25

วันที่ 24 มิถุนายน 2558 (VCS)

Embed Size (px)

Citation preview

สรุปประชมุหารือขอ้ราชการของกระทรวงมหาดไทย ประจําวันพุธที่ 24 มิถุนายน ๒๕๕8 เวลา 09.30 น. ณ หอ้งประชุม 1 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย

******************

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

การประชุมหารือข้อราชการของกระทรวงมหาดไทยผา่นระบบวดีทิศันท์างไกล (Video Conference System) ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

1. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลประชาชนโดยขอให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบว่าหากมีปัญหาหรือมีความเดือดร้อน ไม่ต้องตัดสินใจทําอะไรรุนแรงหรือเป็นอันตรายต่อตัวเอง สามารถมาปรึกษาที่ศูนย์ดํารงธรรมจังหวัดได้ และให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานของศูนย์ดํารงธรรมจังหวัด ให้คําปรึกษา แบ่งเบาภาระและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน 2. การบริหารงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด 3. การจัดตลาด ให้ผู้ ว่าราชการจังหวัดจัดตลาดในพื้นที่จังหวัดให้มีความเคลื่อนไหวเกิดกระแสหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

ทุกจังหวัด

ทุกจังหวัด

ทุกจังหวัด

ความก้าวหน้าการจัดกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พร ะบ รม ร า ชิ นี น า ถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 12 สิงหาคม 2558“ปั่นเพื่อแม่ หรือ BIKE FOR MOM”

นายกรัฐมนตรีได้จัดแถลงข่าว (Kick off) การจัดกิจรรมฯ พร้อมกันทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2558 โดยให้ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและเข้าร่วมกิจกรรม ผลการดําเนินการ 1. เส้นทาง/ระยะทาง/แผนผัง - ทุกจังหวัดได้ดําเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเน้นย้ําให้พิจารณาระยะเวลาการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพิธีเปิด-ปิดในส่วนกลาง - จัดทําป้ายบอกทาง สัญลักษณ์เพื่ออํานวยความสะดวก 2. การประชาสัมพันธ์ ทั้งส่วนกลางและทุกจังหวัดได้ติดต้ังป้ายประชาสัมพันธ์ Cutout โปสเตอร์ ตามจุดที่กําหนด พร้อมทั้งให้ทุกจังหวัดรายงานการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอนให้กระทรวงมหาดไทยทราบ 3. การจัดทําแผน ด้านความปลอดภัย แผนเผชิญเหตุ แผนรองรับกรณีเหตุสุดวิสัย กิจกรรมเสริมพิเศษ ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 1. ให้จังหวัดจัดต้ังศูนย์ควบคุมการจัดกิจกรรมทั้งหมดโดยทําหน้าที่ - รายงานเหตุการณ์ให้ส่วนกลางทราบ (ศูนย์บัญชาการกระทรวงมหาดไทย) เพื่อรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ไปที่กองอํานวยการร่วมสนามเสือป่า - ควบคุมการปฏิบัติในพื้นที่จังหวัด โดยมอบหมายเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ในแต่ละช่วงของขบวนจักรยานเพื่อดูแลความเรียบร้อยและรายงานสถานการณ์ ในพื้นที่ระหว่างการจัดกิจกรรม

กก.สป./ ทุกจังหวัด

ทุกจังหวัด

2

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

2. เส้นทางการจัดกิจกรรม - กําหนดระยะทาง 25-40 กิโลเมตร บริหารจัดการการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพิธีเปิด-ปิดในส่วนกลาง - สํารวจสภาพเส้นทาง จุดพัก และเส้นทางลัด/จุดที่พักสํารองกรณีเหตุสุดวิสัย พร้อมทั้งซักซ้อมการปั่นจักรยานในเส้นทางจริง 3. เตรียมแผนเผชิญเหตุ/แผนความปลอดภัย/เส้นทางสํารอง/จุดพัก กรณีเกิดเหตุสุดวิสัย 4. ประชาสัมพันธ์ให้ทุกกลุ่มอาชีพ ทุกเพศทุกวัย ทุกภาคส่วน ทุกชนิดจักรยานให้เข้าร่วมกิจกรรม กระตุ้นให้เกิดกระแสการมีส่วนร่วม 5. เสื้อพระราชทานและเข็มกลัดให้กระจายไปทุกกลุ่มอาชีพ ทุกเพศทุกวัย และทุกภาคส่วน พร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้ที่มีสิทธิได้รับเสื้อภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2558 สําหรับผู้ไม่ได้รับเสื้อพระราชทานขอให้ใส่เสื้อสีฟ้าในการเข้าร่วมกิจกรรม

การเตรียมการจัด ประชุมคณะรัฐมนตร ีนอกสถานที่อย่างเป็น ทางการระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2558

จังหวัดเชียงใหม่ (นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่) รายละเอียดการเดินทางไปราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2558 ดังนี้ 1. กําหนดการของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน 2558 - กราบมนัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร - ตรวจเยี่ยมตลาดบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด (ตลาดธรรมชาติ) - เข้าที่พัก ณ โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท - รับประทานอาหารเย็น ณ โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท วันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2558 - เยี่ยมชมผลงานความคืบหน้าการปฏิบัติงานตามนโยบายรัฐบาลของ ส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น จํานวน 27 บอร์ด - ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2558 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา - รับประทานอาหารกลางวันบริเวณ ณ ห้องราชพฤกษ 2 - เดินทางไปท่าอากาศยานทหาร กองบิน 41 เพื่อเดินทางไปจังหวัดพิษณุโลก 2. สถานที่พัก ผู้รับผิดชอบ คือ มณฑลทหารบกที่ ๓๓ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้จัดเตรียมห้องพัก จํานวน 150 ห้อง สําหรับคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว 3. การจัดเลี้ยงอาหารว่าง - ในห้องประชุม ผู้รับผิดชอบ ได้แก่ มณฑลทหารบกที่ ๓๓ และกองบิน 41 เป็นผู้รับผิดชอบ - นอกห้องประชุม ผู้รับผิดชอบ คือ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้จัดอาหารว่างประเภทอาหารพื้นเมืองไว้บริการสําหรับผู้เข้าร่วมการประชุม และมีการแสดงดนตรี (วงสะล้อ ซอ ซึง)

3

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4. เส้นทางและยานพาหนะของคณะรัฐมนตรีที่ใช้ในการเดินทาง - เส้นทาง การจัดเส้นทางเพื่ออํานวยความสะดวกไม่มีปัญหาแต่อย่างใด - ยานพาหนะของคณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ผู้แทนของส่วนราชการแต่ละกระทรวงในพื้นที่เป็นผู้ดูแลรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงนั้นๆ ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ จะดูแล นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี 5. การจัดการด้านมวลชน จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการออกหาข่าวในพื้นที่เป็นการล่วงหน้าแล้ว โดยขอให้ผู้ที่จะยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน มาย่ืนเรื่องที่ศูนย์ดํารงธรรมจังหวัดก่อนที่จะมีการประชุม และสําหรับในวันประชุมได้จัดต้ังศูนย์ดํารงธรรมจังหวัด เพื่อรับเรื่อง ร้องทุกข์ ร้องเรียน ของประชาชน ณ บริเวณสถานที่จัดประชุม ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ให้บริการ 6. การจัดเลี้ยงอาหารมื้อกลางวันสําหรับคณะรัฐมนตรี สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ประสานการเตรียมการในพื้นที่แล้ว ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดอาหารพื้นเมืองมาเสริม จังหวัดพิษณุโลก (นายวิทูรัช ศรีนาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก) รายละเอียดการเดินทางไปราชการจังหวัดพิษณุโลก เพื่อตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของนายกรัฐมนตรีและคณะในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ดังนี้ 1. พื้นที่การจัดงาน บริเวณสนามหญ้าขององค์การบริหารส่วนตําบลพรหมพิราม ประกอบด้วย เต็นท์ OTOP เต็นท์การบริการประชาชน และเต็นท์แสดงผลการดําเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล สําหรับพ้ืนที่บริเวณกลางสนามจะเป็นที่นั่งของหัวหน้าส่วนราชการและประชาชนที่เข้ามาร่วมงาน โดยจะมีหลังคาโดมปิดทั้งหมด 2. ผู้เข้าร่วมงาน จํานวน ประมาณ 1,500 คน ประกอบด้วย กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาท้องถิ่นในพื้นที่อําเภอพรมพิราม หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชน 3. กําหนดการ - ชมการแสดงของกลุ่มแม่บ้าน/นักเรียน - ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกกล่าวต้อนรับและบรรยายสรุปภาพรวมผลการดําเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล (เวลา 10 นาที) ดังนี้ (1) การบริการจัดการน้ํา โครงการบูรณาการบําบัดรักษา ฟ้ืนฟูและพัฒนาสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (ศูนย์ขวัญแผ่นดินพิษณุโลก) และโครงการยุทธการทวงคืนผืนป่า การบังคับใช้กฎหมายต่อพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกปลูกยางพาราในพื้นที่ป่า (2) โครงการผลิตข้าวคุณภาพ ตลาดทางเลือกของชาวนาผ่านกลไกสหกรณ์ขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ (3) โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ (ปราชญ์ชาวบ้าน) - มอบนโยบายให้แก่ส่วนราชการ - เยี่ยมชมผลการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและพบปะประชาชน - นายกรัฐมนตรีเดินทางไปท่าอากาศยานทหาร กองบิน 46

4

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

กองพลทหารราบที่ 4 (พลตรี นพพร เรืองจันทร์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4) 1. สถานการณ์ในพื้นที่ ความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้เห็นต่างทางการเมืองไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด ทั้งนี้ มีกลุ่มที่เคลื่อนไหวในปัจจุบัน ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ปลูกยางพาราที่ได้รับผลกระทบตามยุทธศาสตร์ทวงคืนผืนป่า 2) กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิ และยังไม่ได้รับเงินค่าข้าวจากโรงสี 3) กลุ่มที่มีปัญหาในพื้นที่สี่แยกอินโดจีน ระหว่างพ่อค้า ประชาชน และเจ้าของตลาด 4) กลุ่มหนังสือพิมพ์พลเมืองที่ได้จัดต้ังกลุ่มฌาปนกิจ โดยนําเงินจากประชาชนไปประมาณ จํานวน 3,000 ราย ทั้งนี้ ได้ช้ีแจงทําความเข้าใจกับทุกกลุ่มแล้วและได้ดําเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว 2. แผนการรักษาความปลอดภัย ได้จัดกําลังเพื่อรักษาความปลอดภัยโดยเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่ได้กําหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกเป็นผู้แทนของกระทรวงมหาดไทยในการดูแลนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่ลงไปในพื้นที่ ข้อสั่งการของปลัดกระทรวงมหาดไทย 1. การจัดบอร์ดนิทรรศการบริเวณหน้าห้องประชุมของจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรม/รัฐวิสาหกิจในสังกัดร่วมจัดบอร์ดนิทรรศการ 2. มอบหมายให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยดูแลรับผิดชอบ ประสานงานการเตรียมการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ดังกล่าว ดังนี้ - ร.ต.ท. อาทิตย์ บุญญะโสภัต ดูแลรับผิดชอบ ณ จังหวัดเชียงใหม่ - นายไมตรี อินทุสุต ดูแลรับผิดชอบ ณ จังหวัดพิษณุโลก 3. เนื้อหาการประชุมที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมความพร้อมของข้อมูลและประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และขอให้จังหวัดอํานวยความสะดวกให้แก่สื่อมวลชนด้วย 4. ขอให้จังหวัดพิจารณาเรื่องสภาพภูมิอากาศ และเตรียมแผนสํารองไว้ด้วย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายไมตรี อินทุสุต) 1. ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดทําคําบรรยายให้เกิดความเช่ือมโยงร้อยเรียงปัญหา แล้วนําไปสู่การพัฒนาโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง 2. การบ่งชี้กิจกรรม ซึ่งมหาดไทยเป็นบ้าน ทหารเป็นรั้ว 3. ศูนย์ดํารงธรรมเคลื่อนที่ ขอให้เป็นตัวแบบที่ประชาชนมาใช้บริการแล้วเกิดความพึงพอใจ และให้ประมวลผลการดําเนินงานแล้วรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบโดยเร็ว เพื่อนํากราบเรียนนายกรัฐมนตรีทราบผลการดําเนินงานของศูนย์ดํารงธรรมเคลื่อนที่ 4. ให้การประปาส่วนภูมิภาค จัดน้ําด่ืมเพื่อให้บริการแก่ผู้เข้าร่วมงานด้วย

จ. เชียงใหม่/จ.พิษณุโลก

ทุกหน่วยงาน/จ.เชียงใหม่

รอง ปมท.(บ)/ รอง ปมท. (ส)

ทุกหน่วยงาน/ จ. เชียงใหม่/จ.พิษณุโลก จ. เชียงใหม่/จ.พิษณุโลก

จ. เชียงใหม่/จ.พิษณุโลก

สตร.สป./

จ. เชียงใหม่/จ.พิษณุโลก

กปภ.

5

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

การบริหารจัดการน้ํา (ภัยแล้ง)

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้สั่งการให้ทุกอําเภอ ร่วมกับ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน สภาเกษตรกร และหน่วยทหารในพื้นที่ ไปช้ีแจงทําความเข้าใจกับประชาชนให้ทราบว่า ขณะนี้ได้มีการปลูกข้าว จํานวน 450,000 ไร่ ชลประทานสามารถส่งน้ําไปให้ได้ แต่หากมีการปลูกเพิ่มเติมอีก 500,000 ไร่ จะทําให้พื้นที่ที่ปลูกไปแล้วได้รับความเสียหายด้วย จังหวัดนครปฐม (นายชาติชาย อุทัยพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม) จังหวัดนครปฐมไม่ปรากฏความเสียหายที่เกิดจากสภาวะภัยแล้ง เนื่องจากมีระบบชลประทานคลอบคลุมพ้ืนที่ทั้งจังหวัด รวมทั้งได้ช้ีแจงแนวทางการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาลให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว การประปาสว่นภูมิภาค (นายจําเนียร เมืองจันทร ์ผู้อาํนวยการฝ่ายทรพัยากรน้าํ การประปาส่วนภูมิภาค) การประปาส่วนภูมิภาคได้ประสบปัญหาภัยแล้ง จํานวน 16 แห่ง แบ่งเป็นขาดแคลนน้ําดิบ จาํนวน 12 แหง่ และน้ําเค็ม จํานวน 4 แห่ง ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน จึงขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงมหาดไทย ดังนี้ 1. ขอให้กรมชลประทานจัดสรรน้ํา เพื่อการอุปโภคบริโภคตามที่การประปาส่วนภูมิภาคร้องขอ 2. ขอความอนุเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยแจ้งจังหวัด/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ให้การประปาส่วนภูมิภาคใช้ แหล่งน้ําของท้องถิ่น หรือหน่วยงานในพื้นที่ในช่วงวิกฤต 3. ขอความอนุเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยแจ้งจังหวัด/ท้องถิ่น/เกษตรกร งดการสูบน้ําใช้น้ําจากคลองชลประทานหรือคลองธรรมชาติ ช่วงที่มีปริมาณน้ําจํากัดหรือมีการจัดรอบเวรที่ชัดเจน 4. ขอความอนุเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยมอบหมาย/สั่งการ ให้ท้องถิ่น/ ผู้ว่าราชการจังหวัด สนับสนุนการขอใช้แหล่งน้ําหรือขอใช้ที่ดินของ การประปาส่วนภูมิภาค เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง 5. การขอสนับสนุนทําฝนหลวงในพื้นที่ขาดแคลนน้ํา ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 1. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทําความเข้าใจกับประชาชน ดังนี้ - ปีนี้ประสบปญัหาภัยแล้งแต่น้ําอุปโภคบริโภคมีเพียงพอ - พ้ืนที่ปลูกข้าวในลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา มีจํานวนทั้งสิ้น 7.45 ล้านไร ่ ปลูกไปแล้ว จํานวน 3.44 ล้านไร่ ประเมินแล้วสามารถดูแลได้ และในพื้นที่ 3.44 ล้านไร่ มีพ้ืนที่ประมาณ 8 แสนไร่ จะได้รับน้ําจากชลประทานไม่เต็มที่โดยเฉพาะพ้ืนที่ดอน รัฐบาลจึงมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

22 จว. ลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา

6

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

โดยกรมทรัพยากรน้ําบาดาล ไปขุดเจาะบ่อในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ชลประทานจะเป็นผู้ช้ีจุดที่จะขุดเจาะในพื้นที่ 8 แสนไร่ - พ้ืนที่ที่ยังไม่ได้ปลูกข้าวจํานวน 3.45 ล้านไร่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอแนวคิดดังนี้ 1) เลื่อนการเพาะปลูกไปตามสถานการณ์ฝนที่จะตก 2) ต้องเปลีย่นไปปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ําน้อย เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว 3) เปลี่ยนพชืที่ปลูก ซึ่งเปน็โครงการระยะยาว - การทําฝนหลวง ที่ผ่านมามีการทําฝนหลวงซึ่งอาจะได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง (ความช้ืนไม่พอ) แต่ในขณะนี้มีลมมรสุมพัดเข้ามา ทําให้มีผลต่อประเทศไทย จึงจะมีการทําฝนหลวง แล้วหวังว่าฝนจะตกบริเวณเหนือเขื่อน ทั้งนี้ ในระยะต่อไปหากมีลมมรสุมพัดเข้ามาอีก จะดําเนินการทําฝนหลวงอีก อาจจะได้น้ํามากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ทําให้สามารถบริหารจัดการน้ําได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานการปฏิบัติกับกรมชลประทานในการจ่ายน้ํา/ส่งน้ํา ให้ใช้ในการเกษตร พร้อมทั้งร่วมปฏิบัติงานกับ ทหาร ตํารวจในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจและควบคุมไม่ให้เกิดสถานการณ์แย่งน้ํา สถานการณ์ความขัดแย้งของประชาชน 3. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเตรียมการรองรับเครื่องจักรกลการเกษตรที่จะลงไปในพ้ืนที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี 4. ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดูแลเรื่องแหล่งน้ําอุปโภคบริโภค ในพื้นที่แล้งซ้ําซาก เป็นหลัก 5. ระบบการรายงาน ขอให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยใช้ฐานข้อมูลการแก้ปัญหาภัยแล้งตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สั่งการเป็นหลักในการติดตาม รายงานความคืบหน้าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้อย่างใกล้ชิด 6. ขอให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดนครปฐมประสานการปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่ชลประทานในการบริหารจัดการน้ําในพื้นที่ และขอให้ทําความเข้าใจกับประชาชนที่ยังไม่ได้ปลูก ให้ชะลอการเพาะปลูกออกไปก่อนจนกว่าจะมีฝนตก

22 จว. ลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา

ทุกจังหวัด

ปภ./สถ.

ปภ.

จ.พระนครศรี อยุธยา/นครปฐม

การประชุมหารือข้อราชการของกระทรวงมหาดไทย (เฉพาะส่วนกลาง)

ข้อสั่งการของ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทย

1. การปฏิบัติราชการ 1.1 ขอให้เพื่อนข้าราชการทุกคน ทุกหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ร่วมกันปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล/คณะรักษาความสงบแห่งชาติ/กระทรวงมหาดไทย รวมถึงนโยบายของหน่วยงานอ่ืน ๆ โดย “กระทรวงมหาดไทยร้อยใจเป็นหนึ่งเดียว” ที่ดําเนินงานในพื้นที่ ทั้งนี้ ขอให้บูรณาการการปฏิบัติงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.2 นโยบายที่ได้รับมอบหมายพิเศษ ให้กระทรวงมหาดไทยเตรียมรองรับเพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เช่น การแก้ไขปัญหาน้ําท่วม/จราจรในกรุงเทพมหานคร การช่วยเหลือเกษตรกร เป็นต้น

ทุกหน่วยงาน/ทุกจังหวัด

7

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1.3 ติดตามข่าวสาร/ข้อมูล/มติคณะรัฐมนตรี/ปัญหาของประเทศที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย และบูรณาการการดําเนินการเพื่อแก้ไข/รองรับสถานการณ์ 1.4 พิจารณาจุดอ่อนในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาพร้อมทั้งแก้ไขปรับปรุง 1.5 ขอเน้นย้ําผู้ว่าราชการจังหวัดหากมีข่าวในพื้นที่ที่ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง/มีการบิดเบือน ขอให้ช้ีแจงทําความเข้าใจกับสื่อมวลชนและประชาชนในพื้นที่ให้ถูกต้องต่อไปด้วย

ข้อราชการของ ปลัดกระทรวง มหาดไทย

1. การปฏบิตัริาชการ 1.1 การติดตามงานตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งได้กําหนดประเด็นจํานวน 20 ประเด็น โดยได้สั่งการให้ผู้รับผิดชอบทราบและดําเนินการ โดยให้ทุกหน่วยงานติดตามงานและรายงานความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง 1.2 การติดตามงานในพื้นที่ ให้กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ติดตามงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิดและรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น/ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไขให้กระทรวงมหาดไทยทราบ 2. ภัยแล้ง ให้ทุกหน่วยงานหามาตรการที่ได้เคยดําเนินการแล้วได้ผล มาเพื่อช่วยเหลืออีกทางหนึ่งด้วย 3. การเตรยีมความพร้อมในการบรหิารงบประมาณ - การเตรียมความพร้อมการบริหารงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ให้ทุกหน่วยงานและทุกจังหวัด เตรียมสรุปประเด็นอุปสรรคของปี 2558 และได้มีการวางแผนแก้ไข/ความพร้อมอย่างไรบ้าง - เน้นย้ําให้จังหวัดตรวจสอบงบประมาณ Function ที่ได้รับจัดสรรจากหน่วยงานอื่นๆ ลงในพื้นที่ ซึ่งได้จัดสรรไปให้ปลายปีงบประมาณ ทําให้จังหวัดเบิกจ่ายไม่ทัน 4. การประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีงานศูนย์ดํารงธรรม และการจัดนิทรรศการหน้าห้องประชุมของทุกกระทรวง ขอให้กรม รัฐวิสาหกิจ ร่วมกันจัดนิทรรศการดังกล่าว และให้เตรียมประเด็นที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ

ทุกหน่วยงาน

ปค./สถ.

ทุกหน่วยงาน ทุกหน่วยงาน/ทุกจังหวัด

ทุกหน่วยงาน/จ.เชียงใหม่

สรุปข่าวสารสําคัญจากศูนย์แก้ไขปัญหาความม่ันคงแบบบูรณาการ (ศมบ.)

เลขานุการศูนย์ปฏิบัติการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงมหาดไทย (นายภานุ แย้มศรี) 1. สํานักข่าวกรองแห่งชาติได้รายงานผลการสํารวจความพึงพอใจของประชาชน โดยประชาชนร้อยละ 84 พึงพอใจที่บ้านเมืองปลอดภัยและมีความสงบจากการท่ี คณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ามาควบคุมการปกครองและปลอดจากนักการเมือง และผลสํารวจร้อยละ 80 มีความเห็นว่าไม่ควรอยู่นานกว่า Road Map ที่กําหนดไว้ ซึ่งประเมินได้ว่าประชาชนยอมรับการทํางานของ คสช. 2. แนวทางการดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนแข่งรถจักรยานยนต์จากการประชุมร่วมกระทรวงยุติธรรมได้ข้อสรุป 5 แนวทาง

8

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

2.1 ด้านผู้ปกครอง ให้นํา พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาบังคับใช้ 2.2 ด้านร้านค้าแบ่งเป็น 2 ลักษณะ กรณีร้านค้าที่ดําเนินการและได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 หากตรวจพบว่ามีการลักลอบปรับแต่งรถจักรยานยนต์ที่ผิดกฎหมาย ให้ดําเนินการทางกฎหมายและหยุดการประกอบกิจการ กรณีร้านค้าขนาดเล็กที่ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ. โรงงานฯ ให้ร่วมกับ อปท. ใช้ พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เข้าไปดําเนินการตรวจสอบ โดยใช้มาตรการในการป้องปรามเป็นหลัก 2.3 ด้านเยาวชน ให้นํากฎกระทรวงของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เช่น กฎกระทรวงกําหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทําผิด พ.ศ. ๒๕๔๙ มาบังคับใช้ หากเป็นเยาวชนในสถานศึกษาให้กระทรวงศึกษาธิการดําเนินการ กรณีนอกสถานศึกษาให้ พม. ดําเนินการ 2.4 ด้านส่วนราชการ ให้ทุกส่วนราชการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด 2.5 ด้านกฎหมาย ให้มีการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงยุติธรรมจะเร่งรัดให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งมีการเสนอให้ใช้อํานาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2557 (ฉบับช่ัวคราว) 3. ข่าวการลักลอบเข้าเมืองของชาวอินเดียโดยการจ้างหญิงไทยจดทะเบียนสมรสที่นําเสนอของสื่อมวลชน และสื่อต่าง ๆ มีกระบวนการค้ามนุษย์รับจัดการให้ทั้งหมดโดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองกระทําการทุจริต ส่งผลกระทบทางลบต่อภาครัฐ จึงจําเป็นต้องดําเนินการตามมาตรการปราบปรามการทุจริตภาครัฐอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์จากการใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ 4. สหรัฐอเมริกาจะพิจารณาการดําเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทย ประมาณปลายเดือนมิถุนายน 2558 โดย สขช. ประเมินว่าไทยน่าจะยังคงถูกจัดในบัญชี TIER 3 เช่นเดิม 5. IAEA (International Atomic Energy Agency) อนุมัติความตกลงจัดต้ังธนาคารยูเรเนียมในสาธารณรัฐคาซัคสถาน ซึ่งคาดว่าจะเปิดทําการได้ในปี 2560 ทั้งนี้ สาธารณรัฐคาซัคสถานเป็นประเทศที่มีปริมาณแร่ยูเรเนียมมากที่สุดในโลก และกําลังรณรงค์เรื่องความมั่นคงทางพลังงานโดยเฉพาะด้านพลังงานนิวเคลียร์เพิ่มเติมจากพลังงานน้ําและแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการหาเสียงเข้าเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ไม่ถาวร) ซึ่งประเทศไทยได้อยู่ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเช่นกัน 6. บทบาทของรัฐบาลเมียนมาภายหลังการประชุมร่วม เรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย โดยรัฐบาลเมียนมาได้แถลงว่ากรณีปัญหาชาวเมียนมาและเบงกาลี (โรฮีนจา) เป็นปัญหาการหลอกลวงแรงงานและเป็นการค้ามนุษย์ รัฐบาลเมียนมาจะร่วมมือในการดําเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง

9

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

กรมการปกครอง (นายกฤษฎา บุญราช อธิบดีกรมการปกครอง) 1. การจดทะเบียนโดยมิชอบ ลักษณะที่ 1 คือการจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าพนักงานนั้น คู่สมรสต้องมาปรากฏต่อหน้านายทะเบียน แต่ที่ผ่านมาการจดทะเบียนดังกล่าวส่วนใหญ่จะมาจดทะเบียนแต่ฝ่ายชาย คู่สมรสฝ่ายหญิงไม่มา และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีส่วนร่วมกระทําการทุจริตด้วยโดยดําเนินการยินยอมให้จดทะเบียน ลักษณะที่ 2 คู่สมรสมาจดทะเบียนด้วยกัน แต่เมื่อจดทะเบียนสมรสเสร็จเรียบร้อยต่างแยกย้ายกัน พบว่าในพื้นที่ภาคกลาง 4-5 จังหวัด และภาคอีสาน 3 จังหวัด ประมาณ 2,000 กว่าคู่ 2. มาตรการ 2.1 มาตรการแก้ไข - กรณีคู่สมรสมาแจ้งจดทะเบียนฝ่ายเดียว ให้นายอําเภอเพิกถอนการ จดทะเบียน - กรณีคู่สมรสมาทั้งสองฝ่ายให้ทําหนังสือแจ้งคู่สมรสมาสอบปากคําเพิ่มเติมว่ามีการอยู่กินฉันท์สามีภรรยาหรือไม่ - การต้ังกรรมการสอบสวน ระหว่างการดําเนินการสอบสวนนั้นให ้ ย้ายปลัดอําเภอออกมา พร้อมกับการดําเนินคดีทางอาญา - ขณะนี้กรมการปกครองได้มีการประสานงานกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐร่วมกันตรวจสอบการกระทําความผิดดังกล่าว 2.2 มาตรการป้องกัน - กรมการปกครองได้มีหนังสือแจ้งเวียนไปถึงนายอําเภอทุกอําเภอ กรณีคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนต่างด้าว ให้นายอําเภอเป็นนายทะเบียนด้วยตนเอง - ให้นายอําเภอลงนามทราบในสมุดผ่านงานทะเบียนในการจดทะเบียนสมรสเป็นประจําทุกวัน เพื่อตรวจสอบความผิดปกติ - กรมการปกครองในฐานะนายทะเบียนกลาง ให้กํากับดูแลการเคลื่อนไหวด้านการทะเบียนใน 3 ลักษณะที่ผิดปกติของแต่ละอําเภอ ดังนี้ (1) อําเภอใดมีการจดทะเบียนสมรสเกินวันละ 50 คู่ (2) มีการเพิ่มช่ือลงในทะเบียนบ้านเกินกว่า 20 คน (3) มีการแจ้งชื่อลงทะเบียนเกินกําหนดกว่า 20 คน - ส่งผู้ตรวจราชการกรมการปกครองออกไปตรวจสอบ ทั้งนี้ ได้นําเรียนปลัดกระทรวงมหาดไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายกรัฐมนตรีทราบแล้ว ข้อสั่งการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 1. การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายของชาวอินเดีย จีน โดยการจ้างหญิงไทย จดทะเบียนสมรส ให้กรมการปกครองประสานไปยังนายทะเบียนกลางเพื่อช่วยตรวจสอบการจดทะเบียนทุกวันเพื่อป้องกันการทุจริต และดําเนินการตามมาตรการ

ปค./ ทุกจังหวัด

10

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ปราบปรามการทุจริตภาครัฐอย่างเข้มงวดแล้วรายงานให้ทางกระทรวงมหาดไทยทราบ 2. ให้ผู้ ว่าราชการจังหวัดกําชับข้าราชการฝ่ายปกครองบูรณาการร่วมกับหน่วยงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาการแข่งรถจักรยานยนต์ของเยาวชนในถนนสาธารณะ

ปค./

ทุกจังหวัด

การลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร กรณีลดค่าเช่านา

กรมการปกครอง (นายกฤษฎา บุญราช อธิบดีกรมการปกครอง) 1. กระทรวงมหาดไทยได้แต่งต้ังคณะทํางานร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขและยกร่าง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 โดยได้ดําเนินการร่วมกัน ดังนี้ 1.1 ปรับปรุงโครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) โดยให้มี คชก. อําเภอเพื่อเพิ่มศักยภาพในการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการและองค์กรปกครองท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการในปัจจุบัน รวมทั้งให้มีคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) มีส่วนร่วมในการสรรหาผู้แทนผู้เช่าและผู้แทนผู้ให้เช่าใน คชก. 1.2 กําหนดอัตราค่าเช่าขั้นสูง ผลผลิตขั้นสูง และการกําหนดระยะเวลาการเก็บค่าเช่าตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ให้สะท้อนข้อเท็จจริงในพื้นที่และเป็นธรรม โดยจําแนกตามสภาพดินและน้ําแยกเป็นพื้นที่นอกหรือในเขตชลประทาน และให้คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ซึ่งเป็นผู้แทนประชาชนได้มีส่วนร่วมตามท่ีกําหนดในกฎกระทรวง 1.3 การเช่านาต้องจัดทําสัญญาเช่าเป็นหนังสือ มีกําหนดเวลาเช่าไม่น้อยกว่า 2 ปี และใช้บังคับตามเงื่อนไขสัญญาเพื่อให้มีความชัดเจน สามารถบังคับได้จริงและเป็นธรรม กรณีไม่กําหนดเวลาเช่า กฎหมายกําหนดให้เช่าเป็นเวลา 6 ปี 2. กรมการปกครองได้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาส่ง ร่างพ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เพื่อให้สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่าง และระหว่างนี้กรมการปกครองได้กําหนดมาตรการ ดังนี ้ 2.1 แจ้งให้นายอําเภอกําชับ คชก. ในระดับหมู่บ้านให้ทบทวนบัญชีรายชื่อผู้เช่านาและผู้ให้เช่านาแล้วประกาศให้ทราบในพื้นที่เพื่อให้เกิดความชัดเจน 2.2 กําหนดให้ประกาศอัตราค่าเช่าสูงสุดที่ตกลงกันได้ 2.3 กําหนดช่องทางการร้องเรียนร้องทุกข์ผ่านนายอําเภอหรือศูนย์ดํารงธรรม 2.4 ให้นายอําเภอเจราจาต่อรองกับ คชก. เพื่อลดค่าเช่านา

ภาษีบํารุงท้องที่ กรมการปกครอง (นายกฤษฎา บุญราช อธิบดีกรมการปกครอง) กรมการปกครองเสนอร่างพระราชกําหนดเพื่อแก้ไข มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีบํารุงท้องที่ พ.ศ. 2508 เพื่อให้อํานาจรัฐมนตรีที่รักษาการตามกฎหมาย ออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราภาษีไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติภาษีบํารุงท้องที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างขอทราบความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

11

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ทั้งนี้ กรมการปกครองได้เสนอร่างกฎกระทรวงว่าด้วยอัตราภาษีบํารุงท้องที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยพิจารณาต่อไป ข้อสั่งการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ขอความร่วมมือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กําชับทุกท้องถิ่นปฏิบัติตาม พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในท้องถิ่นรับทราบด้วย

ปค./สถ.

การบริหารงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย ประจําปี พ.ศ. 2558

สํานักนโยบายและแผน สป. (นายชลธี ยังตรง ผู้อํานวยการสํานักนโยบาย และแผน) กระทรวงมหาดไทย มีผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2558 ในภาพรวม จํานวนทั้งสิ้น 249,406.895 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 72.62 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2558) แบ่งเป็น - เบิกจ่ายงบรายจ่ายประจํา จํานวน 225,289.081 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 81.13 - เบิกจ่ายงบรายจ่ายลงทุน จํานวน 24,117.814 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 36.67 สํานักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด สป. (นางสุกานดา วรเชษฐ์บัญชา ผู้อํานวยการสํานักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด) กระทรวงมหาดไทยได้ติดตามข้อมูลผลการเบิกจ่ายงบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ (ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2558) มีผลการเบิกจ่ายในภาพรวม จํานวน 9,805.92 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.14 แบ่งเป็น - จังหวัดมีผลการเบิกจ่าย 7,485.48 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.07 - กลุ่มจังหวัดมีผลการเบิกจ่าย 2,320.44 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.61 ปัญหาอุปสรรค 1. พ้ืนที่หรือรูปแบบรายการที่ใช้ในการดําเนินโครงการไม่พร้อมหรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบล่าช้า 2. การหาผู้รับจ้างมีความล่าช้าจึงทําให้ไม่สามารถดําเนินการและเบิกจ่ายงบประมาณได้ทัน 3. โครงการ/กิจกรรมอยู่ระหว่างการพิจารณาขอความเห็นชอบในการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายจากสํานักงบประมาณ เช่น จากเดิมเป็นงบลงทุนขอเปลี่ยนแปลงเป็นงบรายจ่ายอ่ืน 4. โครงการ/กิจกรรมที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กําหนด เช่น การตรวจรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ต้องดําเนินการหลังเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว

12

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (นายวัลลภ พริ้งพงษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ๑. การเบิกจ่ายงบประมาณ - การจัดสรรงบรายจ่ายประจํา ๒๑๐,๔๕๕.๒๘๗ ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว ๑๗๖,๗๔๐.๕๗๗ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๙๘ - งบรายจ่ายลงทุนได้รับการจัดสรร ๓๒,๐๙๙.๘๒๔ ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว ๑๑ ,๙๗๓ .๙๗๑ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๓๗ .๓๐ โดยมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณคิดเป็นร้อยละ ๘๖.00 ๒. การก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ มีลักษณะของโครงการ ๒ ประเภทที่เสนอเรื่องไปยังสํานักงบประมาณ ได้แก่ - โครงการที่เกินวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกเงินสมทบให้ โดยอยู่ระหว่างการอนุมัติและก่อหนี้ผูกพันให้ทันภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ - โครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกวดราคาแล้วไม่ได้ผู้รับจ้างหรือมีการส่งโครงการกลับคืน ทั้งนี้ การส่งคืนโครงการมีเงื่อนไขว่าหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดจะส่งโครงการคืนผ่านจังหวัดจะต้องผ่านความเห็นชอบ จากประชาชนก่อนซึ่งใช้เวลาการดําเนินการ โดยคาดว่าไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ วงเงินจํานวน ๕๐๐ ล้านบาท จากงบประมาณ ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท กรมทีด่นิ (นายณรงคศ์กัดิ์ โอสถธนากร ทีป่รึกษาด้านวศิวกรรมสาํรวจ) กรมที่ดินสามารถดําเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ส่วนกรณีปัญหาการประกวดราคามีการร้องเรียน/โต้แย้งของผู้ประกวดราคาวงเงินประมาณ ๘๐๐ ล้านบาท ได้หารือกับกรมบัญชีกลางและมีหนังสือตอบข้อหารือมายังกรมที่ดินแล้ว โดยสามารถดําเนินการได้ทันกําหนดเวลา การประปาส่วนภูมิภาค (นางรัตนา กิจวรรณ ผู้ว่าการการประปาส่วนภมิูภาค) งบลงทุนที่คาดว่าจะดําเนินการไม่ทัน ได้แก่ โครงการที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ระหว่างการจัดหาผู้รับจ้าง และโครงการที่พิมาย จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากโครงการมีความซับซ้อน ข้อสั่งการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 1. ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดดําเนินการก่อหนี้ผูกพันตามเป้าหมายให้ทันตามกําหนด ภายใน 31 กรกฎาคม 2558 หากไม่ทันกําหนดเวลาดังกล่าว ขอให้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ นําเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบโดยเร็วเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป 2. การบริหารงบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้ตรวจสอบงบประมาณของ Function ที่จัดสรรจากหน่วยงานอื่นๆ ลงสู่พ้ืนที่ โดยแยกแผนงาน/โครงการของ

ทุกหน่วยงาน

ทุกจังหวัด

13

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

แต่ละหน่วยงาน พร้อมทั้งรายงานปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขให้กระทรวงมหาดไทยทราบ ข้อสั่งการของปลดักระทรวงมหาดไทย 1. การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขอให้ทุกหน่วยงานและจังหวัดเตรียมการชี้แจงโดยเฉพาะปัญหาอุปสรรค ข้อขัดข้องหรือสิ่งที่ดําเนินการไม่พร้อมในการบริหารงบประมาณที่ผ่านมา 2. มอบหมายให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ฝ่ายบริหาร (ร.ต.ท. อาทิตย์ บุญญะโสภัต) กํากับดูแลและติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณ

ทุกหน่วยงาน

รอง ปมท. (บ)

การเตรียมความพร้อมในการบรหิารงบประมาณ ประจําปงีบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙

สํานักนโยบายและแผน สป. (นายชลธี ยังตรง ผู้อํานวยการสํานักนโยบาย และแผน) ๑. ปฏิทินการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ๑.๑ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดของคณะกรรมการวิสามัญฯ ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย คาดว่าพิจารณาประมาณวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ โดยมีคณะอนุกรรมาธิการ ๓ ชุด ประกอบด้วย (๑) คณะอนุกรรมาธิการฝึกอบรม สัมมนา ประชาสัมพันธ์ฯ (๒) คณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้างฯ และ (๓) คณะอนุกรรมาธิการพิจารณางบประมาณในลักษณะบูรณาการฯ โดยคณะอนุกรรมาธิการ คณะที่ ๑ และ ๒ กําหนดประชุมในส่วนของกระทรวงมหาดไทย วันที่ ๒๐ - ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ๑.๒ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาวาระ ๒ - ๓ วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ ๑.๓ นําร่าง พ.ร.บ. ขึ้นทูลเกล้าฯ วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๘ ๑.๔ เริ่มบังคับใช้ พ.ร.บ. วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ๒. การเตรียมความพร้อมในการบริหารงบประมาณประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ขอให้ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดําเนินการหลังวาระ ๒ - ๓ ดังนี้ ๒.๑ เตรียมความพร้อมของโครงการ/รายการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณให้สามารถดําเนินการได้ ต้ังแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ๒.๒ โครงการ/รายงานในงบลงทุน ให้หน่วยงานเตรียมความพร้อมในการจัดซื้อจัดจ้างไว้ล่วงหน้า ทั้งการหาราคากลาง สถานที่ก่อสร้าง ความพร้อม ข้อกําหนดและขอบเขตงาน (TOR) ประมาณการราคา และดําเนินการขั้นตอนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้พร้อม ทั้งนี้ จะลงนามในสัญญาได้ก็ต่อเมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณแล้วเท่านั้น ๒.๓ โครงการ/รายการที่มีแผนจัดสรรงบประมาณไปจังหวัด ขอให ้ ส่วนราชการเตรียมความพร้อมและเร่งดําเนินการจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ

14

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

รองปลดักระทรวงมหาดไทย ฝ่ายบรหิาร (ร.ต.ท. อาทติย์ บญุญะโสภตั) ๑. งบประมาณปี ๒๕๕๘ ขอให้หัวหน้าส่วนราชการ/หน่วยงานกําชับและ เร่งรัดการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจําปีงบประมาณ พ.ศ . ๒๕๕๘ ของกระทรวง มหาดไทยด้วย ทั้งนี้ สําหรับส่วนราชการที่มีปัญหาในการเบิกจ่ายในปี ๒๕๕๘ ขอให้รวบรวมปัญหาอุปสรรคเพื่อชี้แจงได้กรณีถูกซักถามจากคณะกรรมการวิสามัญฯ ๒. งบประมาณปี ๒๕๕๙ ขอให้ทุกหน่วยงานและจังหวัดเตรียมความพร้อม ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เลขานุการศูนย์ปฏิบัติการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงมหาดไทย (นายภานุ แย้มศรี) คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ กรมบัญชีกลาง ได้แจ้งเวียนแนวทางปฏิบัติระบบ e-market และระบบ e-bidding - ส่วนราชการในส่วนภูมิภาคและส่วนกลางที่มีสํานักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค รวมทั้งการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ร่วมในระดับเขตของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้ังอยู่ใน ๑๗ จังหวัด ให้เริ่มถือปฏิบัติต้ังแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ เป็นต้นไป - ส่วนราชการในส่วนภูมิภาคและในส่วนกลางที่มีสํานักงานอยู่ ใน ส่วนภูมิภาค รวมทั้งการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ร่วมในระดับเขตของกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้ังอยู่ใน ๓๗ จังหวัด ให้เริ่มถือปฏิบัติต้ังแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (นายวัลลภ พริ้งพงษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ๑. ได้มีการปรับปรุงราคาการก่อสร้างอาคารโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่มีผู้ประกวดราคา เพื่อให้สามารถหาผู้รับจ้างมาประกวดราคาได้ ๒. การใช้ระบบ e - market) และระบบ e - bidding) ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ประสานกับกรมบัญชีกลาง ทราบว่าต้องรอการออก ระเบียบของกรมบัญชีกลาง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในต้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อสั่งการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ๑. ขอให้เตรียมคําช้ีแจงเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคเพื่อชี้แจงต่อคณะกรรมการวิสามัญฯ ๒. ขอให้ประสานแนวทางการปฏิบัติสําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับระบบ e - market และระบบ e - bidding เพื่อเป็นข้อมูลไว้ช้ีแจงคําถามในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและให้สอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกัน

ทุกหน่วยงาน

ทุกหน่วยงาน

ทุกหน่วยงาน

สถ.

15

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สรปุกิจกรรม การดาํเนินงานตาม Roadmap ของ คสช.

สํานักนโยบายและแผน สป. (นายชลธี ยังตรง ผู้อํานวยการสํานักนโยบาย และแผน) การจัดทําสรุปกิจกรรมการดําเนินงานตาม Roadmap ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ ๑ พฤษภาคม - กันยายน ๒๕๕๗ ระยะที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๗ - เมษายน ๒๕๕๙ ระยะที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ทั้งนี้ อยู่ระหว่างดําเนินการปรับปรุงให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลทั้ง ๑๑ ด้าน ข้อสั่งการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย การสรุปกิจกรรมการดําเนินงานตาม Roadmap ขอให้กระชับ/มีความชัดเจนและให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล/คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อนําเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาใช้ในการตรวจสอบการทํางานของกระทรวงต่าง ๆ

สนผ.สป.

ความคบืหนา้การดําเนนิการ OTOP ตามข้อสั่งการของ รมว.มท./รมช.มท.

กรมการพฒันาชุมชน (นายขวญัชัย วงศน์ติิกร อธบิดกีรมการพฒันาชุมชน) ๑. OTOP To The Town การนําผลิตภัณฑ์ OTOP และสินค้าภูมิปัญญาวางจําหน่ายในห้างสรรพสินค้า ได้ดําเนินจํานวน ๓ ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ห้างสรรพสินค้า The Mall ระหว่างวันที่ 17-21 มิถุนายน 2558 ครั้งที่ 2 ลานอเนกประสงค์ ช้ัน 2 ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคารบี วันที่ 29 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2558 ครั้งที่ 3 ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล สาขาพระราม 2 เดือนกรกฎาคม 2558 ๒. การจําหน่าย OTOP บริเวณสนามบินและบนเครื่องบิน 2.1 จําหน่ายในสนามบิน มี ๒ ลักษณะคือ (๑) เครือข่าย OTOP นําไปจําหน่ายเอง (๒) เครือข่าย OTOP ส่งสินค้าให้เอกชนจําหน่าย 2.2 จําหน่ายบนเครื่องบิน มีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์/สินค้า ๒๐ รายการ ส่งไปให้บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) พิจารณา เนื่องจากมีข้อกําหนดเกี่ยวกับความปลอดภัย บรรจุภัณฑ์ ความเสียหายและมาตรฐานต่าง ๆ โดยอยู่ระหว่างการเจรจา 3. OTOP ศิลปาชีพประทีปไทย กําหนดจัดงานระหว่างวันที่ ๘ - ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ ณ อาคารชาเลนเจอร์ ๑ - ๓ เมืองทองธานี จํานวน ๒,๕๓๒ บูท โดยมีบูท/นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จแม่มอบให้ สืบสานภูมิปัญญาไทยสู่สากล” และมีนิทรรศการของกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อแสดงถึงการนําไปสู่สากล 4. การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP ดําเนินการ ๔ โครงการ ได้แก่ 4.๑ โครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ จํานวน ๓๘๐ ผลิตภัณฑ์ 4.๒ โครงการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP สู่สากล จํานวน ๒,๒๘๐ ผลิตภัณฑ์ 4.๓ โครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัดสู่ตลาด AEC จํานวน ๒,๒๘๐ ผลิตภัณฑ์ 4.๔ โครงการพัฒนาภูมิปัญญาสู่นวัตกรรม OTOP จํานวน ๑๕๒ ผลิตภัณฑ์

16

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

5. ตลาดนัด ๔ ภาค นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้ขยายผลการจัดตลาดสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชนในรูปแบบเช่นเดียวกับตลาดคลองผดุงกรุงเกษมไปยัง ๔ ภาคและสี่มุมเมือง 5.๑ ตลาดสี่มุมเมือง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับไปบูรณาการร่วมกับกรุงเทพมหานคร 5.๒ ตลาดนัด ๔ ภาค กรมการพัฒนาชุมชนรับไปบูรณาการร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยจะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ข้อสั่งการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 1. ขอใหส้รปุการดําเนินงาน OTOP นําเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2. การจัดงาน OTOP ศีลปาชีพประทีปไทย เป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้ประสานกับศูนย์ศิลปาชีพในทุกพ้ืนที่เข้าร่วม 3. การดําเนินงาน OTOP ของตลาดนัด ๔ ภาค ขอให้ประสานงานร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมด้วย

พช.

การบริหารจัดการขยะ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (นายวัลลภ พริ้งพงษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) 1. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 มีรายละเอียดดังนี้ 1.1 รับทราบแนวทางการจัดการขยะของประเทศที่กระทรวงมหาดไทยเสนอและให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ 1.2 มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางการบริหารจัดการขยะของประเทศในภาพรวมทั้งระบบ 1.3 ให้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 2. การศึกษาข้อกฎหมายเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2558 2.1 ตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการของรัฐอย่างชัดเจน 2.2 เมื่อวันที่ ๒ เมษายน 25๕๘ ได้มีประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการที่มีวงเงินมูลค่าตํ่ากว่า 1,000 ล้านบาท ได้มอบอํานาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเจ้าสังกัดของทุกกระทรวงเป็นผู้พิจารณาแผนงาน โครงการ สําหรับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอํานาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยตามประกาศดังกล่าวการร่วมลงทุนในกิจกรรมของรัฐหมายถึง 1) การร่วมลงทุนกับเอกชนไม่ว่าโดยวิธีใด 2) มอบให้เอกชนลงทุนแต่ฝ่ายเดียว โดยการอนุญาตให้สัมปทานหรือให้สิทธิ

17

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

3) กิจการที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอํานาจหน้าที่ต้องทําตามกฎหมาย 4) กิจการที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพย์สินของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.3 ระยะเวลาการบังคับใช้ เนื่องจากตามประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการของรัฐ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 ยังไม่มีบทเฉพาะการ ดังนั้น หากหน่วยงานใดมีการทําพันธะสัญญาแล้วก่อนวันที่ 2 เมษายน 2558 ไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับดังกล่าว แต่หลังจากวันที่ 2 เมษายน 2558 ต้องถือปฏิบัติตามประกาศฉบับดังกล่าว 2.4 ขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนที่ได้ร่วมลงทุนกับภาครัฐ กรณีหน่วยงานใดได้กําหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอนในการดําเนินการคัดเลือกเอกชนที่ได้ร่วมลงทุนกับภาครัฐเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว สามารถดําเนินการตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน ที่หน่วยงานกําหนดได้เลย แต่หากหน่วยงานใดยังไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอนขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ก็ให้หน่วยงานจัดทําโครงการขึ้นมาเพื่อขออนุมัติต่อผู้มีอํานาจ ทั้งนี้ กรณีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอนขึ้นมาแต่อย่างใด ดังนั้น ต้องจัดทําโครงการเพื่อเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ และในการนําเสนอทํารายงานผลการศึกษาวิเคราะห์โครงการต้องมีหัวข้อการศึกษา ดังนี้ ๑) เหตุผล ความจําเป็นและประโยชน์ของโครงการ 2) ต้นทุนการดําเนินโครงการในภาพรวม ๓) รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน ๔) ผลกระทบของโครงการ ๕) ความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยง ๖) ความพร้อมของหน่วยงาน เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบในหลักการแล้ว จะดําเนินการคัดเลือกเอกชนที่จะเข้ามาดําเนินโครงการ จัดทําร่างสัญญา/ข้อเสนอการดําเนินการโดยร่างสัญญาต้องผ่านการตรวจจากอัยการสูงสุด จึงจะสามารถดําเนินการได้ตามประกาศฉบับดังกล่าว ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 1. การบริหารจัดการขยะ 1.1 ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เสนอความเห็น/แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้เกิดความชัดเจน โดยต้องให้ทราบบทบาทและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน เช่น ขยะมีพิษ เป็นบทบาทหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะต้องดูแล ขยะมูลฝอยจากบ้านเรือนประชาชน เป็นบทบาทหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยในการนําขยะไปทําลาย

สถ.

18

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1.2 ท้องถิ่นต้องศึกษาความคุ้มค่าของโครงการก่อนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะ 1.3 ให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกําจัดขยะ และความคุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาว 2. พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2558 2.1 ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดทําคู่มือ และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยให้เสนอผ่านตามสายงานที่เกี่ยวข้องแล้วรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบโดยเร็ว 2.2 ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สํารวจข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ทําพันธะสัญญา/MOU/วันที่ดําเนินการตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ แล้วรวบรวม ประมวลเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบโดยด่วน รวมทั้ง ให้สํารวจข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่ได้ตกลงกับเอกชน ประกอบด้วย อัตราค่าขนส่ง ค่ากําจัดขยะ บริษัทอะไร เพื่อรวบรวมข้อมูลในภาพรวมต่อไป 2.3 ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รายงานการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง ปลัดกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบเป็นระยะ ๆ

สถ.

ยผ.

สถ.

การติดตามงาน สําคัญตามข้อสั่งการ ของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย

1. นมโรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในการจัดซื้อนมเพื่อแจกจ่ายให้กับโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยใช้การจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ ทั้งนี้ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ได้รับสิทธิเป็นผู้จัดสรร ผู้ประกอบการ/ตัวแทนไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ปัญหาตรวจพบคือ นมเจือจาง กลิ่นคล้ายน้ําซาวข้าว คุณภาพไม่ดีพอ ฯลฯ โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ทําหนังสือแจ้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดําเนินการกํากับคุณภาพนมโรงเรียน ในส่วนที่เกิดความเสียหายผู้ประกอบการ/ตัวแทนได้มีการชดเชยให้โรงเรียนแล้ว 2. การตรวจสอบเครื่องเล่นทั่วประเทศ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้รวบรวมผลการสํารวจเครื่องเล่นทั่วประเทศ เพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ 3. การจัดระเบียบสังคม กรณีสถานบริการ/การจําหน่ายสุราบริเวณสถานศึกษา กรมการปกครองได้ทําหนังสือแจ้งจังหวัดบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดดําเนินงานตามมาตรการ ดังนี้ - ดูแลการผลิตสุราโดยเฉพาะการผลิตสุราพื้นบ้านให้มีมาตรฐานและ เป็นไปตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยประสานงานกับสรรพสามิตพ้ืนที่ - ดูแล/ควบคุมการจําหน่ายสุราให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยประสานงานกับสาธารณสุขจังหวัด

สถ.

ยผ.

ปค.

19

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

- ดูแลสถานบริการโดยเฉพาะเรื่องเวลาเปิด-ปิด อายุของผู้ใช้บริการ และระยะห่างจากสถานศึกษา ศาสนสถาน รวมถึงการใช้เสียงของสถานบริการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. สถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยประสานงานกับตํารวจ 4. การแก้ไขปัญหาขยะ 4.1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - ดําเนินการเสร็จแล้วในภาพรวมประมาณร้อยละ 81.84 - อยู่ระหว่างการดําเนินงาน เช่น ถนนรอบบ่อขยะ ปรับภูมิทัศน์ ระบบประปา บ่อบาดาล เป็นต้น - งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อยู่ระหว่างการพิจารณา/อนุญาตจาก สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) 4.2 จังหวัดลพบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งการให้ขนย้ายขยะบริเวณเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ิ และทําคันคูก้ัน เพื่อไม่ให้มีการปะปนในแหล่งน้ํา 4.3 การกําจัดผักตบชวา บริเวณเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ประมาณ 35,000 ตัน ขณะนี้ดําเนินการกําจัดผักตบชวาไปแล้ว 18,000 ตัน (ร้อยละ 55) ซึ่งได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์และความร่วมมือจากกรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดนครสวรรค์ และทหาร 5. การจัดการป่าเสื่อมสภาพในพื้นที่สูงชัน (เขาหัวโล้น) กําหนดเป้าหมายในพ้ืนที่ที่มีการบุกรุก 1.4 ล้านไร่ 13 จังหวัด เพื่อคืนพื้นที่ป่าโดยจัดระเบียบพ้ืนที่ ป่าใหม่ แบ่งเป็น 1) ป่าอนุรักษ์ร้อยละ 60 2) ป่าชุมชน ร้อยละ 20 3) ป่าเศรษฐกิจไม่เกินร้อยละ 15 และ 4) ที่อยู่อาศัยร้อยละ 2-5 โดยใช้แนวทางการดําเนินงานของปิดทองหลังพระ ซึ่งจะเริ่มดําเนินที่อําเภอนาน้อย จังหวัดแพร่ เป็นแห่งแรก ขอให้นายอําเภอเป็นเจ้าภาพในพื้นที่พร้อมทั้งให้ความสําคัญในเรื่องป่า การสร้างจิตสํานึกของคนในพื้นที่ การแก้ไขปัญหาของคนพื้นที่สูง การมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งรายงานผลการดําเนินการให้กระทรวงมหาดไทยทราบทุกขั้นตอน 6. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ - ระยะที่ 1 (6 จังหวัด) กรมธนารักษ์ได้กําหนดหลักเกณฑ์ค่าเช่าพ้ืนที่ พร้อมทั้งให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และเอกชนเสนอเพื่อเป็นผู้จัดการในแต่ละเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ - ระยะที่ 2 (4 จังหวัด) อยู่ระหว่างดําเนินการหาพื้นที่ในการจัดต้ังเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 7. ศูนย์ดํารงธรรม การให้บริการด้านการลงทุน ได้ดําเนินการให้บริการอย่างเต็มที่ในด้านการให้คําปรึกษา จัดทําคู่มือ และการแนะนําด้านการลงทุน (SMEs BOI SEZ) ทั้งนี้ ขอให้จังหวัดดูแลการดําเนินการอนุมัติ อนุญาตที่อยู่ในอํานาจของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงอื่น ๆ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. การอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ โดยให้ประสานการปฏิบัติกับสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

สถ./ยผ.

ยผ./ปภ./ จ.ชัยนาท

ปค.

ยผ.

สตร.สป./สบจ.สป./ก.พ.ร. สป.

20

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

การแก้ไขปญัหาน้าํท่วมและปญัหาจราจรของกรุงเทพมหานครและ การสนบัสนนุงบประมาณ

กรุงเทพมหานคร (นายกังวาฬ ดีสุวรรณ ผู้อํานวยการสํานักการระบายน้ํา) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์น้ําท่วมและปัญหาจราจรของกรุงเทพมหานคร โดยได้ดําเนินการจัดต้ัง “ศูนย์ประสานงานและเตือนภัยแก้ไขปัญหาน้ําท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร” มีกระบวนการ ดังนี้ 1. รับข้อมูลการแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน และข้อมูลจากเรดาห์ตรวจฝนของสํานักระบายน้ํา กรุงเทพมหานคร 2. ประมวลข้อมูลปริมาณน้ําฝน จุดที่ฝนตก คาดการณ์จุดเสี่ยง/วิกฤต 3. ประสานงานผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น วิทยุของสํานักระบายน้ํา วิทยุอัมรินทร์ของกรุงเทพมหานคร ระบบ Social Network โทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อประสานการปฏิบัติกับศูนย์ควบคุมการสั่งการจราจร (บก02) ทหาร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณสุข การไฟฟ้านครหลวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. ประเมินสถานการณ์จุดเสี่ยง/วิกฤต เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงหรือปิดถนนในจุดวิกฤต พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือกรณีรถเสีย และการสํารองไฟฟ้าในจุดเสี่ยงไฟฟ้าดับ 5. งบประมาณ สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร ได้ต้ังงบประมาณประจําปี และงบฉุกเฉินเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาน้ําท่วมไว้แล้ว แต่ในการสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ยังไม่สามารถดําเนินการได้เนื่องจากติดขัดข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร ในเบื้องต้น กรุงเทพมหานครได้สนับสนุนการประกอบเลี้ยงให้แก่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่น ๆ แทน ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 1. ให้กรุงเทพมหานครดูแล/ควบคุมทั้ง 3 ระบบ (การระบายน้ํา การจราจร และ การให้ความช่วยเหลือ) ให้สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งหมดและสอดประสานการทํางานทั้ง 3 ส่วน 2. การสํารองไฟฟ้า ให้พิจารณาการสํารองไฟฟ้าใน 2 ประเด็น คือ เครื่องสํารองไฟฟ้าที่ควรประจําในจุดเสี่ยง/วิกฤตเป็นการถาวร และเครื่องสํารองไฟฟ้าสําหรับเคลื่อนย้ายไปยังจุดอ่ืน ๆ 3. ประเมินสถานการณ์ฝนตกและน้ําท่วมในแต่ละช่วงเวลา และบริหารจัดการบุคลากรให้มีความเหมาะสมแก่เหตุ

ปภ./กฟน./กทม.

ตลาด 4 มุมเมืองของกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (นายวัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) 1. หลักการและเหตุผล 1.1 จัดให้มีสถานที่จับจ่ายสินค้าคุณภาพที่มีราคายุติธรรม ลดปัญหาหาบเร่ แผงลอย การจราจร 1.2 เป็นช่องทางการกระจายสินค้า 1.3 ขยายโอกาสให้กับผู้ประกอบการ และผู้บริโภคได้มีโอกาสใช้บริการ

21

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1.4 ให้ชาวต่างประเทศเข้ามาเยี่ยมชมสินค้าที่ผลิตในประเทศ 1.5 เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อส่งเสริมการประกอบกิจกรรมตลาด การจําหน่ายสินค้า โดยได้ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง 2.2 เพื่อส่งเสริมให้มีให้ตลาด 4 มุมเมืองที่ถูกสุขลักษณะตามหลักสุขาภิบาล ให้ได้ตามมาตรฐานสากล 2.3 เพื่อส่งเสริมการตลาดให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบการ OTOP ผู้ประกอบการรายย่อย เกษตรกรที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เกษตรกรเพาะปลูกกล้วยไม้ เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม ชาวสวน เป็นต้น อันจะเป็นการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคท้ังในประเทศและต่างประเทศ 2.4 เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน 2.5 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นทางด้านเศรษฐกิจ ทําให้เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ 2.6 เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของผู้บริโภค ที่สามารถซื้อสินค้าได้ในราคาถูกและยุติธรรมจากตลาดที่ต้ังอยู่ใกล้แหล่งที่อยู่อาศัย 2.7 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดจําหน่ายสินค้าพ้ืนเมือง และตลาดมาตรฐาน และพร้อมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ขึ้น 2.8 เพื่อยกระดับคุณภาพของชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยการได้รับบริการจากสินค้าที่ได้มาตรฐาน 3. เป้าหมาย 3.1 จัดสร้างตลาดที่ให้บริการทั้งค้าปลีก ค้าส่ง ประกอบไปด้วยสินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าจากเกษตรกรอันจะเป็นการให้บริการแก่ชุมชนเมือง 3.2 จัดสร้างตลาดที่ได้มาตรฐานตลาดสากลพร้อมตามหลักสุขาภิบาล 3.3 พัฒนาที่ดินที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์กับชุมชน เพิ่มมูลค่าของที่ดิน 4. กลุ่มเป้าหมาย 4.1 ผู้ค้า ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ผลิตรายย่อย ผู้ประกอบการ OTOP เกษตรกรผู้ผลิตสินค้า 4.2 ประชาชนที่มาใช้บริการ 5. รูปแบบโครงการ 5.1 อาคารตลาดค้าส่ง 5.2 อาคารตลาดค้าปลีก มีการจัดโซนการค้าขายที่เหมาะสม มีการคํานึงถึงหลักสุขาภิบาลอาหาร มีการออกแบบอาคารที่มีระบบการระบายอากาศที่ดี และเหมาะสม 5.3 มีการจัดสร้างอาคารโกดังสินค้าเพื่อจัดเก็บสินค้าประเภทแห้ง 5.4 มีการจัดสร้างห้องเย็นเพื่อจัดเก็บสินค้า 5.5 มีที่จอดรถอย่างเพียงพอ 5.6 มีห้องน้ํา และห้องสุขาอย่างเพียงพอ

22

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

5.7 มีระบบระบายน้ําที่ดี ระบบการกําจัดน้ําเสียของโครงการ และมีการจัดการที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม 5.8 มีระบบการกําจัดขยะที่ดีและเหมาะสม 5.9 มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี รวมถึงจัดให้มีระบบ CCTV 5.10 มีเวทีและลานจัดกิจกรรม เพื่อสามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแสดงออกและเป็นเวทีวัฒนธรรมได้ 5.11 มีการจัดพ้ืนที่สีเขียว หรือสวนสาธารณะที่เหมาะสม 5.12 มีระบบน้ํา ไฟฟ้า 5.13 มีระบบขนส่งมวลชนที่จะสามารถเข้าสู่พ้ืนที่ได้โดยง่าย 5.14 ในการออกแบบทั้งระบบจะต้องคํานึงถึงผู้มาใช้บริการ โดยการคํานึงถึงการออกแบบ Universal Design 6. พื้นที่เป้าหมาย เบื้องต้นพิจารณาจัดต้ังบริเวณถนนบรมราชชนนี บริเวณถนนพระราม 2 บริเวณดอนเมือง บริเวณลาดกระบัง และบริเวณถนนสรรพาวุธ บางนา ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครจะได้ประสาน กรมธนารักษ์ สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ครอบครองพื้นที่ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการดําเนินการตลาด 4 มุมเมือง ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้กรุงเทพมหานครกําหนดพื้นที่เป้าหมายให้เหมาะสม และจัดทํารายละเอียด เช่น บริเวณที่เป็นเป้าหมาย หน่วยงานที่ครอบครองพื้นที่ เป็นต้น พร้อมทั้งจัดทําแผนการดําเนินการเป็นช่วงเวลา และรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบ เพื่อนําเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

กทม.

การใชป้ระโยชน์ของพืน้ทีข่องสวนจตุจกัร สวนสมเด็จพระนางเจา้สิรกิติิ์ฯ และสวน วชิรเบญจทศัน ์

กรงุเทพมหานคร (นางสาววนีา วงศส์นิธุเ์ชาว์ ผู้อาํนวยการสาํนกังานสวนสาธารณะ) ปี 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสว่า “หากรวมตลาดนัดจตุจักร สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิฯ และสวนรถไฟ (สวนวชิรเบญจทัศน์) ถ้ารวมนับทั้งหมดเป็น“สวนจตุจักร” ก็จะสมพระเกียรติ” กรุงเทพมหานครได้จัดทําแผนงาน/โครงการในการเชื่อมโยงทั้ง 3 สวนโดยใช้การเชื่อมโยงทางกายภาพและกําหนดการใช้ประโยชน์ ดังนี้ 1. สวนจตุจักร เป็นสวนเอนกประสงค์ พักผ่อน และออกกําลังกาย 2. สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิฯ เป็นสวนพฤกษศาสตร์ 3. สวนรถไฟ (สวนวชิรเบญจทัศน์) เป็นสวนสําหรับกิจกรรมของครอบครัว ปัจจุบันได้เร่งก่อสร้างห้องน้ําใหม่ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2558 โดยขณะนี้ได้นํารถสุราเคลื่อนที่มาให้บริการเพิ่มเติม

23

ประเดน็ รายละเอียด หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 1. ให้กรุงเทพมหานครบริหารจัดการ/ดูแลรักษาของทั้ง 3 สวนให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและมีความสะอาด กําหนดพื้นที่/เส้นทาง การจัดกิจกรรมให้มีความชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ 2. สรุปรายละเอียดแผนงาน/โครงการในการรวมทั้ง 3 สวน ทั้งในระยะสั้น/ระยะยาว และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กทม.

สํานักนโยบายและแผน สป.

ข้อมูล ณ วันที ่26 มิถุนายน 2558 เวลา 20.00 น.