3

Click here to load reader

ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา

จัดท ำโดย : ครูอรวรรณ เสืออว่ม

ใบความรู้ที่ 3 เร่ือง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 2 รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย 3 รหัสวิชา ส22103

ชื่อ........................................................................................................... .....................ห้อง..............เลขที.่............

ปัจจัยท่ีส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา

เศรษฐกิจของอาณาจักรอยุธยาขึ้นอยู่กับการประกอบอาชีพหลัก 3 อย่าง คือ การเกษตรกรรม หัตถกรรม และพาณิชยกรรม ปัจจัยสนับสนุนการประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจดังกลา่ว มีดังน้ี 1. ท าเลที่ต้ัง อยู่ใกล้ปากอ่าวไทย จึงเดินเรือค้าขายกับต่างประเทศได้สะดวก 2. ลักษณะภูมิประเทศ เหมาะสมเป็นแหล่งเกษตรกรรม อาณาจกัรอยุธยาตั้งอยู่ในบรเิวณที่ราบลุ่มแม่น้้าเจ้าพระยาตอนลา่ง มีแม่น้้าสาขาต่าง ๆ อีกหลายสาย มีดินดีราษฎรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม 3. นโยบายส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ มีพ่อค้าชาวต่างชาติเข้ามาตั้งสถานีการค้าและหมูบ่้านอยู่อาศัยในบริเวณรอบ ๆ ราชธานีหลายกลุ่ม

ระบบเงินตรา

เงิน หรือเงินตรา เป็นปัจจยัส้าคญัในการเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสนิค้าให้เกิดการหมุนเวียนและกระจายไดด้ีขึ้น จึงจัดว่ามี่วนช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้มีความคล่องตัวขยายตัวได้และเป็นผลดี อยุธยาใช้เงินตราเป็นมาตรฐาน เงินในรูปเงินพดด้วง เช่นเดียวกับสโุขทัย พระคลังเป็นผู้ผูกขาดการท้าเงินตรา ซึ่งมี 4 ชนิดคือ 1. เงินพดด้วง มีตราประทับหลายแบบราคาที่ใช้กันมากคือ 1 บาท กึ่งบาท 1 สลึง 1 เฟื้อง 2. เบ้ีย เป็นเงินปลีก หรือเงินย่อย ท้าจากหอย 3. ไพ และกล่้า ท้าจากโลหะซึ่งไม่ใช่เงิน 4. เงินประกับ เป็นดินเผาตีตราประทับ ใช้แทนเบี้ยที่ขาดแคลนเริม่ใช้เมื่อ พ.ศ. 2287

การเกษตรกรรมสมัยอยุธยา

1. การเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลักของประชากรส่วนใหญ่ ถือว่าเป็นรากฐานของการพัฒนาอาณาจกัร และเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจอยุธยา ที่สา้คัญได้แก ่ - การท านา แหล่งปลูกข้าวท่ีส้าคัญ ได้แก่ ที่ราบลุ่มตอนล่างของแม่น้้าเจ้าพระยา - การท าสวน เช่น สวนมะพร้าว มะม่วง หมาก ทุเรียน มังคุด ขนุน ส้ม - การท าไร่ เช่น ไร่อ้อย พริกไทย สับปะรด - การประมง มีการจัดปลาน้้าจดื และน้้าเคม็ - การหาของป่า เช่น สัตว์ป่า ช้าง แรด นก กวาง เสือ หนังสัตว์ นอแรด ไม้ฝาง ยางไม้ ชัน ครั่ง ฯลฯ

Page 2: ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา

จัดท ำโดย : ครูอรวรรณ เสืออว่ม

2. การหัตถกรรม (อุตสาหกรรมครัวเรือน) แม้จะมีความส้าคญัน้อยกว่าการเกษตรกรรมและการค้าก็ตาม แต่หัตถกรรมก็มีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของอยุธยามีความเจริญรุ่ง สามารถผลติสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ หัตถกรรมที่สา้คัญได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เครือ่งจักสาน เครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง เครื่องเรือน 3. การพาณิชยกรรม เศรษฐกิจของอยุธยาข้ึนอยู่กับการค้าขายเปน็ส้าคัญทั้งการคา้ภายในและการค้ากับต่างประเทศ 3.1 การคา้ขายภายในประเทศ มี 2 ระบบ คือ 3.1.1 แลกเปลี่ยนโดยตรง เช่น น้าข้าวเปลือกแลกน้้าปลา น้าหมอ้แลกกับข้าวหรือผลไม ้ 3.1.2 แลกเปลี่ยนด้วยเงินตรา คอื การซื้อขายด้วยระบบเงินตรา 3.2 การค้าขายกับต่างประเทศ อยุธยากลายเป็นศูนย์กลางการคา้ที่ส้าคัญทั้งของหัวเมืองทางเหนือ เช่น สุโขทัย ล้านนา และของชาวต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย อาหรับ และชาตติะวันตก ลักษณะการค้าต่างประเทศท่ีส้าคัญ ได้แก ่ 3.2.1 รายแรกค้าขายได้อย่างเสร ี ไม่ต้องผ่านหน่วยงานของรัฐ ระยะหลังรัฐควบคุมเป็นคนกลาง เพือ่หาก้าไร 3.2.2 สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ส่วนใหญ่เป็นการค้าขายกับชาตเิอเชียด้วยกัน เช่น จีน อินเดีย ชวา มลายู ญี่ปุ่น 3.2.3 สมัยพระรามาธิบดีที่ 2 เริ่มมีการค้าขายกับชาตติะวันตก ได้แก่ โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส 3.2.4 สมัยพระมหาจักรพรรดิ มกีารตั้งพระคลังสินค้า เพื่อผูกขาดการค้า หาก้าไรสู่แผ่นดิน 3.2.5 สมัยพระเจ้าปราสาททอง-สมัยพระนารายณม์หาราช มีการผูกขาดสินค้ามากยิ่งข้ึน ท้าให้เศรษฐกิจอยุธยาเจรญิรุ่งเรือง 3.2.6 สมัยพระนารายณม์หาราช ชาวตะวันตกไม่พอใจนโยบายผูกขาดการค้าของไทยมาก ฮอลันดาจึงพยายามบีบบังคับให้ไทยยกเลิกพระคลังสินค้า แต่ไม่ส้าเร็จ 3.3 สินค้าออกที่ส าคัญ ได้แก่ งาช้าง หนังสัตว์ ไม้กฤษณา พรกิไทย กานพลู น้้าผึ้ง น้้าตาล ดนิประสิว น้้ามันสน ยางสน ครั่ง 3.4 สินค้าเข้าท่ีส าคัญ 3.4.1 สินค้าจากจีนและญี่ปุ่น เช่น ผ้าแพร ไหมดิบ ปรอท ทองค้า เครื่องเคลือบ และเครื่องลายคราม 3.4.2 สินค้าจากอินเดีย อาหรับ และเปอรเ์ซีย เช่น พรม ผ้าฝ้าย และน้้าหอม 3.4.3 สินค้าจากยุโรป เช่น อาวุธปืน เครื่องแก้ว และผ้าลูกไม ้ พระคลังสินค้า

เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่จดัตั้งขึน้เพื่อควบคุมการค้ามีหน้าที่ คือ 1. ตรวจเรือสินค้าต่างประเทศ เพื่อเลือกซื้อสินคา้ที่ราชการต้องการไว้ก่อน เช่น อาวุธ กระสุนปนื 2. ก าหนดสินค้าต้องห้าม ส่วนมากเป็นของหายาก มีน้อย ราคาแพง เช่น ข้าว เกลือ รังนก ดีบุก งาช้าง ดินประสิว ตะกั่ว ไมห้อม ไม้จันทร์ ฝาง กฤษณา นอแรด 3. ค้าส้าเภาของหลวง 4. เมืองท้าการค้ากับต่างประเทศที่ส้าคัญ ได้แก่ นครศรีธรรมราช ค้าดีบุก พริกไทย ปัตตานี ค้าพริกไทย ขี้ผึ้ง ภูเก็ต ค้าดีบุก อ้าพัน ไข่มกุ มะริดและตะนาวศรี ค้าข้าว ผลไม้ เพชรบุรี ค้าข้าว ฝ้าย บางกอก เป็นศูนย์กลางการค้ารองจากอยุธยา จันทบรุี ค้าพริกไทย เครื่องเทศ ของป่า

Page 3: ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา

จัดท ำโดย : ครูอรวรรณ เสืออว่ม

การค้ากับประเทศคู่ค้าที่ส าคัญ

จีน เป็นคู่ค้าส้าคญัที่สุดของอยุธยา มีการค้าภายใต้ระบบการทูตบรรณาการ สินค้าทีไ่ทยส่งไปขายในจีน ได้แก่ ข้าว ไม้ฝาง งาข้าว รังนก ดีบุก เกลือ ดินประสิว ก้ายาน ครั่ง ญี่ปุ่น สินค้าท่ีญี่ปุ่นนยิมซื้อ ได้แก่ ข้าว หนังกวาง ไม้แดง ไม้ฝาง งาช้าง สินค้าท่ีญี่ปุ่นน้ามาขาย ได้แก่ ทองแดง ทองค้า ผ้าแพร โปรตุเกส เข้ามาเป็นชาติแรก ได้ให้ความช่วยเหลือแก่อยุธยาด้านอาวุธปืน และกระสุนดินดา้ สเปน เข้ามาเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างฟิลิปปินส์กับอยุธยา ฮอลันดา ต้องการสินค้าหนังสัตว ์ พริกไทยและดีบุก อังกฤษ มีจุดประสงค์เพื่อการค้าและเป็นหนทางติดต่อกับจีนและญี่ปุ่น เดนมาร์ก มีสินค้ามีช่ือมาขาย คอื ปืนคาบศิลา

รายได้ของอาณาจักรอยุธยา

แหล่งที่มาของรายได้ของกรุงศรีอยุธยา อาจแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ ดังนี้ 1. รายได้จากค่าทดแทนการเกณฑ์แรงงาน ราษฎรต้องตอบแทนด้วยการอุทิศแรงงาน ท้างานให้หลวงปีละไม่เกิน 6 เดือน ราษฎรที่ถูกเกณฑไ์ปท้างานตามก้าหนด เรียกว่า เข้าเวร ผู้เข้าเวรไม่ได้ต้องส่งเงินหรือสิ่งของที่หลวงต้องการมาให้ทดแทน เรียกว่า ส่งส่วย จึงเป็นรายได้จากส่วยในรูปเงินและสิง่ของ ถ้าเป็นเงิน เดือนละ 2 บาท สิ่งของเป็นสิ่งของหายาก เช่น มูลค้างคาว ดีบุก งาช้าง 2. รายได้จากภาษีอากร 2.1 ภาษีสินค้าเข้า-สินค้าออก รวมทั้งภาษีที่เรียกว่า จังกอบ เช่น ภาษีปากเรือ (เรียกเกบ็ตามความกว้างของเรือ) 2.2 อากรนา เก็บเป็นหางข้าว และเก็บเป็นเงินไร่ละ 1 สลึงต่อปี อากรสวน ตันละ 1 บาทต่อปี ทุเรียนตันละ 2 สลึงต่อปี อากรตลาด คือ ภาษีที่เก็บจากร้านค้าและผูม้าขายของในตลาด 2.3 อากรขนอน หรือภาษีผา่นดา่น เก็บจากผู้น้าสินค้าผา่นด่าน สิบหยิบหนึ่ง (คือ ร้อยละ 10) 3. รายได้จากการค้าของพระคลังสินค้า ผูกขาดการค้าศสัตราวุธไว้เพียงผู้เดยีว เป็นผู้ก้าหนดสินค้าต้องห้าม ก้าหนดราคาสินค้าเอง 4. รายได้จากค่าฤชา คือค่าธรรมเนียมเรียกเกบ็จากราษฎรที่มาใช้บริการของรัฐ เช่น การออกโฉนดตราสารกรรมสิทธ์ิที่ดิน ท่ีนา 5. รายได้อื่น ๆ เช่น รายได้จากเครื่องราชบรรณาการของเจ้าประเทศราช หรือจากของขวัญของก้านัลที่เจ้าเมือง ขุนนาง หรือพ่อค้าน้ามาถวาย

รายจ่ายของอาณาจักรอยุธยา

1. ด้านความมั่นคง จัดไว้เพื่อการป้องกันประเทศและขยายอาณาจักร 2. ด้านพระพุทธศาสนา จัดไว้เพื่อนิตยภัตแต่พระภิกษุสงฆ์ งานกฐิน งานปฏิสังขรณ์วัด 3. ด้านราชส านักและราชการทัว่ไป จัดไว้เพื่อพระมหาอุปราช และพระราชวงศ์ช้ันสูง และข้าราชการฝ่ายหน้า 4. ด้านพระราชพิธี จัดไว้เพื่อการราชพิธีต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายด้านการทูตและเครื่องบรรณาการ 5. ด้านบ าเหน็จและเงินเบี้ยหวัดรายปี สมัยอยุธยาข้าราชการไมม่ีเงินเดือน มีแตเ่งินท่ีทางการ จ่ายให้ เรียกว่า เบี้ยหวัดรายป ี