช่องทางการ

ติดต่อของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ เป็น

เครือข่าย

6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีกิจกรรมการสร้างความ

สัมพันธ์กับกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีวิธีการ/กลไก/เพื่อให้ผู้รับ

บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการ

ร่วมรับรู้ เรียนรู้ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมเสนอ

ปัญหาหรือประเด็นที่สำคัญ ร่วมคิดแนวทางการ

แก้ปัญหา เช่น การร่วมเป็นคณะกรรมการ/คณะทำงาน

ร่วมวางแผนงาน/โครงการ รวมทั้งการร่วมดำเนิน

กิจกรรมของท้องถิ่นหรือให้บริการสาธารณะด้านอนามัย

สิ่งแวดล้อม

8. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการรายงาน/ประเมินผล

เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้สูงขึ้น

9. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายงานผลการวัดความ

พึงพอใจของผู้รับริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 10. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำผลการวัดความพึงพอใจ

ที่ได้รับมาวางแผนและปรับปรุงคุณภาพการทำงาน

Page 17: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ประเด็นการประเมิน น้ำหนัก (A)

ผลการดำเนินการ (B) ดำเนินการ

(1) ไม่ได้

ดำเนินการ (0)

หลักฐานหรือ สิ่งที่ปรากฏ

10

5

100

5

10

10

5

10

5

5

11. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการกำหนดขั้นตอน ระยะ

เวลา ผู้รับผิดชอบการให้บริการโดยจัดทำเป็นแผนภาพ

ประกาศให้ประชาชนทราบ

12. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำคู่มือในการกำหนด

วิธีปฏิบัติงานของบุคลากรในการให้บริการ

หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการวิเคราะห์ ทบทวนและ

ปรับปรุงข้อมูลที่สำคัญต่อการบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

2. องคก์รปกครองสว่นทอ้งถิน่มรีะบบฐานขอ้มลูการบรกิาร

อนามัยสิ่งแวดล้อม

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบริการสืบค้นข้อมูลและ

ความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ผ่านระบบเทคโนโลยี

สารสนเทศ

4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการประเมินผลระบบ

เทคโนโลยีสารสนเทศและนำไปปรับปรุงการบริการ

ให้ครบถ้วน

5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบการติดตามเฝ้าระวัง

เตือนภัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายงานสารสนเทศให้

ผู้บริหารได้ใช้ในการกำหนดนโยบายด้านอนามัย-

สิ่งแวดล้อม

7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการปรับปรุงระบบการ

ติดตามการเฝ้าระวัง เตือนภัย ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Page 18: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ประเด็นการประเมิน น้ำหนัก (A)

ผลการดำเนินการ (B)

ดำเนินการ (1)

ไม่ได้ ดำเนินการ (0)

หลักฐานหรือ สิ่งที่ปรากฏ

10

10

10

10

10

100

30

25

4

3

8. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบรักษาความมั่นคง

และปลอดภัยของระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ

9. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการกำหนดสิทธิในการ

เข้าถึงข้อมูล อย่างน้อย 1 ระบบ

10. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลการปฏิบัติตามแผน

แกไ้ขปญัหาจากสถานการณค์วามไมแ่นน่อนและภยัพบิตั ิ

ที่อาจจะเกิดกับระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ

11.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนการจัดการความรู้

ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม อย่างน้อย 1 แผน

12.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลการดำเนินงานตาม

แผนการจัดการความรู้ได้สำเร็จครบถ้วนทุกกิจกรรม

หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่มี

ผลต่อความผาสุก ความพึงพอใจของบุคลากร เช่น

นโยบายการบริหารงาน ความโปร่งใส ความเป็นธรรม

การให้ค่าตอบแทน ความมั่นคงในงาน การพัฒนา/

ฝึกอบรม ความก้าวหน้าในงาน การยกย่องชมเชยฯ

2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนและดำเนินการตาม

แผนการสร้างความผาสุก ความพึงพอใจของบุคลากร

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลการประเมินความผาสุก

ความพึงพอใจและผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายงานผลการดำเนินงาน

ตามแผนปฏิบัติงาน

Page 19: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ประเด็นการประเมิน น้ำหนัก (A)

ผลการดำเนินการ (B)

ดำเนินการ (1)

ไม่ได้ ดำเนินการ (0)

หลักฐานหรือ สิ่งที่ปรากฏ

10

25

3

100

20

10

10

20

20

10

5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการสำรวจความพึงพอใจ

ที่มีต่อการพัฒนาบุคลากร

6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเกณฑ์การประกันคุณภาพ

ของการฝึกอบรม

7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการประเมินผล

การฝึกอบรม

หมวด 6 การจัดการกระบวนการ

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการกำหนดกระบวนการ

บริการ/ขั้นตอน/ระยะเวลาการปฏิบัติงาน/ข้อกำหนด

ที่สำคัญและตัวชี้วัดที่สำคัญของกระบวนการด้าน

อนามัยสิ่งแวดล้อม (ซึ่งข้อกำหนดที่สำคัญพิจารณาจาก

ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ข้อกำหนดด้านกฎหมาย ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าของ

กระบวนการ)

2. องคก์รปกครองสว่นทอ้งถิน่มกีระบวนการ (Procedure)

ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายงานการติดตามผล

และนำผลมาปรับปรุงกระบวนการ

4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนสำรองฉุกเฉินและ

สื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนรับทราบ

5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติ

งานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น (SOP)

6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการสื่อสารสร้างความ

เข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน และนำไปปฏิบัติ

Page 20: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ประเด็นการประเมิน น้ำหนัก (A)

ผลการดำเนินการ (B)

ดำเนินการ (1)

ไม่ได้ ดำเนินการ (0)

หลักฐานหรือ สิ่งที่ปรากฏ

10

400

100

100

100

100

100

100

100

50

30

20

7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการติดตามผลและ

วิเคราะห์หาจุดที่ควรปรับปรุง หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เพื่อการปรับปรุงกระบวนการ

หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

มิติด้านประสิทธิผล

1. ร้อยละของการบริการ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ได้

มาตรฐาน และมีคุณภาพ

− ยึดผลลัพธ์ตามแผนการดำเนินงานด้านอนามัย-

สิ่งแวดล้อม

มิติด้านคุณภาพการให้บริการ

2. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการ

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

มิติด้านประสิทธิภาพ

3. ร้อยละของการดำเนินงานได้ตามระยะเวลาของ

มาตรฐานการปฏิบัติงานบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

มิติด้านพัฒนาองค์กร

4.1 ร้อยละของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ที่รับผิดชอบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้รับการพัฒนา

ขีดสมรรถนะด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมตามแผนพัฒนา

ขีดสมรรถนะของบุคลากร

4.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีฐานข้อมูลครอบคลุมการ

บริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 4.3 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนการ จัดการความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (อย่างน้อย 1 แผน)

Page 21: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ผลคะแนนการประเมินตนเอง (ตัวอย่างการรายงาน)

แบบรายงาน

Page 22: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ประเด็นการประเมิน น้ำหนัก (A)

ผลการดำเนินการ (B)

ดำเนินการ (1)

ไม่ได้ ดำเนินการ (0)

รวม C

1. .... 25 1 25

2. .... 10 1 0 0

3. .... 5 1 5

....

10. .... 3 0 0 ∑A = 100 ∑ ∑(A x B) = 100

แบบรายงานผลคะแนนการประเมินตนเอง

ตัวอย่างการรายงาน หมวด 1 การนำองค์กร

คะแนนเต็ม 100 คะแนน

หมวด คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ

1 100

2 100

3 100 .... ....

7 400

รวม 1000

ความหมาย A หมายถึง น้ำหนักความสำคัญที่ให้กับประเด็นการประเมิน B หมายถึง ผลการดำเนินงาน (ดำเนินการ เท่ากับ 1 หรือ ไม่ดำเนินการ เท่ากับ 0) C หมายถึง คะแนนถ่วงน้ำหนักที่ได้จากผลการดำเนินงาน

วิธีการคำนวณ

A x B = C

ตารางสรุปคะแนนผลการประเมินตนเอง

ช่องคะแนนที่ได้ คือ ผลรวมของคะแนนถ่วงน้ำหนักที่ได้จากผลการดำเนินงาน (C) ในแบบรายงาน

ผลคะแนนการประเมินตนเองและคิดเป็นร้อยละจากคะแนนที่ได้

Page 23: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

Page 24: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ภาคผนวก

Page 25: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น�0

ประเด็นการประเมินในแบบประเมินตนเอง

คำอธิบาย

Page 26: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

ข้อ 1 ผู้บริหารมีแนวทาง/วิธีการอย่างไรในการกำหนด วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ค่านิยม หรือผลการดำเนิน งานที่คาดหวังที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญ กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อ 2 ผู้บริหารดำเนินการอย่างไรในการสื่อสารตาม ประเด็นข้อ 1 เพื่อให้บุคลากรรับทราบยอมรับ และนำไปปฏิบัติ รวมทั้งผู้รับบริการและผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย ข้อ 3 เพื่อให้ผู้บริหารมั่นใจว่าบุคลากรมีการรับรู้ เข้าใจ และนำแนวทางไปปฏิบัต ิ จึงควรมีการสื่อสาร ตดิตามและประเมินผล ข้อ 4 ผู้บริหารต้องมีการทบทวนผลการดำเนินงานเพื่อ นำผลมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้ สอดคลอ้งกบัวสิยัทศัน ์พนัธกจิ และความคาดหวงั ขององค์กร ข้อ 5 ผู้บริหารมีแนวทาง/วิธีการในการกำหนดตัวชี้วัด ที่สำคัญที่สะท้อนความสำเร็จตามประเด็นข้อ 1 สำหรับใช้ในการติดตามประเมินผลว่าเป็นไปตาม ที่กำหนดไว้หรือไม่และแผนในการประเมินผล การปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากผลงานที่ผ่านมา และจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

คำอธิบายประเด็นการประเมินในแบบประเมินตนเอง

การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หมวด 1 การนำองค์กร

- มกีารประชมุ เพือ่ทบทวนวสิยัทศัน ์เปา้ประสงค ์ ค่านิยม ควรนำเป้าหมาย พันธกิจ ความ ท้าทายทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งความ ต้องการและความคาดหวัง ของผู้รับบริการ และผูม้สีว่นไดส้ว่นเสยีมาประกอบการพจิารณา- มีการประกาศวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ค่านิยม หรือผลการดำเนินงานที่คาดหวัง อย่างเป็น ลายลักษณ์อักษร - จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ - Website - การประชุมผู้บริหารไปสู่ระดับกลาง และจาก ระดับกลางสู่ระดับปฏิบัต ิ- ทำหนังสือแจ้งเวียน - มีการประเมินผลการรับรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ ค่านิยม ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง - มีการติดตามและทบทวนผลการดำเนินการ ขององค์กร - มีการประชุมเพื่อกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญด้าน อนามัยสิ่งแวดล้อม - มีการติดตามประเมินผลตัวชี้วัดที่สำคัญซึ่ง ประกอบด้วยแนวทางประเมิน ระยะเวลาการ ประเมิน ผู้รับผิดชอบ (รอบ 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน)

Page 27: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

ข้อ 6 ผู้บริหารมีการนำผลการประเมินและทบทวนการ ปฏิบัติการ มาปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขี้น ข้อ 7 ผู้บริหารต้องมีการกำหนดนโยบายการกำกับดูแล องค์กรที่ดีเพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแล ให้การดำเนินงานเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลของ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยจะต้องวาง นโยบายอย่างน้อย 4 ด้าน (ด้านรัฐ สังคม สิ่งแวดล้อม ด้านผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านองค์การและด้านผู้ปฏิบัติการ) รวมถึงการจัด การผลกระทบทางลบที่สามารถนำไปดำเนินการ ได้จริง ข้อ 8 มีการติดตามประเมินผลการกำกับดูแลองค์กรที่ดี เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการส่งเสริม นโยบายและการแก้ไขผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น ข้อ 9 กระบวนการควบคุมภายในเป็นการช่วยให้ การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ประหยัดและ มีประสิทธิผล และช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยง จากการผิดพลาดในรูปของความสิ้นเปลือง ความ สูญเปล่าของการใช้ทรัพย์สิน หรือการกระทำ อันเป็นการทุจริต ข้อ 10 อปท. ตอ้งจดัใหม้กีารตดิตามประเมนิผลในระหวา่ง การปฏิบัติงาน/รายครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าระบบ การควบคุมภายในที่วางไว้ เพียงพอ เหมาะสม มีประสิทธิภาพและมีการปฏิบัติจริง ข้อตรวจ พบการตรวจสอบได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่าง เหมาะสม ทันเวลา และสอดคล้องกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป

- มีแผน/รายงานการปรับปรุงผลการดำเนินงาน - มีการประกาศเจตนารมณ์ การกำกับดูแล องค์การที่ดี - มีการสื่อสารเจตนารมณ์การกำกับดูแลองค์การ ที่ดีให้กับบุคลากรนำไปปฏิบัติให้เกิดผล - มีแผนงาน/โครงการแก้ไขผลกระทบทางลบ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานขององค์กร - มีการวิเคราะห์และรายงานผลการกำกับดูแล องค์กรที่ดี และการแก้ไขผลกระทบทางลบ - มีการจัดทำแนวทางการควบคุมภายในของ การดำเนินงาน (จัดทำเป็น flow chart) - มีรายงานการติดตามและประเมินผลการควบคุม ภายใน

Page 28: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

ข้อ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวทาง/วิธีการ ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ (4 ปี และ 1 ปี) โดยรวมอย่างไร โดยระบุขั้นตอน ผู้เกี่ยวข้อง และกรอบเวลาที่ใช้ ข้อ 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้นำปัจจัยภายใน ภายนอก ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล วิสัยทัศน์ พันธกิจ ความต้องการผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ตลอดจนปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงที่ทำให้ ไม่บรรลุเป้าหมาย มาประกอบการจัดทำแผน ปฏิบัติราชการ (4 ปี และ 1 ปี) อย่างไร โดยระบุ วิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ข้อ 3 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนการ บริหารทรัพยากรบุคคลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และมีการทบทวนให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติ ราชการ ( 4 ปี และ 1 ปี) ข้อ 4 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีช่องทาง การสื่อสารและสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตาม แผน ข้อ 5 ผูบ้รหิารองคก์รปกครองสว่นทอ้งถิน่มกีารถา่ยทอด ตัวชี้วัดและเป้าหมายสู่หน่วยงานปฏิบัติโดยจัดทำ แผนปฏิบัติงานประจำปี (Gantt Chart) และ การมอบหมายงานรายบุคคลอย่างเป็นลายลักษณ์ อักษร

คำอธิบายประเด็นการประเมินในแบบประเมินตนเอง

การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธ์ศาสตร์

- มีการประกาศวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ค่านิยม หรือผลการดำเนินงานที่คาดหวัง อย่างเป็น ลายลักษณ์อักษร - มีแผนภาพการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ (4 ปี และ 1 ปี) (Flow chart) - กิจกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ (4 ปี และ 1 ปี) เช่น การประชุม ฯลฯ - รายงานการประชุม - มีแผนงานโครงการ - การประชุมผู้บริหารไปสู่ระดับกลาง และจาก ระดับกลางสู่ระดับปฏิบัต ิ- ทำหนังสือแจ้งเวียน - จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ - Website - มีรายงานแผนการดำเนินการและติดตาม ประเมิน - มีรายงานแผนการทบทวนแผนการปฏิบัติ - ทำหนังสือแจ้งเวียน - จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ - Website เผยแพร่ - มีรายงานการประชุมเพื่อกำหนดตัวชี้วัดและ เป้าหมายที่สำคัญด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม - มีการติดตามประเมินผลตัวชี้ วัดที่ สำคัญ ซึ่งประกอบด้วยแนวทางประเมิน ระยะเวลา การประเมิน ผู้รับผิดชอบ (รอบ 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน)

Page 29: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

ข้อ 6 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายงาน ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและเป้าหมายตาม ความถี่ที่กำหนดและสรุปประเมินผลประจำปี ข้อ 7 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อเสนอ- แนะเพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงานในอนาคต ข้อ 8 มีการติดตามประเมินผลการจัดทำแผนบริหาร ความเสี่ยงของโครงการที่สำคัญ อย่างน้อย 1 โครงการต่อปี ข้อ 9 กระบวนการควบคุมภายในเป็นการช่วยให้การ ดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ประหยัดและมี ประสิทธิผล และช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยง จากการผิดพลาดในรูปของความสิ้นเปลือง ความ สูญเปล่าของการใช้ทรัพย์สิน หรือการกระทำ อันเป็นการทุจริต

- มีแผน/รายงานผลการดำเนินงาน - มีรายงานสรุปประจำปี - มีรายงาน และสรุปการปรับปรุงการปฏิบัติ งานตามแผน - มีแผนประเมิน สรุป วิเคราะห์การประเมิน ความเสี่ยง - มีแผนการประเมินความเสี่ยง - มีรายงานการวิเคราะห์ - มีการจัดทำแนวทางการควบคุมภายในของ การดำเนินงาน (จัดทำเป็น flow chart)

Page 30: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

ข้อ 1 มีการจำแนกกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมโดยนำ พันธกิจ วิสัยทัศน์และลักษณะสำคัญขององค์กร มาประกอบการพิจารณาครบทุกกลุ่ม ข้อ 2 มีการรวบรวม บูรณาการข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อ ร้องเรียน/ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/คำชมเชย จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งทางการและไม่เป็น ทางการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านอนามัย- สิ่งแวดล้อม โดยมีช่องทางรับฟัง เรียนรู้ที่ เหมาะสมกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่สามารถเข้าถึงสื่อสารได้ง่าย ข้อ 3 มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบและมอบอำนาจการ จัดการข้อร้องเรียนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ข้อ 4 นำข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น/คำ ชมเชย มาวิเคราะห์และกำหนดวิธีการปรับปรุง ด้านบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ได้อย่างเหมาะสม ข้อ 5 กลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีส่วน- สำคญัตอ่การทำงานรว่มกนัดา้นอนามยัสิง่แวดลอ้ม ให้ประสบความสำเร็จ มีข้อมูลและช่องทางการ สื่อสารที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ ข้อ 6 กิจกรรมที่ สร้ างความสัมพันธ์ด้ านอนามัย - สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

คำอธิบายประเด็นการประเมินในแบบประเมินตนเอง

การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

- จำแนกผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ เกี่ยวข้องด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม - ช่องทางรับฟังเรียนรู้ที่เหมาะสมด้านอนามัย- สิ่ งแวดล้อมกับผู้ รับบริการและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ไม่น้อยกว่า 2 ช่องทาง - หนังสือมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบและมอบ อำนาจการจัดการข้อร้องเรียนด้านอนามัย- สิ่งแวดล้อม - แผนปรับปรุงการให้บริการแก่ผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม - ช่องทางการติดต่อของผู้รับบริการและผู้ม ี ส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นเครือข่าย ไม่น้อยกว่า 2 ช่องทาง - กิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ด้านอนามัย- สิ่งแวดล้อม อย่างน้อย 1 กิจกรรม

Page 31: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

ข้อ 7 กระบวนการที่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีโอกาสเข้าร่วมให้ข้อมูล ปรึกษาหารือ กำหนด นโยบาย วางแผนงานและตัดสินใจด้านอนามัย- สิ่งแวดล้อม ข้อ 8 เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานด้าน อนามัยสิ่งแวดล้อมร่วมกันของผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อ 9 เพื่อประเมินคุณภาพการให้บริการว่าอยู่ในระดับ ที่ผู้รับริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการหรือ คาดหวงัด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ข้อ 10 เพื่อนำไปพัฒนาให้มีคุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้น เป็นการสร้างความประทับใจและภาพลักษณ์ที่ดี ขององค์กรด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ข้อ 11 เพื่อให้ประชาชนทราบว่าเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับ อนามัยสิ่งแวดล้อมต้องใช้เวลาเท่าใดจึงจะรู้ผล เพื่อให้ทั้งองค์กรและประชาชนสามารถวางแผน ดำเนินการต่อไป และทำให้ประชาชนมีความ พึงพอใจ ข้อ 12 เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติของบุคลากร ต่อผู้รับบริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

กระบวนการที่เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการและผู้ม ี ส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร ราชการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม อย่างน้อย 1 กระบวนการ - รายงานติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม - รายงานผลการวัดความพึงพอใจของผู้รับริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม- แผนปรับปรุงการให้บริการแก่ผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (หลักฐานข้อ 4) - แผนภาพทีแ่สดงขัน้ตอน ระยะเวลา ผูร้บัผดิชอบ การให้บริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม - คู่มือในการกำหนดวิธีปฏิบัติงานของบุคลากร ในการให้บริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

Page 32: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

ข้อ 1 - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องวิเคราะห์ดูว่า มีข้อมูลอะไรบ้างที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน บริการอนามัยสิ่งแวดล้อม - ทบทวนข้อมูลที่จำเป็น โดยนำข้อมูลที่ได้จาก การวิเคราะห์มาจัดทำตารางการทบทวนว่า ข้อมูลใดมีอยู่แล้ว ข้อมูลใดยังไม่มี ข้อมูลใด ควรปรับปรุง หรือข้อมูลใดควรยกเลิกพร้อมทั้ง ระบุเหตุผลความจำเป็นทุกรายการข้อมูลและ ทุกกรณี ข้อ 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีระบบฐานข้อมูล การบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ข้อ 3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องวิเคราะห์ว่ามี ข้อมูล หรือความรู้ที่จำเป็น และงานบริการใดบ้าง ที่จำเป็นต้องให้บริการสืบค้นผ่านระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ข้อ 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทบทวนข้อมูล หรือความรู้ที่จำเป็น และงานบริการอนามัย- สิ่งแวดล้อม โดยนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ ในข้อ 3 มาจัดทำเป็นตารางการวิเคราะห์และ ทบทวนข้อมูลและบริการ เพื่อดูว่าข้อมูลหรือ ความรู้ที่จำเป็น และงานบริการใดที่มีอยู่แล้ว หรือยังไม่มี หรือต้องปรับปรุง หรือต้องยกเลิก พร้อมทั้งระบุเหตุผลความจำเป็นทุกรายการและ ทุกกรณี

คำอธิบายประเด็นการประเมินในแบบประเมินตนเอง

การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้

- เอกสารแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต่อ การบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม (ดังตัวอย่าง ที่ 1) - เอกสารแสดงการทบทวน ข้อมูลที่จำเป็นต่อ การบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม (ดังตัวอย่างที่ 2) - มีฐานข้อมูลที่ใช้ในการดำเนินงานตามกระบวน งานทีก่ำหนดในระบบบรกิารอนามยัสิง่แวดลอ้ม เช่น ฐานข้อมูลที่จัดเก็บด้วยโปรแกรม excel เป็นต้น - มีเว็บไซต์ของหน่วยงาน ซึ่งมีข้อมูล ความรู้ ดา้นอนามยัสิง่แวดลอ้ม และงานบรกิารอนามยั- สิ่งแวดล้อม - มีเอกสารแสดงการวิเคราะห์และทบทวนข้อมูล หรือความรู้ที่จำเป็น และงานบริการอนามัย- สิ่งแวดล้อม เพื่อให้บริการประชาชนสืบค้น ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ดังตัวอย่างที่ 3)

Page 33: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

- มีระบบการติดตาม เฝ้าระวัง และเตือนภัย ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น โดยใช้ตัวชี้วัดที่สำคัญด้านอนามัย- สิ่งแวดล้อม กำหนดให้แสดงเป็นสีสัญญาณ ไฟจราจร (เขียว แดง เหลือง) เพื่อบ่งชี้ถึง ผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมาย สีเขียว แสดงผลการดำเนินงานได้เท่ากับหรือ มากกว่าค่าเป้าหมาย สีเหลือง แสดงผลการดำเนินงานระหว่าง ร้อยละ 51−99 ของค่าเป้าหมาย สีแดง แสดงผลการดำเนินงานได้น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย (ดังตัวอย่างที่ 4) - มีรายงานสารสนเทศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม - มีเอกสารที่แสดงว่าได้ทบทวนปรับปรุงระบบ การตดิตาม การเฝา้ระวงั เตอืนภยั ดา้นอนามยั- สิ่งแวดล้อม - มคีูม่อืบรหิารจดัการระบบเทคโนโลยสีารสนเทศ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อ 5 - การจัดทำระบบการติดตาม เฝ้าระวัง และ เตือนภัย ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม มีความ สัมพันธ์เชื่อมโยงกับหมวด 1 การนำองค์กร (ข้อที่ 5 ผู้บริหารมีแนวทาง/วิธีการในการ กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญที่สะท้อนความสำเร็จ ตามประเด็นข้อ 1 สำหรับใช้ในการติดตาม ประเมินผลว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ และแผนในการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดย พิจารณาจากผลงานที่ผ่านมาและจากปัจจัย ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง) ดังนั้น องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จะต้องจัดทำระบบการติดตาม เฝ้าระวัง และเตือนภัย ซึ่งจะก่อให้เกิดระบบ ที่ช่วยผู้บริหารในการปฏิบัติราชการให้ทัน ต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย รายละเอียด ดังนี้ 1) กำหนดค่าวิกฤติของแต่ละตัวชี้วัดต้องบอก ได้ว่าผลการดำเนินงานเป็นเท่าไหร่ระบบ ถึงจะเตือนภัย 2) กำหนดเงื่อนไขการเตือนภัย บอกได้ว่า ระบบจะเตือนภัยอย่างไร เตือนให้กับใคร โดยวิธีใด ข้อ 6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องวิเคราะห์ข้อมูล ผลการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเสนอ ผู้บริหาร ข้อ 7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องทบทวน ปรับปรุง ระบบการติดตามการเฝ้าระวัง เตือนภัย ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อ 8 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำระบบ รักษาความมั่นคงและปลอดภัย ของระบบฐาน ข้อมูลและสารสนเทศ พร้อมทั้งกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของบุคลากรในการดำเนินงาน รวมทั้งข้อปฏิบัติในการปฏิบัติงาน โดยจัดทำเป็น คู่มือบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต้องสื่อสาร ให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบโดยทั่วกัน

Page 34: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

ข้อ 9 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการกำหนดสิทธิ ในการเข้าถึงข้อมูล อย่างน้อย 1 ระบบ ข้อ 10 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการจัดทำแผน แก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ความไม่แน่นอน และภัยพิบัติที่อาจจะเกิดกับระบบฐานข้อมูล และสารสนเทศ และซักซ้อมผลการดำเนินการ ตามแผนแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ความ ไม่แน่นอนและภัยพิบัติที่อาจจะเกิดกับระบบ ฐานข้อมูลและสารสนเทศ และจัดทำรายงานผล การปฏิบัติงานตามแผนฯ ข้อ 11 องคก์รปกครองสว่นทอ้งถิน่ ตอ้งกำหนดเปา้หมาย ให้ใช้การจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยต้องมีการ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (KM Team) ซึ่งต้องมีการ จัดทำแผนการจัดการความรู้ ด้ านอนามัย - สิ่งแวดล้อมที่มีรายละเอียดกิจกรรมการจัดการ ความรู้ตามขั้นตอนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การบ่งชี้ความรู้ (2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (5) การเข้าถึงความรู้ (6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (7) การเรียนรู้ ข้อ 12 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีการรายงานผล การดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้

- มีเอกสารกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล - รายงานผลการดำเนินการตามแผนแก้ไขปัญหา จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนและภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดกับระบบฐานข้อมูลและสาร- สนเทศ - แผนการจัดการความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดังตัวอย่างที่ 5) - มีรายงานผลการดำเนินงานตามแผน โดย ดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดการความรู ้ ได้สำเร็จครบถ้วน ทุกกิจกรรม และสามารถ ดำเนินการที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได ้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในทุกกิจกรรมที่ระบุไว้

Page 35: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น�0

ลำดับ รายการข้อมูลที่จำเป็น วิธีการจัดเก็บ

(ตัวอย่างที่ 1)

ตารางการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต่อการบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

กระบวนงาน การออกใบอนุญาต

ความถี่ในการ จัดเก็บ

ผู้รับผิดชอบ จัดเก็บข้อมูล

1 จำนวนสถานประกอบการตาม สำรวจ 1 ปี

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข

พ.ศ.2535

2 ชื่อ/ที่อยู่ ผู้ประกอบกิจการ ....

(จำแนกกิจการ) สำรวจ 1 ปี

3

4

Page 36: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ลำดับ รายการข้อมูลที่จำเป็น ต่อการบริการอนามัย

สิ่งแวดล้อม

สถานะข้อมูล

(ตัวอย่างที่ 2)

ตารางการวิเคราะห์และทบทวนข้อมูลที่จำเป็นต่อการบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

กระบวนงาน การออกใบอนุญาต

ผลการทบทวนข้อมูล เหตุผลความ จำเป็นในการ

ปรับปรุง/ ทำใหม่

หรือยกเลิก

มี ไม่มี ยกเลิก ยังใช้ ประโยชน์ได้

ปรับปรุง/ จัดทำใหม่

ผู้รับ ผิด ชอบ

1 จำนวนสถานประกอบการ

ตามพระราชบัญญัติการ

สาธารณสุข พ.ศ.2535

2 ชื่อ/ที่อยู่ ผู้ประกอบ

กิจการ ....

(จำแนกกิจการ)

3

Page 37: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ลำดับ รายการข้อมูลหรือความรู้ ที่จำเป็นและงานบริการ

อนามัยสิ่งแวดล้อม

สถานะข้อมูล

(ตัวอย่างที่ 3)

ตารางการวิเคราะห์และทบทวนข้อมูลหรือความรู้ที่จำเป็น และงานบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

เพื่อให้บริการประชาชนสืบค้นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปี....

ผลการทบทวนข้อมูล เหตุผลความ จำเป็นในการ

ปรับปรุง/ ทำใหม่

หรือยกเลิก

มี ไม่มี ยกเลิก ยังใช้ ประโยชน์ได้

ปรับปรุง/ จัดทำใหม่

ผู้รับ ผิด ชอบ

1 การให้บริการ

รถสุขาเคลื่อนที่

2 การขอใช้บริการรถดูด

สิ่งปฏิกูล

3 แบบฟอร์มการ

ขออนุญาตประกอบ

กิจการ..

Page 38: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ลำดับ

(ตัวอย่างที่ 4)

ระบบการติดตาม เฝ้าระวัง และเตือนภัย ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมาย ผลงาน

3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน

1 ................... ร้อยละ 80

2 .................... โครงการ 2

3 .................... แห่ง 12

(สีแดง) ผลการดำเนินงานได้น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย

(สีเหลือง) ผลการดำเนินงานอยู่ระหว่างร้อยละ 51 – 99 ของค่าเป้าหมาย

(สีเขียว) ผลการดำเนินงานเท่ากับหรือมากกว่าค่าเป้าหมาย

Page 39: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ลำดับ กิจกรรม

การจัดการความรู้ ระยะเวลา

(ตัวอย่างที่ 5)

แผนการจัดการความรู้

ชื่อส่วนราชการ เทศบาล.............................

องค์ความรู้ที่จำเป็น : การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมของเทศบาล

สถานะ ตัวชี้วัด เป้า

หมาย กลุ่ม

เป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ

1 การบ่งชี้ความรู้

ประชมุคณะกรรมการจดัการ

ความรู ้เพื่อพิจารณากำหนด

องค์ความรู้ที่จำเป็นในการพัฒนา

คุณภาพระบบบริการอนามัย-

สิ่งแวดล้อมของเทศบาล

2 การสร้างและแสวงหาความรู้

2.1 เชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้

กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

2.2 แสวงหาความรู้จากแหล่ง

ความรู้ต่างๆ

3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

นำความรู้ที่ได้มาจัดทำเป็น

หมวดหมู่และจัดทำฐานความรู้

4 การประมวลและกลั่นกรอง

5 การเข้าถึงข้อมูล

6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

7 การเรียนรู้

สัปดาห์ที่ 1 ร้อยละ 90 % คณะกรรมการ คณะกรรมการ

ของเดือน พ.ย. ของจำนวน การจัดการความรู้ จัดการความรู้

คณะ

กรรมการ

จัดการ

ความรู้

ธ.ค. จำนวน 1 คน ผู้รับผิดชอบงาน คณะกรรมการ

ผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้อง จัดการความรู้

จำนวนเรื่อง อย่างน้อย

3 เรื่อง

ม.ค.-มี.ค.... จำนวน ฐาน จนท.เทศบาล คณะกรรมการ

ฐานความรู้ ข้อมูลที่ จัดการความรู้

จัดเก็บได้

เป็นระบบ

อย่างน้อย

1 เรื่อง

Page 40: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

ข้อ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการกำหนด ปัจจัยและวิเคราะห์ปัจจัย รวมถึงการปรับปรุง ปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุก ความพึงพอใจที่มี ต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร เช่น นโยบายการ บริหารงาน ความโปร่งใส ความเป็นธรรม การให้ ค่าตอบแทน ความมั่นคงในงาน การพัฒนา/ฝึก อบรม ความก้าวหน้าในงาน การยกย่องชมเชย ข้อ 2 องคก์รปกครองสว่นทอ้งถิน่ควรนำผลการวเิคราะห ์ จากข้อ 1 มากำหนดแผนการสร้างความผาสุก และความพึงพอใจให้กับบุคลากร และดำเนินการ ตามแผน ข้อ 3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการสำรวจและ ประเมินผลการสร้างความผาสุก และความ พึงพอใจของบุคลากร ต่อการปฏิบัติงานด้าน อนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อทบทวนเรื่องการสร้าง ความผาสุก และความพึงพอใจของบุคลากร ให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงประเมินผลการปฏิบัติ งานของบุคลากรตามหลักเกณฑ์กลางที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดซึ่งควรสอดคล้องกับระบบงานของ องค์กร

คำอธิบายประเด็นการประเมินในแบบประเมินตนเอง

การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

- มีการสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรที่มี ต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนด เช่น การสำรวจความ พึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อองค์กร การสำรวจ ความพึงพอใจเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการ การสำรวจความพงึพอใจเกีย่วกบัระบบสวสัดกิาร ขององค์กร ฯลฯ - มีการนำผลการสำรวจความพึงพอใจจากปัจจัย ต่าง ๆ มาวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญ ของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ บุคลากร - มีแผนการสร้างความผาสุกและความพึงพอใจ ให้กับบุคลากร เช่น มีสภาพแวดล้อมในการ ทำงานที่ดี มีนโยบายและการบริหารจัดการที่ ชัดเจน มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง บคุคลในทีท่ำงาน เงนิเดอืนทีเ่หมาะสมประโยชน์ ตอบแทนที่เพียงพอรวมทั้งความมั่นคงของงาน ฯลฯ - มีผลการประเมินความผาสุกและความพึงพอใจ ของบุคลากร - มีผลการประเมินการปฏิบัติงานรายบุคคล ซึ่ง พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความ รับผิดชอบ และผลงานที่ได้จากการปฏิบัติงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย

Page 41: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

ข้อ 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดทำรายงาน ผลการดำเนินการพัฒนาบุคลากร ด้านอนามัย- สิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาบุคลากร (ตาม หมวด 2) เพื่อให้บุคลากรมีสมรรถนะที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ บรรลุผล ตามเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ข้อ 5 หนว่ยงานตอ้งมกีารจดัทำแบบสำรวจความพงึพอใจ ที่มีต่อการพัฒนาบุคลากร เพื่อหาความจำเป็นและ ความต้องการในการศึกษาต่อ/ฝึกอบรม/ศึกษา ดูงาน เพื่อนำมาพัฒนาบุคลากร ให้มีสมรรถนะที่ สอดคลอ้ง ตามกลยทุธก์ารบรหิารทรพัยากรบคุคล ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (ตามหมวด 2) ข้อ 6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีระบบประกัน คุณภาพการฝึกอบรม ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้รับการอบรมว่าการ ฝกึอบรมนั้น มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ข้อ 7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดมาตรการ และระบบในการประเมินประสิทธิผลและความ คุ้มค่า ในการฝึกอบรมบุคลากรด้านอนามัย- สิ่งแวดล้อม

- บันทึกการศึกษาต่อ/ฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน/ การประชุม การได้รับการสอนงาน/การเรียนรู้ ดว้ยตนเองดา้นอนามยัสิง่แวดลอ้ม ของบคุลากร- ประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านอนามัย สิ่งแวดล้อมของบุคลากร - สรุปผลการสำรวจความพึงพอใจ ของบุคลากร - วิเคราะห์ข้อมูลจากผลการสำรวจ เพื่อปรับปรุง แก้ไข ให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจร่วมกัน ปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายองค์กร - มีเกณฑ์การประกันคุณภาพการฝึกอบรม เช่น หลักสูตร เนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องกับวัตถุ- ประสงค ์และสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนด วิทยากร มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ ตรงกับหลักสูตรที่อบรม และมีการถ่ายทอด ให้มีความเข้าใจ ผู้เข้าอบรม จำนวนเหมาะสม ความรู้พื้นฐานหรือปฏิบัติงานที่ เกี่ยวข้อง เหมาะสมกับหลักสูตรที่อบรม การวัดและ ประเมินผลการฝึกอบรม มีการวัดผลความรู้ ความเข้าใจผู้เข้าอบรมก่อนและหลังการอบรม ทุกครั้ง - มีการกำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงการนำ ความรู้และทักษะจากการฝึกอบรมมาใช้ในการ ปฏิบัติงาน - มีการวัดผลผลิตที่เกิดจากการนำความรู้จาก การฝึกอบรมมาใช้

Page 42: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

คำอธิบายประเด็นการประเมินในแบบประเมินตนเอง

การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หมวด 6 การจัดการกระบวนการ

- มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน กำหนดกระบวนการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ให้บริการแก่ประชาชน - มีรายงานการประชุมกำหนดกระบวนการ ขัน้ตอน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ข้อกำหนดที่ สำคัญ และตัวชี้วัดที่สำคัญของทุกกระบวนการ ดา้นอนามยัสิง่แวดลอ้มทีใ่หบ้รกิารแกป่ระชาชน - มีเอกสารแสดงรายละเอียดของทุกกระบวนการ ดา้นอนามยัสิง่แวดลอ้มทีใ่หบ้รกิารแกป่ระชาชน- มีคำสั่งมอบหมายผู้รับผิดชอบทุกกระบวนการ ดา้นอนามยัสิง่แวดลอ้มทีใ่หบ้รกิารแกป่ระชาชน - มีแผน/รายงานการติดตามผลการปฏิบัติงาน ตามกระบวนการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม - มีรายงานผลการปรับปรุงกระบวนการด้าน อนามัยสิ่งแวดล้อม - มีแผนสำรองฉุกเฉินเพื่อป้องกันผลกระทบต่อ การปฏิบัติงานตามกระบวนการด้านอนามัย- สิ่งแวดล้อมในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉิน - มีรายงานการประชุมชี้แจงแผนสำรองฉุกเฉิน หรือมีเอกสารการเผยแพร่แผนสำรองฉุกเฉิน หรือ website

ข้อ 1 องคก์รปกครองสว่นทอ้งถิน่มกีารกำหนดกระบวน- การบริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญมีการ ระบุขั้นตอน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ข้อกำหนด ที่สำคัญและตัวชี้วัดที่สำคัญของกระบวนการด้าน อนามัยสิ่งแวดล้อมที่จะให้บริการแก่ประชาชน โดยพิจารณาจากความต้องการของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อกำหนดด้านกฎหมาย ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าของกระบวนการ ข้อ 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีกระบวนการ (Procedure) ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ให้บริการ แก่ประชาชน ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีรายละเอียดการปฏิบัติและระยะเวลาในการ ปฏิบัติงานทุกขั้นตอน มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ แต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน ข้อ 3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการติดตามผลการ ปฏบิตังิานตามกระบวนการดา้นอนามยัสิง่แวดลอ้ม ทีใ่หบ้รกิารแกป่ระชาชน และมกีารนำขอ้เสนอแนะ ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่ได้จากการ ติดตามผลมาปรับปรุงกระบวนการให้เหมาะสม ยิ่งขึ้น ข้อ 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดทำแผน สำรองฉกุเฉนิเพือ่ปอ้งกนัผลกระทบตอ่การปฏบิตั-ิ งานตามกระบวนการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน และมีการ สื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับแผน สำรองฉุกเฉินรับทราบ

Page 43: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ประเด็น การประเมิน

คำอธิบาย ตัวอย่างหลักฐาน สิ่งที่ปรากฏ

ข้อ 5 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดทำคู่มือ มาตรฐานการปฏิบัติงานระบบบริการอนามัย- สิ่งแวดล้อม โดยใช้คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน ระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (SOP) ที่กรมอนามัยจัดทำ ขึ้น เป็นแนวทางในการจัดทำคู่มือมาตรฐานการ ปฏิบัติงานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ข้อ 6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการสื่อสารสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน ระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม (SOP) ที่จัดทำ ขึ้นให้กับผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบและสามารถนำ ไปปฏิบัติได้ อย่างถูกต้องตามคู่มือ ข้อ 7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการติดตามผล- การดำเนินงานตามกระบวนการด้านอนามัย- สิ่งแวดล้อมและนำข้อมูลที่ได้จากการติดตามผล มาวิเคราะห์หาจุดที่ควรปรับปรุง หรือมีการจัด กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการปรับปรุง กระบวนการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

- มีคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานระบบบริการ อนามัยสิ่งแวดล้อม (SOP) ครบทุกกระบวนการ - มีการประกาศใช้คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน ระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม (SOP) - มีรายงานการประชุมชี้แจงคู่มือมาตรฐานการ ปฏิบัติงานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม (SOP) แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง - มี Work Flow แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตามคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานระบบบริการ อนามัยสิ่งแวดล้อม (SOP) - มีแผน/รายงานการติดตามผลการดำเนินงาน ตามกระบวนการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม - มีรายงานการวิเคราะห์หาจุดที่ควรปรับปรุง หรือมีรายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการ ดำเนินงานตามกระบวนการด้านอนามัย- สิ่งแวดล้อม

Page 44: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

ตารางกำหนดค่าน้ำหนัก

Page 45: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น�0

ตารางกำหนดค่าน้ำหนัก

น้ำหนัก P D C A รวม

หมวด 1-6 50 30 10 10 100

สัดส่วน 5 3 1 1

หมวด ข้อ P D C Aค่า

น้ำหนัก

50 30 10 10 100 1 1 25 25 5 25 25 2 10 10 7 10 10 9 10 10 3 5 5 4 5 5 6 3 3 8 4 4 10 3 3 100

หมวด ข้อ P D C Aค่า

น้ำหนัก

50 30 10 10 100 2 1 20 20 3 15 15 8 15 15 2 10 10 4 10 10 5 10 10 6 5 5 9 5 5 7 10 10 100

Page 46: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

หมวด ข้อ P D C Aค่า

น้ำหนัก

50 30 10 10 100 3 1 10 10 2 10 10 7 20 20 11 10 10 3 5 5 5 10 10 6 10 10 12 5 5 8 5 5 9 5 5 4 5 5 10 5 5 100

หมวด ข้อ P D C A ค่าน้ำหนัก

50 30 10 10 100 4 2 10 10 5 10 10 8 10 10 9 10 10 11 10 10 3 10 10 10 10 10 12 10 10 4 5 5 6 5 5 1 5 5 7 5 5

ตารางกำหนดค่าน้ำหนัก (ต่อ)

Page 47: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

หมวด ข้อ P D C A ค่าน้ำหนัก

50 30 10 10 100 5 2 25 25 6 25 25 1 30 30 3 4 4 4 3 3 7 3 3 5 10 10 100

หมวด ข้อ P D C A ค่าน้ำหนัก

50 30 10 10 100 6 1 20 20 4 20 20 2 10 10 5 20 20 6 10 10 3 10 10 7 10 10 100

หมวด ข้อ มิติ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ 4 คะแนนรวม

100 100 100 100 400 7 1 100 100 2 100 100 3 100 100 4.1 50 50 4.2 30 30 4.3 20 20 400

ตารางกำหนดค่าน้ำหนัก (ต่อ)

Page 48: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ��

บรรณานุกรม

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. 2553. “คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพ

การบรหิารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553”. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ

พัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2546. “คู่มือการประเมินโรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพ”.

สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล. 2544. “คู่มือผู้ตรวจประเมินคุณภาพ ISO 9001: 2000”. กรุงเทพฯ:

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย−ญี่ปุ่น).

Page 49: คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพhpc2.anamai.moph.go.th/emedia/files/p/137_20150907144134.pdf · หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ

คู่มือ แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น��

ที่ปรึกษา

คณะผู้จัดทำ

1. นพ. สุวัช เซียศิริวัฒนา รองอธิบดีกรมอนามัย

2. นายศากุน เอี่ยมศิลา นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านสาธารณสุข)

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ

3. นายศุมล ศรีสุขวัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหารกรมอนามัย (ปัจจุบัน

ผู้อำนายการสำนักกฎหมาย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

4. นายพิษณุ แสนประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม

5. นางสุรีย์ วงศ์ปิยชน ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ

6. นางสาวสิริวรรณ จันทนจุลกะ ผู้อำนวยการกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

7. นายสมชาย ตู้แก้ว ผู้อำนวยการศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข

8. นางนฤมล ตปนียะกุล ผู้อำนวยการศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย

9. นางวิภาเพ็ญ เจียสกุล สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม

1. นายสุรพล แสงรัตนชัย กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

2. นายยงยุทธ บุญขันท์ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

3. นายชนะ งามสุขไพศาล กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

4. นางสาวเชื้อเพ็ญ บุพศิริ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข

5. นางสาววาสนา คงสุข ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย

6. นายธนชีพ พีระธรณิศร์ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ

7. นายภาคภูมิ องค์สุริยานนท์ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ

8. นางสุนทรีย์ รักษามั่นคง สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม

9. นางสาวสิริจันทร์ หิรัญเพ็ชรกุล สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม