1
เนื้อหาสาระ สัญลักษณ์รหัสแท่ง ในปัจจุบันร้านขายปลีกขนาดใหญ่ มีการพัฒนาเครื่องคิดเงินที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและ แม่นยำ โดยนำสินค้าที่มี Sticker ตัวเลขกำกับแท่งสีดำติดไว้ หรือสัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็นแท่งสีดำ หนาบ้าง บางบ้าง ต่างขนาดกัน (สินค้าบางชนิดตีพิมพ์ไว้ที่หีบห่อ) Sticker ดังกล่าว เรียกว่า “บาร์โค๊ต” เมื่อนำสินค้านั้นผ่านเครื่องอ่าน ซึ่งเรียกว่า Bar Code Scanner เครื่องจะดำเนินการคิดราคาสินค้า ออกใบเสร็จรับเงิน การแยกประเภทสินค้า การตัดสต็อก ฯลฯ โดยผู้รับชำระเงินไม่ต้องกดแป้น ตัวเลขค่าสินค้า ซึ่งอาจเกิดการผิดพลาดได้ จะเห็นได้ว่า Bar Code นี้สามารถช่วยประหยัดเวลา ช่วยจัด ระบบสินค้า ลดความผิดพลาดในการคิดเงิน และยังช่วยฝ่ายจัดซื้อในการสั่งซื้อสินค้าได้อย่างเหมาะสม ชนิดของ Bar Code Bar Code มีหลายชนิดแต่ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปและเป็นแบบมาตรฐานมี 2 ชนิด คือ 1. UPC (Universal Product Code) ได้มีการพัฒนาและได้ใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1970 โดยชาวอเมริกัน และได้มีการปรับปรุงให้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1973 ถือเป็น Bar Code ระบบแรกของโลก แต่ในปัจจุบันมีใช้แค่ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา มี 2 ชนิดคือ ชนิด 8 หลัก และ 12 หลัก 2. EAN (European Article Number) Bar Code ชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในยุโรปในปี ค.ศ. 1977 เป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลก ยกเว้นสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เหมาะสำหรับธุรกิจเกือบทุกประเภท มี 2 ชนิด คือ แบบมาตรฐาน 13 หลัก และแบบย่อ 8 หลัก ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างรหัส ดังนีเราสามารถอ่านความหมายของตัวเลขที่ปรากฏบน Bar Code ได้ดังนี1. เลขสามตัวแรก (885) เรียกว่ารหัสประเทศ EAN กำหนดให้สำหรับประเทศไทยมีเลขรหัส ประเทศคือ 885 ประเทศหนึ่งๆ อาจจะใช้เพียงหมายเลขชุดเดียวหรือหลายชุดก็ได้ 2. เลขสี่ตัวถัดมา (1234) จากสามตัวแรก (885 – รหัสประเทศ) คือรหัสสมาชิก EAN หรือสถาบันจะเป็นผู้กำหนด สมาชิกจะตั้งรหัสเองไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการตั้งรหัสซ้ำซ้อนกัน 3. หมายเลขห้าตัวถัดมาจากรหัสสมาชิก (56789) คือหมายเลขประจำตัวสินค้าจะถูกกำหนดเอง โดยสมาชิก เพื่อความสะดวกในกาสรจัดเก็บข้อมูลของสินค้าแต่ละชนิด 4. หมายเลขสุดท้าย (8) เป็นตัวตรวจสอบของคอมพิวเตอร์ว่าเลขที่อยู่ด้านหน้านั้นถูกต้องหรือไม่ ตัวอย่างตัวเลขรหัสประเทศทีEAN กำหนด ตามปกติทั่วไป แท่งที่ตั้งขนานกันมักจะพบเห็นสีดำ แต่ก็ไม่ใช่หลักตายตัว กิจการค้าอาจจะใช้สี อื่นๆ ก็ได้ แต่ขอให้ใช้สีเข้มๆ เช่น น้ำเงิน น้ำตาล ม่วง เขียว ทั้งนี้เพื่อให้ตัดกับสีขาวที่เป็นสีสว่าง ที่อยู่ระหว่างแท่งสี (BAR) ที่ Scanner สามารถอ่านรหัสได้ (ใช้หลักการสะท้อน) ประโยชน์ของการใช้ Bar Code มีดังนีคือ 1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง การใช้ระบบ Bar Code เข้ามาใช้ในกิจการจะช่วยบอก จำนวนสินค้าคงคลัง เพียงแต่ Bar Code ถูกเคลื่อนที่ให้ผ่านเครื่องอ่าน บัญชีสินค้าที่ขายในสต็อกก็จะถูก ตัดออก ตัวเลขจำนวนสินค้าในสต็อกจะลดน้อยลง เมื่อเจ้าของกิจการเรียกดูจากโปรแกรมใน คอมพิวเตอร์ ก็จะทราบได้ทันทีว่า ขณะนี้เหลือสินค้าชนิดนี้ อยู่เท่าไหร่ ควรจะสั่งมาเพิ่มเติมหรือไม่ จำนวนเท่าใด โดยไม่ต้องมีสินค้าค้างไว้มากเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหายของ สินค้าไม่ว่าจะในด้านกายภาพ หรือคุณสมบัติ 2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้า ในคลังสินค้าของกิจการขนาดใหญ่อาจจะมีสินค้าทีจำหน่ายนับเป็นจำนวนแสนชนิด การตรวจสอบสภาพและปริมาณของสินค้าคงเหลือ เป็นการยาก หรือ ต้องใช้เวลามาก และเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการสูง ความถูกต้องแม่นยำก็ยังมีน้อยกว่าการเรียกดูข้อมูล จากคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมในส่วนที่เกี่ยวกับ Bar Code ซึ่งสามารถเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ ชนิดของสินค้าได้ทุกเวลา 3. ช่วยในด้านการจัดซื้อ ก่อนที่จะมีการจัดซื้อ ผู้จัดซื้อจะต้องทราบก่อนว่าจะต้องซื้อสินค้าชนิดใด เป็นปริมาณเท่าไร ซึ่งจะทราบได้ก็ต่อเมื่อมีการตรวจนับสินค้าในคลังสินค้าซึ่งทำให้เสียเวลาและค่าใช้ จ่ายสูง กรณีนี้ Bar Code จะช่วยได้มาก เพราะถึงแม้จะหาสินค้านั้นๆ ไม่พบ แต่ Bar Code จะแจ้งให้ ผู้จัดซื้อ หรือคลังสินค้านั้นว่า สินค้าดังกล่าวยังคงมีเหลือแน่นอนเพียงแต่ต้องหา และยังเป็นการส่งเสริม ให้มีการจัดระเบียบในคลังสินค้า 4. ช่วยในการบริหารการตลาด ในกรณีที่กิจการจะทำการส่งเสริมการขาย (Promotion) เพื่อจะ ขายสินค้าให้ได้ กิจการจะต้องทราบว่าสินค้าชนิดใดจำหน่ายได้มากน้อยอย่างไร การใช้ Bar Code จะช่วยจะแยกชนิดสินค้าที่ขายในการ Promotion ครั้งนั้น และช่วยบอกระดับของลูกค้าของกิจการได้ด้วย ธุรกิจในประเทศไทยที่ต้องการใช้ Bar Code สามารถสมัครเป็นสมาชิกกับสถาบันสัญลักษณ์รหัส แท่งไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติโดยจะมีค่าใช้จ่าย คือ ค่าสมาชิกรายปี และค่าลงทะเบียน และค่าลงทะเบียนแรกเข้าตามขนาดของธุรกิจ ชุดการสอนที6.1 สัญลักษณ์รหัสแท่ง (Bar Code) มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ หลักการ วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการทำงาน การจัดการ สามารถทำงาน ประเมินผล ปรับปรุง และพัฒนางานธุรกิจ มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจกระบวนการของเทคโนโลยี นำความรู้มาใช้ในงาน อาชีพอย่างสร้างสรรค์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อธิบายการใช้สัญลักษณ์รหัสแท่งได้ถูกต้อง สาระการเรียนรู1. ชนิดของสัญลักษณ์รหัสแท่ง (Bar Code) 2. ความหมายของตัวเลขสัญลักษณ์รหัสแท่ง 3. ประโยชน์ของการใช้ สัญลักษณ์รหัสแท่ง (Bar Code)

ชุดการสอนที่ 6.1 มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญ ...2. ความหมายของตัวเลขสัญลักษณ์รหัสแท่ง

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ชุดการสอนที่ 6.1 มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญ ...2. ความหมายของตัวเลขสัญลักษณ์รหัสแท่ง

เนื้อหาสาระ

สัญลักษณ์รหัสแท่ง

ในปัจจุบันร้านขายปลีกขนาดใหญ่ มีการพัฒนาเครื่องคิดเงินที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและ

แม่นยำ โดยนำสินค้าที่มี Sticker ตัวเลขกำกับแท่งสีดำติดไว้ หรือสัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็นแท่งสีดำ

หนาบ้าง บางบ้าง ต่างขนาดกัน (สินค้าบางชนิดตีพิมพ์ไว้ที่หีบห่อ) Sticker ดังกล่าว เรียกว่า “บาร์โค๊ต”

เมื่อนำสินค้านั้นผ่านเครื่องอ่าน ซึ่งเรียกว่า Bar Code Scanner เครื่องจะดำเนินการคิดราคาสินค้า

ออกใบเสร็จรับเงิน การแยกประเภทสินค้า การตัดสต็อก ฯลฯ โดยผู้รับชำระเงินไม่ต้องกดแป้น

ตัวเลขค่าสินค้า ซึ่งอาจเกิดการผิดพลาดได้ จะเห็นได้ว่า Bar Code นี้สามารถช่วยประหยัดเวลา ช่วยจัด

ระบบสินค้า ลดความผิดพลาดในการคิดเงิน และยังช่วยฝ่ายจัดซื้อในการสั่งซื้อสินค้าได้อย่างเหมาะสม

ชนิดของ Bar Code

Bar Code มีหลายชนิดแต่ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปและเป็นแบบมาตรฐานมี 2 ชนิด คือ

1. UPC (Universal Product Code) ได้มีการพัฒนาและได้ใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1970

โดยชาวอเมริกัน และได้มีการปรับปรุงให้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1973 ถือเป็น Bar Code

ระบบแรกของโลก แต่ในปัจจุบันมีใช้แค่ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา มี 2 ชนิดคือ ชนิด

8 หลัก และ 12 หลัก

2. EAN (European Article Number) Bar Code ชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในยุโรปในปี ค.ศ.

1977 เป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลก ยกเว้นสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เหมาะสำหรับธุรกิจเกือบทุกประเภท

มี 2 ชนิด คือ แบบมาตรฐาน 13 หลัก และแบบย่อ 8 หลัก ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างรหัส ดังนี้

เราสามารถอ่านความหมายของตัวเลขที่ปรากฏบน Bar Code ได้ดังนี้

1. เลขสามตัวแรก (885) เรียกว่ารหัสประเทศ EAN กำหนดให้สำหรับประเทศไทยมีเลขรหัส

ประเทศคือ 885 ประเทศหนึ่งๆ อาจจะใช้เพียงหมายเลขชุดเดียวหรือหลายชุดก็ได้

2. เลขสี่ตัวถัดมา (1234) จากสามตัวแรก (885 – รหัสประเทศ) คือรหัสสมาชิก EAN

หรือสถาบันจะเป็นผู้กำหนด สมาชิกจะตั้งรหัสเองไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการตั้งรหัสซ้ำซ้อนกัน

3. หมายเลขห้าตัวถัดมาจากรหัสสมาชิก (56789) คือหมายเลขประจำตัวสินค้าจะถูกกำหนดเอง

โดยสมาชิก เพื่อความสะดวกในกาสรจัดเก็บข้อมูลของสินค้าแต่ละชนิด

4. หมายเลขสุดท้าย (8) เป็นตัวตรวจสอบของคอมพิวเตอร์ว่าเลขที่อยู่ด้านหน้านั้นถูกต้องหรือไม่

ตัวอย่างตัวเลขรหัสประเทศที่ EAN กำหนด

ตามปกติทั่วไป แท่งที่ตั้งขนานกันมักจะพบเห็นสีดำ แต่ก็ไม่ใช่หลักตายตัว กิจการค้าอาจจะใช้สี

อื่นๆ ก็ได้ แต่ขอให้ใช้สีเข้มๆ เช่น น้ำเงิน น้ำตาล ม่วง เขียว ทั้งนี้เพื่อให้ตัดกับสีขาวที่เป็นสีสว่าง

ที่อยู่ระหว่างแท่งสี (BAR) ที่ Scanner สามารถอ่านรหัสได้ (ใช้หลักการสะท้อน)

ประโยชน์ของการใช้ Bar Code มีดังนี้ คือ

1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง การใช้ระบบ Bar Code เข้ามาใช้ในกิจการจะช่วยบอก

จำนวนสินค้าคงคลัง เพียงแต่ Bar Code ถูกเคลื่อนที่ให้ผ่านเครื่องอ่าน บัญชีสินค้าที่ขายในสต็อกก็จะถูก

ตัดออก ตัวเลขจำนวนสินค้าในสต็อกจะลดน้อยลง เมื่อเจ้าของกิจการเรียกดูจากโปรแกรมใน

คอมพิวเตอร์ ก็จะทราบได้ทันทีว่า ขณะนี้เหลือสินค้าชนิดนี้ อยู่เท่าไหร่ ควรจะสั่งมาเพิ่มเติมหรือไม่

จำนวนเท่าใด โดยไม่ต้องมีสินค้าค้างไว้มากเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหายของ

สินค้าไม่ว่าจะในด้านกายภาพ หรือคุณสมบัติ

2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้า ในคลังสินค้าของกิจการขนาดใหญ่อาจจะมีสินค้าที่

จำหน่ายนับเป็นจำนวนแสนชนิด การตรวจสอบสภาพและปริมาณของสินค้าคงเหลือ เป็นการยาก หรือ

ต้องใช้เวลามาก และเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการสูง ความถูกต้องแม่นยำก็ยังมีน้อยกว่าการเรียกดูข้อมูล

จากคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมในส่วนที่เกี่ยวกับ Bar Code ซึ่งสามารถเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ

ชนิดของสินค้าได้ทุกเวลา

3. ช่วยในด้านการจัดซื้อ ก่อนที่จะมีการจัดซื้อ ผู้จัดซื้อจะต้องทราบก่อนว่าจะต้องซื้อสินค้าชนิดใด

เป็นปริมาณเท่าไร ซึ่งจะทราบได้ก็ต่อเมื่อมีการตรวจนับสินค้าในคลังสินค้าซึ่งทำให้เสียเวลาและค่าใช้

จ่ายสูง กรณีนี้ Bar Code จะช่วยได้มาก เพราะถึงแม้จะหาสินค้านั้นๆ ไม่พบ แต่ Bar Code จะแจ้งให้

ผู้จัดซื้อ หรือคลังสินค้านั้นว่า สินค้าดังกล่าวยังคงมีเหลือแน่นอนเพียงแต่ต้องหา และยังเป็นการส่งเสริม

ให้มีการจัดระเบียบในคลังสินค้า

4. ช่วยในการบริหารการตลาด ในกรณีที่กิจการจะทำการส่งเสริมการขาย (Promotion) เพื่อจะ

ขายสินค้าให้ได้ กิจการจะต้องทราบว่าสินค้าชนิดใดจำหน่ายได้มากน้อยอย่างไร การใช้ Bar Code

จะช่วยจะแยกชนิดสินค้าที่ขายในการ Promotion ครั้งนั้น และช่วยบอกระดับของลูกค้าของกิจการได้ด้วย

ธุรกิจในประเทศไทยที่ต้องการใช้ Bar Code สามารถสมัครเป็นสมาชิกกับสถาบันสัญลักษณ์รหัส

แท่งไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

โดยจะมีค่าใช้จ่าย คือ ค่าสมาชิกรายปี และค่าลงทะเบียน และค่าลงทะเบียนแรกเข้าตามขนาดของธุรกิจ

ชุดการสอนที่ 6.1

สัญลักษณ์รหัสแท่ง (Bar Code)

มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ หลักการ วิธีการ ขั้นตอน

กระบวนการทำงาน การจัดการ สามารถทำงาน ประเมินผล ปรับปรุง และพัฒนางานธุรกิจ

มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจกระบวนการของเทคโนโลยี นำความรู้มาใช้ในงาน อาชีพอย่างสร้างสรรค์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

อธิบายการใช้สัญลักษณ์รหัสแท่งได้ถูกต้อง

สาระการเรียนรู้

1. ชนิดของสัญลักษณ์รหัสแท่ง (Bar Code)

2. ความหมายของตัวเลขสัญลักษณ์รหัสแท่ง

3. ประโยชน์ของการใช้ สัญลักษณ์รหัสแท่ง (Bar Code)