30
คำนำ รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทาข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัด เป็นรายงาน สถานการณ์ที่สานักงานสถิติจังหวัดลาปางได้จัดทาขึ้น เพื่อรวบรวมประมวลข้อมูล ที่น่าสนใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 4 ปี และวิเคราะห์ ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว ด้วยการนา ข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการกาหนดผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ ( Product Champion) และห่วงโซ่คุณค่า ( Value Chain) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น ยุทธศาสตร์กับตัวแปรที่สาคัญ ที่จะนาไปสู่การกาหนดปัจจัยสู่ความสาเร็จที่เหมาะสม ด้วยข้อมูลสารสนเทศตามประเด็นต่างๆ สานักงานสถิติจังหวัดลาปาง ได้ดาเนินการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้ม ของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดใน 5 ประเด็น คือ ยุทธศาสตร์ที2 ส่งเสริมและ พัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดลาปางให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์ ทรัพยากรการท่องเที่ยวให้คงสภาพและยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที3 ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า เกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานแบบครบวงจร ยุทธศาสตร์ที4 เสริมสร้างและพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมลาปางให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันสามารถดารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที5 สร้างเสริมและพัฒนาจังหวัดลาปางให้มีความพร้อมรองรับการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ อย่างเป็นระบบ และยุทธศาสตร์ที6 ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โอกาสนี้ สานักงานสถิติจังหวัดลาปาง ขอขอบคุณคณะกรรมการสถิติระดับ จังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ที่ได้อนุเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นผลทาให้การวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดสาเร็จลุล่วงไปด้วยดี และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในพื้นที่ และผู้สนใจ

ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

ค ำน ำ

รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดท าข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัด เป็นรายงานสถานการณ์ที่ส านักงานสถิติจังหวัดล าปางได้จัดท าขึ้น เพื่อรวบรวมประมวลข้อมูล ที่น่าสนใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 4 ปี และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว ด้วยการน าข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการก าหนดผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) และห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์กับตัวแปรที่ส าคัญ ที่จะน าไปสู่การก าหนดปัจจัยสู่ ความส าเร็จที่เหมาะสมด้วยข้อมูลสารสนเทศตามประเด็นต่างๆ

ส านักงานสถิติจังหวัดล าปาง ได้ด าเนินการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดใน 5 ประเด็น คือ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดล าปางให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวให้คงสภาพและยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานแบบครบวงจร ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมล าปางให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันสามารถด ารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างเสริมและพัฒนาจังหวัดล าปางให้มีความพร้อมรองรับการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ อย่างเป็นระบบ และยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

โอกาสนี้ ส านักงานสถิติจังหวัดล าปาง ขอขอบคุณคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ที่ได้อนุเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นผลท าให้การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับน้ีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในพื้นที่ และผู้สนใจ

Page 2: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:
Page 3: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

1

รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดท าข้อมูลเชิงพื้นที่

จังหวัดล าปาง

ตามแผนพัฒนาจังหวัดล าปาง ปี พ.ศ. 2558 – 2561 ได้ก าหนดวิสัยทัศน์ เพื่อก าหนดทิศทางการพัฒนา ดังนี้

วิสัยทัศน์ : นครเซรามิกและหัตถอุตสาหกรรม ศูนย์กลางโลจิสติกส์ภาคเหนือ ตอนบนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สู่เกษตรปลอดภัย สืบสานวัฒนธรรม วิถีล าปาง

เป้าประสงค:์ 1. เพื่อให้จังหวัดล าปางเป็นแหล่งผลิตและจ าหน่ายผลิตภัณฑ์เซรามิกและ

สินค้าหัตถอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่น และมีคุณภาพสากลและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัดล าปาง

2. ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดล าปางให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

3. จังหวัดล าปางเป็นแหล่งผลิตและจ าหน่ายผลิตภัณฑ์การเกษตร เกษตรแปรรูปที่มีคุณภาพมาตรฐาน โดดเด่นของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือและของประเทศ

4. เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมล าปางให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกัน สามารถด ารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5. สร้างเสริมและพัฒนาจังหวัดล าปางพร้อมรองรับการเป็นศู นย์กลาง โลจิสติกส์ของภาคเหนืออย่างเป็นระบบ

6. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน

Page 4: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

2

ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด :

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตเซรามิก และสินค้าหัตถอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัดล าปาง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดล าปางให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวให้คงสภาพและยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่ งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานแบบครบวงจร

ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมล าปางให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันสามารถด ารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างเสริมและพัฒนาจังหวัดล าปางให้มีความพร้อมรองรับการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบ

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

ข้อมูลทั่วไป : จังหวัดล าปางมีพื้นที่ทั้งหมด 12,533.961 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,833,726 ไร่ ห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินพหลโยธิน ประมาณ 602 กิโลเมตร ตามทางรถไฟประมาณ 625 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,533.961 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,833,726 ไร่ มีพื้นที่ ใหญ่ เป็นอันดับ 5 ของภาคเหนือ รองจากจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเพชรบูรณ์ มีประชากรทั้งสิ้น 757,234 คน จ าแนกเป็นเพศชาย 373,104 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 49.27 เพศหญิง 384,130 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 50.73 เป็นประชากรภาคแรงงานจ านวน 470,872 คน โดยเป็นแรงงานภาคเกษตร จ านวน 202,758 คน และแรงงานนอกภาคเกษตร จ านวน 268,114 คน

Page 5: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

3

เขตการปกครองแบ่งออกเป็น 13 อ าเภอ 100 ต าบล 931 หมู่บ้าน 104 ชุมชน (เฉพาะชุมชนในเขตเทศบาลนครล าปาง 41 ชุมชน และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร 63 ชุมชน) 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 1 เทศบาลเมือง 39 เทศบาลต าบล และ 62 องค์การบริหารส่วนต าบล

ลักษณะภูมิประเทศอยู่สูงจากระดับน้ าทะเล 268.80 เมตร พื้นที่มีลักษณะเป็นรูปยาวรีภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีภูเขาสูงอยู่ทั่วไปทอดตัวยาวตามแนวทิศเหนือไปทางทิศใต้ของจังหวัด และในบริเวณตอนกลางของจังหวัดบางส่วนมีที่ราบลุ่ม ริมฝั่งแม่น้ าและตามลักษณะทางกายภาพทางด้านธรณีสัณฐานวิทยา จังหวัดล าปางมีพื้นที่เป็นที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีลักษณะเป็นแอ่งแผ่นดินที่ยาวและกว้างที่สุดในภาคเหนือ เรียกว่า “อ่างล าปาง”

ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ - ตอนบนของจังหวัด เป็นที่ราบสูง ภูเขา และเป็นป่าค่อนข้างทึบอุดมสมบูรณ์ด้วยไม้มีค่า ได้แก่ พื้นที่อ าเภอเมืองปาน แจ้ห่ม วังเหนือ - ตอนกลางของจังหวัด เป็นที่ราบและที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ าซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ส าคัญของจังหวัด ได้แก่ พื้นที่อ าเภอห้างฉัตร เมืองล าปาง เกาะคา แม่ทะและสบปราบ - ตอนใต้ของจังหวัด เป็นป่าไม้รัง บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้แก่ พื้นที่อ าเภอเถิน แม่พริก บางส่วนของอ าเภอเสริมงาม และแม่ทะ

ภาพรวมภาวะเศรษฐกจิจังหวัดล าปาง ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดล าปาง ในปี พ .ศ. 2554 มีผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตรที่ส าคัญของจังหวัดประกอบไปด้วย ข้าว สับปะรด กระเทียม โค สุกร อ้อย ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไก่พื้นเมือง และกล้วยน้ าว้า ทั้งนี ้จากการวิเคราะห์ BCG Matrix ของจังหวัดล าปาง พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นดาวเด่น (Star) คือ ข้าว ผลิตภัณฑ์ที่ มีปัญหา (Question Mark) คือ ยางพารา กล้วยน้ าว้า อ้อย และสับปะรด ผลิตภัณฑ์ที่ตกต่ า (Dog) คือ ไก่พื้นเมือง โค สุกร ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกระเทียม

Page 6: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

4

แผนภูมิที่ 1 การวิเคราะห์ BCG Matrix ของผลิตภัณฑส์าขาเกษตรกรรมที่ส าคัญ

จังหวัดล าปางเลือก “ข้าว” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3 ตามแผนพัฒนาจังหวัดล าปาง 4 ปี (ปี พ.ศ. 2558- ปี พ.ศ. 2561)

ข้าวปลอดภัย เป็นพืชเศรษฐกิจ และมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายให้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและ สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจ านวนไม่น้อยต่อปี ซึ่งเกษตรกรจังหวัดล าปางก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างข้าวปลอดภัย

จังหวัดล าปาง ก าหนดต าแหน่งการพัฒนา (Positioning) ใน 3 ประเด็น คือ ด้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน ด้านเกษตรปลอดภัย และด้านการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ อย่างเป็นระบบ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดล าปางให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวให้คงสภาพและยั่งยืน ซึ่งมกีลยุทธ์ที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 2 ดังน้ี 1. ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ การตลาด การสร้างสรรค์กิจกรรม และรูปแบบการท่องเที่ยว เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว

Page 7: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

5

2. เสริมสร้าง ปรับปรุง ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและแหล่งวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ทั้งแหล่งท่องเที่ยวเดิมและแหล่งท่องเที่ยวใหม่เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 3. ส่งเสริมสนับสนุนชุมชนและผู้ประกอบการให้มีการสร้างสรรค์ผลิตและจ าหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ระลึกจากแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดล าปาง 4. เสริมสร้าง พัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรและสถานประกอบการภาคการท่องเที่ยวให้มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะด้านภาษา วัฒนธรรมข้ามชาติและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมตามวิถีล าปาง

ส าหรับตัวช้ีวัดที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 2 ประกอบด้วย 1. ร้อยละของรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2. ร้อยละของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 3. จ านวนแหล่งท่องเที่ยว/สถานที่ประกอบการที่ เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวได้รับการยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานแบบครบวงจร ซึ่งมกีลยุทธ์ที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 3 ดังน้ี 1. ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคแบบครบวงจร 2. พัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ -สินค้าเกษตรและบรรจุภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 3. สร้างและขยายเครือข่ายการตลาด ช่องทางการจ าหน่ายสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์เกษตรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร 4. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีการผลิตและ สิ่งอ านวยความสะดวกที่จ าเป็นเพื่อให้การผลิตภาคเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร

Page 8: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

6

5. พัฒนาสถาบันเกษตรกรและเครือข่ายให้เข้มแข็งสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่ออ านวยประโยชน์ให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป

ส าหรับตัวช้ีวัดที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 3 ประกอบด้วย 1. ร้อยละของเกษตรกรที่ได้รับการเตรียมความพร้อมในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้คุณภาพมาตรฐาน GAP และ GMP 2. ร้อยละของรายได้จากการจ าหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์การเกษตรแปรรูปที่มีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัยเพิ่มขึ้น 3. ร้อยละของจ านวนแปลง/ฟาร์มจ าแนกตามประเภท (ได้แก่ พืช ปศุสัตว์และประมง) ที่ได้ใบรับรองมาตรฐาน GAP และ GMP เพิ่มข้ึน 4. จ านวนของผลิตภัณฑ์การเกษตรแปรรูปที่มีคุณภาพมาตรฐานโดดเด่นของกลุ่มจังหวัด/ประเทศเพิ่มขึ้น 5. จ านวนของผลิตภัณฑ์การเกษตรแปรรูปที่มีคุณภาพมาตรฐานโดดเด่นของกลุ่มจังหวัด/ประเทศเพิ่มขึ้น 6. จ านวนศูนย์รวบรวมและกระจายผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างเสริมและพัฒนาจังหวัดล าปางให้มีความพร้อมรองรับการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบ ซึ่งมีกลยุทธ์ที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 5 ดังน้ี 1. พัฒนาบุคลากรทุกระดับและทุกภาคส่วนให้มีการตื่นตัว (Awareness) และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการของจังหวัดล าปางในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ รวมทั้งยกระดับทักษะฝีมือแรงงานและทักษะ ด้านภาษาเพื่อเตรียมความพร้อมของแรงงานรองรับการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ ทางบกของภาคเหนือตอนบน 2. เสริมสร้าง พัฒนาและเชื่อมโยง ระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ รวมทั้งระบบสาธารณูปโภค ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากลสามารถเพื่ออ านวยความสะดวกในการเดินทาง ทางการค้าและการขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดน

Page 9: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

7

3. พัฒนาการค้าการลงทุน การผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางฯ

ส าหรับตัวช้ีวัดที่ส าคัญของยุทธศาสตร์ที่ 5 ประกอบด้วย 1. ร้อยละของการพัฒนาเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านโลจิสติกส์และการเพิ่มขีดความสามารถแก่ผู้ประกอบการ 2. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด 3. มีศูนย์การเรียนรู้ด้านโลจิสติกส์

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาด้านการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยประกอบไปด้วย 5 กลยุทธ์ คือ 1. ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคแบบครบวงจร 2. พัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ สินค้าเกษตร และบรรจุภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 3. สร้างและขยายเครือข่ายการตลาด ช่องทางการจ าหน่ายสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์เกษตรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร 4. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีการผลิตและ สิ่งอ านวยความสะดวกที่จ าเป็นเพื่อให้การผลิตภาคเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร 5. พัฒนาสถาบันเกษตรกรและเครือข่ายให้เข้มแข็งสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่ออ านวยประโยชน์ให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป

ทั้งนี้ กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาฯ สอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และปจัจัยสู่ความส าเร็จ ดังแผนภาพที่ 2

Page 10: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

8

แผนภาพท่ี 2 ห่วงโซ่คุณค่า ของผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพของจังหวัดล าปาง“ข้าว”

Page 11: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

9

1) การวิเคราะห์สถานการณ์ข้อมูล : ด้านเศรษฐกิจ (ข้าว)

ในปีการเพาะปลูกปี 2554/2555 เนื้อที่การท าการเพาะปลูกข้าวมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากเกิดน้ าท่วมท าให้ผลผลิตข้าวนาปีลดลงและพื้นที่เพาะปลูกข้าวเกิดความเสียหาย เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วลิสง และถั่วเหลือง พืชเศรษฐกิจ ที่ส าคัญของจังหวัดล าปาง ได้แก่ ข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ผลไม้ ยืนต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตารางที่ 1 ผลผลิตและมูลค่าพืชเศรษฐกิจของจังหวัดล าปาง

ชนิดพืช เนื้อที่

เพาะปลูก (ไร่)

ผลผลิตรวม (ตัน)

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (ไร่/กก.)

ต้นทุน (ตัน)

ราคา (บาท/ตัน)

มูลค่า (ล้านบาท)

ข้าวนาป ี 501,869 292,843.70 583.51 2,330 13,430 3,932.89 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว ์ 185,092 165,922.10 896.43 2,702 7,800 1,294.19 ถั่วลิสง 25,995 6,713.78 258 2,110 18,000 120.85 ถั่วเหลือง 29,656 11,552.62 389.55 1,800 15,820 182.76

ท่ีมา : ส านักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดล าปาง

ในปี 2555 เปรียบเทียบพืชเศรษฐกิจของจังหวัดล าปาง พบว่า ข้าว มีเนื้อที่การเพาะปลูกมากที่สุด คือ 501,869 ต่อไร่ ผลผลิต 292,843.7 ตัน และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 583.51 กิโลกรัม รองลงมา คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่การเพาะปลูก 185,092 ไร่ ผลผลิต 165,922.1 ตัน และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 896.43 กิโลกรัม ส่วนถั่วเหลือง มีเนื้อที่การเพาะปลูก 29,656 ไร่ ผลผลิต 11,552.62 ตัน และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 389.55 กิโลกรัม และถั่วลิสง มีเนื้อที่การเพาะปลูก 25,995 ไร่ ผลผลิต 6,713.78 ตัน และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 258 กิโลกรัม

Page 12: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

10

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยที่ท าให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ท าการเพาะปลูกการเกษตรและส่งผลท าให้ผลผลิตข้าวในจังหวัดลดน้อยลงและชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรจังหวัดล าปางที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชชนิดอื่นร่วมด้วยที่ เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดล าปาง แต่ยังคงเพาะปลูกข้าวอยู่ เพราะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรและปลูกเพื่อกินเป็นหลัก ภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดล าปาง และจังหวัดล าพูน ได้ก าหนดต าแหน่งยุทธศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมและพัฒนาอาหารสุขภาพ Food Valley และศูนย์กลางด้านสุขภาพอนามัย Healthy Hub จังหวัดล าปาง จึงมีนโยบายที่จะขับเคลื่อนพัฒนาล าปางให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์เพื่อรองรับนโยบาย Food Valley และการเป็น Healthy Hub ของภาคเหนือตอนบน โดยพัฒนาตั้งแต่กระบวนการต้นน้ า เกษตรกรผู้ผลิตจะต้องผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานการปฏิบัติที่ดี สะอาดผ่านมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practice) กระบวนการกลางน้ า ส่งเสริมให้มีการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน GMP/HACCP และกระบวนการปลายน้ า ส่งเสริมช่องทางการจัดจ าหน่ายเข้าสู่ระบบมาตรฐาน ความปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค การขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบครบวงจรให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม จ าเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัด ท างานในลักษณะเชิงบูรณาการ เริ่มตั้งแต่การปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีการผลิตและสิ่งอ านวยความสะดวกพื้นฐานที่จ าเป็นเพื่อให้การผลิตภาคเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพและเพียงพอ ต่อความต้องการของเกษตรกร ต่อจากนั้นชุมชนเกษตรกรผู้ผลิตจะต้องได้รับการส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อขยายผลด้านการผลิตและการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างรายได้และอาชีพที่มั่นคง ภายหลังแต่ละชุมชนเกษตรกรขยายวงกว้างสู่ระดับจังหวัด จะต้องสร้างและขยายเครือข่ายการตลาด ช่องทางการจ าหน่ายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาสถาบันเกษตรกรและเครือข่ายให้เข้มแข็งสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและอ านวยประโยชน์ให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป

Page 13: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

11

จากการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเพาะปลูกข้าวของเกษตรกรจังหวัดล าปาง พบว่า เกษตรกรมีแนวโน้มการเพาะปลูกข้าวลดลง โดยในปี 2554 มีพื้นที่ 493,620 ไร่ ลดลงเหลือ 466,213 ไร่ ในปี 2555 และผลผลิตข้าวมีแนวโน้มลดลงเช่นกันในปี 2554 จ านวน 293,986.7 ตัน และในปี 2555 ลดลงเหลือ 277,634 ตัน ดังแผนภาพการวิเคราะห์แนวโน้มการผลิตข้าวของจังหวัดล าปาง ดังน้ี

แผนภูมิที่ 1 เนื้อที่การเพาะปลูกข้าว ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555

ท่ีมา : รายงานสถิติประจ าปี ส านักงานสถิติจังหวัดล าปาง

แผนภูมิที่ 2 ผลผลิตของการเพาะปลูกข้าว ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555

ท่ีมา : รายงานสถิติประจ าปี ส านักงานสถิติจังหวัดล าปาง

420,000 440,000 460,000 480,000 500,000 520,000 540,000

2551 2552 2553 2554 2555

ไร่

260,000.0

270,000.0

280,000.0

290,000.0

300,000.0

310,000.0

2551 2552 2553 2554 2555

ตัน

Page 14: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

12

ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เพื่อก าหนดห่วงโซ่คุณค่า และปัจจัยสู่ความส าเร็จที่ส าคัญ พบว่า พื้นที่ปลูกข้าวตามชนิดพันธุ์ ราคาข้าวตามชนิดพันธุ์ ผลผลิต และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อไร่ เป็นตัวแปรที่ส าคัญในการเลือกห่วงโซ่คุณค่า จึงมีการก าหนดสมการความสัมพันธ์ของข้าว ดังน้ี

สมการความสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ท่ีมีศักยภาพ : ข้าว

Y “ข้าว” = X1 + X2 + X3 + X4

มูลคา่ข้าว พื้นที่ปลูกข้าวตามชนิดพันธุ์

ราคาขา้วตามชนิด

พันธุ ์

ผลผลิตรวม

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยตอ่

ไร ่

สมการความสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่ มี ศักยภาพ (ข้าว) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของการจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์ที่ 3 โดยน าตัวชี้วัดระดับ กลยุทธ์มาเป็นตัวแปรเพื่อค้นหาความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนและยืนยันทิศทางการจัดสรรงบประมาณของจังหวัด ทั้งนี้ ข้อมูลตัวแปรพื้นที่ปลูกข้าวตามชนิดพันธุ์ ราคาข้าวตามชนิดพันธุ์ ผลผลิต และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อไร่ เป็นตัวแปรที่มีผลในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์รวมถึงข้อมูลในการก ากับดูแลแผนงาน/โครงการที่ส าคัญของจังหวัด อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ยังจัดเก็บไม่ต่อเนื่อง จึงท าการวิเคราะห์เบื้องต้นได้เพียงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อที่เพาะปลูกข้าว (ไร่) และผลผลิตข้าว (ตัน)

ด้วยปริมาณข้อมูลที่มีอยู่ สามารถก าหนดสมการความสัมพันธ์ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวที่ให้ผลผลิต (ไร่) และสมการผลผลิตข้าว (ตัน) โดยเป็นการอธิบายแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงตามกันระหว่างเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลติที่มีแนวโน้มแปรผันตามกัน โดยสมการเนื้อที่เพาะปลูกข้าวทั้งจังหวัด y = -12,970x + 542,055 มีค่าสัมประสิทธิ์ของสมการมีค่าเป็นลบ -12970 และมีค่า 𝑅2 หรือความสามารถในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงผลผลิตด้วยสมการเชิงเส้นที่ 0.7738 ในขณะที่สมการผลผลิตข้าว y = -4,276.5x + 307,364 มีค่าสัมประสิทธิ์ของสมการมีค่าเป็นลบ –4276.5 ซึ่งมีค่าเป็นลบเช่นเดียวกับสมการผลผลิตข้าว ด้วยค่า 𝑅2 = 0.3965

Page 15: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

13

ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจหรือ 𝑅2 ในการศึกษาความสัมพันธ์ของข้าวแสดงดังกราฟ พบว่า 𝑅2 ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าว เท่ากับ 0.7738 และ 𝑅2 ของผลผลิตข้าว เท่ากับ 0.3965 นั่นคือ มูลค่าข้าว (ตัวแปร Y) มีความสัมพันธ์กับผลผลิตข้าวมากกว่าเนื้อที่เพาะปลูกข้าว ดังแผนภูมิที่ 3

แผนภูมิที่ 3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่มีแนวโน้มแปรผันตามกัน : เนื้อที่การ เพาะปลูกข้าว และผลผลิตข้าว ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555

ท่ีมา : รายงานสถิติประจ าปี ส านักงานสถิติจังหวัดล าปาง

ทิศทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ได้จัดท ายุทธศาสตร์ส าคัญ 6 ประเด็น ซึ่งให้ความส าคัญกับการพัฒนาทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่ของส านักงานสถิติแห่งชาติแบ่งออกเป็น 3 ด้าน โดยมีรายการข้อมูลหรือสถิติ ที่ส าคัญจ าเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่ 21 สาขาครอบคลุมทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกัน และในส่วนของแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ที่ก าหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนานั้น ในกระบวนการจัดท าได้มีการทบทวนและน าแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และวาระแห่งชาติต่าง ๆ ใช้ประกอบในการก าหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ แล้วด้วย ดังนั้น การพัฒนาข้อมูลให้มีเพียงพอ จึงเป็นเรื่องส าคัญที่จะช่วยตอบสนองในการจัดท าแผนหรือการก าหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่นั้น ๆ ได ้

y = -12970x + 542055R² = 0.7738

y = -4276.5x + 307364R² = 0.3965

-

100,000

200,000

300,000

400,000

500,000

600,000

2551 2552 2553 2554 2555

เนื้อท่ีเพาะปลูกข้าว (ไร่) ผลผลิตข้าว (ตัน)

Page 16: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

14

รายงานสถานการณ์การจัดท าข้อมูลเชิงพื้นที่ระดับจังหวัดด้านเศรษฐกิจนี้ เป็นการรวบรวมประมวลข้อมูลที่น่าสนใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัด 4 ปี (ปี 2558-2561) และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ด้วยการน าข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการก าหนดผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญ และห่วงโซ่คุณค่า และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์กับตัวแปรที่ส าคัญ ที่จะน าไปสู่การก าหนดปัจจัยสู่ความส าเร็จที่เหมาะสมด้วยข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งในยุทธศาสตร์ที่ 3 “ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานแบบครบวงจร” โดยเลือก “ข้าวปลอดภัย” มีการใช้รายงานสถิติทางการระดับจังหวัดด้านเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย 1 สาขาที่ส าคัญ คือ สาขาเกษตร ซึ่งมีข้อมูลที่ต้องจัดเก็บจ านวน 61 ชุด โดยเป็นชุดข้อมูลที่มีการจัดเก็บปกติ 31 ชุด เป็นชุดข้อมูลที่ต้องมีการพัฒนา 17 ชุดข้อมูล และเป็นชุดข้อมูลที่อยู่ระหว่างการส ารวจการเก็บข้อมูล 13 ชุดข้อมูล โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ส าคัญ คือ ส านักงานเกษตรจังหวัด ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัด ส านักงานสหกรณ์จังหวัด ส านักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และส านักงานอุตสาหกรรมจังหวัด

Page 17: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

15

2) การวิเคราะห์สถานการณ์ข้อมูล : ด้านสังคม

จังหวัดล าปางมุ่ งที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ตั้งแต่ในด้ านการศึกษา การพัฒนาสุขภาพอนามัย นันทนาการและการกีฬา การประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในชีวิตและทรพัยส์ิน การจัดสวัสดิการชุมชน และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัวเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคมให้กับเด็ก เยาวชน ที่อยู่ในวัยที่ล่อแหลมต่อปัญหาสังคมต่าง ๆ ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาการท้องก่อนวัยอันควร ฯลฯ ส่วนปัญหาจ านวนปีการศึกษาเฉลี่ยที่ต่ ากว่ามาตรฐานของประเทศ เนื่องจากเด็กนักเรียนนักศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา ดังนั้นต้องเพิ่มโอกาสให้เด็กเหล่านี้ได้เข้าสู่ระบบเพื่อการอาชีพต่อไป ด้วยการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน หรือเพิ่มจ านวนนักศึกษาอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น หรือการพัฒนาผู้ต้องขังให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ ฯลฯ ซึ่ งหน่วยงานไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ เพิ่มเติมหลายปีแล้ว ส่วนค่าเฉลี่ย O-Net ม.3 ที่ต่ ากว่ามาตรฐาน จะมุ่งพัฒนาและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้มข้นขึ้นภายใต้การใช้เทคโนโลยีและสื่อที่ทันสมัยประกอบการเรียนรู้ รวมทั้งเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และพัฒนาบุคลากรทางด้านการแพทย์ ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ล าปาง จะเปิดสอนคณะวิทยาศาสตร์และแพทย์ศาสตร์ มีความจ าเป็นต้องมีอาคารเรียนรวมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาคารปฏิบัติสหวิทยาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมครุภัณฑ์ เพื่อรองรับการพัฒนาดังกล่าว เช่นเดียวกับโรงพยาบาลศูนย์ล าปาง ที่ยังขาดแคลนครุภัณฑ์ทางการแพทย์ในการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพการให้บริการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจแบบครบวงจร ส าหรับ ในส่วนของจังหวัดล าปาง ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ าทั้งเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค ถนนที่ไม่ได้มาตรฐาน ช ารุดทรุดโทรม ฯลฯ

Page 18: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

16

ในส่วนของสถิติคดีอาชญากรรม ในปี 2556 มีสถิติคดีจ าแนกตามกลุ่มคดีความผิดที่เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มคดี ได้แก่ คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญ ความผิดต่อชีวิต ร่างกายและเพศ ฯลฯ ยกเว้นคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ส าหรับสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดล าปาง สภาพปัญหาอยู่ในระดับไม่รุนแรง แต่เนื่องจากจังหวัดล าปางที่มีที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของภาคเหนือ จึงเป็นเส้นทางลักลอบขนยาเสพติดผ่านเส้นทางหลักทางหลวงแผ่นดินและเส้นทางรองที่เชื่อมระหว่างอ าเภอและต่อเขตจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งจังหวัดล าปางได้ด าเนินการป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ข้อมูลด้านการศึกษา ในปีการศึกษา พ.ศ. 2554 จังหวัดล าปางมีจ านวนสถานศึกษารวมทั้งสิ้น 480 แห่ง ครู-อาจารย์ 8,118 คน นักเรียน -นักศึกษา 133,501 คน แยกเป็นสถานศึกษาของรัฐ 443 แห่ง มีจ านวนครู-อาจารย์ 5,929 คน นักเรียน 95,526 คน อัตราส่วนครู-อาจารย์ : นักเรียน-นักศึกษา 1:16 โรงเรียนเอกชน 37 แห่ง จ านวนครู-อาจารย์ 2,189 คนนักเรียน-นักศึกษา 37,975 คน อัตราส่วนครู-อาจารย์ : นักเรียน-นักศึกษา 1 : 17 ตามรายละเอียด ดังน้ี

ตารางที่ 2 แสดงจ านวนครู-อาจารย์ในจังหวัดล าปาง ปี พ.ศ. 2554

ระดับการศึกษา

สถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาเอกชน คร-ู

อาจารย์ (คน)

นักเรียน-นักศึกษา

(คน)

คร-ูอาจารย์ (คน)

นักเรียน-นักศึกษา

(คน) - อุดมศึกษาและอาชีวศึกษา - ก่อนประถม-มัธยมศึกษาตอนปลาย

1,067

4,862

26,350

69,176

472

1,717

7,449

30,526

รวม 5,929 95,526 2,189 37,975 ท่ีมา : ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35

Page 19: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

17

คะแนน

ในปี 2556 จังหวัดล าปางยังน่าเป็นห่วงคือ เรื่องการยกระดับคุณภาพการศึกษา จากข้อมูลพบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากการทดสอบระดับชาติลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 ในระดับ ป.6 ได้คะแนนร้อยละ 48.80 ในปี 2555 ได้คะแนนร้อยละ 41.06 และในปี 2556 ได้คะแนนร้อยละ 40.69 ตามล าดับ และในระดับชั้น ม.3 ในปี 2554 ได้คะแนนร้อยละ 37.85 ในปี 2555 ได้คะแนนร้อยละ 35.62 และปี 2556 ได้คะแนนร้อยละ 32.99 ตามล าดับ

ปัญหาที่ เกิดขึ้นในด้านการศึกษาเป็นปัญหาที่ เกิดจากโครงสร้างการบริหารงานของหน่วยงาน ราชการบริหารส่วนกลางต้องแก้ไขนโยบายที่ก าหนดมาจากส่วนกลาง ปัญหาเรื่องคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากการทดสอบระดับชาติที่ต่ าและลดลงอย่างต่อเนื่องต้องพัฒนาและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้มข้นขึ้นภายใต้การใช้เทคโนโลยีและสื่อที่ทันสมัยประกอบการเรียนรู้

แผนภูมิที่ 4 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักระดับการศึกษาข้ัน พื้นฐานจากการทดสอบระดับชาต ิปี พ.ศ. 2554-2556

ท่ีมา : ส านักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาจังหวัดล าปาง

0.00

20.00

40.00

60.00

2554 2555 2556

48.8041.06 40.6937.85 35.62 32.99

ป.6 ม.3

Page 20: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

18

สถานการณ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต การพัฒนาคุณภาพชีวิต จังหวัดล าปางได้ก าหนดแนวทางมุ่งช่วยเหลือครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ ากว่าเกณฑ์ จปฐ. การจัดสวัสดิการให้กับผู้ สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ การจัดสวัสดิการให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน จัดสวัสดิการให้กับผู้พิการซ้ าซ้อน เพิ่มกองทุนในพื้นที่ที่ให้บริการด้านสวัสดิการแก่คนในชุมชน การให้ความช่วยเหลือครัวเรือนที่มีทีอ่ยูอ่าศยัไม่มั่นคงถาวร เพิ่มรายได้ประชากรในจังหวัดล าปาง เร่งพัฒนาทักษะฝีมือและเพิ่มการจ้างงาน ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองเบาหวานไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ได้รับการคัดกรองความดัน ร้อยละ 80 จัดกิจกรรมรณรงค์และส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการผลิตจนถึงมือผู้บริโภคด าเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เร่งป้องกันและปราบปรามคดีอาชญากรรมไม่ให้เกินมาตรฐาน เร่งรัดให้นักเรียนชั้นปีที่ 3 อ่านออกเขียนได้ ฯลฯ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนล าปาง

ในปี 2556 จังหวัดล าปางมีความส าเร็จในการส่ งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต มีกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวเพิ่มขึ้น ปี 2554 จ านวน 1,670 กิจกรรม ปี 2555 จ านวน 1,711 กิจกรรม ปี 2556 จ านวน1,764 กิจกรรม และจ านวนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมก็เพิ่มขึ้นตามล าดับ ในปี 2554 จ านวน 49,816 ครัวเรือน ปี 2555 จ านวน 52,686 ครัวเรือน ปี 2556 จ านวน 54,479 ครัวเรือน

ตารางที่ 3 จ านวนกิจกรรมเพื่อส่งเสริม/สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและ จ านวนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรม

รายการ 2554 2555 2556 จ านวนกิจกรรมเพือ่ส่งเสริม/ สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว

1,670 1,711 1,764

จ านวนครัวเรือนที่เข้ารว่มกิจกรรม 49,816 52,686 54,479 ท่ีมา : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Page 21: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

19

จากตารางที่ 3 จะเห็นว่า จ านวนกิจกรรมเพื่อส่งเสริม/สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและจ านวนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากจังหวัดล าปางได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์กันในครอบครัวและ มีโครงการสร้างความสัมพันธ์ให้ เกิดขึ้นอย่างสม่ าเสมอเพื่อให้เกิดก ารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต

ในยุทธศาสตร์ที่ 4 ของแผนพัฒนาจังหวัดล าปาง ปี พ.ศ. 2558-2561 “เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมล าปางให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันสามารถด ารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีการก าหนดตัวช้ีวัดในประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบไปด้วย 7 ตัวช้ีวัด คือ 1. ค่าดัชนีครอบครัวมีความอบอุ่นมากขึ้น 2. ความสุขมวลรวม 3. ระดับความส าเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4. ระดับความส าเร็จในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 5. จ านวนสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐผ่านการรับรองมาตรฐาน HA 6. ประชาชนพึงพอใจต่อการให้บริการของสถานบริการ 7. ร้อยละของการควบคุมคดี

การก าหนดกลยุทธ์และแนวทางในการแก้ไขที่ส าคัญ 7 กลยุทธ์ คือ 1. พัฒนาระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีคุณภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของเด็ก เยาวชน และประชาชนให้มีคุณภาพ (ความรู้คู่คุณธรรม) 2. สามารถเข้าถึงแหล่งอาชีพที่เหมาะสมและมีสภาพแวดล้อมทางสังคมและสวัสดิการทางสังคมที่ดี 3. เสริมสร้างและยกระดับความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว สถาบันทางสังคม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันรวมทั้งสนับสนุนให้ด ารงชีวิตตามวิถีล าปาง ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Page 22: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

20

4. ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการรักท้องถิ่น การอนุรักษ์และเผยแพร่ประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง 5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการออกก าลังกาย กีฬาและนันทนาการ 6. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอ านวยความสะดวกเพื่อการบริการประชาชนอย่างทั่วถึงมีมาตรฐาน และประสิทธิภาพ 7. เสริมสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคม

ทั้งนี้ กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาฯ สอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และปัจจัยสู่ความส าเร็จ ดังแผนภาพที่ 3 แผนภาพท่ี 3 ห่วงโซ่คุณค่า ของผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพของจังหวัดล าปาง “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต”

Page 23: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

21

ปัญหาของแผนงาน/โครงการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของจังหวัดล าปาง โครงการส่วนใหญ่มีความซ้ าซ้อนกับงบประมาณของหน่วยงานตามฟังก์ชันหลาย ๆ หน่วยงาน รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านการศึกษาเป็นปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างการบริหารงานของหน่วยงานฟังก์ชัน ราชการบริหารส่วนกลางต้องแก้ไขนโยบายที่ก าหนดมาจากส่วนกลาง ในส่วนของจังหวัดล าปางพิจารณาพบว่าจ านวนปีการศึกษาเฉลี่ยที่ต่ ากว่ามาตรฐานของประเทศ เนื่องจากเด็กนักเรียน นักศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา ดังนั้นต้องเพิ่มโอกาสให้เด็กเหล่านี้ได้เข้าสู่ระบบเพื่อการอาชีพต่อไป ด้วยการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หรือเพิ่มจ านวนนักศึกษาอาชีวศึกษา เพิ่มมากขึ้น ส่วนค่าเฉลี่ย O-Net ม.3 ที่ต่ ากว่ามาตรฐาน ด้วยการพัฒนาและ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้มข้นขึ้นภายใต้การใช้เทคโนโลยีและสื่อที่ทันสมัยประกอบการเรียนรู้ รวมทั้งเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และพัฒนาบุคลากรทางด้านการแพทย์ ส าหรับในส่วนของจังหวัดล าปาง ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ า รวมทั้งโครงการเชิงรุกในการช่วยป้องกันปัญหาสังคมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น การส่งเสริมการออกก าลังกายและการเล่นกีฬา เป็นต้น

รายงานสถานการณ์การจัดท าข้อมูลเชิงพื้นที่ระดับจังหวัดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตนี้รวบรวมประมวลข้อมูลที่น่าสนใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 4 ปี (ปี 2558-2561) และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต ด้วยการน าข้อ มูลสารสนเทศมาประกอบการก าหนดผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญ และห่วงโซ่คุณค่า และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์กับตัวแปรที่ส าคัญ ที่จะน าไปสู่การก าหนดปัจจัยสู่ความส าเร็จที่เหมาะสมด้วยข้อมูลสารสนเทศ รายงานนี้จึงเป็นการแสดงข้อมูลที่ส าคัญและจ าเป็นและเพียงพอต่อการตัดสินใจ ส าหรับการจัดท าแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 4 ปี (ปี 2558-2561) ในมิติด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต ที่เชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

Page 24: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

22

และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 สู่ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งยุทธศาสตร์ที่ 4 “เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมล าปางให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกันสามารถด ารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มีการใช้รายงานสถิติทางการระดับจังหวัดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต ประกอบไปด้วยข้อมูลที่ต้องจัดเก็บจ านวน 96 ชุด โดยเป็นชุดข้อมูลที่มีการจัดเก็บปกติ 79 ชุด เป็นชุดข้อมูลที่ต้องมีการพัฒนา 17 ชุดข้อมูล โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ส าคัญ คือ ส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดล าปาง ส านักงานสาธารณสุขจังหวัดล าปาง ส านกังานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดล าปาง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่

Page 25: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

23

3) การวิเคราะห์สถานการณ์ข้อมูล : ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จังหวัดล าปางมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุและป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ าที่ส าคัญ ประกอบกับในพื้นที่จังหวัดล าปางมีชุมชนและเครือข่ายชุมชนด้านทรัพยากรธรรมชาติที่เข้มแข็ง ควรที่จะขยายเครือข่ายชุมชนนี้ให้ขยายและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งควรส่งเสริมในการจัดสร้างแหล่งน้ าขนาดเล็กให้กระจายไปทั่วทั้งจังหวัดเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนและปัญหาหมอกควันในปลายฤดูหนาวต้นฤดูร้อนของทุกปี ในส่วนของสภาพปัญหาขยะ และน้ าเสีย ในจังหวัดล าปาง อยู่ในระดับมาตรฐานของประเทศ

ตารางที่ 4 ปริมาณขยะมูลฝอย ปี พ.ศ. 2553-2556 ปริมาณขยะมูลฝอย ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556

ปริมาณขยะทีเ่กิดขึ้นทั้งหมดต่อเดือน

24,897.0 17,152.2 17,169.6 24,800.4

ปริมาณขยะทีไ่ด้รับการก าจัดโดยเฉลีย่ต่อเดอืน

4,481.46 3,087.396 3,090.528 4,332.634

ท่ีมา : ข้อมูลจากส านักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดล าปาง

เมื่อพิจารณาปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในจังหวัดล าปางในระหว่างปี พ.ศ. 2553-2556 พบว่า ปริมาณขยะลดลงในปี 2554 แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2555-2556 คาดว่าปริมาณขยะมูลฝอยจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากปี 2556 แต่ยังอยู่ในระดับมาตรฐานของประเทศ

จากสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดล าปางที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยผืนป่า แต่ยังมีแหล่งน้ าไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนและกระจายไม่ทั่วถึง นอกจากนั้นแล้ว ยังขาดกระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ล าปางจึงมุ่งเน้นในการส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยการ

Page 26: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

24

ปลูกป่าฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชน คืนชีวิตให้ป่าต้นน้ าล าธาร ชุมชนรักษ์ป่ารักษ์น้ าพิทั กษ์สิ่ งแวดล้อม รวมทั้ งแก้ ไขปัญหาไฟป่ าและหมอกควัน การรณ รงค์ประชาสัมพันธ์การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคลากร รวมทั้งใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ ฯลฯ

จังหวัดล าปางมีสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา จังหวัดล าปางรวมทั้งภาคเหนือตอนบน ได้ประสบสถานการณ์หมอกควันปกคลุมพื้นที่ ในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี ก่อให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพอากาศที่เสื่อมโทรมจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่ง และปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยมีสถิติข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง ขนาดเล็ก (pm 10) และปริมาณจุดความร้อน Hotspot ดังนี้

ตารางที่ 5 ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (pm 10) และปริมาณจุดความร้อน Hotspot ปี พ.ศ. 2553-2557

ปี จ านวน

วัน วันที่ค่า pm 10

สูงสุด ค่า pm 10

สูงสุด ปริมาณ

Hotspot (จุด) 2553 30 24 มี.ค. 200 988 2554 3 22 ก.พ. 137 364 2555 33 26 ก.พ. 279 1,434 2556 28 25 มี.ค. 351 759 2557 36 7 มี.ค. 243 1.028

ท่ีมา : ส านักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดล าปาง

สาเหตุของปัญหาหมอกควันดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งอื่นๆ การจุดไฟบริเวณสองข้างทางหลวงและลุกลามไปยังพื้นที่ป่ า โดยมีข้อมูลปริมาณจุดความร้อน Hotspot ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดังน้ี

Page 27: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

25

ตารางที่ 6 ข้อมูลปริมาณจุดความร้อน Hotspot ปี พ.ศ. 2553-2557

ท่ีมา: แผนพัฒนาจังหวัดล าปาง 4 ปี (พ.ศ. 2557-25560)

จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า พื้นที่ที่เกิดไฟป่าของจังหวัดล าปาง มักเกิดขึ้นในพื้นที่ซ้ าในพื้นที่เดิมอยู่ประจ า ประกอบด้วยอ าเภองาว อ าเภอแจ้ห่ม อ าเภอ วังเหนือ อ าเภอแม่เมาะ อ าเภอเมืองล าปาง อ าเภอแม่ทะ อ าเภอเมืองปาน และอ าเภอเถิน โดยมีสาเหตุมาจากการจุดไฟเผาป่าเพื่อประโยชน์ในการเก็บหาของป่าและล่าสัตว์ของราษฎรในพื้นที่ ซึ่งจากสภาพปัญหาและความจ าเป็นดังกล่าว แนวคิดในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ควรส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการและแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นทาง โดยมุ่งเน้นให้ตระหนักถึงสภาพปัญหาและวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทั้งนี้ จ าเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของชุมชน ตั้งแต่กระบวนการคิดวิเคราะห์สภาพปัญหา วางแผน และด าเนินแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการกระท าร่วมกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน และชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่บังเกิดแก่ชุมชน ทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้วยการให้การสนับสนุนองค์ความรู้ เครื่องมืออุปกรณ์ที่จ าเป็นส าหรับการเรียนรู้การบริหารจัดการในชุมชนตามล าดับความส าคัญของพื้นที่ที่เกิดปัญหาและระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และตอบสนองตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ตามแผนพัฒนาจังหวัดล าปาง 4 ปี

พ.ศ. เมือง เกาะคา

ห้างฉัตร

สบปราบ

เถิน แม่พริก

เสริมงาม

แม่ทะ

เมืองปาน

แจ้ห่ม

วังเหนือ

แม่เมาะ

งาว รวม

2553 88 17 43 5 96 33 46 50 48 133 74 96 264 988

2554 46 10 9 5 27 16 9 20 8 55 29 45 85 364

2555 154 39 70 19 91 52 56 76 81 177 123 159 329 1,434

2556 67 6 32 12 66 25 29 40 48 156 71 69 138 759

2557 112 20 45 17 100 63 58 70 47 180 47 95 174 1,028

Page 28: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

26

ในยุทธศาสตร์ที่ 6 “ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน” มีการก าหนดตัวชี้วัด ในประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบไปด้วย 5 ตัวช้ีวัด คือ 1. จ านวนของการรักษาฐานทรัพยากรป่าไม้ไม่ให้มีการบุกรุกท าลาย 2. ร้อยละของหมู่บ้านและชุมชนที่มีส่วนร่วมในกระบวนการ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม 3. ระดับความส าเร็จของการป้องกันและเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ 4. ระดับความส าเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5. จ านวนวันที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) เกินค่ามาตรฐาน

การก าหนดกลยุทธ์และแนวทางในการแก้ไขที่ส าคัญ 6 กลยุทธ์ คือ 1. ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2. รณรงค์และประชาสัมพันธ์การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3. เพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. สนับสนุนและพัฒนาให้ เกิดเครือข่ายรักษ์และเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีและภาคประชาชนในท้องถิ่น ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 5. พัฒนาและส่งเสริมการบริหารจัดการน้ าทั้งระบบ ส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดล าปางให้เป็นเมืองสีเขียว (Green City) และการเป็นเมืองเศรษฐกิจนิเวศ (Eco Town)

ทั้งนี้ กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนาฯ สอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และปัจจัยสู่ความส าเร็จ ดังแผนภาพที่ 4

Page 29: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

27

แผนภาพท่ี 4 ห่วงโซ่คุณค่า อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในส่วนของแผนงาน/โครงการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนี้ การด าเนินงานยังขาดเอกภาพ รวมทั้ งขาดความร่วมมือของทั้ งภาครัฐ แล ะภาคเอกชน หรือมีก็ต่างคนต่างท า ขาดการขับเคลื่อนแผนในการปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ควรที่จะเร่งฟื้นฟู ปรับปรุง พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีทิศทางที่มีเอกภาพ ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ มากขึ้น เพื่อสร้างจิตส านึกสาธารณะผ่านสื่อต่างๆ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งขยายผลกลุ่มเครือข่ายชุมชนด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ขยายวงกว้างขวางออกไปพร้อมกับเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเครือข่ายชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน

Page 30: ค ำน ำ - osthailand.nic.go.thosthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file Download/Report... · 2 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด:

28

รายงานสถานการณ์ การจัดท าข้อมูล เชิ งพื้ นที่ ระดับจังหวัดด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนี้รวบรวมประมวลข้อมูลที่น่าสนใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 4 ปี (ปี 2558-2561) และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ แนวโน้มของยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการน าข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการก าหนดผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญ และห่วงโซ่คุณค่า และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นยุทธศาสตร์กับตัวแปรที่ส าคัญ ที่จะน าไปสู่การก าหนดปัจจัยสู่ความส าเร็จที่เหมาะสมด้วยข้อมูลสารสนเทศ รายงานนี้จึง เป็นการแสดงข้อมูลที่ส าคัญและจ าเป็นและเพียงพอต่อการตัดสินใจ ส าหรับการจัดท าแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 4 ปี (ปี 2558-2561) ในมิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 สู่ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งยุทธศาสตร์ที่ 6 “ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างสมดุลและยั่งยืน” มีการใช้รายงานสถิติทางการระดับจังหวัดด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย จ านวน 61 ชุดข้อมูล โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ส าคัญ คือ ส านักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่